มหาวิทยาลัยลูทวิช-มัคซีมีลีอานแห่งมิวนิก

(เปลี่ยนทางจาก มหาวิทยาลัยมิวนิก)

มหาวิทยาลัยลูทวิช-มัคซีมีลีอานแห่งมิวนิก (เยอรมัน: Ludwig-Maximilians-Universität München) หรือเรียกอย่างง่ายว่า มหาวิทยาลัยมิวนิก เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในนครมิวนิก รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี มหาวิทยาลัยมิวนิกเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับหกของเยอรมนีที่ยังคงเปิดการเรียนการสอนอยู่ ก่อตั้งใน ค.ศ. 1472 ที่เมืองอิงก็อลชตัทโดยลูทวิชที่ 9 ดยุกแห่งบาวาเรีย ก่อนที่ใน ค.ศ. 1800 เมื่ออิงก็อลชตัทเผชิญภัยคุกคามจากฝรั่งเศส พระเจ้ามัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งบาวาเรียจึงทรงย้ายมหาวิทยาลัยไปยังเมืองลันทซ์ฮูท ก่อนที่ใน ค.ศ. 1826 จะย้ายมาอยู่ในที่ตั้งปัจจุบันในนครมิวนิก ซึ่งใน ค.ศ. 1802 มหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยลูทวิช-มัคซีมีลีอานแห่งมิวนิก" เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ก่อตั้งทั้งสองของมหาวิทยาลัย[2]

มหาวิทยาลัยมิวนิก
Ludwig-Maximilians-Universität München
ละติน: Universitas Ludovico-Maximilianea Monacensis
ประเภทมหาวิทยาลัยของรัฐ
สถาปนาค.ศ. 1472 (ในชื่อ มหาวิทยาลัยอิงก็อลชตัท)
งบประมาณ1.727 พันล้านยูโร[1]
อาจารย์787 คน[1]
เจ้าหน้าที่8,066 คน[1]
ผู้ศึกษา53,091 คน[1]
ที่ตั้ง, ,
สี   
เครือข่ายGerman Excellence Universities
Europaeum
LERU
เว็บไซต์www.en.uni-muenchen.de
University of Munich logo

มหาวิทยาลัยลูทวิช-มัคซีมีลีอานแห่งมิวนิกได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาและการวิจัยชั้นนำของยุโรป[3] โดยได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารด้านการศึกษาที่สำคัญเช่น Times Higher Education, U.S. News & World Report และ Academic Ranking of World Universities ให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของเยอรมนี[4][5][6] และยังได้รับการจัดอันดับจาก Times Higher Education ให้อยู่ในอันดับที่ 32 ของโลกใน ค.ศ. 2021[3] ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมามีศิษย์เก่าถึง 43 คนที่ได้รับรางวัลโนเบล ซึ่งมากเป็นอันดับ 16 ของโลก ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง อาทิ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน (นักฟิสิกส์), มักซ์ พลังค์ (นักฟิสิกส์), แวร์เนอร์ ไฮเซินแบร์ก (นักฟิสิกส์), สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 เป็นต้น ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีจำนวนนักศึกษามากเป็นอันดับสองในเยอรมนี โดยในปีการศึกษา 2019/2020 มีนักศึกษาจำนวนรวมทั้งสิ้น 53,091 คน มีอาจารย์ทั้งหมด 787 คน และทุนวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนรวมทั้งสิ้น 312 ล้านยูโรในปี ค.ศ. 2019[1]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Facts and Figures". LMU Munich. สืบค้นเมื่อ 2017-06-21.
  2. "Landshut (1800 - 1826) - LMU München". Uni-muenchen.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2011.
  3. 3.0 3.1 "LMU Munich". The Time.
  4. "World Reputation Rankings 2019". The Time.
  5. "2021 Best Global Universities Rankings". U.S. News & World Report.
  6. "Academic Ranking of World Universities 2020". Shanghai Jiao Tong University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-15. สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Ludwig-Maximilians-Universität München