ราชาหนู บ้างเรียก พญามุสิก[1] (อังกฤษ: rat king) เป็นชื่อของกลุ่มหนูซึ่งมีส่วนหางเชื่อมติดกัน โดยหางของหนูเหล่านี้อาจถูกเลือด โคลน น้ำแข็ง หรืออุจจาระ โปะไว้ด้วยกัน หรืออาจจะถูกมัดไว้เหมือนปม เชื่อกันว่าหนูเหล่านี้ดำรงชีวิตอยู่โดยมีหางติดกันอย่างนั้น ซึ่งจำนวนของหนูในกลุ่มราชาหนูนั้นมีไม่แน่นอน รายงานการพบราชาหนูมีมากที่สุดในประเทศเยอรมนี ในประวัติศาสตร์นั้นถือว่าราชาหนูเป็นลางร้ายของโรคระบาดที่รุนแรงมาก

ราชาหนู

ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานของราชาหนูที่ยังมีชีวิตอันเชื่อถือได้

ตัวอย่าง แก้

ตามพิพิธภัณฑสถานบางแห่งจะมีซากของราชาหนูซึ่งได้รับการเก็บรักษาไว้หรือกลายเป็นมัมมี่ตั้งแสดงต่อสาธารณะ ราชาหนูกลุ่มใหญ่ที่สุดซึ่งมีการตั้งแสดงนั้นอยู่ในพิพิธภัณฑสถาน Mauritianum เมืองอัลเตนบูร์ก รัฐทูริงเง่น ซึ่งเป็นซากที่แห้งเป็นมัมมี่ของหนู 32 ตัวด้วยกัน ราชาหนูกลุ่มนี้ถูกพบในเตาผิงของคนสีข้าวที่บุคไฮม์เมื่อปีพ.ศ. 2371

ที่พิพิธภัณโอทาโกในเมืองดูเนดิน ประเทศนิวซีแลนด์ มีราชาหนูซึ่งพบในพ.ศ. 2473ไว้ ราชาหนูกลุ่มนี้เป็นหนูดำที่ยังโตไม่เต็มที่ซึ่งส่วนหางถูกขนม้าพันไว้ด้วยกัน[2]

ประมาณการว่ารายงานการพบราชาหนูนั้นมีน้อยลงเมื่อหนูสีน้ำตาลได้เข้าแพร่พันธุ์แทนหนูดำ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในปัจจุบันมีรายงานการพบราชาหนูเพียงน้อยครั้ง โดยครั้งล่าสุดนั้นมีชาวนาพบในประเทศเอสโตเนียเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2548[3]

 
ซากของราชาหนูที่พิพิธภัณฑวิทยาศาสตร์ Mauritianum

ราชาหนูส่วนใหญ่ที่พบนั้นเป็นหนูดำ แต่ก็เคยมีรายงานการพบราชาหนูที่เป็นกลุ่มหนูชวา ในจังหวัดชวาตะวันตก เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2461 ซึ่งเป็นกลุ่มหนูนาจำนวนสิบตัว นอกจากนั้นยังมีรายงานกรณีที่เป็นสัตว์อื่นๆ เช่น กระรอก อยู่ด้วย

ผู้ศึกษาเรื่องสัตว์ลึกลับ เอ็ม. ชไนเดอร์ ได้เผยแพร่ภาพเอ็กซ์เรย์ของราชาหนูซึ่งชาวนาพบในประเทศเนเธอร์แลนด์เมื่อพ.ศ. 2506 [4] ซึ่งภาพนี้ได้แสดงให้เห็นพังผืดที่เกิดขึ้นบนหางของหนู ทำให้เชื่อได้ว่าหนูในกลุ่มราชาหนูนั้นยังสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ตามปกติระยะหนึ่ง[4]

อ้างอิง แก้

  1. "'ตำนานพญามุสิก' เมื่อฝูงหนูอยู่ในสภาพสุดพิศวง ลางร้ายหรือแค่ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ปริศนาที่รอการไขคำตอบ". SpokeDark.TV. 17 พฤศจิกายน 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-16. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "Rat King". Galleries > Animal Attic. Otago museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-04. สืบค้นเมื่อ 2007-06-09. The Otago Museum’s rat king: This display features a family of Rattus rattus, discovered in the 1930s. They had fallen from their nest in the rafters of a shipping company shed, and were immediately followed to the floor by a parent who vigorously defended the young.
  3. Miljutin A (2007). "Rat kings in Estonia" (PDF). Proc. Estonian Acad. Sci. Biol. Ecol. 56 (1): 77–81.
  4. 4.0 4.1 Rucphen, Rat king (2007-01-21). "Rat king Rucphen". Rucphen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-15. สืบค้นเมื่อ 2007-01-21.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้