ราชทูตสยามไปฝรั่งเศส (พ.ศ. 2229)

ราชทูตสยามไปฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2229 (อังกฤษ: Siamese embassy to France) คือ คณะราชทูตลำดับที่ 2 จากอาณาจักรอยุธยาไปยังประเทศฝรั่งเศส นำโดยออกพระวิสูตรสุนทร (ปาน) ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ถัดจากคณะราชทูตสยามไปฝรั่งเศสชุดแรกซึ่งประกอบด้วยราชทูต 2 คนพร้อมกับบาทหลวงเบนีญ วาเช ที่ออกเดินทางจากสยามเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2227[1]

ภาพวาดโกษาปานขณะกำลังถวายพระราชสาส์นของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแด่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14

ราชทูต

แก้
 
คณะราชทูตที่แวร์ซายใน พ.ศ. 2230 ในกาลานุกรมฝรั่งเศสได้เรียก บุษบก ที่บรรจุพระราชสาส์นที่อยู่ในภาพว่า เครื่อง
 
คณะราชทูตเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ พระราชวังแวร์ซายเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2229
 
โกษาปานกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
 
คณะราชทูตและล่าม บาทหลวง Artus de Lionne

คณะราชทูตนำโดยออกพระวิสูตรสุนทร (ปาน) พร้อมด้วยราชทูตอีก 2 คน คือ ออกหลวงกัลยาราชไมตรี อุปทูต และออกขุนศรีวิสารวาจา ตรีทูต และกี ตาชาร์ บาทหลวงคณะเยสุอิต พร้อมกับคณะราชทูตฝรั่งเศส อาแล็กซ็องดร์ อัศวินแห่งโชมง (หรือ เชอวาเลียเดโชมง) และฟร็องซัว-ตีมอเลอง เดอ ชัวซี ที่เข้ามาสยามเมื่อ พ.ศ. 2228 และกำลังเดินทางกลับด้วยเรือของฝรั่งเศส 2 ลำ เดินทางถึงฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2229

คณะราชทูตขึ้นบกที่เมืองแบร็สต์ ก่อนเดินทางต่อไปที่เมืองแวร์ซาย ท่ามกลางฝูงชนที่มาชมจำนวนมาก คณะทูตได้นำข้อเสนอการเป็นพันธมิตรระหว่างสยามและฝรั่งเศส และพำนักอยู่ที่ฝรั่งเศสตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2229 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2230

ของขวัญ

แก้

คณะราชทูตได้ถวายของขวัญจำนวนมากแด่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 อาทิ ทองคำ กระดองเต่า ผ้า พรม เครื่องถ้วยกว่า 1,500 ชิ้น และเครื่องเคลือบ[2] นอกจากนี้ ยังมีปืนใหญ่ทำด้วยเงิน 2 กระบอก ซึ่งภายหลังถูกฝ่ายปฏิวัติฝรั่งเศสปล้นไปใน ค.ศ. 1789 เพื่อทลายคุกบัสตีย์[3]

การซื้อ

แก้

ทางทูตได้สั่งซื้อผลิตภัณฑ์ฝรั่งเศสส่งกลับไปราชสำนักสยามจำนวนมาก เช่น กระจก 4,264 บาน ที่มีลักษณะคล้ายกระจกที่ประดับอยู่ในห้องกระจก พระราชวังแวร์ซาย ผ่านฌ็อง-บาติสต์ กอลแบร์จากโรงงาน Saint-Gobain ปืนใหญ่ฝรั่งเศสจำนวน 160 กระบอก กล้องโทรทรรศน์ แก้ว นาฬิกา ผ้ากำมะหยี่ คริสตัล ลูกโลก 2 ชิ้น ที่เขียนเป็นอักษรไทยโดยนายช่างฝรั่งเศส และพรม 7 ผืน จาก Savonnerie manufactory[4]

อ้างอิง

แก้
  1. Donald F. Lach (1993). Asia in the Making of Europe. p. 253. ISBN 9780226467535. สืบค้นเมื่อ 13 August 2013.
  2. McCabe, p. 258
  3. Lieberman, Victor B. (2003). Strange parallels: Southeast Asia in global context, c 800-1830. Vol. 1: Integration on the Mainland. Cambridge: University of Cambridge. p. 292. ISBN 0-521-80496-5.[ลิงก์เสีย]
  4. McCabe, pp. 257-8

บรรณานุกรม

แก้
  • Gunn, Geoffrey C. (2003) First Globalization: The Eurasian Exchange, 1500-1800 Rowman & Littlefield ISBN 0-7425-2662-3
  • Smithies, Michael (1999), A Siamese embassy lost in Africa 1686, Silkworm Books, Bangkok, ISBN 974-7100-95-9
  • Smithies, Michael (2002), Three military accounts of the 1688 "Revolution" in Siam, Itineria Asiatica, Orchid Press, Bangkok, ISBN 974-524-005-2
  • Suarez, Thomas (1999) Early Mapping of Southeast Asia Tuttle Publishing ISBN 962-593-470-7
  • Baghdiantz McCabe, Ina 2008 Orientalism in Early Modern France, ISBN 978-1-84520-374-0, Berg Publishing, Oxford
  • Schenk, Moritz: Die Reise der siamesischen Botschafter an den Hof des Sonnenkönigs (1686-1687). Zürich, 2013