ยศข้าราชการทหารและพลเรือนของสยาม
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้อาจมีงานค้นคว้าต้นฉบับรวมอยู่ |
ยศข้าราชการ ในที่นี้จะกล่าวถึง ยศสำหรับข้าราชการทหารและพลเรือนของสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงสมัยรัชกาลที่ 7 ช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 โดยเริ่มมีการพระราชทานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2417 สำหรับทหาร และ พ.ศ. 2442 สำหรับพลเรือน จนกระทั่งยกเลิกบรรดาศักดิ์และยศข้าราชการพลเรือน ข้าราชการในราชสำนัก ในปี พ.ศ. 2485
สมัยแรกเริ่ม (พ.ศ. 2417 - พ.ศ. 2431)
แก้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการออกพระราชบัญญัติเกี่ยวกับยศทหารตามอย่างตะวันตก ซึ่งในเวลานั้นมีเพียงยศทหารบกเท่านั้น จะเป็นคำทับศัพท์อย่างเดิม
ลำดับที่ | ทหารบก |
---|---|
1 | คอลอเนล
(Colonel) |
2 | ลุตเตอร์แนนท์-คอลอเนล
(Lieutenant colonel) |
3 | เมเจอร์
(Major) |
4 | กัปตัน
(Captain) |
5 | ลุตเตอร์แนนท์
(Lieutenant) |
6 | ซับ-ลุตเตอร์แนนท์
(Sub-Lieutenant) |
7 | เมเจอร์ซายันต์
(Major sergeant) |
8 | ซายันต์
(Sergeant) |
9 | คอร์พอรัล
(Corporal) |
10 | แลนซ์คอพอรัล
(Lance corporal) |
11 | ไปร์เวต
(Private) |
การแต่งเครื่องหมายยศจะติดที่คอเสื้อ โดยใช้เครื่องหมายจักรเป็นการบอกชั้นยศ และมีการเปลี่ยนเครื่องแบบเป็นติดอินทรธนูราวปี พ.ศ. 2431
สมัยแห่งอินทรธนู (พ.ศ. 2431 - รัชกาลที่ 6)
แก้ในสมัยนี้มีการปฏิรูปกองทัพให้มีขนาดเพิ่มมากขึ้น กำเนิดกรมทหารเรือ มีการเปลี่ยนคำทับศัพท์ยศทหารให้เป็นภาษาไทย และมีการกำหนดยศข้าราชพลเรือนและราชสำนักขึ้นในปี พ.ศ. 2442 ซึ่งข้าราชการในราชสำนักมีเพียงมหาดเล็กเท่านั้น
ลำดับที่ | ทหารบก | ทหารเรือ | ทหารอากาศ | ตำรวจ | พลเรือน | มหาดเล็ก |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | นายทัพ | นายทัพเรือ | นายทัพอากาศ | นายตำรวจ | - | - |
2 | นายพลเอก | นายพลเรือเอก | นายพลอากาศเอก | นายพลตำรวจเอก | ข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 1 ระดับเอก | จางวางมหาดเล็ก |
3 | นายพลโท | นายพลเรือโท | นายพลอากาศโท | นายพลตำรวจโท | ข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 1 ระดับโท | - |
4 | นายพลตรี | นายพลเรือตรี | นายพลอากาศตรี | นายพลตำรวจตรี | ข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 1 ระดับตรี | - |
5 | นายพันเอก | นายนาวาเอก | นายนาวาอากาศเอก | นายพันตำรวจเอก | ข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 2 ระดับเอก | หัวหมื่นมหาดเล็ก |
6 | นายพันโท | นายนาวาโท | นายนาวาอากาศโท | นายพันตำรวจโท | ข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 2 ระดับโท | รองหัวหมื่น |
7 | นายพันตรี | นายนาวาตรี | นายนาวาอากาศตรี | นายพันตำรวจตรี | ข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 2 ระดับตรี | จ่ามหาดเล็ก |
8 | นายร้อยเอก | นายเรือเอก | นายเรืออากาศเอก | นายร้อยตำรวจเอก | ข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 3 ระดับเอก | หุ้มแพรมหาดเล็ก |
9 | นายร้อยโท | นายเรือโท | นายเรืออากาศโท | นายร้อยตำรวจโท | ข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 3 ระดับโท | - |
10 | นายร้อยตรี | นายเรือตรี | นายเรืออากาศตรี | นายร้อยตำรวจตรี | ข้าราชการพลเรือนชั้นที่ 3 ระดับตรี | มหาดเล็กวิเศษ |
11 | จ่านายสิบเอก | นายพันจ่าเอก | นายพันจ่าอากาศเอก | - | - | - |
12 | จ่านายสิบโท | นายพันจ่าโท | นายพันจ่าอากาศโท | นายดาบตำรวจ | ||
13 | จ่านายสิบตรี | นายพันจ่าตรี | นายพันจ่าอากาศตรี | จ่านายสิบตำรวจ | - | พันจ่าเด็กชา |
14 | สิบเอก | จ่าเอก | จ่าอากาศเอก | สิบตำรวจเอก | - | จ่าเด็กชา |
15 | สิบโท | จ่าโท | จ่าอากาศโท | สิบตำรวจโท | - | - |
16 | สิบตรี | จ่าตรี | จ่าอากาศตรี | สิบตำรวจตรี | - | - |
17 | พลทหาร | พลทหารเรือ | พลทหารอากาศ | พลตำรวจ | - | เด็กชา |
1.การแต่งเครื่องแบบทหารให้ติดอินทรธนูโดยให้จักรเรียงตรง ต่อมามีการประกาศใช้พระราชกำหนดเครื่องแต่งตัวทหารราบราว พ.ศ. 2442 จึงมีการเปลี่ยนการเรียงจักรหมายยศให้เรียงตรงปลายบ่าและคอเสื้อแทน
2.ข้าราชการพลเรือนติดอินทรธนูตามบ่า
3.ยศมหาดเล็กจะตามหลังบรรดาศักดิ์
4.ข้าราชการในราชสำนักจะติดอินทรธนูรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
5.ยศนายทัพกับนายทัพเรือ เป็นยศสำหรับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังเปลี่ยนเป็นจอมพลและจอมพลเรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
6.เครื่องหมายนายทัพจะเป็นรูปจักรเรียงตรง 3 วง ตามด้วยคทาไขว้ตรงปลายบ่า
สมัยแห่งชั้นยศและการยกเลิก (สมัยรัชกาลที่ 6 - พ.ศ. 2485)
แก้ในยุคสมัยนี้เป็นสมัยที่มีการกำหนดชั้นยศมากที่สุด รวมถึงแบ่งย่อยยศข้าราชการในราชสำนักออกเป็นหลายชั้น และใช้ไปจนถึงการยกเลิกบรรดาศักดิ์และยศข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2485 รวมถึงการเปลี่ยนคำว่านายทัพให้เป็นจอมพล นายทัพเรือให้เป็นจอมพลเรือในกองทัพเรือ
ลำดับที่ | ทหารบก | ทหารเรือ | ทหารอากาศ | ตำรวจ | พลเรือน | กระทรวงวัง และกรมขึ้น |
กรมพระ ตำรวจหลวง รักษาพระองค์ |
กรมมหาดเล็ก | กองเสือป่า/กองลูกเสือ | กองเรือท่าเกษม |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | จอมพล
(Field marshal) |
จอมพลเรือ
(Admiral of the Fleet) |
จอมพลอากาศ
(Marshal of the Royal Thai Air Force) |
- | มหาอำมาตย์นายก
(Prime minister) |
- | - | - | - | - |
2 | นายพลเอก
(General) |
นายพลเรือเอก
(Admiral) |
นายพลอากาศเอก
(Air Chief Marshal) |
นายพลตำรวจเอก
(Police general) |
มหาอำมาตย์เอก
(Minister) |
มหาเสวกเอก
(Lord steward) |
พระตำรวจเอก
(Lord high constable) |
จางวางเอก
(Lord great chamberlain) |
- | - |
3 | นายพลโท
(Lieutenant general) |
นายพลเรือโท
(Vice admiral) |
นายพลอากาศโท
(Air Marshal) |
นายพลตำรวจโท
(Police lieutenant general) |
มหาอำมาตย์โท
(Secretariat) |
มหาเสวกโท
(Steward) |
พระตำรวจโท
(Chief of palace guard) |
จางวางโท
(Lord chamberlain) |
- | - |
4 | นายพลตรี
(Major general) |
นายพลเรือตรี
(Rear admiral) |
นายพลอากาศตรี
(Air Vice Marshal) |
นายพลตำรวจตรี
(Police major general) |
มหาอำมาตย์ตรี
(Chancellor) |
มหาเสวกตรี
(Keeper) |
พระตำรวจตรี
(Deputy chief of palace guard) |
จางวางตรี
(Vice chamberlain) |
- | - |
5 | - | นายพลเรือจัตวา
(Commodore) |
- | - | - | - | - | - | นายกองใหญ่/นายพลเสือป่า
(Captain general) |
นายกองเรือใหญ่
(Captain general of Navy) |
6 | นายพันเอก
(Colonel) |
นายนาวาเอก
(Captain) |
นายนาวาอากาศเอก
(Group Captain) |
นายพันตำรวจเอก
(Police colonel) |
อำมาตย์เอก
(Director) |
เสวกเอก
(Master of the Household) |
ขุนตำรวจเอก
(Director of palace guard) |
หัวหมื่น
(Page director) |
นายกองเอก
(Wild Tiger colonel) |
นายกองเรือเอก
(Captain) |
7 | นายพันโท
(Lieutenant colonel) |
นายนาวาโท
(Commander) |
นายนาวาอากาศโท
(Wing Commander) |
นายพันตำรวจโท
(Police lieutenant colonel) |
อำมาตย์โท
(Governor) |
เสวกโท
(Deputy master) |
ขุนตำรวจโท
(Deputy director of palace guard) |
รองหัวหมื่น
(Deputy page director) |
นายกองโท
(Wild Tiger lieutenant colonel) |
นายกองเรือโท
(Commander) |
8 | นายพันตรี
(Major) |
นายนาวาตรี
(Lieutenant commander) |
นายนาวาอากาศตรี
(Squadron Leader) |
นายพันตำรวจตรี
(Police major) |
อำมาตย์ตรี
(Chief) |
เสวกตรี
(Treasurer) |
ขุนตำรวจตรี
(Palace guard) |
จ่า
(Comptroller) |
นายกองตรี
(Wild Tiger major) |
นายกองเรือตรี
(Lieutenant commander) |
9 | นายร้อยเอก
(Captain) |
นายเรือเอก
(Lieutenant) |
นายเรืออากาศเอก
(Flight Lieutenant) |
นายร้อยตำรวจเอก
(Police captain) |
รองอำมาตย์เอก
(Prefect) |
รองเสวกเอก
(Administrator) |
นายตำรวจเอก
(Chief of bodyguard) |
หุ้มแพร
(Clapper) |
นายหมวดเอก
(Wild Tiger captain) |
นายหมวดเรือเอก
(Lieutenant) |
10 | นายร้อยโท
(Lieutenant) |
นายเรือโท
(Sub-lieutenant) |
นายเรืออากาศโท
(Flying Officer) |
นายร้อยตำรวจโท
(Police lieutenant) |
รองอำมาตย์โท
(Assistant) |
รองเสวกโท
(Files officer) |
นายตำรวจโท
(Deputy chief of bodyguard) |
รองหุ้มแพร
(Vice clapper) |
นายหมวดโท
(Wild Tiger lieutenant) |
นายหมวดเรือโท
(Sub-lieutenant) |
11 | นายร้อยตรี
(Second lieutenant) |
นายเรือตรี
(Ensign) |
นายเรืออากาศตรี
(Pilot Officer) |
นายร้อยตำรวจตรี
(Police second lieutenant) |
รองอำมาตย์ตรี
(Deputy assistant) |
รองเสวกตรี
(Service officer) |
นายตำรวจตรี
(Bodyguard) |
มหาดเล็กวิเศษ
(Royal page) |
นายหมวดตรี
(Wild Tiger second lieutenant) |
นายหมวดเรือตรี
(Ensign) |
12 | ว่าที่นายร้อยตรี
(Acting second lieutenant) |
ว่าที่นายเรือตรี
(Acting ensign) |
ว่าที่นายเรืออากาศตรี
(Acting Pilot Officer) |
ว่าที่นายร้อยตำรวจตรี
(Acting police second lieutenant) |
ว่าที่รองอำมาตย์ตรี
(Acting deputy assistant) |
ว่าที่รองเสวกตรี
(Acting service officer) |
ว่าที่นายตำรวจตรี
(Acting bodyguard) |
มหาดเล็กสำรอง
(Reserve royal page) |
ว่าที่นายหมวดตรี
(Acting Wild Tiger second lieutenant) |
ว่าที่นายหมวดเรือตรี
(Acting ensign) |
13 | - | - | - | - | - | - | - | - | นายหมู่ใหญ่
(Wild Tiger third lieutenant) |
- |
14 | นายดาบ
(Sergeant major) |
- | - | นายดาบตำรวจ
(Police senior sergeant major) |
ราชบุรุษ
(King's man) |
- | - | - | - | - |
15 | จ่านายสิบ
(Master sergeant) |
พันจ่าเอก
(Warrant officer class one) |
พันจ่าอากาศเอก
(Fight Sergeant 1st Class) |
จ่านายสิบตำรวจ
(Police sergeant major) |
- | จ่าพันทนาย
(Flag sergeant) |
นายหมู่ใหญ่
(Grand serjeanty) |
พันจ่าเด็กชา
(Master errand) |
- | - |
16 | - | พันจ่าโท
(Warrant officer class two) |
- | - | - | - | - | - | - | - |
17 | - | พันจ่าตรี
(Chief petty officer) |
- | - | - | - | - | - | - | - |
18 | นายสิบเอก
(Sergeant) |
จ่าเอก
(Petty officer) |
จ่าอากาศเอก
(Sergeant) |
นายสิบตำรวจเอก
(Police sergeant) |
- | พันทนายเอก
(Judge) |
นายหมู่เอก
(Serjeanty) |
พันเด็กชาเอก
(Housekeeper) |
นายหมู่เอก
(Wild Tiger sergeant) |
- |
19 | นายสิบโท
(Corporal) |
จ่าโท
(Leading rating) |
จ่าอากาศโท
(Corporal) |
นายสิบตำรวจโท
(Police corporal) |
- | พันทนายโท
(Consultant) |
นายหมู่โท
(Palace corporal) |
พันเด็กชาโท
(Homemaker) |
นายหมู่โท
(Wild Tiger corporal) |
- |
20 | นายสิบตรี
(Lance corporal) |
จ่าตรี
(Able seaman) |
จ่าอากาศตรี
(Leading Aircraftman) |
นายสิบตำรวจตรี
(Police lance corporal) |
- | พันทนายตรี
(Attorney) |
นายหมู่ตรี
(Escort) |
พันเด็กชาตรี
(Cleaner) |
นายหมู่ตรี
(Wild Tiger lance corporal) |
- |
21 | นายสิบตรีกองประจำการ
(Lance corporal) |
จ่าตรีกองประจำการ
(Able seaman) |
จ่าอากาศตรีกองประจำการ
(Leading Aircraftman) |
นายสิบตำรวจตรีกองประจำการ
(Police lance corporal) |
- | พันทนายตรีกองประจำการ
(Attorney) |
นายหมู่ตรีกองประจำการ
(Escort) |
พันเด็กชาตรีกองประจำการ
(Cleaner) |
นายหมู่ตรีกองประจำการ
(Wild Tiger lance corporal) |
- |
22 | พลทหาร
(Private) |
พลทหารเรือ
(Ordinary seaman) |
พลทหารอากาศ
(Aircraftman) |
พลตำรวจ
(Police constable) |
- | พันทนาย
(Lawyer) |
พลตำรวจ
(Palace constable) |
เด็กชา
(Errand) |
พลเสือป่า
(Wild Tiger corp) |
- |
1.ชั้นยศมหาอำมาตย์นายกมีผู้ได้รับพระราชทานเพียงแค่ 2 คนคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ และ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สขุม) พระราชทานพร้อมกันเมื่อปี พ.ศ. 2461
2.ชั้นยศนายกองใหญ่ เป็นยศเฉพาะพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในปี พ.ศ. 2458 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งยศนายพลเสือป่าขึ้นแทน และได้พระราชทานยศนายพลเสือป่าแก่นายเสือป่าชั้นผู้ใหญ่หลายท่าน
3.ชั้นยศพระตำรวจเอกเดิมเป็นยศเฉพาะพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นชั้นยศในฐานะพระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระตำรวจในกรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์ ภายหลังมีการพระราชทานยศให้สมุหพระตำรวจหลวงหลายท่าน อาทิเช่น พระตำรวจเอก นายพลตรี พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) , พระตำรวจเอก เจ้าพระยาราชศุภมิตร (อ๊อด ศุภมิตร) เป็นต้น
4.เครื่องแบบเต็มยศข้าราชการพลเรือนและข้าราชการในราชสำนักจะติดเครื่องหมายยศไว้ที่ข้อมือ
5.สำหรับทหารบกเหล่าสนับสนุนการช่วยรบ เช่น เหล่าแพทย์, เหล่าบัญชี จะติดอินทรธนูขวางที่ปลายบ่าเหมือนข้าราชการพลเรือน
6.ข้าราชการในราชสำนักและกรมมหาดเล็ก เครื่องแบบปกติจะติดเครื่องหมายยศบริเวณแผงคอเสื้อ
8.ชั้นยศนายหมู่ใหญ่เสือป่าเป็นยศชั้นสัญญาบัตร
9.สำหรับราชนาวีเสือป่า มียศสูงสุดที่ นายกองเอกเท่านั้น
10.ยศกองเรือท่าเกษมมีผู้ที่ได้รับยศ นายกองเรือใหญ่เพียง 1 ท่านคือ นายกองเรือใหญ่ เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)
บัญชีเทียบยศกับตำแหน่ง
แก้การเทียบบรรดาศักดิ์ข้าราชการฝ่ายพลเรือนตาม พระราชบัญญัติระเบียบบรรดาศักดิ์ ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. 2441) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำหนดชั้นยศออกเป็น 3 ชั้น คือ นายพล นายพัน และนายร้อย ดังนี้[1]: 295–296
- ตารางเทียบยศทหารบกกับบรรดาศักดิ์ฝ่ายพลเรือน ร.ศ. ๑๑๗
ยศฝ่ายทหาร | บรรดาศักดิ์ฝ่ายพลเรือน |
นายพลเอก | เสนาบดี, พระเจ้าประเทศราช |
นายพลโท | เจ้าพระยาเทศาภิบาล, เจ้าพระยาสุลต่าน, เจ้าพระยานอกจากเสนาบดี |
นายพลตรี | เจ้าพระยารองเสนาบดี (ท.จ.), พระยาจางวาง (ท.จ.), พระยาเทศาภิบาล, เจ้าประเทศราช, พระยาสุลต่าน |
นายพันเอก | พระยา (ท.จ.), พระยาว่าราชการเมือง (ท.จ.), พระยาประเทศราช, พระยาจางวาง, เจ้าอุปราช, พระยารายามุดา |
นายพันโท | พระยาเจ้ากรม, พระเจ้ากรม, ผู้ว่าราชการเมือง, เจ้าราชวงษ์, พระยาอุปราชเมืองประเทศราช, พระรายามุดา |
นายพันตรี | พระปลัดกรม, หลวงเจ้ากรม, ผู้ช่วยเทศาภิบาล, เจ้าบุรีรัตน์, เจ้าราชบุตร, พระยาราชวงษ์เมืองประเทศราช, พระผู้ช่วยราชการเมืองประเทศราช |
นายร้อยเอก | หลวงปลัดกรม, ปลัดเมือง, ยกรบัตรเมือง, เจ้ามีสัญญาบัตรรองแต่ราชบุตร, พระยาบุรีรัตน์เมืองประเทศราช, พระยาราชบุตร |
นายร้อยโท | ผู้ช่วยในกระทรวงและกรม, ผู้ช่วยราชการเมือง, ผู้ตรวจการในกองเทศาภิบาล, นายอำเภอ (ตามพระราชบญญ้ติ ปกครองท้องที่), พระยาเค้าสนาม, ดาโต๊ะ |
นายร้อยตรี | นายเวร, หลวงกรมการ, ปลัดเมืองขึ้น, พ่อเมือง, ปังอุลู |
- ตารางเทียบยศกับบรรดาศักดิ์ฝ่ายพลเรือน
ยศ | ตำแหน่ง |
มหาอำมาตย์นายก | อัครมหาเสนาบดี |
มหาอำมาตย์เอก | เสนาบดี, พระเจ้าประเทศราช |
มหาอำมาตย์โท | เจ้าพระยาเทศาภิบาล, เจ้าพระยาสุลต่าน, เจ้าพระยานอกจากเสนาบดี, อธิบดีพิเศษ, ปลัดทูลฉลอง |
มหาอำมาตย์ตรี | พระยารองเสนาบดี ท.จ., พระยาจางวาง ท.จ., จางวางมหาดเล็ก, พระยาเทศาภิบาล, เจ้าประเทศราช, พระยาสุลต่าน |
อำมาตย์เอก | พระยา ท.จ., พระยาจางวาง, พระยาว่าราชการเมือง ท.จ., เจ้ากรมพิเศษ, หัวหมื่นมหาดเล็ก, เจ้าอุปราช, พระยาประเทศราช, พระยารายามุดา |
อำมาตย์โท | พระยาเจ้ากรม, พระเจ้ากรม, ผู้ว่าราชการเมือง, หลวงนายเวรมหาดเล็ก, เจ้าราชวงษ์, พระยาอุปราชเมืองประเทศราช, พระรายามุดา |
อำมาตย์ตรี | พระปลัดกรม, หลวงเจ้ากรม, ผู้ช่วยเทศาภิบาล, ปลัดวัง, จ่ามหาดเล็ก, พระสามัญ, เจ้าบุรีรัตน์, เจ้าราชบุตร, พระยาราชวงษ์เมือง, พระผู้ช่วยราชการเมืองประเทศราช |
รองอำมาตย์เอก | เจ้ากรมชั้นสาม, หลวงปลัดกรม, ปลัดเมือง, มหาดเล็กหุ้มแพรหลวง, จ่าฝ่าย, ยกรบัตรเมือง, เจ้ามีสัญญาบัตรรองแต่ราชบุตร, พระยาบุรีรัตน์เมืองประเทศราช, พระยาราชบุตร, ผู้ว่าราชการเมืองขึ้น, หลวงผู้ช่วยว่าราชการเมืองประเทศราช |
รองอำมาตย์โท | ปลัดกรมชั้นสองและสาม, ผู้ช่วยชั้นหนึ่งในกระทรวงแลกรม, นายรอง, ขุน, หุ้มแพรฝ่าย, ผู้ช่วยราชการเมือง, ผู้ตรวจการในกองเทศาภิบาล, นายอำเภอ, พระยาเค้าสนาม, ดาโต๊ะ |
รองอำมาตย์ตรี | ผู้ช่วยชั้นสองและสามในกระทรวงแลกรม, นายเวรชั้นหนึ่ง, นายเวรราชวัง, มหาดเล็กวิเศษ, สารวัตรมหาดเล็ก, หลวงกรมการ, ปลัดเมืองขึ้น, พ่อเมือง, ปังอูลู |
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ และคณะ. (2545). เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 404 หน้า. ISBN 974-417-534-6
- บรรณานุกรม
- อมรดรุณารักษ์, จมื่น (แจ่ม สุนทรเวช). พระราชกรณียกิจสำคัญในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องกำเนิดนามสกุล เล่ม 1 - 2 : กำเนิดนามสกุล. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา, 2511.
- พระราชบัญญัติระเบียบฐานันดรศักดิ์ ร.ศ. ๑๑๗ และ พระราชกำหนดแก้ไขเครื่องแต่งตัวข้าราชการฝ่ายพลเรือนในพระราชสำนักนิ์ ร.ศ. ๑๒๙.
- ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๖ แผ่นที่ ๕๑ วันที่ ๑๙ มีนาคม รันตโกสินทร์ ศก ๑๑๗ น่า ๕๕๔ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๖ แผ่นที่ ๕๑ วันที่ ๑๙ มีนาคม รันตโกสินทร์ ศก ๑๑๗ น่า ๕๕๔