มหาอำมาตย์นายก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ อดีตเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมุหมนตรีและองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม ในรัชกาลที่ 4) ร่วมพระชนนีเดียวกับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า, สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี และเป็นพระปัยยกา (ทวด) ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ[1]
ดำรงตำแหน่ง12 มิถุนายน พ.ศ. 2428 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2466[2]
ก่อนหน้าเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค)
ถัดไปพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย
ประสูติ27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2401
สิ้นพระชนม์28 มิถุนายน พ.ศ. 2466 (64 ปี)
หม่อมหม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา
หม่อมลม้าย เทวกุล ณ อยุธยา
หม่อมเหมือน เทวกุล ณ อยุธยา
หม่อมปุ่น เทวกุล ณ อยุธยา
หม่อมอบ เทวกุล ณ อยุธยา
หม่อมพุก เทวกุล ณ อยุธยา
หม่อมจันทร์ เทวกุล ณ อยุธยา
พระบุตร48 องค์
ราชสกุลเทวกุล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา

พระประวัติ แก้

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 12 แรม 7 ค่ำ ปีมะเมียสัมฤทธิศก จ.ศ. 1220 ตรงกับวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2401 ในพระบรมมหาราชวัง โดยเป็นพระเจ้าลูกเธอชั้นกลาง ลำดับที่ 42 ในจำนวนทั้งหมด 84 พระองค์ ทรงมีพระเชษฐา พระขนิษฐา และพระอนุชาร่วมพระมารดาอีก 5 พระองค์ ได้แก่

เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นเขียนอ่านภาษาไทยในสำนักพระองค์เจ้าหญิงมณี และพระองค์เจ้าหญิงกฤษณา ซึ่งเป็นพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาภาษาบาลี แล้วเข้าชั้นมัธยมศึกษาในสำนักพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) ผนวชเป็นสามเณร ไปประทับอยู่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ทรงศึกษาพระธรรมวินัยในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเล่าเรียนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนหลวง ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งขึ้นภายในกรมทหารมหาดเล็ก ในพระบรมมหาราชวัง กระทั่งลาผนวช และเข้ารับราชการ

สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงบริหารราชการแผ่นดินตลอดพระชนม์ชีพ จากรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งไปรเวตสิเกรตารีฝรั่ง (ราชเลขานุการฝ่ายต่างประเทศ) ทำหน้าที่ดูแลงานต่างประเทศ ทรงมีบทบาทสำคัญด้านการทูต เป็นผู้เจรจาข้อพิพาทกับประเทศฝรั่งเศส ครั้งวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ทรงเสนอให้มีการตั้งสถานทูตในต่างประเทศ ที่ทวีปยุโรปและสหรัฐ ทรงว่าราชการเป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศทั้งในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 เป็นเวลา 37 ปี จนได้ชื่อว่าเป็น องค์บิดาแห่งการต่างประเทศของไทย

นอกเหนือจากการงานด้านการต่างประเทศ ได้ทรงงานที่สำคัญตลอดพระชนม์ชีพอีกหลายด้านเช่น ได้ทรงดำรงตำแหน่งนายกสภาการคลังในปี พ.ศ. 2465 ทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสภา เมื่อปี พ.ศ. 2437[3] และทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรี[4][5]เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2430 ตั้งแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นสมุหมนตรี (เทียบเท่าราชองครักษ์พิเศษของฝ่ายทหาร) ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2453[6] และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนกรมขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทววะวงศ์วโรปการ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459[7] นอกจากนี้ยังได้รับพระราชยศมหาอำมาตย์นายก ซึ่งเป็นยศที่สูงสุดของข้าราชการพลเรือน (เทียบเท่าจอมพล) และทรงเป็นผู้ดูแลพระนครเมื่อทรงไม่ประทับอยู่ในพระนคร[8]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงสนพระทัยในวิชาโหราศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศใช้ปฏิทินแบบใหม่ตามสุริยคติตามแบบสากล จากเดิมที่ประเทศไทยใช้แบบจันทรคติ สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินไทยใช้ตามสุริยคติ เรียกว่า เทวะประติทิน มีการกำหนดชื่อเดือนขึ้นมาใหม่ จากเดิมที่ใช้ เดือนอ้าย เดือนยี่ ถึงเดือนสิบสอง เป็นชื่อเดือนแบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานสร้างวังให้สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ บนที่ดินพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อว่า วังเทวะเวสม์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 8 แรม 1 ค่ำ ปีกุนเบญจศก จ.ศ. 1285 ตรงกับวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2466 พระชันษา 64 ปี มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง

พระโอรสและพระธิดา แก้

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เป็นต้นราชสกุลเทวกุล มีหม่อม 7 คน ได้แก่

มีพระโอรส 1 พระองค์ กับ 24 องค์ และมีพระธิดา 23 องค์ รวม 48 พระองค์/องค์ ได้แก่

ราชสกุลเทวกุล
ลำดับ พระรูปและพระนาม เพศ พระมารดา ประสูติ สิ้นพระชนม์ พระชันษา คู่สมรส
1
 
หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร

(ท่านหญิงใหญ่)

ญ. หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา 21 ตุลาคม พ.ศ. 2420[9] 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 61 ปี 194 วัน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
2
 
หม่อมเจ้าบรรสานสนิท เทวกุล

(ท่านหญิงกลาง)

ญ. หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา 23 ธันวาคม พ.ศ. 2422[9] 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 65 ปี 220 วัน
3
 
หม่อมเจ้าพิจิตรจิราภา เทวกุล

(ท่านหญิงเล็ก)

ญ. หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา 25 สิงหาคม พ.ศ. 2424[9] 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 61 ปี 178 วัน
4
 
ไฟล์:หม่อมเจ้าสุธาสิโนทัย.JPG
หม่อมเจ้าสุธาสิโนทัย เทวกุล

(ท่านชายใหญ่)

ช. หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2425[9] 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 83 ปี 89 วัน หม่อมลมุล (สกุลเดิม สาทรานนท์)

หม่อมฉวี (สกุลเดิม วัชรประหาส)

5
 
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย
ช. หม่อมลม้าย 11 สิงหาคม พ.ศ. 2426[9] 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 59 ปี 178 วัน หม่อมเพี้ยน (สกุลเดิม บุนนาค)
6
 
ไฟล์:หม่อมเจ้าจันทรนิภา.JPG
หม่อมเจ้าจันทรนิภา เทวกุล

(ท่านหญิงน้อย)

ญ. หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2427[9] 7 มิถุนายน พ.ศ. 2488 61 ปี 13 วัน
7
 
หม่อมเจ้าทิสากร
ช. หม่อมลม้าย 21 มกราคม พ.ศ. 2428 17 ตุลาคม พ.ศ. 2462 34 ปี 269 วัน หม่อมผัน
8
 
หม่อมเจ้าบังอรรัตน์
ญ. หม่อมเหมือน 18 ตุลาคม พ.ศ. 2428 29 มิถุนายน พ.ศ. 2433 4 ปี 254 วัน
9
 
หม่อมเจ้าดำรัสดำรง เทวกุล

(ท่านชายเล็ก)

ช. หม่อมลม้าย 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2429[9] 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 57 ปี 343 วัน หม่อมเจ้าอรทิพย์ประพันธ์ (ราชสกุลเดิม วรวรรณ)
10
ไฟล์:หม่อมเจ้าพงศ์ทินเทพ เทวกุล.jpg
หม่อมเจ้าพงศ์ทินเทพ เทวกุล

(ท่านชายกลาง)

ช. หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา 17 กันยายน พ.ศ. 2429[9] 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 57 ปี 66 วัน หม่อมเจ้าสุชาดามณี เทวกุล
11
 
หม่อมเจ้าเสพยสุมนัส

(ท่านชายน้อย)

ช. หม่อมลม้าย 14 สิงหาคม พ.ศ. 2431 18 กันยายน พ.ศ. 2452 21 ปี 35 วัน
12
 
หม่อมเจ้าทิพรัตนประภา เทวกุล

(ท่านหญิงโอ)

ญ. หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา 27 สิงหาคม พ.ศ. 2431[9] 13 มกราคม พ.ศ. 2508 76 ปี 139 วัน
13
 
หม่อมเจ้านาราวดี เทวกุล

(ท่านหญิงแต๋ว)

ญ. หม่อมปุ่น 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2432[9] 13 ธันวาคม พ.ศ. 2487 55 ปี 303 วัน
14
 
หม่อมเจ้า
ญ. หม่อมลม้าย 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 19 มีนาคม พ.ศ. 2434 1 ปี 117 วัน
15
 
หม่อมเจ้าตรีทิเพทพงศ์ เทวกุล

(ท่านชายโต๊ะ)

ช. หม่อมอบ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2432[9] 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 43 ปี 73 วัน หม่อมหลวงวาด (ราชสกุลเดิม สุทัศน์)
16
 
หม่อมเจ้าวงศ์นิรชร เทวกุล

(ท่านชายเตี้ย)

ช. หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา 16 มกราคม พ.ศ. 2433[9] 9 มีนาคม พ.ศ. 2490 57 ปี 52 วัน หม่อมโกย (สกุลเดิม เกิดสวัสดิ์)
17
 
หม่อมเจ้ามรุพรพันธ์

(ท่านชายแอ๊บ)

ช. หม่อมปุ่น 14 สิงหาคม พ.ศ. 2433 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2464 30 ปี 290 วัน หม่อมเจ้ากมลปราโมทย์ (ราชสกุลเดิม กิติยากร)
18
 
หม่อมเจ้ากันดาภา เทวกุล
ญ. หม่อมลม้าย 26 มิถุนายน พ.ศ. 2434[9] 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 43 ปี 30 วัน
19
 
หม่อมเจ้าดาราจรัสศรี เทวกุล

(ท่านหญิงเภา)

ญ. หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา 2 มิถุนายน พ.ศ. 2435[9] 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 49 ปี 52 วัน
20
 
หม่อมเจ้าปาน
ช. หม่อมปุ่น 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 14 กันยายน พ.ศ. 2437 1 ปี 68 วัน
21
 
หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล

(ท่านชายอั๋น)

ช. หม่อมพุก 3 สิงหาคม พ.ศ. 2436[9] 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 76 ปี 281 วัน หม่อมเจ้าลีลาศหงส์ (ราชสกุลเดิม กฤดากร)

หม่อมราชวงศ์สอางค์ (ราชสกุลเดิม ปราโมช)

หม่อมแตงไทย (สกุลเดิม เดชผล)

22
 
หม่อมเจ้าตุ๊
ช. หม่อมลม้าย 28 มีนาคม พ.ศ. 2437 6 เมษายน พ.ศ. 2439 2 ปี 9 วัน
23
 
หม่อมเจ้าวงศ์ทิพย์สุดา เทวกุล

(ท่านหญิงอ้น)

ญ. หม่อมพุก 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2437[9] 6 เมษายน พ.ศ. 2512 74 ปี 146 วัน
24
 
ไฟล์:หม่อมเจ้าอัจฉราฉวี.JPG
หม่อมเจ้าอัจฉราฉวี เทวกุล

(ท่านหญิงอึ่ง)

ญ. หม่อมจันทร์ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438[9] 26 ธันวาคม พ.ศ. 2525 87 ปี 32 วัน
25
 
หม่อมเจ้าตรีทศาลัย เทวกุล

(ท่านหญิงปุ๋ย)

ญ. หม่อมปุ่น 8 มกราคม พ.ศ. 2439[9] 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 45 ปี 196 วัน
26
 
หม่อมเจ้าไตรทิพเทพสุต เทวกุล

(ท่านชายแถม)

ช. หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2439[9] 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 66 ปี 149 วัน หม่อมเจ้าบันดาลสวัสดี (ราชสกุลเดิม ดิศกุล)

หม่อมมณี

หม่อมแวว

หม่อมแบบ

27
 
หม่อมเจ้า
ญ. หม่อมพุก 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 31 ธันวาคม พ.ศ. 2439 0 ปี 57 วัน
28
 
หม่อมเจ้าสุรวุฒิประวัติ เทวกุล
ช. หม่อมลม้าย 18 มีนาคม พ.ศ. 2440[9] 6 กันยายน พ.ศ. 2517 77 ปี 172 วัน หม่อมหลวงปอง (ราชสกุลเดิม มาลากุล)

หม่อมศิริเลิศ (สกุลเดิม วสันตสิงห์)

29
 
หม่อมเจ้าทัตศะศิธร
ญ. หม่อมจันทร์ 28 กันยายน พ.ศ. 2440 2 กันยายน พ.ศ. 2443 2 ปี 339 วัน
30
 
หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล

(ท่านชายโอ่ง)

ช. หม่อมพุก 16 มกราคม พ.ศ. 2441[9] 3 สิงหาคม พ.ศ. 2519 78 ปี 199 วัน หม่อมเจ้าสมทรง (ราชสกุลเดิม เกษมศรี)
31
 
หม่อมเจ้าอนันตนรชัย เทวกุล

(ท่านชายเติม)

ช. หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา 11 มีนาคม พ.ศ. 2442[9] 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 69 ปี 79 วัน หม่อมเจ้าอัปภัศราภา (ราชสกุลเดิม ดิศกุล)
32
 
หม่อมเจ้านิต
ช. หม่อมปุ่น 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2442 27 มีนาคม พ.ศ. 2446 3 ปี 306 วัน
33
 
หม่อมเจ้าวิไลกัญญา ภาณุพันธุ์

(ท่านหญิงอั้น)

ญ. หม่อมพุก 1 มกราคม พ.ศ. 2443[9] 30 มิถุนายน พ.ศ. 2509 66 ปี 180 วัน พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช
34
 
หม่อมเจ้าสุชาดามณี เทวกุล

(ท่านหญิงเป้า)

ญ. หม่อมจันทร์ 13 มกราคม พ.ศ. 2443[9] 12 มกราคม พ.ศ. 2498 54 ปี 364 วัน หม่อมเจ้าพงศ์ทินเทพ เทวกุล
35
 
หม่อมเจ้าสมรศรีโสภา เทวกุล

(ท่านหญิงออ)

ญ. หม่อมพุก 19 เมษายน พ.ศ. 2444[9] 5 มิถุนายน พ.ศ. 2539 95 ปี 47 วัน
36
 
หม่อมเจ้า
หม่อมปุ่น 26 กันยายน พ.ศ. 2444 23 มกราคม พ.ศ. 2445 0 ปี 119 วัน
37
 
หม่อมเจ้า
ช. หม่อมพุก 10 มิถุนายน พ.ศ. 2445 18 มิถุนายน พ.ศ. 2445 0 ปี 8 วัน
38
 
หม่อมเจ้าอาทิตย์อุทัย เทวกุล
ช. หม่อมพุก 27 กันยายน พ.ศ. 2446[9] 1 ตุลาคม พ.ศ. 2487 41 ปี 4 วัน หม่อมมณี (สกุลเดิม ภมรสุต)

หม่อมประสงค์ (สกุลเดิม เพชรรัตน์)

39
 
หม่อมเจ้าเจริญวัยวัฒนา
หม่อมปุ่น 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 24 กันยายน พ.ศ. 2448 1 ปี 61 วัน
40
 
หม่อมเจ้าวงศานุวัตร เทวกุล
ช. หม่อมจันทร์ 17 กันยายน พ.ศ. 2447[9] 3 เมษายน พ.ศ. 2534 86 ปี 198 วัน หม่อมเจ้ากมลปราโมทย์ (ราชสกุลเดิม กิติยากร)
41
 
หม่อมเจ้าพวงรัตนประไพ ชุมพล
ญ. หม่อมพุก 19 ตุลาคม พ.ศ. 2447[9] 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 95 ปี 30 วัน หม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล
42
 
หม่อมเจ้าแขไขจรัส เกษมศรี
ญ. หม่อมพุก 10 ธันวาคม พ.ศ. 2448[9] 21 มีนาคม พ.ศ. 2539 90 ปี 101 วัน หม่อมเจ้าสโมสรเกษม เกษมศรี
43
 
หม่อมเจ้าอัศนีฟ่องฟ้า เทวกุล

(ท่านชายอ้วน)

ช. หม่อมพุก 19 เมษายน พ.ศ. 2450[9] 17 สิงหาคม พ.ศ. 2520 70 ปี 120 วัน หม่อมเฉลย (สกุลเดิม คุณชวลี)
44
 
หม่อมเจ้าแหว่ง
ช. หม่อมปุ่น 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 0 ปี 194 วัน
45
 
หม่อมเจ้าประภาภรณี

(ท่านหญิงอ่อน)

ญ. หม่อมพุก 25 มิถุนายน พ.ศ. 2451 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 2 ปี 139 วัน
46
 
หม่อมเจ้าโชติสีกฤติกา เทวกุล

(ท่านชายแดง)

ช. หม่อมจันทร์ 22 เมษายน พ.ศ. 2452[9] 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 72 ปี 90 วัน หม่อมสมบูรณ์ (สกุลเดิม บุรณะศิริ)

หม่อมเมียวออง (สกุลเดิม ปั๊ก)

47
 
หม่อมเจ้าจิราโรหิณี
ญ. หม่อมพุก 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 1 ปี 131 วัน
48
 
หม่อมเจ้าทับ
ช. ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ก่อน 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[9] ไม่มีข้อมูล

พระเกียรติยศ แก้

พระอิสริยยศ แก้

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
  • 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2401 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2424 : พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์
  • 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2424 - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2429 : พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรประการ
  • 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2429 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 : พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรประการ[10]
  • 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทวะวงศ์วโรปการ ขัตติยพิศาลสุรบดี ศรีพัชรินทรภราดร สโมสรอเนกศาสตร์วิบูลย์ เกียรติจำรุญไพรัชการ ศุภสมาจารสารสมบัติ มัทวเมตตาธยาศรัย ศรีรัตนตรัยคุณานุสรสุนทรธรรมบพิตร[11]
  • 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2466 : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ขัตติยพิศาลสุรบดี บรมราชินีศรีพัชรินทรภราดร สโมสรอเนกนิติปรีชา มหาสุมันตยานุวัตรวิบุลย์ ไพรัชราชกิจจาดุลสุนทรปฏิภาณ นิรุกติญาณวิทยาคณนาทิศาสตร์ โหรกลานุวาทนานาปกรณ์ เกียรติกำจรจิรกาล บริบูรณคุณสารสมบัติ สุจริตสมาจารวัตร มัทวเมตตาชวาธยาศรัย ศรีรัตนตรัยสรณธาดา กัลยาณธรรมิกนาถบพิตร[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้[13]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

สถานที่อันเนื่องด้วยพระนาม แก้

พระสมัญญานาม แก้

  • พระบิดาแห่งการทูตไทย[41]
  • องค์บิดาแห่งการต่างประเทศของไทย[42]

พระยศ แก้

นายพลเอก นายกองตรี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโปการ
รับใช้กองทัพบกสหราชอาณาจักร
กองทัพบกสยาม
กองเสือป่า
ชั้นยศ  พลเอก
(สหราชอาณาจักร)
  พลเอก
นายกองตรี
(สยาม)

พระยศทหาร แก้

พระยศพลเรือน แก้

  • มหาอำมาตย์นายก[45]
  • มหาอำมาตย์เอก[46]

พระยศเสือป่า แก้

  • นายหมู่ใหญ่[47]
  • นายกองตรี[48]

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2438/031/285_2.PDF
  2. https://www.mfa.go.th/th/page/ประวัติกระทรวงการต่างประเทศ?menu=5d5bd3c615e39c306002a870
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2437/044/367.PDF
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตั้งปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 45
  5. ราชกิจจานุเบกษา, สัญญาบัตรปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 47-48
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/2244.PDF
  7. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/A/218.PDF
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2433/003/28_1.PDF
  9. 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 9.10 9.11 9.12 9.13 9.14 9.15 9.16 9.17 9.18 9.19 9.20 9.21 9.22 9.23 9.24 9.25 9.26 9.27 9.28 9.29 9.30 9.31 นราธิปประพันธ์พงศ์, กรมพระ, 2404-2474, ผู้รวบรวม. บาญชีมหามกุฏราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงรวบรวม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2468. 167 หน้า.
  10. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2429/010/75.PDF
  11. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ เลื่อนแลตั้งกรมแลตั้งเจ้าพระยา เก็บถาวร 2011-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 30 หน้า 1728 11 พฤศจิกายน 2454
  12. https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1050078.pdf
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม 40, ตอน ง, 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2466, หน้า 979
  14. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา, ตำนานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สยาม, พระนคร, โสภณพิพรรฒธนากร, 2468
  15. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีพระราชทานตราเครื่องราชอิสริยยศ, เล่ม ๓ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๓๘๕, ๑๕ มีนาคม ๑๒๔๘
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า และ ฝ่ายใน, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๕๐๑, ๒๕ พฤศจิกายน ๑๑๙
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยยศต่างกรม, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๘, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๕๙
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษดาราประดับเพ็ชร์, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๖๗, ๑๕ ธันวาคม ๒๔๖๑
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑๖๖, ๓ กันยายน ๑๓๐
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๙๑, ๑๒ พฤศจิกายน ๑๓๐
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๔๘, ๑๙ มกราคม ๒๔๖๑
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๖๕, ๒ กรกฎาคม ๑๓๐
  23. 23.0 23.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๗ หน้า ๔๐๗, ๑๐ ธันวาคม ๑๑๒
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๗ ตอนที่ ๔๔ หน้า ๓๙๒, ๒๕ มกราคม ๑๐๙
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๙๗, ๒๔ ตุลาคม ๑๒๘
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๕, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
  27. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
  28. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๐, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
  29. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๓, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
  30. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์รุสเซีย, เล่ม ๘ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๔๑๔, ๗ กุมภาพันธ์ ๑๑๐
  31. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๒ หน้า ๔๐, ๘ เมษายน ๑๒๕
  32. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๓ หน้า ๘๑๖, ๑๗ พฤศจิกายน ๑๒๖
  33. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๙๖, ๒๔ ตุลาคม ๑๒๘
  34. 34.0 34.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตตราต่างประเทศ, เล่ม ๔ ตอนที่ ๓๑ หน้า ๒๔๘, ๑๕ พฤศจิกายน ๑๒๔๙
  35. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๙ ตอนที่ ๕ หน้า ๑๒, ๑ พฤษภาคม ๑๑๑
  36. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๓๒, ๒๐ มีนาคม ๒๔๖๓
  37. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๒๗๘, ๒๑ กันยายน ๒๔๕๖
  38. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๙ ตอนที่ ๑๖ หน้า ๓๑๖, ๒๐ กรกฎาคม ๑๒๑
  39. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๔๐ หน้า ๔๔๐, ๓๑ ธันวาคม ๑๑๒
  40. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เฮนรีดีไลออนกรุงบรันสวิก, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔, ๑๐ เมษายน ๑๒๙
  41. http://www.mfa.go.th/dvifa/th/organize
  42. http://www.culture.ssru.ac.th/news/view/new26
  43. https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/D/2175.PDF
  44. https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/D/2166.PDF
  45. พระราชทานยศ
  46. พระราชทานยศ
  47. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/660.PDF
  48. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-06-24.
  • Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง

ดูเพิ่ม แก้

ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ถัดไป
เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี   เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ
(12 มิถุนายน พ.ศ. 2428 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2466)
  พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย