ม้าน้ำดำ

(เปลี่ยนทางจาก ม้าน้ำธรรมดา)
ม้าน้ำดำ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Syngnathiformes
วงศ์: Syngnathidae
สกุล: Hippocampus
สปีชีส์: H.  kuda
ชื่อทวินาม
Hippocampus kuda
Bleeker, 1852
ชื่อพ้อง
ชื่อพ้อง
  • Hippocampus horai Duncker, 1926
  • Hippocampus novaehebudorum Fowler, 1944
  • Hippocampus taeniops Fowler, 1904

ม้าน้ำดำ หรือ ม้าน้ำคูด้า หรือ ม้าน้ำธรรมดา (อังกฤษ: Common seahorse, Spot seahorse; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hippocampus kuda) เป็นม้าน้ำชนิดหนึ่ง

มีสีพื้นผิวลำตัวหลากหลายทั้ง ดำ, เหลือง, ม่วง หรือน้ำตาลแดง โดยสามารถเปลี่ยนสีลำตัวได้ตามสภาพแวดล้อม มีขนาดความยาว 25-30 เซนติเมตร พบได้ในทะเลทั่วไปแถบอินโด-แปซิฟิกจนถึงฮาวาย ในน่านน้ำไทยถือว่าเป็นม้าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุด

เป็นม้าน้ำที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว แต่ทว่าอัตราการรอดมีน้อย จึงเพาะพันธุ์เป็นจำนวนมากไม่ได้ ต้องใช้ม้าน้ำจากธรรมชาติที่ท้องแล้ว แต่ในปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในหลายที่ และมีอัตราการรอดสูง โดยเลี้ยงให้ผสมพันธุ์กันเองในที่เลี้ยง[2]

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 มีข่าวปรากฏว่าชาวประมงในอำเภอละแม จังหวัดชุมพร จับม้าน้ำที่มีสีเหลืองทองทั้งตัวได้ โดยที่ไม่เคยเจอม้าน้ำลักษณะแบบนี้มาก่อน ในเบื้องต้นเชื่อว่าเป็นม้าน้ำหนาม (H. spinosissimus) แต่เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นม้าน้ำดำ[3]

อ้างอิง แก้

  1. จาก IUCN (อังกฤษ)
  2. ปลาทะเลที่เพาะพันธุ์ได้ในประเทศไทย ตอนจบ, นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ หน้า 137 คอลัมน์ Blue Planet นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 22 ปีที่ 2: เมษายน 2012
  3. "เผย "ม้าน้ำสีทอง" ที่พบเป็นสายพันธุ์ "ม้าน้ำดำ"". nationtv.tv. 13 November 2014. สืบค้นเมื่อ 22 November 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้