มเหสี
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
พระมเหสี หมายถึง เจ้านาย[1]ที่เป็นภรรยาของพระมหากษัตริย์[2] ถ้าเป็นภรรยาเอกเรียกว่า พระอัครมเหสี[3] ถ้าไม่ใช่เจ้านายเรียกว่าบาทบริจาริกา[4]
ยุโรป
แก้ยศของมเหสีของยุโรป ใช้ได้หลายคำ ตามพระยศของพระสวามี ดังนี้
- สมเด็จพระจักรพรรดินี (Empress consort) พระอัครมเหสีของสมเด็จพระจักรพรรดิ เช่น
- เยอรมันอย่างออสเตรียและเยอรมนี จักรพรรดิจะเรียกว่า ไคเซอร์ (Kaiser) ส่วนจักรพรรดินี เรียกว่า ไคเซอริน (Kaiserin)
- สลาฟ อย่างรัสเซียและบัลแกเรีย จักรพรรดิจะเรียกว่า ซาร์ (Czar) ส่วนจักรพรรดินี เรียกว่า ซารีนา (Czarina) ในบรรดาประเทศที่ประมุขดำรงพระยศเป็นจักรพรรดิและจักรพรรดินีนั้น จะมีคำนำหน้าว่า His/Her Imperial Majesty
- สมเด็จพระราชินี พระอัครมเหสีของสมเด็จพระราชา เช่น
- เยอรมัน ราชา เรียกว่า โคนิก (König) ราชินีเรียกว่า โคนิกกิน (Königin)
- ฝรั่งเศส ราชา เรียกว่า รัว (Roi) ราชินีเรียกว่า แรน (Reine)
- อิตาลี ราชา เรียกว่า เร (Re) ลาตินเรียกว่า เร็กซ์ (Rex) ราชินีเรียกว่า เรจิน่า (Regina)
- สเปน ราชา เรียกว่า เรย์ (Rey) ราชินีเรียกว่า เรย์น่า (Reina)
- เนเธอร์แลนด์ ราชา เรียกว่า Koning ราชินีเรียกว่า Koningin
เอเชีย
แก้ยศของมเหสีทางราชสำนักในเอเชีย ก็ใช้ได้หลายคำ ตามพระยศของพระสวามี เช่นกัน อาทิ
- สมเด็จพระจักรพรรดินี (Empress consort) พระมเหสีของสมเด็จพระจักรพรรดิ เช่น
- จีน จักรพรรดิ เรียกว่า ฮ่องเต้ (皇帝, Huángdì) จักรพรรดินี เรียกว่า ฮองเฮา (皇后, Húanghòu)
- ญี่ปุ่น จักรพรรดิ เรียกว่า เท็นโน (天皇, Tennō) จักรพรรดินี เรียกว่า โคโง (皇后, Kōgō)
- เกาหลี จักรพรรดิ เรียกว่า ฮวางเจ (皇帝, Hwangje) จักรพรรดินี เรียกว่า ฮวางฮู (皇后, Hwanghu)
- เวียดนาม จักรพรรดิ เรียกว่า ฮว่างเด๋ (皇帝, Hoàng đế) จักรพรรดินี เรียกว่า ฮว่างเหิ่ว (皇后, Hoàng hậu)
- อิหร่าน จักรพรรดิ เรียกว่า ชาฮันชาห์ (شاهنشاه, Shahanshah) จักรพรรดินี เรียกว่า ชาห์บานู (شهبانو, Shahbanu)
- มองโกเลีย จักรพรรดิ เรียกว่า คากาน (Khagan) จักรพรรดินี เรียกว่า คาตุน (Khatun)
- สมเด็จพระราชินี พระอัครมเหสีของสมเด็จพระราชา เช่น
- ไทย มีพระมเหสีได้หลายพระองค์ แต่จะมีผู้ดำรงตำแหน่งสูงที่สุดเพียงพระองค์เดียว เรียกว่า พระอัครมเหสี ถ้าเคยดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เรียกว่า สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
- เกาหลี กษัตริย์ เรียกว่า วัง (왕, Wang) ราชินีเรียกว่า วังบี (王妃, Wangbi)
- มาเลเซีย กษัตริย์ เรียกว่า ยังดีเปอร์ตวนอากง (يڠ د-ڤرتوان اڬوڠ, Yang di-Pertuan Agong) ราชินีเรียกว่า รายา ประไหมสุหรี อากง ( راج ڤرماءيسوري اڬوڠ, Raja Permaisuri Agong)
แอฟริกา
แก้ยศของมเหสีของแอฟริกา ใช้ได้หลายคำ ตามพระยศของพระสวามี ดังนี้
- สมเด็จพระจักรพรรดินี (Empress consort) พระมเหสีของสมเด็จพระจักรพรรดิ เช่น
- เอธิโอเปีย จักรพรรดิ เรียกว่า เนกัสซา นากัส (Nəgusä Nägäst) จักรพรรดินี เรียกว่า เนเกสซา นากัส (Nəgəstä Nägäst)
- สมเด็จพระราชินี พระอัครมเหสีของสมเด็จพระราชา เช่น
- เอสวาตีนี ราชา เรียกว่า สิงโต (Ngwenyama) ราชินีเรียกว่า นางพญาช้าง (Ndlovukati)
โอเชียเนีย
แก้ยศของมเหสีของโอเชียเนีย ตามพระยศของพระสวามี คือ
- สมเด็จพระราชินี พระอัครมเหสีของพระมหากษัตริย์ เช่น
- ฟีจี กษัตริย์ เรียกว่า ราตู (Ratu) ราชินีเรียกว่า เอดิ (Adi)
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- บรรณานุกรม
- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. ISBN 978-616-7073-80-4
- สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. ราชาศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2555. 416 หน้า. ISBN 978-616-235-142-6