มิติ
มิติ ความหมายโดยทั่วไปหมายถึง สิ่งที่บอกคุณสมบัติของวัตถุ ได้แก่ ความกว้าง ความยาว และ ความสูง ส่วนในทางคณิตศาสตร์ มิติ หมายถึงจำนวนตัวเลขที่ต้องการเพื่อระบุตำแหน่งและคุณสมบัติของวัตถุใด ๆ ในปริภูมิ ในศาสตร์ต่าง ๆ อาจนิยามความหมายของคำว่า มิติ แทนจำนวนพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ต้นทุน และ ราคา ในทางเศรษฐศาสตร์
ตัวอย่างในทางภูมิศาสตร์เช่น จุดบนพื้นผิวโลก สามารถกำหนดได้โดยตัวเลขค่าละติจูดและลองจิจูด ทำให้แผนที่ดังกล่าวมีสองมิติ (ถึงแม้ว่าโลกจะมีรูปร่างเกือบทรงกลมซึ่งมีสามมิติก็ตาม) ในการกำหนดตำแหน่งเครื่องบินหรืออากาศยานอื่น นอกจากละติจูดและลองจิจูดแล้ว ยังมีอีกตัวแปรหนึ่งคือค่า ความสูงจากพื้นดิน ทำให้พิกัดของเครื่องบิน เป็นสามมิติ
เวลา สามารถใช้เป็นมิติที่สามหรือที่สี่ (เพิ่มจากพื้นที่สองหรือสามมิติเดิม) ในการกำหนดตำแหน่งได้
มิติในทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์
แก้หมายเหตุ
- Ma ทางคณิตศาสตร์
- Ph ทางฟิสิกส์
- ศูนย์มิติ:
- Ma จุด
- Ma ปริภูมิช่องว่างศูนย์มิติ ในทางคณิตศาสตร์, ทอพอโลยี
- Ma จำนวนเต็ม
- หนึ่งมิติ:
- สองมิติ:
- Ma จำนวนเชิงซ้อน
- Ma ระบบพิกัดคาร์ทีเซียน (ระบบพิกัดสี่เหลี่ยมผืนผ้า)
- Ma ยูนิฟอร์ม ไทลิ่ง ในคณิตศาสตร์, เรขาคณิตยูคลิด
- Ma พื้นผิว ในทางคณิตศาสตร์, ทอพอโลยี
- สามมิติ:
- Ma ทรงตันเพลโต (ทรงนูนหลายหน้าปรกติ), เรขาคณิต
- Ph สเตอริโอสโคปี (ภาพ 3 มิติ)
- Ph มุมของออยเลอร์ (ทรงตันในอุดมคติ)
- Ma ช่องว่าง 3 มิติ ในคณิตศาสตร์นามธรรม, ทอพอโลยี
- Ma ปม ในทางคณิตศาสตร์
- สี่มิติ:
- Ph, Ma ปริภูมิ-เวลา (ทฤษฎีสัมพัทธภาพ)
- Ph, Ma เทสเซอแรคต์ (ช่องว่าง 4 มิติ; มิติที่ 4 ของอวกาศ)
- Ma พอลิโครอน (พอลิโทป 4 มิติ) คณิตศาสตร์, ทอพอโลยี
- Ma ควอเทอร์เนียน (จำนวนเชิงซ้อน ในคณิตศาสตร์ทฤษฎีจำนวน)
- Ma ช่องว่าง 4 มิติ ในคณิตศาสตร์นามธรรม, ทอพอโลยี
- มิติที่สูงขึ้นไปในทางคณิตศาสตร์:
- Ma ออคโตเนียน (จำนวนจริงและพีชคณิต)
- Ma เวกเตอร์
- Ma ช่องว่าง (ช่องว่างในทางคณิตศาสตร์นามธรรม)
- Ma ช่องว่างคาลาไบ-หยู
- มิติที่สูงขึ้นไปในทางฟิสิกส์:
- Ph ทฤษฎีคาลูซ่า-ไคลน์ (แรงพื้นฐานของแรงโน้มถ่วง, แรงแม่เหล็กไฟฟ้า)
- Ph ทฤษฎีสตริง (ฟิสิกส์ทฤษฎีและคณิตศาสตร์ฟิสิกส์)
- Ph ทฤษฎีเอ็ม (ฟิสิกส์ทฤษฎี)
- มิติที่ไม่มีที่สิ้นสุด (มิติที่เป็นอนันต์) :
- มิติจินตภาพ (imaginary dimension):
มิติจินตภาพเป็นมิติทางจินตนาการ ที่คนมักนำไปอ้างอิง ทำเป็นนิยายแนววิทยาศาสตร์มากมาย หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ มัลติเวิร์ส มิติจินตภาพเป็นมิติตั้งแต่มิติที่ 5 ขึ้นไปถึงมิติที่ 8 เป็นอย่างน้อย ขึ้นอยู่กับการตีความของแต่ละนักคิด แยกย่อยไปอีก ทำให้เกิดแนวคิดมีโลกต่างมิติ และกฎแห่งกรรมด้วย (ถ้าจะสรุปง่ายๆ มิติจินตภาพคือการเอามิติที่ 4 มาทำเป็นมิติที่ 0,1,2,3,และ4 ทำให้เกิดมิติซ้อนมิติขึ้นมา)
- Ph Ma มิติที่ 5 คือการสมมุติว่าถ้าเวลาในมิติที่ 4 คือ จุด เหมือนมิติที่ 0 และให้มิติที่ 4 ลากเส้นแบบมิติที่ 1 มิติที่ 4 ก็จะอยู่ในรูปแบบเวลาที่เป็นแบบเส้นตรงที่เดินไปข้างหน้าหรือถอยไปข้างหลัง (ทำให้สามารถไปในอดีตและอนาคตได้)
- Ph Ma มิติที่ 6 คือสมมุติให้มิติที่ 4 ลากเส้นแบบมิติที่ 2 (กว้างยาว) ก็สามารถทำให้เกิดเส้นแยกสองเส้นเหมือนตัว Y ขึ้นมาได้ เกิดมิติพื้นผิวของมิติที่ 4 ทำให้เวลาเกิดการแยกเส้นเวลาของทุกความเป็นไปได้ (เกิดมัลติเวิร์สขึ้นในมิติที่ 6 นี่เอง ซึ่งนิยายหลายเรื่องจะใช้การตัดสินใจทุกทางเลือกทุกกระทำของแต่ล่ะเหตุการณ์ของแต่ล่ะคนจึงทำให้เกิดทางแยกของเส้นเวลามากมาย)
- Ph Ma มิติที่ 7 คือการสมมุติให้มิติที่ 4 มีความกว้างยาวลึกแบบมิติที่ 3 ทำให้เกิดมิติพื้นที่ช่องว่างของมิติที่ 4 ทำให้เกิดพื้นที่ช่องว่างทับซ้อนในมิติเวลา (เกิดโลกต่างมิติขึ้น)
- Ph Ma มิติที่ 8 คือการสมมุติให้มิติที่ 4 มีกาลเวลาแบบมิติที่ 4 ทำให้การกระทำในมิติเวลาหนึ่งสามารถให้ผลในอีกมิติเวลาหนึ่งได้ ทุกการกระทำที่เกิดขึ้นจะไม่สูญหายแต่จะไปให้ผลในอีกช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งทุกการกระทำจะให้ผลในช่วงเวลาข้างหน้าอย่างเดียว นั่นเพราะเวลาพื้นฐานจะเดินทางไปข้างหน้าเท่านั้น (แนวคิดแบบกฎแห่งกรรม การกระทำในช่วงเวลาหนึ่ง ไปมีผลในอีกช่วงเวลาหนึ่ง)