มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี (อังกฤษ: Dhonburi Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ตั้งอยู่ที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เริ่มเปิดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2491

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ชื่อย่อมรธ. / DRU
คติพจน์สิกฺขมยปญฺญา
(ปัญญาเกิดจากการศึกษา)
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (18 ปี)
นายกสภาฯผู้ช่วยศาสตราจารย์ อารีย์ วชิรวราการ[1]
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุวลักษณ์ เวชวิทยาขลัง[2]
ที่ตั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
เลขที่ 172 ถนนอิสรภาพ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ
เลขที่ 59/1 ม.14 ซ.เทศบาลบางปู 119 ถนนสุขุมวิท ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
สี████ สีเหลือง สีขาว
เว็บไซต์www.dru.ac.th
ดูบทความหลักที่: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

ประวัติแก้ไข

 
ทางเข้ามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มีประวัติความเป็นมาเริ่มจากการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีอาชีวศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษาขึ้น และเปิดสอนเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 ต่อมาได้โอนมาสังกัดกรมการฝึกหัดครูตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ พ.ศ. 2498 และได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีอาชีวศึกษา เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูธนบุรี เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 และเป็นวิทยาลัยครูธนบุรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2513 และสามารถผลิตครูได้ถึงระดับปริญญาตรี ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518

พ.ศ. 2527 วิทยาลัยครูธนบุรี รวมอยู่ในวิทยาลัยครูกลุ่มที่แปด ซึ่งประกอบด้วย วิทยาลัยครูจันทรเกษม วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วิทยาลัยครูพระนคร วิทยาลัยครูสวนดุสิต และวิทยาลัยครูสวนสุนันทา ตามข้อบังคับของสภาการฝึกหัดครู ว่าด้วยการบริหารกลุ่มวิทยาลัย ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 โดยให้วิทยาลัยครูดำเนินการร่วมกัน เรียกว่า “สหวิทยาลัย”

พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฎ” แทน “วิทยาลัยครู” เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 และประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ เมื่อ พ.ศ. 2538 โดยยกฐานะวิทยาลัยครูทุกแห่ง เป็น “สถาบันราชภัฏ” วิทยาลัยครูธนบุรี จึงเปลี่ยนฐานะเป็นสถาบันราชภัฏธนบุรี ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษา และสาขาวิชาการอื่น ทั้งระดับปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี

พ.ศ. 2542 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา สาขาบริหารการศึกษา สาขาไทยศึกษา สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต) สาขาไทยศึกษาและหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู

พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 เป็นผลทำให้สถาบันราชภัฏทุกแห่งเปลี่ยนสถานภาพเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคล สถาบันราชภัฏธนบุรี จึงเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ตามพระราชบัญญัตินี้ ดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547

พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี พัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรี และปริญญาโทขึ้นเองหลายหลักสูตร และทำการปรับปรุงหลักสูตรสภาสถาบันราชภัฏเดิมให้เป็นหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี พ.ศ. 2549 เพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 และใช้เปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 เป็นต้นมา

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยแก้ไข

ตราประจำมหาวิทยาลัยแก้ไข

  • สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน “สถาบันราชภัฏ”
  • สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งของสถาบันฯ 41 แห่งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
  • สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
  • สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 40 สถาบัน
  • สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

สีประจำมหาวิทยาลัยแก้ไข

  • สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเหลือง - ขาว

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยแก้ไข

  • พิกุล - ต้นจัน

อ้างอิงแก้ไข

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/100/14.PDF | ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/067/4.PDF | ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′02″N 100°29′31″E / 13.733983°N 100.491852°E / 13.733983; 100.491852