ภาษาเซี่ยงไฮ้

(เปลี่ยนทางจาก ภาษาจีนเซี่ยงไฮ้)

ภาษาเซี่ยงไฮ้ (上海閒話 ในภาษาเซี่ยงไฮ้; จีนตัวย่อ: 上海话 หรือ 沪语; จีนตัวเต็ม: 上海話 หรือ 滬語) หรือบางครั้งเรียกสำเนียงเซี่ยงไฮ้เป็นสำเนียงของภาษาอู๋ที่ใช้พูดในเมืองเซี่ยงไฮ้และบริเวณโดยรอบ จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาเซี่ยงไฮ้เป็นเช่นเดียวกับสำเนียงอื่น ๆ ของภาษาอู๋คือสามารถเข้าใจกันได้กับภาษาจีนสำเนียงอื่น ๆ น้อยมากโดยเฉพาะภาษาจีนกลาง หรือแม้แต่กับสำเนียงย่อยอื่น ๆ ของภาษาอู๋

ภาษาเซี่ยงไฮ้
上海話 / 上海话, Zaonhegho
上海閒話 / 上海闲话, Zaonhe-ghegho
滬語 / 沪语, Wu nyu
ออกเสียง[zɑ̃̀hɛ́ ɦɛ̀ɦò], [ɦùɲỳ]
ประเทศที่มีการพูดจีน
ภูมิภาคเซี่ยงไฮ้; บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลรวมทั้งในสหรัฐ (นิวยอร์ก)
จำนวนผู้พูด10–14 ล้านคน  (2556)
ตระกูลภาษา
จีน-ทิเบต
รหัสภาษา
ISO 639-3
ISO 639-6suji
นักภาษาศาสตร์wuu-sha
Linguasphere79-AAA-dbb >
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาเซี่ยงไฮ้เป็นตัวแทนของภาษาอู๋เหนือ (บริเวณทางใต้ของเจียงซูและทางเหนือของเจ้อเจียง) มีผู้พูดเกือบ 14 ล้านคน จัดเป็นสำเนียงที่มีผู้พูดมากที่สุดในบรรดาสำเนียงของภาษาอู๋ทั้งหมด ในเอกสารทางตะวันตก คำว่าภาษาเซี่ยงไฮ้หมายถึงภาษาอู๋ทั้งหมดโดยไม่ได้เน้นเฉพาะสำเนียงของภาษาอู๋ที่ใช้พูดในเซี่ยงไฮ้

สัทวิทยา แก้

ภาษาเซี่ยงไฮ้มีรูปแบบของโครงสร้างพยางค์เช่นเดียวกับภาษาจีนอื่น ๆ โดยสามารถแบ่งออกเป็นหน่วยเสียงส่วนต้นและส่วนท้าย โดยส่วนท้ายสามารถมีส่วนแกนพยางค์ (medial) หรือไม่ก็ได้ และต้องมีส่วนท้ายพยางค์ (obligatory rime) เสียงวรรณยุกต์ก็เป็นคุณลักษณะหนึ่งของพยางค์ในภาษาเซี่ยงไฮ้[1]: 6–16  โดยวรรณยุกต์ในพยางค์ (syllabic tone) ซึ่งเป็นคุณสมบัติทั่วไปของภาษาในตระกูลภาษาซินิติก ส่วนใหญ่กลายเป็นระดับน้ำเสียง (verbal tone) ในภาษาเซี่ยงไฮ้[ต้องการอ้างอิง]

ต้นพยางค์ แก้

พยัญชนะต้นในภาษาเซี่ยงไฮ้
  โอษฐชะ ทันตชะ/มุทธชะ ตาลุชะ เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก m n ɲ ŋ  
เสียงระเบิด สิถิล p k ʔ
ธนิต t̪ʰ  
โฆษะ b ɡ  
เสียงกักเสียดแทรก สิถิล t͡ɕ
ธนิต t͡ɕʰ  
โฆษะ d͡ʑ  
เสียงเสียดแทรก อโฆษะ f s ɕ   h
โฆษะ v z ʑ   ɦ
เสียงข้างลิ้น l

ภาษาเซี่ยงไฮ้มีชุดหน่วยเสียงอโฆษะสิถิล, อโฆษะธนิต และหน่วยเสียงโฆษะ ในพยัญชนะเสียงระเบิดและพยัญชนะเสียงกักเสียดแทรก เช่นเดียวกับมีหน่วยเสียงอโฆษะและโฆษะในพยัญชนะเสียงเสียดแทรก พยัญชนะต้นที่มีฐานเพดานแข็งปุ่มเหงือก (alveolo-palatal) ก็พบในภาษาเซี่ยงไฮ้เช่นกัน

การออกเสียงพยัญชนะหยุด จะใช้การเปล่งเสียงคลาย (slack voice) ของหน่วยเสียงอโฆษะในตำแหน่งเริ่มต้นของคำที่เน้นเสียง[2] การออกเสียงนี้ (มักพบในเสียงพึมพำ) ยังเกิดขึ้นในพยางค์ที่ไม่มีหน่วยเสียงต้นพยางค์, พยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยเสียงเสียดแทรก และพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยเสียงก้องกังวาน (sonorants) พยัญชนะเหล่านี้จะเปล่งเป็นเสียงโฆษะในตำแหน่งที่อยู่ระหว่างสระ[3]

ท้ายพยางค์ แก้

ตารางด้านล่างแสดงเสียงสระในตำแหน่งแกนกลางพยางค์ของภาษาเซี่ยงไฮ้[4]

สระหน้า สระกลาง สระหลัง
ปากเหยียด ปากห่อ
ระดับสูง /i/ /y/ /u, o/
ระดับกลาง /ɛ/ /ø/ /ə/ /ɔ/
ระดับต่า /a/ /ɑ/
ประสมสองเสียง /e(i), ɤ(ɯ)/

แผนภูมิต่อไปนี้แสดงส่วนท้ายพยางค์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด (พยัญชนะกลาง medial + แกนพยางค์ nucleus + พยัญชนะท้าย coda) ในภาษาเซี่ยงไฮ้ที่แสดงด้วย สัทอักษรสากล[4][5][1]: 11 

พยัญชนะท้าย เสียงเปิด เสียงนาสิก เสียงหยุด เส้นเสียง
พยัญชนะกลาง j w j w j w
แกนพยางค์ a a ja wa ɐ̃ jɐ̃ wɐ̃ ɐʔ jɐʔ wɐʔ
ɑ       ɑ̃ jɑ̃ wɑ̃      
e e   we            
ɛ ɛ        
ə       ən   wən əʔ   wəʔ
ɤ ɤ              
o o                
ɔ ɔ      
ø ø        
i i     ɪɲ     ɪʔ    
u u     ʊŋ jʊŋ   ʊʔ jʊʔ  
y y     ʏɲ     ʏʔ    
พยางค์เสียงต่อเนื่อง: [z̩] [m̩] [ŋ̩] [l̩]

การถอดเสียงข้างต้นใช้เป็นการทั่วไป และประเด็นต่อไปนี้เป็นข้อควรทราบซึ่งเกี่ยวข้องกับการออกเสียงจริง:[4]

  • เสียงคู่สระ [a, ɐ], [ɛ, ɪ], [ɔ, ʊ] และ [ø, ʏ] แต่ละคู่ออกเสียงคล้ายกัน ([ɐ], [e], [o̞] และ [ø] ตามลำดับ) แม้จะมี การถอดเสียงทั่วไปที่แตกต่างกัน
  • /u, o/ มีการออกเสียงคล้ายกัน โดยแตกต่างกันเล็กน้อยในรูปร่างของริมฝีปาก ([ɯ̽ᵝ, ʊ] ตามลำดับ) /i, jɛ/ ก็มีการออกเสียงที่คล้ายคลึงกันโดยมีความสูงของเสียงสระต่างกันเล็กน้อย ([i, i̝] ตามลำดับ) สองคู่นี้ถูกรวมเข้าด้วยกันในผู้ใช้ภาษารุ่นเยาว์

คนรุ่นใหม่หลายคนออกเสียงควบกล้ำสระ /e, ɤ/ เป็น [ei, ɤɯ]

  • /j/ ออกเสียงเป็น [ɥ] เมื่ออยู่ก่อนสระปากห่อ

พยางค์ท้าย [-ŋ] ซึ่งมีในภาษาจีนยุคกลางยังคงอยู่ ในขณะที่ [-n] และ [-m] อาจจะยังคงอยู่หรือหายไปแล้วในภาษาเซี่ยงไฮ้ พยางค์ท้ายของภาษาจีนยุคกลาง [-p -t -k] ได้กลายเป็นเสียงหยุดเส้นเสียง [-ʔ][6]

วรรณยุกต์ แก้

ภาษาเซี่ยงไฮ้มีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกันห้าเสียงสำหรับคำพยางค์เดียวที่พูดแยกต่างหาก วรรณยุกต์เหล่านี้แสดงไว้ด้านล่างในแบบ "อักษรวรรณยุกต์จ้าว (Chao tone letters)" ในแง่ของการกำหนดวรรณยุกต์ของภาษาจีนยุคกลางหมวดวรรณยุกต์ยิน มีสามเสียง (เสียงยินซั่ง และยินชู่ รวมกันเป็นเสียงเดียว) ในขณะที่ประเภทหยาง มีสองเสียง (หยางผิง, หยางซั่ง และหยางชู่ รวมกันเป็นเสียงเดียว)[7][1]: 17 

การระบุเสียงวรรณยุกต์ห้าเสียงในภาษาเซี่ยงไฮ้
แบ่งประเภทตามภาษาจีนยุคกลาง
ผิง Ping () ซั่ง Shang () ชู่ Qu () รู่ Ru ()
ยิน Yin (阴) 52 (T1) 34 (T2) 44ʔ (T4)
หยาง Yang (阳) 14 (T3) 24ʔ (T5)

ปัจจัยของเงื่อนไขที่นำไปสู่การแยกยิน–หยางยังคงมีอยู่ในภาษาเซี่ยงไฮ้เช่นเดียวกับในภาษาอู๋อื่น ๆ : วรรณยุกต์หยางจะพบเฉพาะกับพยางค์ที่มีพยัญชนะต้นเสียงโฆษะ [b d ɡ z v dʑ ʑ m n ɲ ŋ l ɦ] ในขณะที่วรรณยุกต์ยินนั้น พบเฉพาะกับพยางค์ที่มีพยัญชนะต้นเสียงอโฆษะเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]

เสียงของวรรณยุกต์ รู่ จะดังขึ้นอย่างฉับพลัน และแสดงถึงพยางค์ท้ายคำเหล่านั้นซึ่งลงท้ายด้วยเสียงหยุดเส้นเสียง /ʔ/ นั่นคือทั้งความแตกต่างของยิน–หยาง และวรรณยุกต์ รู่ เป็นแบบหน่วยเสียงย่อย (allophonic) ซึ่งขึ้นอยู่กับโครงสร้างพยางค์ ภาษาเซี่ยงไฮ้มีความแตกต่างของการออกเสียงวรรณยุกต์แบบสองทางเท่านั้น[8] คือเสียงเปลี่ยนตกและเสียงเปลี่ยนขึ้น และจะมีเฉพาะในพยางค์เปิดที่มีพยัญชนะต้นเสียงอโฆษะเท่านั้น

วรรณยุกต์สนธิ แก้

วรรณยุกต์สนธิ เป็นกระบวนการที่เสียงวรรณยุกต์ที่อยู่ติดกันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในระหว่างการพูดที่ติดต่อกัน เช่นเดียวกับสำเนียงอื่น ๆ ของภาษาอู๋ภาคเหนือ ภาษาเซี่ยงไฮ้มีลักษณะวรรณยุกต์สนธิสองรูปแบบ: วรรณยุกต์สนธิคำ และวรรณยุกต์สนธิวลี

วรรณยุกต์สนธิคำ ในภาษาเซี่ยงไฮ้ สามารถอธิบายได้ว่าคำที่มีความเด่นด้านซ้าย (เน้นพยางค์แรกเด่น) จะมีลักษณะการครอบงำของพยางค์แรกเหนือรูปร่างของขอบเขตเสียงทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เสียงวรรณยุกต์หลักของพยางค์อื่นที่ไม่ใช่พยางค์ซ้ายสุดจึงไม่มีผลกระทบต่อรูปร่างของขอบเขตเสียง รูปแบบโดยทั่วไปอธิบายว่าเป็นการกระจายของเสียงวรรณยุกต์ (T1-4) หรือการเปลี่ยนวรรณยุกต์ (T5 ยกเว้นสำหรับคำประกอบ 4 และ 5 พยางค์ ซึ่งอาจเกิดการกระจายหรือการเปลี่ยนก็ได้) ตารางด้านล่างแสดงการผสานเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นไปได้

วรรณยุกต์สนธิของคำที่มีความเด่นด้านซ้าย
วรรณยุกต์ พยางค์เดียว สองพยางค์ สามพยางค์ สี่พยางค์ ห้าพยางค์
T1 52 55 22 55 44 22 55 44 33 22 55 44 33 33 22
T2 34 33 44 33 44 22 33 44 33 22 33 44 33 33 22
T3 14 11 44 11 44 11 11 44 33 11 11 44 33 22 11
T4 44 33 44 33 44 22 33 44 33 22 33 44 33 22 22
T5 24 11 24 11 11 24 11 22 22 24
22 44 33 11
11 11 11 11 24
22 44 33 22 11

ตัวอย่างเช่น ในการแยกพยางค์สองพยางค์ของคำว่า 中国 จะออกเสียงด้วยวรรณยุกต์ T1 และ T4: /tsʊŋ˥˨/ และ /kwəʔ˦/ อย่างไรก็ตามเมื่อออกเสียงรวมกันเสียง T1 จาก /tsʊŋ/ กระจายไปทั่วคำประกอบทำให้เกิดรูปแบบ /tsʊŋ˥kwəʔ˨/ ในทำนองเดียวกันพยางค์ในนิพจน์ 愚蠢的 มีการแสดงการออกเสียงและวรรณยุกต์ตามลำดับดังนี้: /zəʔ˨˦/ (T5), /sɛ˥˨/ (T1), และ /ti˧˦/ (T2) อย่างไรก็ตามพยางค์ที่รวมกันจะแสดงรูปแบบการเปลี่ยน T5 โดยที่ T5 พยางค์แรกจะเปลี่ยนไปเป็นพยางค์สุดท้ายในขอบเขต: /zəʔ˩sɛ˩ti˨˦/[1]: 38–46 

วรรณยุกต์สนธิวลี ในภาษาเซี่ยงไฮ้สามารถอธิบายได้ว่ามีความโดดเด่นด้านขวาและมีลักษณะที่พยางค์ด้านขวาจะรักษาเสียงวรรณยุกต์ไว้และพยางค์ด้านซ้ายได้รับเสียงระดับกลางตามพื้นฐานของเสียงวรรณยุกต์ระดับ ตารางด้านล่างแสดงเสียงพยางค์ด้านซ้ายที่เป็นไปได้ในคำประกอบที่มีความโดดเด่นด้านขวา[1]: 46–47 

เสียงวรรณยุกต์สนธิที่เป็นไปได้ของพยางค์ด้านซ้ายในคำประกอบที่มีความโดดเด่นด้านขวา
วรรณยุกต์ วรรณยุกต์ฐาน วรรณยุกต์เสียงกลาง
T1 52 44
T2 34 44
T3 14 33
T4 44 44
T5 24 22

ตัวอย่างเช่นเมื่อรวม /ma˩˦/ () และ /tɕjɤ˧˦/ () จะกลายเป็น /ma˧tɕjɤ˧˦/ (买酒)

บางครั้งความหมายอาจเปลี่ยนไป โดยขึ้นอยู่กับว่าใช้วรรณยุกต์สนธิโดยมีความเด่นด้านซ้ายหรือด้านขวา ตัวอย่างเช่น /tsʰɔ˧˦/ () และ /mi˩˦/ () เมื่อออกเสียง /tsʰɔ˧mi˦/ (กล่าวคือวรรณยุกต์สนธิเด่นด้านซ้าย) หมายถึง "บะหมี่ผัด" เมื่อออกเสียงว่า /tsʰɔ˦mi˩˦/ (ซึ่งวรรณยุกต์สนธิเด่นด้านขวา) จะแปลว่า "ผัดบะหมี่" [1] : 35 

การเมืองของภาษา แก้

ภาษาเซี่ยงไฮ้ไม่มีการสอนในโรงเรียน ไม่ได้ใช้ในการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์และมีการควบคุมการใช้ในสื่อออกอากาศ ทำให้ผู้ดำเนินรายการไม่เสี่ยงที่จะใช้ภาษาเซี่ยงไฮ้ รายการทางโทรทัศน์ที่ใช้ภาษาเซี่ยงไฮ้เริ่มมีหลัง พ.ศ. 2533 แต่เป็นจำนวนน้อย ชาวเซี่ยงไฮ้ในชนบทที่อายุมากยังฟังวิทยุภาษาเซี่ยงไฮ้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้รณรงค์ให้ใช้ภาษาจีนกลางมากขึ้น เช่น คำขวัญที่ว่า "เป็นคนเซี่ยงไฮ้สมัยใหม่ พูดภาษาจีนกลาง"

ใน พ.ศ. 2548 รัฐบาลได้พยายามสนับสนุนให้ชาวเซี่ยงไฮ้ใช้ภาษาจีนกลางมากยิ่งขึ้น คนงานในอุตสาหกรรมบริการในเซี่ยงไฮ้ต้องใช้ภาษาจีนกลางเท่านั้น และตั้งแต่ พ.ศ. 2533 ต้องผ่านการทดสอบภาษาจีนกลางก่อน ถ้าไม่ผ่านหรือออกเสียงไม่ถูกต้องต้องกลับไปเรียนภาษาจีนกลางใหม่

ความเข้าใจกันได้และความแปรผัน แก้

ผู้พูดภาษาเซี่ยงไฮ้ไม่สามารถเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษาจีนกลางสำเนียงใดเลย โดยมีความเข้าใจกันได้กับภาษาจีนกลางมาตรฐานเพียง 50% ซึ่งใกล้เคียงกับความเข้าใจกันได้ระหว่างภาษาฝรั่งเศสกับภาษาเยอรมัน ผู้พูดภาษาเซี่ยงไฮ้ยุคใหม่ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนกลาง ทำให้ภาษาเซี่ยงไฮ้ของวัยรุ่นในเมืองต่างจากภาษาเซี่ยงไฮ้ของคนรุ่นก่อน และมีการสอดแทรกประโยคจากภาษาจีนกลางเข้าไปในการสนทนาในชีวิตประจำวัน

ภาษาเซี่ยงไฮ้จัดอยู่ในกลุ่มของภาษาอู๋ซึ่งสำเนียงต่าง ๆ ของภาษาในกลุ่มนี้สามารถที่จะเข้าใจกันได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนไปพูดภาษาจีนกลาง แม้จะมีความแตกต่างทางด้านวรรณยุกต์และความแปรผันในแต่ละพื้นที่บ้าง

คำและวลีที่ใช้ทั่วไปในภาษาเซี่ยงไฮ้ แก้

หมายเหตุ: อักษรจีนที่ใช้ไม่ได้เป็นมาตรฐานและใช้เฉพาะการอ้างอิงเท่านั้น IPA ถอดเสียงจากภาษาเซี่ยงไฮ้ยุคกลาง (中派上海话) ซึ่งใช้โดยผู้ที่มีอายุ 20 - 60 ปี

แปล สัทอักษรสากล อักษรจีน
ภาษาเซี่ยงไฮ้ [zɑ̃.ˈhe.ɦɛ.ɦʊ] 上海閒話 or 上海闲话
ชาวเซี่ยงไฮ้ [zɑ̃.ˈhe.ɲɪɲ] 上海人
ฉัน [ŋu]
เราหรือฉัน [ŋu.ɲi] or [ɐˑ.lɐʔ] 我伲、阿拉(我拉)
เขาหรือหล่อน [ɦi] 渠(伊, 其)
พวกเขา [ɦi.la] 渠拉(伊拉)
คุณ [noŋ] (儂)
พวกคุณ [na]
สวัสดี [noŋ hɔ] 侬好(儂好)
ลาก่อน [ˈtse.ɦue] 再会(再會)
ขอบคุณ [ʑ̻iaja noŋ] or [ʑ̻iaʑ̻ia noŋ] 谢谢侬(謝謝儂)
เสียใจ [te.vəˑ.tɕʰi] 对勿起(對勿起)
แต่อย่างไรก็ตาม [dɛ.zɨ], [dɛ.zɨ.ni] 但是, 但是呢
กรุณา [tɕʰɪɲ] (請)
นั่น [ˈe.tsɐʔ], [i.tsɐʔ] 哎只, 伊只
นี่ [ɡəʔ.tsɐʔ] 搿只
ที่นั่น [ˈe.tɐʔ], [i.tɐʔ] 哎垯, 伊垯
นอกเหนือจากที่นั่น [ˈe.mi.tɐʔ], [i.mi.tɐʔ] 哎面垯, 伊面垯
ที่นี่ [ɡəˑ.tɐʔ] 搿垯(箇垯)
มี [ɦiɤɯ.təʔ] 有得
อยู่ [lɐˑ.he] 勒許
ปัจจุบัน [ɦi.ze] 现在(現在)
เวลาเท่าใด [ɦi.ze tɕi.ti tsoŋ] 搿息几点钟?(搿息幾點鐘?)
ที่ไหน [ɦa.ɺi.tɐʔ], [sa.di.fɑ̃] 嚡里垯(嚡裏垯), 啥地方
อะไร [sa ɦəʔ] 啥个, 做啥
ใคร [sa.ɲɪɲ] or [ɦa.ɺi.ɦue] 啥人, 嚡里位
ทำไม [ɦue.sa] 为啥(為啥)
เมื่อใด [sa.zəɲ.kuɑ̃] 啥辰光
อย่างไร [na.nəɲ, na.nəɲ.ka] 哪恁, 哪恁介
มากเท่าใด [tɕi.di] 几钿?几块洋钿?(幾鈿?幾塊銀頭?)
ใช่ [ˈe]
ไม่ใช่ [m̩], [vəˑ.zɨ], [m̩məʔ], [viɔ] 呒, 弗是, 呒没
หมายเลขโทรศัพท์ [di.ɦʊ ɦɔ.dɤɯ] 电话号头(電話號頭)
บ้าน [oˑ.ɺi.ɕiã] 屋里向(屋裏向)
มาที่บ้านของพวกเราและเล่น [tɔ ɐˑ.lɐʔ oˑ.ɺi.ɕiɑ̃ le bəˑ.ɕiã] 到阿拉屋里厢来孛相(白相)!(到阿拉屋裏厢來孛相!)
ห้องน้ำอยู่ที่ไหน [da.sɤɯ.kɛ ɺəˑ.ɺɐʔ ɦa.ɺi.tɐʔ] 汏手间勒勒嚡里垯?(汏手間勒勒嚡裏垯?)
คุณกินอาหารเย็นหรือยัง [ɦia.vɛ tɕʰɪˑ.ku.ləʔ va] 夜饭吃过了𠲎?(夜飯吃過了𠲎?)
ฉันไม่รู้ [ŋɯ; vəˑ.ɕiɔ.təʔ] 我弗 (勿) 晓得.(我弗 (勿) 曉得.)
คุณพูดภาษาอังกฤษได้ไหม [noŋ ˈɪn.vəɲ kãtəʔle va] 侬英文讲得来𠲎?
ฉันรักคุณ [ŋɯ; e noŋ] 我爱侬!(我愛儂!)
ฉันรักคุณ [ŋɯ; e.mɯ noŋ] 我爱慕侬.(我愛慕儂!)
ฉันชอบคุณมาก [ŋɯ; ɺɔ ˈhuø.ɕi noŋ ɦəʔ] 我老欢喜侬搿!(我老歡喜儂搿)
ข่าว [ɕɪɲ.vəɲ] 新闻(新聞)
ตาย [ɕi.tʰəˑ.ləʔ] 死脱了
มีชีวิต [ɦuəˑ.lɐˑ.he] 活勒嗨(活着)
มาก [ˈtɕiɔ.kue] 交关(邪气)
ภายใน [ɺi.ɕiã] 里向
ภายนอก [ŋa.dɤɯ] 外頭
คุณเป็นอย่างไรบ้าง [noŋ hɔ va] 侬好伐?(儂好伐?)

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Zhu, Xiaonong (2006). A Grammar of Shanghai Wu. Lincom.
  2. Ladefoged, Peter, Maddieson, Ian. The Sounds of the World's Languages. Wiley-Blackwell, 1996, p. 64-66.
  3. Zhu, Xiaonong S. Shanghai Tonetics. Lincom Europa, 1999, p. 12.
  4. 4.0 4.1 4.2 Chen & Gussenhoven (2015)
  5. Zhu, Xiaonong S. Shanghai Tonetics. Lincom Europa, 1999, p. 14-17.
  6. Svantesson, Jan-Olof. "Shanghai Vowels," Lund University, Department of Linguistics, Working Papers, 35:191-202
  7. Chen, Zhongmin. Studies in Dialects in the Shanghai Area. Lincom Europa, 2003, p. 74.
  8. Introduction to Shanghainese. Pronunciation (Part 3 - Tones and Pitch Accent) เก็บถาวร มีนาคม 1, 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้