ฟุตบอลหญิงทีมชาติแคนาดา

ฟุตบอลหญิงทีมชาติแคนาดา (ฝรั่งเศส: Équipe du Canada féminine de soccer) เป็นทีมฟุตบอลหญิงตัวแทนของประเทศแคนาดา อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลแคนาดาและเข้าร่วมแข่งขันในรายการที่จัดขึ้นโดยคอนคาแคฟ

แคนาดา
สมาคมสมาคมฟุตบอลแคนาดา
สมาพันธ์คอนคาแคฟ (อเมริกาเหนือ อเมริกากลางและแคริบเบียน)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนเบฟ พรีสต์แมน
กัปตันคริสติน ซินแคลร์
ติดทีมชาติสูงสุดคริสติน ซินแคลร์ (310)
ทำประตูสูงสุดคริสติน ซินแคลร์ (189)
รหัสฟีฟ่าCAN
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 10 ลดลง 3 (สิงหาคม 25, 2023)[1]
อันดับสูงสุด4 (สิงหาคม–ธันวาคม ค.ศ. 2016, มิถุนายน ค.ศ. 2017, มีนาคม ค.ศ. 2018)
อันดับต่ำสุด13 (ธันวาคม ค.ศ. 2005)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ 2–0 แคนาดา ธงชาติแคนาดา
(เบลน สหรัฐ; 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1986)
ชนะสูงสุด
ธงชาติแคนาดา แคนาดา 21–0 ปวยร์โตรีโก ธงชาติปวยร์โตรีโก
(เอโทบิโก รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา; 28 สิงหาคม ค.ศ. 1998)
แพ้สูงสุด
ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ 9–1 แคนาดา ธงชาติแคนาดา
(แดลลัส สหรัฐ; 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1995)
ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ 9–1 แคนาดา ธงชาติแคนาดา
(ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย; 2 มิถุนายน ค.ศ. 2000)
ธงชาตินอร์เวย์ นอร์เวย์ 9–1 แคนาดา ธงชาติแคนาดา
(Honefoss ประเทศนอร์เวย์; 19 มิถุนายน ค.ศ. 2001)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม7 (ครั้งแรกใน 1995)
ผลงานดีที่สุดอันดับที่ 4 (2003)
คอนคาแคฟวีเมนส์โกลด์คัพ
เข้าร่วม9 (ครั้งแรกใน 1991)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1998, 2010)
โอลิมปิกฤดูร้อน
เข้าร่วม4 (ครั้งแรกใน 2008)
ผลงานดีที่สุด เหรียญทอง: (2020)

แคนาดาเริ่มมีผลงานที่โดดเด่นในระดับนานาชาติในการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2003 ซึ่งทีมได้อันดับที่สี่หลังจากแพ้ในนัดชิงเหรียญทองแดงให้กับสหรัฐ[2] แคนาดาได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งแรกในปี 2008 ซึ่งพวกเขาสามารถเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ[3] แคนาดาชนะเลิศคอนคาแคฟวีเมนส์โกลด์คัพสองสมัย ได้รับเหรียญทองโอลิมปิกหนึ่งสมัยในปี 2020 ที่โตเกียว และได้รับเหรียญทองแดงโอลิมปิกอีกสองครั้งในปี 2012 ที่พวกเขาแพ้ฝรั่งเศสที่คอเวนทรี 1–0 และในปี 2016 ที่พวกเขาแพ้เจ้าภาพอย่างบราซิลที่เซาเปาลู 2–1[4]

แฟนฟุตบอลหญิงทีมชาติแคนาดาส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับทีมชาติรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี (ไม่เกิน 19 ปีก่อน ค.ศ. 2006) โดยมีส่วนจากการที่แคนาดาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิงเยาวชนอายุไม่เกิน 19 ปี ในปี 2002 ซึ่งแคนดาได้เหรียญเงินต่อหน้าผู้ชม 47,784 คนที่สนามกีฬาเครือจักรภพในเอ็ดมันตัน รัฐแอลเบอร์ตา[5] แคนาดายังเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2015 ที่พวกเขาตกรอบก่อนรองชนะเลิศหลังแพ้อังกฤษ ในครั้งนั้น มีผู้ชมตลอดทั้งทัวร์นาเมนต์ 1,353,506 คน และมีผู้ชมที่ดูทีมชาติแคนาดาถึง 54,027 คน[6]

เกียรติประวัติ

แก้
  เหรียญทอง (1): 2020
  เหรียญทองแดง (2): 2012, 2016
  ชนะเลิศ (2): 1998, 2010

อ้างอิง

แก้
  1. "The FIFA/Coca-Cola Women's World Ranking". FIFA. สิงหาคม 25, 2023. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 25, 2023.
  2. "Canadian soccer timeline from 2001 to 2004". Canada Soccer. May 27, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-12. สืบค้นเมื่อ October 11, 2016.
  3. "Canadian soccer timeline from 2005 to 2008". Canada Soccer. May 27, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-10. สืบค้นเมื่อ October 11, 2016.
  4. FIFA.com. "Women's Olympic Football Tournament, Rio 2016 - Matches - FIFA". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-27. สืบค้นเมื่อ February 26, 2017.
  5. FIFA.com. "FIFA U-19 Women's World Championship Canada 2002 - Matches - Canada-USA - FIFA". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-27. สืบค้นเมื่อ February 26, 2017.
  6. "Key figures from the FIFA Women's World Cup Canada 2015". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-15. สืบค้นเมื่อ July 14, 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า ฟุตบอลหญิงทีมชาติแคนาดา ถัดไป
1994 สหรัฐ     แชมป์คอนคาแคฟ
(1998 (สมัยแรก))
  2002 สหรัฐ  
2006 สหรัฐ     แชมป์คอนคาแคฟ
(2010 (สมัยที่สอง))
  2014 สหรัฐ  

แม่แบบ:ฟุตบอลในประเทศแคนาดา