ฟูกูโอกะ (เมือง)

นครและเมืองหลวงของจังหวัดฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น
(เปลี่ยนทางจาก ฟุกุโอะกะ (เมือง))

นครฟูกูโอกะ (ญี่ปุ่น: 福岡市โรมาจิFukuoka-shi) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดฟูกูโอกะ ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะคีวชู ประเทศญี่ปุ่น

ฟูกูโอกะ

福岡
福岡市 · นครฟูกูโอกะ
จากบนซ้าย: แผงขายอาหารในนากาซุ, ปราสาทฟูกูโอกะ, ศาลเจ้าฮาโกซากิ, ย่านเท็นจิน, เทศกาลฮากาตะ กิอง ยามากาซะ, ชายหาดกับฟูกูโอกะทาวเวอร์
จากบนซ้าย: แผงขายอาหารในนากาซุ, ปราสาทฟูกูโอกะ,
ศาลเจ้าฮาโกซากิ, ย่านเท็นจิน, เทศกาลฮากาตะ กิอง ยามากาซะ,
ชายหาดกับฟูกูโอกะทาวเวอร์
ธงของฟูกูโอกะ
ธง
ที่ตั้งของฟูกูโอกะในจังหวัดฟูกูโอกะ
ที่ตั้งของฟูกูโอกะในจังหวัดฟูกูโอกะ
ฟูกูโอกะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ฟูกูโอกะ
ฟูกูโอกะ
 
พิกัด: 33°35′N 130°24′E / 33.583°N 130.400°E / 33.583; 130.400
ประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคคีวชู
จังหวัดฟูกูโอกะ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีโซอิจิโร ทากาชิมะ
พื้นที่
 • ทั้งหมด340.03 ตร.กม. (131.29 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (พ.ย. 2014)
 • ทั้งหมด1,520,783 คน
 • ความหนาแน่น4,450 คน/ตร.กม. (11,500 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
- ต้นไม้การบูร
- ดอกไม้ดอกชา
- นกBlack-headed Gull
เว็บไซต์www.city.fukuoka.lg.jp/english/index.html

ในปี 2013 ฟูกูโอกะได้รับการจัดอันดับว่าเป็นเมืองน่าอยู่อันดับ 12 ของโลก จากนิตยสาร Monocle จากการที่ในเขตตัวเมืองมีพื้นที่สีเขียวจำนวนมาก [1] นอกจากนี้ฟูกูโอกะยังเป็นเมืองที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวที่สุดในเกาะคีวชู ซึ่งรองลงมาคือนครคิตะกีวชู และยังถือเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางตะวันตกจากเขตมหานครเคฮันชิง จากการที่เป็นเมืองขนาดใหญ่และมีความสำคัญ ทำให้ฟูกูโอกะได้รับสถานะเป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนด เมื่อ 1 เมษายน 1972 ด้วยประชากรในเขตเมืองและปริมณฑลรวมกว่า 2.5 ล้านคน (สำมะโนปี 2005) ซึ่งทั้งฟูกูโอกะ–คิตะกีวชู ต่างเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมหนัก ซึ่งเป็นรายได้หลักของเมือง

เมื่อกรกฎาคม 2011 ฟูกูโอกะมีฐานะเป็นเมืองใหญ่อันดับ 6 ของญี่ปุ่น ซึ่งแซงหน้านครใหญ่อย่างเกียวโต นับเป็นครั้งแรกที่เมืองทางตะวันตกของภาคคันไซ สามารถมีประชากรมากกว่าเกียวโต นับตั้งแต่ก่อตั้งเมืองเกียวโตเมื่อปี ค.ศ. 794 นอกจากนี้ ในฟูกูโอกะยังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่บ่งชี้ว่าการสร้างชาติญี่ปุ่นเริ่มจากที่นี่

ประวัติศาสตร์

แก้

ฟูกูโอกะบางครั้งถูกเรียกว่าท่าไดไซฟุ (大宰府) ไดไซฟุเป็นเขตศูนย์กลางการปกครองในปี 663 แต่นักประวัติศาสตร์ก็แย้งว่า เขตศูนย์กลางนี้ มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์[2] บันทึกโบราณอย่าง โคจิกิ และ คันเอ็ง ตลอดจนหลักฐานทางโบราณคดีได้บ่งชี้ว่า พื้นที่แถบนี้เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญมากในการสถาปนาชาติญี่ปุ่น นักวิชาการบางคนอ้างว่า[3] สถานที่นี้เป็นสถานที่แรกที่จักรพรรดิทรงตั้งรกราก เช่นเดียวกับทฤษฎีกำเนิดชาติญี่ปุ่นอื่น ๆ อีกมากมาย

มองโกลรุกราน

แก้

กุบไล ข่านแห่งจักรวรรดิมองโกล (ราชวงศ์หยวน) ได้เพ่งเล็งและสนใจในเกาะญี่ปุ่นที่เป็นประเทศปิด พระองค์เริ่มเตรียมการในปี ค.ศ. 1266 ทรงดำริว่าญี่ปุ่นไม่มีประสบการณ์ต่อโลกภายนอก จึงได้ส่งคณะราชทูตไปยังญี่ปุ่นเพื่อให้ยอมรับอำนาจของมองโกล ญี่ปุ่นขณะนั้นปกครองโดยตระกูลโฮโจ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนโชกุนแห่งรัฐบาลโชกุนคามากูระ โดยโฮโจได้ปฏิเสธกลับไป กุบไลข่านส่งคณะราชทูตกลับไปอีกครั้งในปี 1268 ซึ่งครั้งนี้ โฮโจได้ปฏิเสธและประหารคณะราชทูต

ในปี 1274 กุบไลข่านส่งเรือรบ 900 ลำพร้อมไพร่พล 33,000 นายเข้าสู่ทางตอนเหนือของเกาะคีวชู ในจำนวนนี้ส่วนหนึ่งเป็นทหารจากโครยอที่เป็นรัฐบรรณาการของมองโกล การรุกรานครั้งแรกล้มเหลวจากพายุไต้ฝุ่น ฝ่ายมองโกล–โครยอสูญเสียไพร่พลแทบทั้งหมด

ภายหลังความพ่ายแพ้ในการรุกรานครั้งแรก กุบไลข่านล่งคณะราชทูตไปอีกเป็นครั้งที่สามในปี 1279 ซึ่งโฮโจก็ได้สั่งตัดหัวพวกเขาเหมือนครั้งก่อน ทำให้ในปี 1281 กุบไลข่านส่งเรือรบ 4,400 ลำพร้อมไพร่พล 140,000 นายบุกยังฟูกูโอกะ แต่ญี่ปุ่นเองก็เตรียมพร้อมรับมือเป็นอย่างดี หลังจากรบได้เพียงสองศึกและยังไม่มีทีท่าว่าฝ่ายใดจะเพลี่ยงพล้ำ พายุไต้ฝุ่นได้พัดเข้าที่เกาะคีวชูเป็นเวลาถึงสองวัน ทำลายกองเรือของมองโกลพินาศไปเกือบทั้งหมด ทหารมองโกลและโครยอเสียชีวิตกลางทะเลมากกว่าแสนนาย

พายุที่เกิดขึ้นระหว่างการรุกรานทั้งสองครั้งทำให้ญี่ปุ่นขนานนามพายุไต้ฝุ่นนี้ว่า คามิกาเซะ (วายุเทพ)

เขตการปกครอง

แก้
นครฟูกูโอกะประกอบด้วย 7 เขตการปกครอง (กุ): เขต ประชากร พื้นที่ ความหนาแน่น
  เมื่อ ส.ค. 2553 ตร.กม. คน/ตร.กม.
  เขตฮิงาชิ 291,749 66.68 4 375.36
  เขตฮากาตะ 212,108 31.47 6 740.01
  เขตชูโอ
(เขตศูนย์กลาง)
176,739 15.16 11,658.24
  เขตมินามิ 248,901 30.98 8 034.25
  เขตโจนัง 128,883 16.02 8 045.13
  เขตซาวาระ 211,889 95.88 2 209.42
  เขตนิชิ 190,288 83.81 2 270.47

ภูมิอากาศ

แก้
ข้อมูลภูมิอากาศของนครฟูกูโอกะ (ค.ศ. 1971-2000)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 9.8
(49.6)
10.5
(50.9)
14.0
(57.2)
19.2
(66.6)
23.5
(74.3)
26.5
(79.7)
30.7
(87.3)
31.6
(88.9)
27.8
(82)
23.0
(73.4)
17.6
(63.7)
12.5
(54.5)
20.5
(68.9)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 6.4
(43.5)
6.9
(44.4)
9.9
(49.8)
14.8
(58.6)
19.1
(66.4)
22.6
(72.7)
26.9
(80.4)
27.6
(81.7)
23.9
(75)
18.7
(65.7)
13.4
(56.1)
8.7
(47.7)
16.6
(61.9)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 3.2
(37.8)
3.5
(38.3)
6.1
(43)
10.7
(51.3)
15.0
(59)
19.4
(66.9)
24.0
(75.2)
24.5
(76.1)
20.6
(69.1)
14.7
(58.5)
9.6
(49.3)
5.2
(41.4)
13.0
(55.4)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 72.1
(2.839)
71.2
(2.803)
108.7
(4.28)
125.2
(4.929)
138.9
(5.469)
272.1
(10.713)
266.4
(10.488)
187.6
(7.386)
175.0
(6.89)
80.9
(3.185)
80.5
(3.169)
53.8
(2.118)
1,632.4
(64.268)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) 2
(0.8)
2
(0.8)
1
(0.4)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
5
(2)
ความชื้นร้อยละ 64 64 66 67 69 76 75 74 74 69 67 65 69.2
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 11.0 10.1 12.9 11.0 10.7 12.4 11.9 10.4 10.9 7.3 9.7 10.3 128.6
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 6.8 5.5 1.5 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.2 3.4 17.4
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 99.9 114.3 149.7 177.2 195.0 147.6 182.7 199.3 157.8 174.9 133.2 116.9 1,848.5
แหล่งที่มา: สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น [4]

เมืองพี่น้อง

แก้

นครฟูกูโอกะ เป็นเมืองพี่น้องกับอีก 7 เมืองได้แก่

อ้างอิง

แก้
  1. [1]เก็บถาวร 2010-05-17 ที่ archive.today The World's top 25 most liveable cities [Monocle]
  2. Takehiko Furuta, 失われた九州王朝 (A lost Kyushu dynasty), Asahi publishing, 1993.
  3. The Truth of Descent from Heaven. Yukio Yokota. Accessed March 19, 2008.
  4. "気象庁 / 平年値(年・月ごとの値)". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น.
  5. "Bordeaux - Rayonnement européen et mondial". Mairie de Bordeaux (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-07. สืบค้นเมื่อ 2013-07-29.
  6. "Bordeaux-Atlas français de la coopération décentralisée et des autres actions extérieures". Délégation pour l’Action Extérieure des Collectivités Territoriales (Ministère des Affaires étrangères) (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-07. สืบค้นเมื่อ 2013-07-29.
  7. "Guangzhou Sister Cities[via WaybackMachine.com]". Guangzhou Foreign Affairs Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-24. สืบค้นเมื่อ 2013-07-21.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้