พูดคุย:สตรีในประเทศไทย

สตรีในประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ สตรีในประเทศไทย หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ชื่อบทความ แก้

"ผู้หญิงในประเทศไทย" ก็โอเคนะครับ แต่อาจเขียนได้อีกอย่างว่า "สตรีในประเทศไทย" ให้เข้าทางกับ สตรีนิยม ไม่ทราบว่าเห็นอย่างไรครับ --taweethaも 10:21, 15 พฤษภาคม 2554 (ICT)

  สำเร็จ เปลี่ยนแล้ว --taweethaも 04:57, 21 พฤษภาคม 2554 (ICT)

สิทธิสตรีตามกฎหมาย แก้

คุณ Horus แปลมาจากอังกฤษก็ดีครับ แต่ผมขอเสริมส่วนที่เคยจดบันทึกเอาไว้ ดังนี้

  • คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 48/2545 เห็นว่าประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้รายได้ของภรรยาถือเป็นรายได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
  • คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 21/2546 เห็นว่า พ.ร.บ. นามสกุล ขัดรัฐธรรมนูญ เป็นผลให้ภรรยาไม่จำเป็นต้องใช้นามสกุลของสามี
  • คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 37/2546 เรื่องการแปลงสัญชาติของคู่สมรสชาวต่างชาติ ให้โอกาสสตรีต่างชาติเป็นพิเศษในการแปลงสัญชาติเป็นไทย ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ [1]
  • การแก้ประมวลกฎหมายอาญาเรื่องเกี่ยวกับการข่มขืนกระทำชำเรา
  • กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์

ทั้งหมดนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับบทความแต่ว่าในภาษาอังกฤษยังไม่ได้กล่าวถึง --taweethaも 10:12, 15 พฤษภาคม 2554 (ICT)

ขอออกตัวก่อนเลยครับว่าผมสร้างบทความเพื่อเตรียมเสนอ "รู้ไหมว่า" ครับ คงไม่มีโอกาสได้เขียนเพิ่มเติมหรอกครับ --Horus | พูดคุย 10:13, 15 พฤษภาคม 2554 (ICT)
เดี๋ยวจะลองขอความช่วยเหลือมือกฎหมายมาต่อเติมบทความนี้สักหน่อย --taweethaも 10:21, 15 พฤษภาคม 2554 (ICT)
ถ้าจะเสนอรู้ไหมว่าก็ต้องนำเสนอข้อมูลครบถ้วน ใช้ภาษาถูกต้องให้คนอ่านเข้าใจ นอกจากนี้ควรจะมีข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์และพัฒนาการเป็นมาด้วย เห็นด้วยกับคุณ Taweetham ครับที่จะต้องมีแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเว็บที่เป็นภาษาไทย เพราะถ้าเป็นภาษาอังกฤษล้วน ๆ ก็ไม่มีประโยชน์ต่อผู้ค้นหาซึ่งบางทีอาจจะต้องการแหล่งอ้างอิงที่ตนสามารถอ่านแล้วเข้าใจง่าย --Rattakorn 11:15, 15 พฤษภาคม 2554 (ICT)
DYK ไม่ได้มีข้อกำหนดเรื่องอ้างอิงภาษาใดนี่ครับ เห็นว่าคนอื่นเขาก็เสนอบทความแปลเหมือนกัน ไม่เห็นมีเสียงทักท้วงอะไร --Horus | พูดคุย 12:18, 15 พฤษภาคม 2554 (ICT)
ก็อย่างที่คุณ Taweetham ว่า ตัวบทกฎหมายจะหาจากภาษาอังกฤษได้ยังไงล่ะครับ --Rattakorn 19:40, 15 พฤษภาคม 2554 (ICT)
ถ้าคุณเพิ่มได้ก็เพิ่มไปสิครับ อย่ามาบังคับกันเป็นพอ --Horus | พูดคุย 19:41, 15 พฤษภาคม 2554 (ICT)
ไม่ได้บังคับกันนี่ครับ แค่เสนอความคิดเห็นเฉย ๆ แล้วก็เพิ่มไปบางส่วนแล้วด้วย --Rattakorn 19:45, 15 พฤษภาคม 2554 (ICT)
ใจเย็นๆ นะครับ ช่วยกันคนละไม้ละมือ ใครแปลได้ก็แปล ใครเรียบเรียงใหม่จากเอกสารต้นฉบับได้ก็ทำ ส่วนเสนอรู้ไหมว่านั้น ก็คล้ายกับบทความคัดสรรและบทความคุณภาพ เรามีภาพในอุดมคติให้ดีเลิศ แต่เมื่อถึงเวลาจะต้องเอาบทความขึ้นหน้าแรก มีอะไรดีที่สุดในมือก็เอาอันนั้นขึ้นครับ --taweethaも 20:05, 15 พฤษภาคม 2554 (ICT)

┌─────────────────────────────────┘

  • กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ - ผมเดาว่า คงหมายถึง ส่วนที่ห้าม "ราชนารี" ขึ้นเป็นแม่อยู่หัวเหมือนผู้ชายใช่ไหมครับ ดูเหมือนส่วนนี้จะถูก "ยกเลิกไปโดยปริยาย" (implied repeal) โดยรัฐธรรมนูญหลายฉบับมาแล้วครับ
  • การแก้ประมวลกฎหมายอาญาเรื่องเกี่ยวกับการข่มขืนกระทำชำเรา - แนวคิดเรื่องการแก้นี้ ความจริงแล้วตั้งใจจะให้รวมการตุ๋ย การข่มขืนของคนเพศเดียวกัน ฯลฯ มากกว่านะครับ ปรากฏในรายงานการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ที่เดี๋ยวนี้ลิงก์เจ๊งไปแล้ว) แต่กลับมีปัญหา เพราะเพิ่มนิยามการข่มขืนว่า หมายถึง การเอาอะไรก็ได้สอดใส่อวัยวะเพศของฝ่ายตรงข้าม มีคดีล่าสุด ผู้หญิงคนหนึ่งฟ้ิองทอมคนหนึ่งครับ ว่าถูกทอมข่มขืนตามนิยามใหม่นี้ โดยทอมแกแค่เอานิ้วสอดเข้าไปใน "จิมมี่" ของผู้หญิงคนนั้นครั้งเดียวเอง (ทำให้น่าคิดว่า ตามนิยามใหม่นี้ ถ้าผมเกิดเอาปากกาจิ้มตูดเพื่อนจึ๋งนึง เพื่อนมันอาจฟ้องผมได้ว่าข่มขืนมัน)
  • คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 21/2546 - อันนี้น่าสนใจครับ เพราะผู้หญิงฟ้องว่าการบังคับให้ใช้นามสกุลผัวนั้นขัดรัฐธรรมนูญ ส่วนกระทรวงมหาดไทยโต้แย้งว่าเป็นประเพณีดีงามแต่โบร่ำโบราณ และมีตุลาการเสียงข้างน้อยเห็นด้วยกับกระทรวงมหาดไทย เป็นการต่อสู้กันทางค่านิยมครับ
  • ผมมาบอกไว้ เผื่อมีคนจะเพิ่มเนื้อหา อาจจะได้แนวทางเพิ่มขึ้นครับ ส่วนผมเอง คงไม่ว่างในเร็ว ๆ นี้เป็นแน่แท้ครับ อ้อ ผมเคยเห็นในห้องสมุดซึ่งหนังสือที่รัฐบาลทำแจก เรื่องหญิงไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันครับ น่าสนใจมาก ภาพสวย หายาก (แต่อย่างที่บอกครับ ผมไม่ว่างในช่วงนี้ แต่เผื่อใครว่างจะได้ไปหยิบยกมาครับ)
--Aristitleism 14:56, 19 พฤษภาคม 2554 (ICT)
  1. ใช่ครับ ในสมัย ร.6 ตอนนั้น "ราชนารี" ยังไม่เหมาะจะเป็นกษัตริย์ และ development ต่อๆ มา (ต้องมีอ้างอิง)
  2. ตามกฎหมายเดิมสตรีไม่อาจข่มขืนใครได้และเป็นเพศที่ถูกข่มชืนเท่านั้น ตามการแก้ไขใหม่สตรีจะเป็นฝ่ายข่มขืนกระทำชำเราก็ได้ จึงมีความสำคัญนะครับ
  3. เรื่องนามสกุล ศาลมองว่านามสกุลเป็นของใหม่ เพิ่งมีใช้มาในไทยไม่นาน อีกทั้งก็มีผู้หญิงนิยมใช้นามสกุลตัวเองหลังแต่งงาน จึงยอมให้ไป ดู liberal แต่เรื่องภาษีอากรนี้ซิแปลก ไฉนจึงกลับ conservative ไปได้
  4. หนังสือที่กล่าวถึงผมไม่เคยเห็น แต่จะรอคอยคุณ Aristitleism มาเพิ่มเติมเนื้อหานะครับ ไม่ใช่ช่วงนี้ก็ไม่เป็นไร ช้าๆ ได้พร้าสองเล่มงาม

--taweethaも 15:26, 19 พฤษภาคม 2554 (ICT)

ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยว่า หญิงก็เป็นตัวการข่มขืนหญิงด้วยกันได้ (ผมเคยเห็นบทความนั้นผ่าน ๆ ยังไม่ได้อ่านรายละเอียดเท่าไรครับ แต่อาจเกี่ยวข้องกัน) --Aristitleism 15:35, 19 พฤษภาคม 2554 (ICT)
ตามไปอ่านแล้วไม่ตรงเสียทีเดียวครับ เพราะเป็นเรื่องตัวการร่วม - มีประเด็นเพิ่มเติมอีกคือ การคุมกำเนิดและการทำแท้งครับ สิทธิสตรีจะเกิดได้ส่วนหนึ่งก็มาจากประเด็นเหล่านี้ครับ --taweethaも 03:15, 20 พฤษภาคม 2554 (ICT)
มีประเด็นเพิ่มเติมคือ กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์ และข่าวที่มีการเปิดบริการ surrogate mother ในเมืองไทย โดยใช้หญิงชาวเวียดนาม เพิ่งลงข่าวหน้าหนึ่งไปไม่นานนี้ --taweethaも 04:56, 21 พฤษภาคม 2554 (ICT)

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วเห็นว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ที่กำหนดให้การเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี ให้ถือเอาเงินได้ทั้งปีของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่รับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี... ทำให้สามีภริยาที่มีเงินได้ตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5 ) (6 ) (7) และ (8 ) ต้องเสียภาษีสูงกว่าสามีภริยาที่มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และยังทำให้ผู้หญิงที่มีสามีและมีเงินได้ตามมาตรา 40 (2) (3)( 4) (5 ) (6 ) (7) และ (8) ต้องเสียภาษีสูงกว่าผู้หญิงที่โสด อีกทั้งยังไม่เป็นการมุ่งสร้างความมั่นคงของสถาบันครอบครัว จึงเป็นปัญหาที่ทำให้ชายหญิงไม่นิยมสมรสกัน เพราะต้องรับภาระอัตราภาษีที่สูงขึ้น อีกทั้งผู้ที่สมรสกันแล้วก็ต้องวางแผนการเสียภาษี โดยบางรายถึงขั้นจดทะเบียนหย่าเพื่อที่จะได้ไม่ต้องนำเงินได้ของทั้งสามีและภริยามารวมกันในการเสียภาษีที่สูงขึ้น

— สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ 4 ก.ค. 2555 นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ
สรรพากรมีประกาศออกมาว่า ปีภาษี 2555 เป็นต้นไปแยกยื่นภาษีระหว่างสามีภรรยาได้ [2] [3] อย่างไรก็ดีบัดนี้คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการยังไม่ปรากฏจึงขอผลัดวันประกันพรุ่งนี้การเขียนบทความหัวข้อนี้ไปก่อน --taweethaも (พูดคุย) 06:23, 26 กันยายน 2555 (ICT)

สมเด็จพระศรีสุริโยทัยและท้าวสุรนารีเป็นวีรสตรีผู้สร้างวีรกรรมสำคัญในประวัติศาสตร์ แก้

ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มีการโต้แย้งโดย

  • คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ ในกรณีแรก ไม่ได้เขียนอย่างเป็นทางการ เขียนเป็นเพียงเรื่องสั้น
  • สายพิณ แก้วงามประเสริฐ ในกรณีที่สอง เป็นวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดังนั้นอาจเขียนเป็นว่า เป็นวีรสตรีในตำนานของไทย ซึ่งน่าจะถูกต้องมากกว่า

ทั้งนี้อาจรวมเรื่อง คุณหญิงจัน คุณหญิงมุก ไปด้วยจะได้ครบถ้วน

--taweethaも 11:26, 27 สิงหาคม 2554 (ICT)

กลับไปที่หน้า "สตรีในประเทศไทย"