พูดคุย:ประเทศฟีจี

ความเห็นล่าสุดเมื่อ: 7 ปีที่แล้ว โดย Potapt ในหัวข้อ ฟิจิ vs ฟีจี
ประเทศฟีจี เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศและดินแดนต่าง ๆ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ประเทศฟีจี หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ประเทศฟีจี เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิโอเชียเนีย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับโอเชียเนีย ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศต่าง  ๆ ในโอเชียเนีย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ประเทศฟีจี หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ฟิจิ vs ฟีจี

แก้

ควรจะใช้ชื่อ "ฟิจิ" ตาม ประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง พ.ศ. 2544 http://www.royin.go.th/?page_id=639 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 26 พ.ย. 2544 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2544/E/117/2.PDF ---- bact' 00:38, 9 กุมภาพันธ์ 2560 (ICT)

ราชบัณฑิตยสถานให้ใช้ "ฟิจิ" แต่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาให้ใช้ว่า "ฟีจี" นะครับ [1] --Potapt (พูดคุย) 03:01, 9 กุมภาพันธ์ 2560 (ICT)
ราชบัณฑิตยสถาน แตกต่างจาก สำนักงานราชบัณฑิตยสภา อย่างไร? --Ans (พูดคุย) 16:41, 25 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ
ผมเข้าใจว่าเป็นองค์กรเดียวกัน --Ans (พูดคุย) 16:42, 25 พฤษภาคม 2560 (ICT)
ราชบัณฑิตยสถาน เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานราชบัณฑิตยสภา เมื่อ พ.ศ. 2558 [2] --Potapt (พูดคุย) 16:48, 25 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ
ผมเข้าใจว่า app ของราชบัณฑิตยสภา น่าจะทำมาผิด --Ans (พูดคุย) 17:06, 25 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ
ทำไมถึงเข้าใจอย่างนั้นครับ เนื้อหาในแอปพลิเคชันนั้นมีข้อบกพร่องแน่นอน แต่ผมคิดว่าไม่ใช่กับชื่อประเทศนี้ครับ --Potapt (พูดคุย) 17:11, 25 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ

แม้ผมจะเห็นด้วยว่าให้ใช้ ฟิจิ, แต่ผมไม่เห็นด้วยที่จะต้องยึดตามมาตรฐานของราชการเสมอไป. กรณีนี้ผมเห็นด้วยเพราะ ฟิจิ เป็นคำทับศัพท์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป, ไม่ใช่เพราะ ราชบัณฑิตฯ กำหนด. แม้สมมุติว่า ราชบัณฑิตฯ จะกำหนดให้ใช้ ฟีจี, ผมก็ยังเห็นควรให้ใช้ตามแบบที่ยอมรับโดยทั่วไปคือ ฟิจิ มากกว่า. --Ans (พูดคุย) 17:06, 25 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ

อันนั้นก็เป็นคนละประเด็นกับประเด็นที่คุณ bact' เปิดทิ้งไว้ครับ --Potapt (พูดคุย) 17:11, 25 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ
คนละประเด็น แล้วใช้เป็นเหตุผลไม่ได้หรือครับ? ผมยกขึ้นมาเป็นเหตุผลในการใช้ชื่อนี้. แต่ถ้ามองว่าประเด็นคือทำไมจึงควรใช้ชื่อนี้, ผมก็ยกเหตุผลว่าทำไมจึงควร, ซึ่งก็ยังอยู่ในประเด็น --Ans (พูดคุย) 17:30, 25 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ
ก็ที่คุยกันมาตั้งแต่แรกนั่นยังอยู่ในหลักการตั้งชื่อบทความของวิกิพีเดีย:โครงการวิกิประเทศ ถ้าจะนอกประเด็นก็เปิดหัวข้อใหม่สิครับ --Potapt (พูดคุย) 17:35, 25 พฤษภาคม 2560 (ICT)
หัวข้อนี้ไม่ได้ระบุในหัวข้อว่า จะต้องอภิปรายในขอบเขต หลักการตั้งชื่อบทความของวิกิพีเดีย:โครงการวิกิประเทศ เท่านั้นนี่ครับ. หัวข้อตั้งไว้กว้างๆ ว่าควรใช้ชื่อไหน, และคุณ bact ก็ยกเหตุผลว่าทำไมควรใช้ชื่อนี้, และผมก็คิดว่าคนตั้งหัวข้อ (คุณ bact) ก็ไม่ได้จำกัดว่า ผู้อื่นจะเสนอเหตุผลอื่น นอกเหนือจากหลักการที่คุณ bact เสนอ ไม่ได้. --Ans (พูดคุย) 17:54, 25 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ
ในหน้าอภิปรายนี้ รวมทั้งในหน้าวิกิพีเดีย:ศาลาชุมชน/อภิปราย/ขอเปลี่ยนชื่อบทความประเทศฟิจิ คุณ bact' เขียนไว้เองว่า "ควรจะใช้ชื่อ ... ตามประกาศราชบัณฑิตยสถาน" โดยไม่ได้อ้างเหตุผลอื่นไว้เพิ่มเติม ซึ่งถ้าจะเสนอเหตุผลอื่นประกอบ (เช่น ความนิยม) ก็จะขัดกับหลักการตั้งชื่อบทความประเทศ และจะกระทบกับชื่อเขตการปกครองอื่นอีกด้วย ผมเข้าใจว่าคุณ bact' คงทราบดีอยู่แล้ว --Potapt (พูดคุย) 18:01, 25 พฤษภาคม 2560 (ICT)
การที่คุณ bact ไม่ได้อ้างเหตุผลอื่น ไม่ได้หมายความว่าคุณ bact ไม่เปิดรับเหตุผลอื่นนี่ครับ. และก็เป็นปกติที่ผู้เสนอเหตุผลมักจะเสนอเฉพาะเหตุผลที่ตนเห็นด้วยเท่านั้น. แต่ผู้อภิปรายที่ไม่เห็นด้วยกับเหตุผลที่เสนอ, ก็ย่อมมีสิทธิ์คัดค้านเหตุผลนั้น. และในการคัดค้านเหตุผลนั้น ผมก็ยกเหตุผลอื่นขึ้นมาอธิบายว่า ควรใช้เหตุผลอื่นมากกว่าเหตุผลนี้, การยกเหตุผลอื่นจึงเป็นส่วนหนึ่งของการคัดค้านเหตุผลเดิม. ถ้าผู้อภิปรายไม่สามารถคัดค้านเหตุผลของผู้ตั้งหัวข้ออภิปรายได้, แล้วจะมีการอภิปรายไปเพื่ออะไรครับ. --Ans (พูดคุย) 18:34, 25 พฤษภาคม 2560 (ICT)
อย่างไรก็ตาม หลักการตั้งชื่อบทความประเทศ เขียนไว้ว่า,
รูปแบบต่อไปนี้เป็นเพียงแนวทางที่แนะนำเท่านั้น รูปแบบในแต่ละบทความอาจมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเนื้อหาบทความและผู้ เขียนบทความนั้น ๆ หากไม่เห็นด้วยและต้องการเปลี่ยนแปลงแนวทาง หรือแนวทางนั้นยังไม่มีการตัดสิน สามารถอภิปรายได้ในหน้าพูดคุย
การเสนอเหตุผลอื่น จึงไม่ขัดกับ หลักการตั้งชื่อบทความประเทศ
--Ans (พูดคุย) 18:40, 25 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ
(// (  ฟังเสียง))คลิปเสียงนี้เป็นการอ่านการเสียงการออกเสียงชื่อประเทศฟีจีที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นใจเย็นครับเพราะต่างประเทศเค้าใช้คำว่าฟีจีกันเราก็น่าจะใช่คำว่าฟีจี

แล้วเรื่องที่คนอื่นเห็นว่าควรใช้คำว่าฟิจิเพราะคนทั่วไปเข้าจะใช้ อันนี้ผมคิดว่าน่าจะให้วิกิพีเดียเป็นตัวกลางในการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องเวลามีคนมาหาจะได้รู้ว่านี้ชื่อฟีจีนะไม่ใช่ฟิจิ และยังทำให้หลายคนรู้ชื่อจริงๆของมันและใช้ได้ถูกต้องกันไม่เอาไปใช่แบบผิดๆเหมือนในตอนนี้--โก๋ปอ (พูดคุย) 19:01, 25 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ

ผมมีความคิด ตามที่ คุณ EZBELLA และคุณ Potapt ครับ แทนที่จะร่วมกันสร้างวิกิพีเดียให้ดียิ่งขึ่น กลับเป็นว่า วิกิพีเดียยิ่งดิ่งลงเหวไปอีก--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 19:08, 25 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ
ถ้าอย่างนั้น ทำไมไม่ใช้ ไชน่า(China), เจแปน(Japan), ตามที่ต่างประเทศเค้าใช้กันหละครับ. ชื่อประเทศนั้น แต่ละภาษาอาจมีวิธีการเรียกในภาษาของตนเองแตกต่างกันไป, ไม่มีถูก ไม่มีผิด หรอกครับ. เสียงเรียกชื่อประเทศที่ถูกต้องในภาษาหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่าจะถูกต้องในอีกภาษาหนึ่งเสมอไป. สำหรับเสียงอ่านภาษาอังกฤษที่ถูกต้องนั้น ก็มีใส่ในวงเล็บอยู่แล้ว, แม้จะเปลี่ยนชื่อบทความเป็นชื่อ ฟิจิ ผู้อ่านก็สามารถทราบเสียงอ่านภาษาอังกฤษได้จากในวงเล็บอยู่แล้วนี่ครับ. อย่างที่บอกครับว่า ชื่อประเทศหนึ่งๆ ในแต่ละภาษาไม่จำเป็นต้องออกเสียงเรียกเหมือนกัน. เมื่อใช้ภาษาไทย ก็ออกเสียงเรียกเฉพาะในแบบภาษาไทย, แต่ก็ควรรู้ว่าเมื่อใช้ภาษาอื่น(เช่นภาษาอังกฤษ) จะต้องออกเสียงอย่างไรในภาษานั้น เหมือนคำว่า ญี่ปุ่น กับ เจแปน ไงครับ. --Ans (พูดคุย) 20:13, 25 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ
@Ans: ความคิดคุณเป็นความคิดที่น่ากลัว ล้าหลัง และชุ่ยมากๆครับ มีแต่จะทำให้วิกิพีเดียถอยหลังเข้าคลอง ไม่น่าเชื่อว่าจะเจอคนคิดแบบนี้ ทั้งๆที่รัฐบาลกำลังส่งเสิรมความสามัคคีและความสงบในสังคม คุณกลับมีความคิดที่สวนทางโดยการบอกว่า ไทยไม่ต้องสนชาวโลก ไทยพอจใจจะเขียนยังไงก็เขียนได้ แล้วเราจะอยู่ในสังคมโลกเขาได้ยังไงครับ ความคิดคุณจะทำให้ประเทศอื่นเขาดูถูกไทยเรา แล้วจะทำให้สังคมแตกแยกนะครับ ความคิดแบบนี้ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเป็นเสื้อแดง ผมเตือนด้วยความหวังดีขอให้เลิกเถอะครับการเป็นเสื้อแดง กลับตัวกลับใจ ไม่มีใครในวิกิพีเดียที่เขาชอบเสื้อแดงสักคน คุณจะอยู่ลำบากนะครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 92.63.100.80 (พูดคุย | ตรวจ) 20:51, 25 พฤษภาคม 2560 (ICT)
(คห. นี้เดิมถูกลบออก เนื่องจากมีการแอบอ้างลายเซ็นของผู้ใช้อื่น. แต่สมควรเรียกคืน โดยลบเฉพาะลายเซ็นที่ถูกแอบอ้างออก, เนื่องจาก มีการอธิบายเหตุผลที่อยู่ในประเด็นอภิปราย ที่ต้องได้รับการรับฟัง) --Ans (พูดคุย) 17:20, 26 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ
อย่างที่คุณว่ามามันก็จริงอยู่ครับแต่ส่วนมาชื่อประเทศอื่นๆในภาษาไทยนั้นเป็นการทับศัพย์มาจากภาษาอังกฤษ ซึ่งในเมื่อเป็นคำทับศัพย์มาจากภาษาอังกฤษก็ต้องทำให้อ่านออกเสียงถูกตามภาษาที่ยืมมาไม่ใช้หรอครับ และมันก็มีแค่ไม่กี่ประเทศที่ตั้งชื่อเฉพาะขึ้นมาใหม่เช่นจีน,กัมพูชา,ญี่ปุ่น และอีกอย่างในเมื่อชื่อภาษาไทยเขียนว่าฟิจิ(อังกฤษ: Fiji, ออกเสียง: /ˈfiːdʒiː/; ฟีจี: Viti; ฮินดีฟีจี: फ़िजी)คนที่เข้ามาอ่านและหาข้อมูลเค้าก็จะเรียกว่าฟิจิเนื่องเค้าไม่เอาเวลามานั้นสนใจกันหรอกครับว่าในวงเล็บมันอ่านออกเสียงยังไง --โก๋ปอ (พูดคุย) 21:07, 25 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ
หรือเอาง่ายๆคล้าย ชื่อประเทศเดนมาร์กในภาษาเดนมาร์กและอังกฤษครับ (เดนมาร์ก: Danmark,อังกฤษ: Denmark)--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 21:14, 25 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ
(1) ข้อความที่คุณ Ans ยกมานั้น เขียนไว้เช่นกันว่า หากไม่เห็นด้วยและต้องการเปลี่ยนแปลงแนวทาง หรือแนวทางนั้นยังไม่มีการตัดสิน สามารถอภิปรายได้ในหน้าพูดคุย เพราะฉะนั้น การที่คุณใส่ความเห็นของคุณแล้วเปลี่ยนโดยไม่รอความเห็นของคนอื่น ก็ไม่ถูกต้องเช่นกันครับ และผมไม่ได้ห้ามการอภิปรายครับ แต่ขอให้ไปตั้งหัวข้อใหม่แยกต่างหากแค่นั้น เพราะอย่างที่บอกว่า ถ้าคุณจะยกเหตุความนิยมขึ้นมาเพื่อขอเปลี่ยนชื่อ มันก็กระทบกับการตั้งชื่อบทความเขตการปกครองอื่น ๆ เช่นกัน
(2) "จีน" กับ "ญี่ปุ่น" เป็นชื่อที่ไทยเรียกมาแต่โบราณ และมีอยู่ในพจนานุกรมภาษาไทยอยู่แล้วครับ เพราะฉะนั้นจึงถือว่าเป็นคำไทยแล้ว ไม่จำเป็นต้องทับศัพท์ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ แต่ Fiji ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์นี้ครับ ถ้าไปถามคนไทยหลาย ๆ คนคงยังไม่รู้เลยว่าตั้งอยู่แถวไหน --Potapt (พูดคุย) 22:03, 25 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ
ผมอภิปรายในหัวข้อนี้ก็ถูกแล้วนี่ครับ, อย่างที่อธิบายไปแล้ว, โปรดอ่านซ้ำอีกครั้ง,
และในการคัดค้านเหตุผลนั้น ผมก็ยกเหตุผลอื่นขึ้นมาอธิบายว่า ควรใช้เหตุผลอื่นมากกว่าเหตุผลนี้, การยกเหตุผลอื่นจึงเป็นส่วนหนึ่งของการคัดค้านเหตุผลเดิม.
การคัดค้านเหตุผลของผู้ตั้งการอภิปราย ก็ต้องอยู่ในหัวข้ออภิปรายเดียวกัน, จะไปแยกหัวข้อได้อย่างไรครับ.
--Ans (พูดคุย) 17:06, 26 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ
ก็แยกโดยเจาะจงไปว่าต้องการย้ายเพราะจะยกเหตุผลความนิยมไงครับ ผมก็บอกไปแล้วเหมือนกันว่าประเด็นที่คุณ bact' เสนอนั้นยังอยู่ในหลักการตั้งชื่อบทความ และคุณ bact' ไม่ได้เสนอเหตุผลอื่น ลองอ่านซ้ำดู --Potapt (พูดคุย) 17:10, 26 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ
ชื่อหัวข้อในนี้ ไม่ได้บอกว่าต้องจำกัดประเด็นเฉพาะหลักการที่คุณ bact เสนอ. ส่วนที่คุณ bact เขียนในศาลาชุมชนนั้น ก็เป็นส่วนของศาลาชุมชน ถ้าในศาลาชุมชนนั้นหัวข้อจำกัดประเด็นอภิปราย ก็แสดงว่าหัวข้อนั้นต้องการจำกัดประเด็นอภิปรายในศาลาชุมชน จึงควรตั้งหัวข้อใหม่เฉพาะในศาลาชุมชน. แต่หัวข้อในหน้านี้ตั้งหัวข้ออภิปรายไว้กว้างกว่าในศาลาชุมชน, จึงสามารถยกเหตุผลอื่นได้ภายในหัวข้อเดียวกัน ไม่ต้องเปิดหัวข้อใหม่. --Ans (พูดคุย) 17:32, 26 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ
ตามปกติคงไม่มีใครเขียนหัวข้อให้ยาวเหยียด เพราะสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้อยู่แล้ว ชื่อหัวข้ออาจจะจำกัดหรือไม่จำกัดประเด็นก็ได้ครับ ไม่มีใครทราบนอกจากตัวคุณ bact' เอง แต่ในเมื่อ คุณ bact' อธิบายเหตุผลประกอบนอกหัวข้อแล้วมีอยู่เพียงแค่นั้น ก็ควรจะคุยเพียงแค่นั้นครับ --Potapt (พูดคุย) 17:42, 26 พฤษภาคม 2560 (ICT)
แค่ไหนคือแค่นั้นครับ? คุณ bact บอกว่า ควรจะใช้ชื่อ "ฟิจิ" ตาม ประกาศราชบัณฑิตยสถาน, ผมก็คัดค้านว่า ไม่ควรใช้ตามประกาศฯ เสมอไป, แล้วมันนอกประเด็นอย่างไรครับ?
แค่ไหนจึงเรียกว่าอยู่ในประเด็นครับ?
  1. ต้องคุยตามแนววิกิพีเดีย:โครงการวิกิประเทศ จึงจะถือว่าอยู่ในประเด็นของคุณ bact?
  2. หรือต้องยึดตามประกาศราชบัณฑิตฯ เท่านั้น จึงจะถือว่าอยู่ในประเด็นของคุณ bact?
  3. หรือต้องยึดตามราชกิจจานุเบกษาเท่านั้น จึงจะถือว่าอยู่ในประเด็นของคุณ bact? ถ้าจะยึดตามที่อื่น เช่น app ของราชบัณฑิตยสภา ถือว่านอกประเด็น? หรือถ้ายึดตามประกาศราชบัณฑิตฯ ที่ไม่ใช่ในราชกิจจานุเบกษา ถือว่านอกประเด็น?
ถ้าคุณบอกว่าเสนอแค่ไหนก็ควรคุยแค่นั้น, ถ้าอย่างนี้ผมก็บอกได้ว่า เหตุผลของคุณ potapt นั้นนอกเหนือจากที่คุณ bact เสนอ. เพราะคุณ bact เสนอเฉพาะประกาศราชยัณฑิตฯ ในราชกิจจานุเบกษา ไม่ได้เสนอ app ของราชบัณฑิตยสภา, ถ้าคุณจะเสนอให้ใช้ตาม app นั้นก็ต้องตั้งหัวข้อใหม่, หรือเปล่าครับ?
--Ans (พูดคุย) 18:39, 26 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ
ตามข้อ 1. ครับ ที่คุณ bact' เสนอก็ยังอยู่ในแนวของโครงการวิกิประเทศ และราชบัณฑิตยสถานกับสำนักงานราชบัณฑิตยสภาก็คือหน่วยงานเดียวกันตามที่ได้บอกไปแล้ว ที่ผมบอกว่านอกประเด็นก็หมายถึงคุณ bact' ไม่ได้บอกว่า ควรใช้ตามความนิยมหรือไม่ เป็นต้น เพราะนั่นไม่ใช่ข้อกำหนดเบื้องต้นตามหลักการตั้งชื่อ --Potapt (พูดคุย) 19:04, 26 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ
ที่ผมบอกว่านอกประเด็นก็หมายถึงคุณ bact' ไม่ได้บอกว่า ควรใช้ตามความนิยมหรือไม่ <-- เช่นเดียวกันครับ ถ้าใช้ logic นี้, การใช้ชื่อจาก app ของราชบัณฑิตยสภาก็สามารถมองว่านอกประเด็น ได้เหมือนกันครับ, เพราะคุณ bact ไม่ได้บอกว่าควรใช้ตาม app นั้นหรือไม่, คุณ bact ได้บอกเจาะจงมาเลยว่าควรใช้ตาม pdf ที่เป็นประกาศของราชบัณฑิตฯ กับราชกิจจานุเบกษา
จริงๆ ก็ ไม่มีตรงไหน(ในส่วนที่เปิดการอภิปรายนี้)ที่บอกว่าต้องคุยตาม ข้อกำหนดเบื้องต้นตามหลักการตั้งชื่อ จึงจะอยู่ในประเด็นนี้
--Ans (พูดคุย) 20:17, 26 พฤษภาคม 2560 (ICT)
ใช่ครับ ไม่มีตรงไหนบอกว่าทุกคนต้องคุยตามหัวข้อที่ผู้เปิดประเด็นเสนอมาเป๊ะ ๆ เพราะการออกนอกประเด็นนั้นเกิดขึ้นได้ แต่ในกรณีนี้ ถ้าคุยนอกประเด็นแล้วเกิดข้อตกลงใหม่ มันก็จะไปกระทบบทความอื่นอีกมาก จึงควรเปิดหัวข้อใหม่ให้เป็นกิจจะลักษณะ ส่วนการเสนอข้อมูลจากแอปพลิเคชันนั้น ผมไม่เห็นว่านอกประเด็น เพราะคุณ bact' บอกว่าใช้ตามประกาศซึ่งมีที่มาจากราชบัณฑิตฯ ผมก็เสนอข้อมูลจากราชบัณฑิตฯ เช่นกัน ถึงจะเปลี่ยนชื่อไป แต่ข้อมูลเหล่านั้นก็มีที่มาจากหน่วยงานซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเป็นหน่วยงานเดียวกัน และตามปกติ วิกิพีเดียก็มีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่แล้ว
สมมุติว่าข้อมูลจากแอปพลิเคชันที่ผมแสดงไว้นั้นไม่ตรงประเด็นอย่างที่คุณ bact' ได้ตั้งใจไว้ และสมมุติว่าโดยส่วนตัวคุณ bact' ไม่ต้องการใช้ตัวสะกดจากสิ่งพิมพ์อื่นอีกนอกเหนือจากประกาศฉบับนั้น (แม้ในอนาคตจะมีสิ่งพิมพ์หรือประกาศที่เกี่ยวข้องใหม่ ๆ ออกมาอีกก็ตาม ?) เหตุใดจึงไม่อธิบายเพิ่มเติมแม้จะได้กลับมาแก้ไขอีกหลายครั้ง และเหตุใดจึงต้องนำเหตุผลนั้นมาปรับใช้เป็นการพิเศษกับชื่อประเทศนี้ (โดยไม่อธิบายเพิ่มเติม ให้คนอื่นตีความเอาเอง) เนื่องจาก "ฟีจี" ก็เป็นเพียงหนึ่งในชื่อเขตการปกครองหลาย ๆ ชื่อที่ผ่านการปรับเปลี่ยนตัวสะกดมาโดยตลอดในวิกิพีเดีย --Potapt (พูดคุย) 20:42, 26 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ
(แม้ในอนาคตจะมีสิ่งพิมพ์หรือประกาศที่เกี่ยวข้องใหม่ ๆ ออกมาอีกก็ตาม ?) <-- ไม่ถึงกับต้องสมมุติว่า คุณ bact จะยอมรับเฉพาะประกาศฉบับนั้น ณ วันที่นั้นหรอกครับ, แค่สมมุติว่า คุณ bact ยอมรับเฉพาะประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษา เท่านั้น แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นประกาศของวันนั้น, แต่คุณ bact อาจยอมรับฉบับล่าสุด, ถ้าราชกิจจาฯ มีประกาศที่ใหม่กว่า
เหตุใดจึงไม่อธิบายเพิ่มเติมแม้จะได้กลับมาแก้ไขอีกหลายครั้ง <-- ถ้าจะใช้ logic นี้นะครับ, ถ้าสมมุติว่า การไม่เข้ามาชี้แจงเพิ่มเติม หมายความว่า ประเด็นนั้นเข้าประเด็นที่คุณ bact ต้องการ, แต่ ณ วันที่คุณเสนอข้อมูลจาก app นั้น, ณ วันนั้นคุณไม่สามารถรู้ล่วงหน้าว่าคุณ bact จะเข้ามาชี้แจงหรือไม่ แล้วคุณรู้ได้อย่างไรว่าที่คุณเสนอนั่นไม่นอกประเด็น. เช่นเดียวกัน, ประเด็นที่ผมเสนอ, ผมเพิ่งจะเสนอไปไม่กี่วัน, ยังไม่รู้เลยว่าคุณ bact จะเข้ามาชี้แจงประเด็นของผมหรือไม่. ถ้าหากนับจากนี้ไปอีกหลายวัน คุณ bact เข้ามาแก้ไขอีกหลายครั้ง, แต่ไม่เข้ามาชี้แจงในประเด็นที่ผมเสนอเลย, ก็จะถือว่าประเด็นของผมนั้นไม่นอกประเด็นของคุณ bact ใช่หรือไม่? ถ้าคุณคิดจะใช้ logic นี้หละก็, ทำไมไม่รอไปอีกหลายวันก่อน จึงค่อยตัดสินว่าประเด็นผมนั้นนอกประเด็นคุณ bact หรือไม่ หละครับ?
--Ans (พูดคุย) 22:49, 26 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ
ที่ผมถามไปนั้นไม่ได้ต้องการคำตอบที่แน่นอนจากคุณอยู่แล้วครับ (เพราะผมก็รู้อยู่ว่าคุณไม่ใช่คุณ bact') แต่เพื่อจะให้เห็นตรงกันว่าเราไม่มีทางรู้อยู่แล้วว่าคุณ bact' จะเปิดกว้างหรือจะจำกัดประเด็นหรือไม่ ดังนั้นจึงไม่เห็นว่าเราจำเป็นจะต้องไปตีความอะไรให้เกินจากที่คุณ bact' เขียนไว้
คุณ bact อาจยอมรับฉบับล่าสุด, ถ้าราชกิจจาฯ มีประกาศที่ใหม่กว่า --> ก็เข้าใจตรงกันแล้วนะครับไม่มีใครทราบนอกจากคุณ bact' เอง ถ้าคุณ bact' คิดเช่นนั้นก็ควรบอกมา จะได้ถกเถียงกันต่อไปในประเด็นนั้น
ถ้าสมมุติว่า การไม่เข้ามาชี้แจงเพิ่มเติม หมายความว่า ประเด็นนั้นเข้าประเด็นที่คุณ bact' ต้องการ --> ผมไม่ได้หมายความอย่างนั้นครับ ต่อให้คุณ bact' ไม่ต้องการปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องหรือทันสมัยขึ้น (ซึ่งขัดกับธรรมชาติของวิกิพีเดีย) แม้จะมาจากแหล่งอ้างอิงเดียวกันก็ตาม การที่ผมแก้กลับเป็น "ฟีจี" นั้นก็ยังมีค่าเท่าเดิม คือเป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้นในโครงการวิกิประเทศที่ให้ใช้ตามราชบัณฑิตฯ (ไม่ใช่กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ฯลฯ) ซึ่งอันนี้ไม่เกี่ยวกับนอกประเด็นหรือไม่อย่างไร เพราะคุณ bact' ไม่เข้ามาตอบหรืออธิบายเพิ่มเอง และผมก็รอเขามาระยะเวลาหนึ่งแล้วเช่นกัน หากปล่อยนานกว่านั้น คนอ่านก็จะสับสน เพราะมันกระทบกับหน้าบทความอื่นที่มีชื่อประเทศนี้ด้วย และเขาไม่ได้เปลี่ยนให้สอดคล้องกันครับ --Potapt (พูดคุย) 23:43, 26 พฤษภาคม 2560 (+07)ตอบกลับ


กำลังสอบถามไปทางสำนักงานนะครับ ตามอีเมลฉบับนี้


Created on:6 June 2017 at 07:07
To:ripub@royin.go.th
--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Bact (พูดคุยหน้าที่เขียน) 13:13, 6 มิถุนายน 2560 (ICT) Subject:การสะกดชื่อประเทศ ชื่อเมือง ควรยึดตามหลักเกณฑ์อะไร

สอบถามสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

เนื่องจากขณะนี้มีข้อถกเถียงในวิกิพีเดียภาษาไทย ว่าควรจะสะกดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมือง ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์อย่างไร

ขณะนี้มีแหล่งอ้างอิง 2 แหล่ง ซึ่งมาจากทางราชบัณฑิตยสถาน/สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ทั้งคู่

- ประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง พ.ศ. 2544 http://www.royin.go.th/?page_id=639 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 26 พ.ย. 2544 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2544/E/117/2.PDF

- แอปพลิเคชัน Royal Society Mobile: ชื่อบ้านนามเมือง ที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ร่วมกับสำนักงานราชบัณฑิตยสภา พัฒนา https://www.nectec.or.th/innovation/innovation-mobile-application/Chuebannammueang-th.html

โดยทั้ง 2 แหล่ง มีข้อมูลที่ขัดแย้งกันอยู่ เช่น กรณีของประเทศ Fiji ที่ ประกาศราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2544 (ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด) ให้ใช้ว่า "ฟิจิ" (ใช้สระอิทั้งหมด) ในขณะที่ แอปพลิเคชัน ชื่อบ้านนามเมือง ให้ใช้ว่า "ฟีจี" (ใช้สระอีทั้งหมด)

จึงขอสอบถามทางสำนักงาน ว่าควรอิงตามมาตรฐานใด


คำตอบน่าจะช่วยทำให้ชัดเจนขึ้นว่า ทางฝั่งสำนักงานราชบัณฑิตยสภา มีคำแนะนำอย่างไร

ส่วนวิกิพีเดียไทยจะเลือกแบบไหน ก็แล้วแต่วิกิพีเดียไทยจะพิจารณาข้อมูลที่ได้ และอภิปรายตกลงกันครับ

-- -- bact' 13:10, 6 มิถุนายน 2560 (ICT)

ได้ข้อมูลเบื้องต้นแล้วจากทางเนคเทค ซึ่งได้สอบถามเจ้าหน้าที่จากสำนักงานราชบัณฑิตยสภาให้ ได้ความว่า ข้อมูลในแอปชื่อบ้านนามเมืองนั้น ใหม่กว่าประกาศราชบัณฑิตยสถานปี 2544

ส่วนเรื่องเอกสารอย่างเป็นทางการเพื่อยืนยันชี้ขาดว่าให้ใช้อย่างไร ยังรอคำตอบจากทางสำนักงานราชบัณฑิตยสภาอยู่เพื่อการอ้างอิงและแนะนำให้ใช้เป็นการทั่วไปในวิกิพีเดียไทยครับ เนื่องจากเมื่อวานนี้ผมลองตรวจสอบดู ในเอกสารราชการ เช่นของกระทรวงการต่างประเทศ ที่ออกเมื่อเดือนพ.ค. 2560 ยังใช้การสะกดตามประกาศปี 2544 อยู่ http://www.mfa.go.th/main/th/news3/6886/77983-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1-Thailand-%E2%80%93-Pacific-Island-Countries-Foru.html

และทางเนคเทคได้สอบถามมาด้วย ว่าทางวิกิพีเดียไทยมีอีเมลติดต่อหรือไม่เพื่อจะได้ประสานงานกับทางสำนักงานราชบัณฑิตยสภาต่อไป

-- -- bact' 04:48, 19 มิถุนายน 2560 (ICT)

  • ข้อมูลในแอปชื่อบ้านนามเมืองนั้น ใหม่กว่าประกาศราชบัณฑิตยสถานปี 2544 --> อันนี้แน่นอนอยู่แล้วครับ เพราะแอปพลิเคชันเพิ่งออกมาปีที่แล้วเอง
  • กระทรวงการต่างประเทศ ที่ออกเมื่อเดือนพ.ค. 2560 ยังใช้การสะกดตามประกาศปี 2544 อยู่ --> กระทรวงการต่างประเทศไม่มีหน้าที่กำหนดการเขียนชื่อประเทศครับ หน้าที่นั้นเป็นของราชบัณฑิตยสถาน/สำนักงานราชบัณฑิตยสภา อย่างไรก็ตาม ในประกาศ เรื่อง กำหนดชื่อประเทศฯ มีข้อความบอกชัดเจนว่า มีผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมพิจารณาการกำหนดชื่อประเทศของราชบัณฑิตยสถาน/สำนักงานราชบัณฑิตยสภาด้วย ก็น่าจะแปลว่ากระทรวงการต่างประเทศควรจะได้รับทราบอยู่แล้ว ที่ยังไม่เปลี่ยนตามนั้นอาจเป็นเพราะยังไม่มีประกาศฉบับใหม่ออกมาอย่างเป็นทางการ แต่ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่เปลี่ยน เพราะชื่อที่เปลี่ยนส่วนใหญ่ก็เปลี่ยนให้ใกล้เคียงกับการออกเสียงในภาษาต้นทางมากขึ้น ซึ่งชื่อ "ฟีจี" ก็เป็นหนึ่งในนั้น --Potapt (พูดคุย) 05:35, 19 มิถุนายน 2560 (ICT)
กลับไปที่หน้า "ประเทศฟีจี"