พูดคุย:บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต
บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต เป็นบทความที่ผ่านการคัดเลือกให้เป็น บทความคัดสรร ภายใต้หลักเกณฑ์ของบทความคัดสรร อย่างไรก็ตาม เราขอให้คุณช่วยปรับปรุง หากคุณสามารถพัฒนาบทความนี้ให้ดีขึ้นได้ และหากเห็นว่าบทความนี้ไม่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ของบทความคัดสรร กรุณาแจ้งที่นี่ (วันที่พิจารณา: 16/6/2562) |
บทความนี้อยู่ในโครงการวิกิต่อไปนี้: | |||||||||||||||||||
|
การเปิดดูหน้าเว็บประจำวันของ บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต
กราฟควรแสดงอยู่ที่นี่แต่กราฟถูกปิดใช้งานชั่วคราว จนกว่ากราฟจะเปิดใช้งานอีกครั้ง ดูกราฟเชิงโต้ตอบที่ pageviews.wmcloud.org |
เสนอย้าย 29 ธันวาคม 2560
แก้- การอภิปรายด้านล่างนี้ปิดแล้ว โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
มีการเสนอในส่วนนี้ว่าควรเปลี่ยนชื่อและย้าย บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ไปยัง บีเอ็นเค48
ปิดอภิปรายแล้ว |
บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต → บีเอ็นเค48 – ไม่จำเป็นต้องถอดเสียงของตัวเลข Horus | พูดคุย 18:46, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- เลข "48" ในกรณีนี้อ่านได้เพียงแบบเดียวครับคือ "โฟร์ตีเอต" จึงต้องเขียนคำอ่านไว้เพื่อกันความสับสน เพราะปกติแล้วผู้อ่านชอบเรียกว่า "สี่สิบแปด" ซึ่งผิด --Ingfa7599 (พูดคุย) 18:48, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- คือมีเขียนติดไว้ในหน้าเว็บไซต์หรือว่ายังไงครับ ยังไม่เห็นหลักฐานเลย --Horus | พูดคุย 18:54, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- มีตามข่าว อ้างอิงทุติยภูมิต่าง ๆ น่ะครับที่เวลาเขาเขียนเป็นคำอ่านกัน รวมไปถึงบริษัทที่ก่อตั้งวงนี้ขึ้นมา ก็ใช้ชื่อจดทะเบียนว่า "บีเอ็นเค โฟร์ตี้เอท ออฟฟิศ" --Ingfa7599 (พูดคุย) 19:09, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- ถ้าอย่างนั้น เปลี่ยนไปใช้ชื่อบทความว่า "บีเอ็นเค48" แล้วเขียนกำกับในหน้าบทความว่า "อ่านว่า บีเอ็นเคโฟร์ตี้เอท" แบบนี้ไหมครับ เพราะในบทความวิกิพีเดียภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ถอดออกมาเป็น "BNK Forty-eight" --Horus | พูดคุย 19:16, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- ที่วิกิพีเดียภาษาอังกฤษไม่ถอดมาเป็น "BNK Forty-eight" เนื่องจาก "โฟร์ตีเอต" มันก็เป็นคำอ่านภาษาอังกฤษน่ะครับจึงไม่จำเป็น แต่สำหรับภาษาไทยผมยังไม่เห็นเหตุผลเลยครับว่าทำไมถึงควรเปลี่ยนเป็น "48" คนอ่านครั้งแรกก็จะอ่านเป็น "สี่สิบแปด" อยู่ดี แล้วก็ต้องมาอ่านใหม่เป็น "บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต" ให้อ่านครั้งเดียวรู้เรื่องไปเลยไม่ดีกว่าหรอครับ --Ingfa7599 (พูดคุย) 19:30, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- แล้วทำไม เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ กับ เพจเฟซบุ๊กอย่างเป็นทางการ ถึงไม่ใช้ว่า "บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต" บ้างล่ะครับ ตามกฎหมายถือว่า "บีเอ็นเค48" กับ "บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต" เป็น entity คนละอย่างกันนะครับ --Horus | พูดคุย 19:34, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- ตามเว็บไซต์หลักก็ไม่ได้ใช้ทั้ง "บีเอ็นเค48" และ "บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต" นะครับ มีใช้แค่อย่างเดียวคือ "BNK48" แต่คำอ่านของคำนี้คือ "บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต" ซึ่งมีบอกเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ต้องให้เวลาผมไปค้นหาครับ แต่ที่ผมรู้คือคนส่วนใหญ่นิยมใช้คำอ่านแบบนี้ครับ --Ingfa7599 (พูดคุย) 19:55, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- ที่เลือกใช้ภาษาไทยเพราะมีหลักการตั้งชื่อบทความอยู่ครับ ส่วนเขียนแบบหนึ่ง จะอ่านอีกแบบหนึ่ง คิดว่าอยู่นอกเหนือจากประเด็นเรื่อง "ชื่อบทความ" ที่กำลังคุยกันนะครับ ขอไม่ใช้ความเห็นส่วนบุคคล --Horus | พูดคุย 20:00, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- หรือให้ผมลองยกตัวอย่างชื่อบทความอื่น ๆ ดูไหมครับ เช่น จีทูจี แทนที่จะเป็น "จี2จี" หรือ ศูนย์ ศูนย์ หนึ่ง (วงดนตรี) แทนที่จะเป็น "001" ก็เพราะว่าผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่าน อ่านได้ถูกต้องที่สุด ("จีทูจี" ไม่ใช่ "จีสองจี") กรณีนี้ก็เช่นเดียวกันครับ --Ingfa7599 (พูดคุย) 20:25, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- ที่เลือกใช้ภาษาไทยเพราะมีหลักการตั้งชื่อบทความอยู่ครับ ส่วนเขียนแบบหนึ่ง จะอ่านอีกแบบหนึ่ง คิดว่าอยู่นอกเหนือจากประเด็นเรื่อง "ชื่อบทความ" ที่กำลังคุยกันนะครับ ขอไม่ใช้ความเห็นส่วนบุคคล --Horus | พูดคุย 20:00, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- ตามเว็บไซต์หลักก็ไม่ได้ใช้ทั้ง "บีเอ็นเค48" และ "บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต" นะครับ มีใช้แค่อย่างเดียวคือ "BNK48" แต่คำอ่านของคำนี้คือ "บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต" ซึ่งมีบอกเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ต้องให้เวลาผมไปค้นหาครับ แต่ที่ผมรู้คือคนส่วนใหญ่นิยมใช้คำอ่านแบบนี้ครับ --Ingfa7599 (พูดคุย) 19:55, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- แล้วทำไม เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ กับ เพจเฟซบุ๊กอย่างเป็นทางการ ถึงไม่ใช้ว่า "บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต" บ้างล่ะครับ ตามกฎหมายถือว่า "บีเอ็นเค48" กับ "บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต" เป็น entity คนละอย่างกันนะครับ --Horus | พูดคุย 19:34, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- ที่วิกิพีเดียภาษาอังกฤษไม่ถอดมาเป็น "BNK Forty-eight" เนื่องจาก "โฟร์ตีเอต" มันก็เป็นคำอ่านภาษาอังกฤษน่ะครับจึงไม่จำเป็น แต่สำหรับภาษาไทยผมยังไม่เห็นเหตุผลเลยครับว่าทำไมถึงควรเปลี่ยนเป็น "48" คนอ่านครั้งแรกก็จะอ่านเป็น "สี่สิบแปด" อยู่ดี แล้วก็ต้องมาอ่านใหม่เป็น "บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต" ให้อ่านครั้งเดียวรู้เรื่องไปเลยไม่ดีกว่าหรอครับ --Ingfa7599 (พูดคุย) 19:30, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- ถ้าอย่างนั้น เปลี่ยนไปใช้ชื่อบทความว่า "บีเอ็นเค48" แล้วเขียนกำกับในหน้าบทความว่า "อ่านว่า บีเอ็นเคโฟร์ตี้เอท" แบบนี้ไหมครับ เพราะในบทความวิกิพีเดียภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ถอดออกมาเป็น "BNK Forty-eight" --Horus | พูดคุย 19:16, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- มีตามข่าว อ้างอิงทุติยภูมิต่าง ๆ น่ะครับที่เวลาเขาเขียนเป็นคำอ่านกัน รวมไปถึงบริษัทที่ก่อตั้งวงนี้ขึ้นมา ก็ใช้ชื่อจดทะเบียนว่า "บีเอ็นเค โฟร์ตี้เอท ออฟฟิศ" --Ingfa7599 (พูดคุย) 19:09, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- คือมีเขียนติดไว้ในหน้าเว็บไซต์หรือว่ายังไงครับ ยังไม่เห็นหลักฐานเลย --Horus | พูดคุย 18:54, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- เลข "48" ในกรณีนี้อ่านได้เพียงแบบเดียวครับคือ "โฟร์ตีเอต" จึงต้องเขียนคำอ่านไว้เพื่อกันความสับสน เพราะปกติแล้วผู้อ่านชอบเรียกว่า "สี่สิบแปด" ซึ่งผิด --Ingfa7599 (พูดคุย) 18:48, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- การอภิปรายด้านบนนี้รักษาไว้เป็นกรุ โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
WP:MOSSTAR
แก้รบกวนอ่านใหม่นะครับ "การรับเชิญไปออกรายการโทรทัศน์ การถ่ายนิตยสาร โฆษณาภาพนิ่ง ถ่ายภาพปฏิทิน การออกอีเวนต์ ไม่ถือเป็นผลงาน" อยากให้ลองเทียบกับ en:AKB48 discography --Horus | พูดคุย 19:20, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- "การรับเชิญไปออกรายการโทรทัศน์" อันนี้ผิดครับเพราะรายการโทรทัศน์ที่ว่ามาเป็นรายการของวงเอง ไม่ได้เป็นการรับเชิญแต่อย่างใด
- "สามารถลงผลงานการแสดงภาพยนตร์โฆษณา ผลงานในคอนเสิร์ตใหญ่ที่มีการขายบัตร และแสดงในมิวสิกวิดีโอได้" ดังนั้นจึงลงมิวสิกวีดีโอได้ครับ
- กรณีที่ไม่เข้าข่ายอาจจะเป็นหนังสือรวมภาพ อันนี้คิดว่านำออกไปได้ครับ ปล. อยากให้ลองเทียบกับ en:BNK48 discography ด้วยครับ --Ingfa7599 (พูดคุย) 19:26, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- ประโยคถัดมาเขียนว่า "(ทั้งนี้ผลงานต้องผ่านเกณฑ์ตามเงื่อนไขความโดดเด่นทั่วไป คือมีอ้างอิงทุติยภูมิที่อ้างถึง)" ครับ หมายความว่า ภาพยนตร์โฆษณาหรือมิวสิกวิดีโอนั้นจะต้องมีความสำคัญระดับหนึ่ง เช่น ซิงเกลเพลงที่มีบทความ ส่วนรายการโทรทัศน์ ทุกทีที่ผมเห็นคือ เวลาเขาไปออกซีรีย์ถึงจะใส่นะครับ ส่วนเรื่องที่คุณให้เทียบกับ "BNK48 discography" ผมขอไม่นับครับ เพราะเชื่อว่าน่าจะเป็นคนไทยนี่แหละเขียน --Horus | พูดคุย 19:31, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- คำว่า "มีอ้างอิงทุติยภุูมิอ้างถึง" นี่ก็มีอ้างอิงให้อยู่แล้วนี่ครับ แถมมีหน้าบทความวิกิพีเดียเป็นของตัวเองอีกด้วย ส่วนประโยคว่า "เวลาเขาไปออกซีรีย์ถึงจะใส่นะครับ" นี่ผมไม่ค่อยเข้าใจครับ คือจำเป็นต้องเป็นซีรีย์หรือครับ รายการวาไรตีต่าง ๆ ใน WP:MOSSTAR ก็ไม่ได้ห้ามนี่ครับ ส่วนซีรีย์นี่ควรจะเป็นหัวข้อ "ผลงานแสดงภาพยนตร์ / ผลงานแสดงละคร" มากกว่า --Ingfa7599 (พูดคุย) 19:41, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- แปลว่าพวกเขาเหล่านั้นไปเป็นพิธีกร ดาราประจำรายการทำนองนั้นหรือครับ ก็ไม่นับเป็นผลงานอยู่ดีนะครับ --Horus | พูดคุย 19:46, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- ถูกต้องครับ แต่ทำไมถึงไม่นับเป็นผลงาน ช่วยอธิบายตรงนี้ด้วยครับ ตราบใดที่ WP:MOSSTAR ไม่ได้ห้ามไว้ผมคิดว่ามีสิทธิ์ลงข้อมูลส่วนนี้ครับ ถ้าจะบอกว่าไม่โดดเด่นก็คงไม่ใช่ครับเพราะมีอ้างอิงทุติยภูมิกล่าวถึง --Ingfa7599 (พูดคุย) 19:54, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- ผลงานของวงดนตรีคือ ซิงเกิล อัลบั้ม คอนเสิร์ต เป็นต้น ครับ คือจริงอยู่แฟนคลับอาจจะอยาก list ผลงานบันเทิงทั้งหมดของวงที่ตัวเองชอบ แต่มันไม่ใช่ "ผลงาน" ที่ควรแก่การจดบันทึกจริง ๆ --Horus | พูดคุย 19:58, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- คือจริง ๆ มันก็ไม่ใช่ผลงาน "ทั้งหมด" นะครับ เคยมีคนเขียนเยอะกว่านี้แต่โดนผู้ดูแลคนอื่นลบไปจนเหลือแค่นี้แหละครับที่คิดว่าจำเป็น ส่วน "ผลงานของวงดนตรีคือ ซิงเกิล อัลบั้ม คอนเสิร์ต" อันนี้ก็ละเอียดอ่อนเพราะวงนี้จริง ๆ แล้วไม่ใข่ "วงดนตรี" แต่เป็น "กลุ่มไอดอล" ที่มีผลงานต่าง ๆ เช่นเพลงหรือรายการโทรทัศน์ เลยไม่เน้นว่ามีแค่เพลงครับเพราะนั่นไม่ใช่จุดขาย / ปัจจัยหลักของวงอย่างเดียว ไม่เหมือน "วงดนตรี" ที่ขายเพลงเป็นหลัก --Ingfa7599 (พูดคุย) 20:11, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- ผลงานของวงดนตรีคือ ซิงเกิล อัลบั้ม คอนเสิร์ต เป็นต้น ครับ คือจริงอยู่แฟนคลับอาจจะอยาก list ผลงานบันเทิงทั้งหมดของวงที่ตัวเองชอบ แต่มันไม่ใช่ "ผลงาน" ที่ควรแก่การจดบันทึกจริง ๆ --Horus | พูดคุย 19:58, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- ถูกต้องครับ แต่ทำไมถึงไม่นับเป็นผลงาน ช่วยอธิบายตรงนี้ด้วยครับ ตราบใดที่ WP:MOSSTAR ไม่ได้ห้ามไว้ผมคิดว่ามีสิทธิ์ลงข้อมูลส่วนนี้ครับ ถ้าจะบอกว่าไม่โดดเด่นก็คงไม่ใช่ครับเพราะมีอ้างอิงทุติยภูมิกล่าวถึง --Ingfa7599 (พูดคุย) 19:54, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- แปลว่าพวกเขาเหล่านั้นไปเป็นพิธีกร ดาราประจำรายการทำนองนั้นหรือครับ ก็ไม่นับเป็นผลงานอยู่ดีนะครับ --Horus | พูดคุย 19:46, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- คำว่า "มีอ้างอิงทุติยภุูมิอ้างถึง" นี่ก็มีอ้างอิงให้อยู่แล้วนี่ครับ แถมมีหน้าบทความวิกิพีเดียเป็นของตัวเองอีกด้วย ส่วนประโยคว่า "เวลาเขาไปออกซีรีย์ถึงจะใส่นะครับ" นี่ผมไม่ค่อยเข้าใจครับ คือจำเป็นต้องเป็นซีรีย์หรือครับ รายการวาไรตีต่าง ๆ ใน WP:MOSSTAR ก็ไม่ได้ห้ามนี่ครับ ส่วนซีรีย์นี่ควรจะเป็นหัวข้อ "ผลงานแสดงภาพยนตร์ / ผลงานแสดงละคร" มากกว่า --Ingfa7599 (พูดคุย) 19:41, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- ประโยคถัดมาเขียนว่า "(ทั้งนี้ผลงานต้องผ่านเกณฑ์ตามเงื่อนไขความโดดเด่นทั่วไป คือมีอ้างอิงทุติยภูมิที่อ้างถึง)" ครับ หมายความว่า ภาพยนตร์โฆษณาหรือมิวสิกวิดีโอนั้นจะต้องมีความสำคัญระดับหนึ่ง เช่น ซิงเกลเพลงที่มีบทความ ส่วนรายการโทรทัศน์ ทุกทีที่ผมเห็นคือ เวลาเขาไปออกซีรีย์ถึงจะใส่นะครับ ส่วนเรื่องที่คุณให้เทียบกับ "BNK48 discography" ผมขอไม่นับครับ เพราะเชื่อว่าน่าจะเป็นคนไทยนี่แหละเขียน --Horus | พูดคุย 19:31, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- ความเห็น สวัสดีค่ะ ขอสอดนะคะ
- เราเป็นคนหนึ่งที่เขียนบทความกลุ่ม BNK48 ในภาษาอังกฤษ อยากบอกว่า คุณ Ingfaฯ พูดผิดไปหน่อยตรงที่ให้เทียบกับ en:BNK48 discography จริง ๆ ควรจะเทียบกับ en:AKB48 filmography เพราะหน้า en:BNK48 discography รวมเอาทั้ง discography, filmography, bibliography, videography ฯลฯ ไว้ ซึ่งไม่ผิดตามแนวปฏิบัติของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ตราบที่ยังไม่ได้มากมายจนสามารถแยกเป็นหน้าต่างหากได้ (เช่น หน้า en:Girls' Generation videography รวมเอาทั้ง videography, filmography ฯลฯ)
- เมื่อดู en:AKB48 discography, en:AKB48 filmography (และบทความอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน เช่น en:Girls' Generation videography, en:List of Girls' Generation concert tours ฯลฯ) จะเห็นว่า งานที่บุคคลดนตรีมีบทบาทหลัก สามารถใส่ไว้ในลิสต์ผลงานของบุคคลดนตรีได้ ไม่ว่าจะเป็นมิวสิกวิดีโอ มังงะ อะนิเมะ เกม หนังสือ ฯลฯ (แต่จะเรียก filmography, videography, bibliography ฯลฯ แล้วแต่ประเภท) เพราะบุคคลดนตรีสมัยนี้ไม่ได้มีผลงาน "หลัก" แค่ดนตรีอย่างเดียว ดังนั้น ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ รายการที่ BNK48 "โฮสต์เอง" และผลงานอื่น เช่น videography, photo book จึงใส่ไว้ในหน้าผลงานของ BNK48 ได้
- แต่สำหรับวิกิพีเดียภาษาไทย เราไม่รู้แนวปฏิบัติเหมือนกัน มาบอกเฉย ๆ ว่า ในหน้าภาษาอังกฤษมันใส่ได้
- --หมวดซาโต้ (พูดคุย) 20:27, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- @หมวดซาโต้: ขออนุญาตคุณ Ingfa ถามในหน้านี้เลยนะครับ photo book กับ Television show พอจะมีให้เทียบไหมครับ --Horus | พูดคุย 20:32, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- อธิบายเล็กน้อยว่า สายญี่ปุ่นเนี่ยเค้าจะออกงานหลากหลาย เช่น บุคคลดนตรีก็ไม่ได้ออกแต่ดนตรี ยังมีรายการทีวี, แสดงหนัง, ออก photo book, ออก video game ฯลฯ ดังนั้น บทความบุคคลบันเทิงญี่ปุ่นจึงมักมีผลงานอย่างอื่นอยู่ด้วย เช่น นักร้อง en:Kyary Pamyu Pamyu#Works มีรายการวิทยุ รายการทีวี ภาพยนตร์ ฯลฯ, นักพากย์ en:Aya Hirano มี filmography, anime, cds, films, video games ฯลฯ, ส่วน photo book ใน en:AKB48 discography#Bibliography ติดป้าย need expansion ตั้งแต่ปี 2011 แล้ว, ฝั่งเกาหลีก็คล้าย ๆ กัน อย่าง en:T-ara videography ก็จะมีรายการทีวี, หรือ en:2PM videography ก็จะมีวิดีโอ มีโฆษณา มีรายการอะไรไม่รู้ เราก็ไม่ได้ตามฝั่งเกาหลีมากมาย, ถ้าไล่ดูเป็นรายคนก็อาจจะสับสนอลหม่านได้
- วิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีแนวทางอยู่ในคู่มือ en:Wikipedia:Manual of Style/Lists of works ว่า: แต่ละรายการในบัญชีผลงานไม่จำเป็นต้องโดดเด่นถึงขนาดควรมีบทความของตัวเองต่างหากก็ได้ และเชิญชวนให้ทำบัญชีผลงานที่ครบถ้วนสมบูรณ์มีอ้างอิงน่าเชื่อถือใส่ไว้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเมื่อยังไม่มีบัญชีแบบนี้ให้เข้าถึงที่ไหนในอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องเสียเงิน ("The individual items in the list do not have to be sufficiently notable to merit their own separate articles. Complete lists of works, appropriately sourced to reliable scholarship (WP:V), are encouraged, particularly when such lists are not already freely available on the internet.") ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมันเลยใส่ได้
- แต่สำหรับวิกิพีเดียภาษาไทย ไม่มีความเห็นเหมือนกันค่ะ ที่มาก็เพื่อชี้แจงว่า ทำไมภาษาอังกฤษมันใส่ได้เท่านั้นค่ะ
- @หมวดซาโต้: ขออนุญาตคุณ Ingfa ถามในหน้านี้เลยนะครับ photo book กับ Television show พอจะมีให้เทียบไหมครับ --Horus | พูดคุย 20:32, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
- --หมวดซาโต้ (พูดคุย) 20:27, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)
มีข่าวมาว่า รางวัลหนึ่งที่ผมไม่ขอเอ่ยเป็นรางวัลที่ขึ้นต้นด้วย "เอ็ม" นั้น เป็นการจัดรางวัลหลอกลวง และสื่อไหนไม่น่าเชื่อถือ สังเกตจากหน้านี้นะครับ จากการตรวจสอบแล้วว่าไม่มีอยู่จริง คลื่นไหนจะรับสัญญาณจากสิ่งนั้นได้ เป็นการหลอกลวงโอตะและประชาชนอย่างชัดแจ้ง ช่วยกรุณากวดขันส่วนรางวัลให้ชัดแจ้งด้วย อย่าเอารางวัลที่ไม่ยอมรับและรางวัลหลอกลวงมาใส่อีก --Nakare✝ 05:25, 30 มีนาคม 2561 (ICT)
คุณภาพบทความ
แก้- 1. อ้างอิงเฟซบุ๊ก? ให้เปลี่ยนไปอ้างอิง secondary source ทั้งหมด ตอนนี้คุณภาพบทความลดลงมาก ดูเหมือนจะมีอ้างอิงภายนอกแต่จริง ๆ ก็เป็นแค่โฆษณาของวงเอง
- 2. ไม่มีความจำเป็นต้องแยกเป็นหัวข้อใหม่ เอาใส่ตารางรางวัลก็ได้ --Horus (พูดคุย) 02:06, 12 มีนาคม 2562 (ICT)
- แก้ไขเรียบร้อยครับ แต่บางอ้างอิงอาจจำเป็นต้องลบนะครับ เนื่องจากเว็บไซต์ของวงมีการอัปเดตเปลี่ยนแปลง ทำให้อ้างอิงเก่า ๆ ที่วงเคยลงในเว็บไซต์ถูกลบไปหมด ประกอบกับช่วงที่วงยังไม่พีคจึงไม่ค่อยมีแหล่งที่มารอง มีแค่เพียงอ้างอิงที่วงลงไว้ในเฟซบุ๊คครับ --Etcetera48 (คุย) 21:47, 12 มีนาคม 2562 (ICT)
ไวร่า
แก้ตามที่หาอ่านมาบอกว่าเป็นยูนิตพิเศษ โดยเป็นความร่วมมือกันระหว่าง iAM กับ UMG ซึ่งท้ายที่สุดก็ไม่มีการสรุปว่าเป็นยูนิตย่อยหรือเป็นวงแยกออกมา เลยมาถามว่าส่วนของไวร่า จะให้อยู่ในส่วนของยูนิตย่อยต่อ หรือขึ้นส่วนใหม่ว่าเป็น วงร่วม โปรเจกต์ หรืออะไรก็ตาม แต่ไม่ใช่ยูนิตลำดับที่ 2 แน่นอน เพราะไม่มีแหล่งไหนบอกว่าเป็นยูนิตย่อยที่ 2 รวมถึงจากตัววงเองก็ตาม --RidJasper (คุย) (ส่วนร่วม) 22:07, 12 มีนาคม 2564 (+07)
ชื่อบริษัท iAM
แก้ชื่อบริษัทตามที่จดทะเบียนคือ อินดิเพนเด้นท์ อาร์ทิสท์ เมเนจเม้นท์ แต่ทำไมต้องใช้ทับศัพท์ว่า อินดิเพนเดนท์ อาร์ตทิสต์ เมเนจเมนต์ ด้วยครับ น่าจะใช้ตามชื่อที่จดทะเบียนมากกว่า (ตาม WP:NAME) --Nakare✝「T」 21:44, 11 กรกฎาคม 2564 (+07)
BNK48 ได้รับรางวัลเพิ่มจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น อยากให้เพิ่มในช่องรางวัลที่ได้รับด้วยครับ 🙏🏻🙏🏻
แก้รางวัลคนไทยผู้สร้างคุณประโยชน์ และสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 135 ปี ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น จาก สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย 49.237.8.44 03:31, 6 กันยายน 2565 (+07)
- สำเร็จ ตอนแรกเข้าใจว่าผู้จัดงานนิปปงฮากุเป็นผู้มอบเองเลยไม่อาจสามารถเพิ่มได้ แต่เนื่องจากทางสถานทูตฯ เป็นผู้มอบจึงคิดว่าสมควรต่อการกล่าวถึงครับ –PhakkaponP (คุย) 20:27, 6 กันยายน 2565 (+07)