พูดคุย:การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554
|
|
บทความที่เกี่ยวข้อง
แก้อาทิ พรรค...ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ที่มีชื่อ ส.ส. ทั้งระบบบัญชีรายชื่อและแบ่งเขต ผลการเลือกตั้ง แบบแบ่งเขตแยกตามภาค แบบบัญชีรายชื่อ หรือบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรมีหรือไม่ครับ --~phenoCALYPSE~ 21:42, 12 พฤษภาคม 2554 (ICT)
- เอาจริงๆก็สามารถทำได้ครับ หรือจะแยกเป็นตัวบุคคลก็ยังสามารถทำได้เลยครับ
-- KungDekZa | กล่องรับความคิดเห็น | ผลงาน 14:34, 13 พฤษภาคม 2554 (ICT)
ผมเสนอแนวทางการสร้างบทความคร่าวๆ ส่วนหนึ่งก่อนนะครับ
- พรรค...ในการเลือกตั้ง ส.ส.ในประเทศไทย พ.ศ. 2554 - มีข้อมูลหัวหน้าพรรค ผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อทั้งหมด
- จังหวัด...ในการเลือกตั้ง ส.ส.ในประเทศไทย พ.ศ. 2554 - ข้อมูลเขตเลือกตั้ง ผู้สมัครในแต่ละเขต และผลการเลือกตั้งในแต่ละเขต
- ผลการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อในภาพรวมทั้งประเทศ
- สถิติที่เกี่ยวข้อง
ทุกท่านมีความเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ --~phenoCALYPSE~ 12:09, 16 พฤษภาคม 2554 (ICT)
ผมคิดว่าถ้าเกินเลือกตั้งไปแล้วบทความนี้จะไม่มีการพัฒนาต่อสิครับ ผมจึงเห็นว่า รายชื่อพรรค-จำนวนผู้สมัคร-ได้รับเลือกเท่าไร นั้นมีได้ให้รวมกันอยู่ในบทความนี้ แต่บทความรายพรรค รายบุคคล อันนี้มันอาจจะมากเกินไป ซ้ำซ้อนยิ่งขึ้นกับบทความบุคคลที่มีอยู่ --octahedron80 13:13, 16 พฤษภาคม 2554 (ICT)
อยากจะบอกเพิ่มอีกนิดนึงว่า วิกิพีเดียไม่ใช่แท่นปราศรัย (หาเสียง) --octahedron80 14:44, 16 พฤษภาคม 2554 (ICT)
- ผมเสนอการแยกเป็นบทความย่อยเพราะเรื่องเนื้อหาล้วนๆ ครับ อย่างเช่นหลายพรรคที่ส่งผู้สมัครบัญชีรายชื่อ 125 คนเต็มพิกัด ถ้าลงในบทความเดียวคงยาวยืดแน่ เอาอย่างนี้มั้ยครับ ย่อยเป็นบทความแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตไปก่อน ถ้าบทความยาวก็แบ่งเป็นบทความย่อยลงไปอีก แบบนี้ดีมั้ยครับ --~phenoCALYPSE~ 18:42, 16 พฤษภาคม 2554 (ICT)
แปะไว้ก่อน
แก้ชื่อบทความ
แก้ไม่รู้จะไปบอกที่ไหนดีครับ จึงขอบอกไว้ตรงนี้ก็แล้วกันนะครับ ผมได้เปลี่ยนชื่อบทความเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส. ไทย เป็นการทั่วไปทุกบทความ จากชื่อ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. ..." เป็น "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. ..." เหตุผล คือ
- การเลือกตั้ง ส.ส. มีหลายแบบ การเลือกตั้งทั่วไป คือ ที่เลือกยกสภา ส.ส. โดยจัดกันทั่วประเทศ (ไม่เฉพาะจังหวัดนี้ อำเภอนั้น เป็นต้น แต่การลงคะแนนในต่างประเทศเป็นเพียงการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เลือกเท่านั้น) และการเลือกตั้งย่อย เช่น เลือกตั้งซ่อม เป็นต้น
- ในกฎหมายต่าง ๆ ก็ใช้แยกกันตามข้อ 1 นั้นครับ โดยใช้ว่า "[ให้มี] การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป [ในวันที่ 3 กรกฎาคม...]" เป็นต้นครับ
- ในวิกิฯ ภาษาต่างประเทศก็แบ่งอย่างนั้นเช่นเดียวกันครับ เช่น อังกฤษว่า Thai general election 2011
- ไม่ควรใช้ว่า "ในประเทศไทย" เพราะจัดให้ลงคะแนนกันนอกประเทศได้ด้วย อาจทำให้เข้าใจผิดได้ (แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นการเลือก ส.ส. ของต่างประเทศ)
ดังนั้น จึงควรเพิ่ม "เป็นการทั่วไป" เข้าไปในชื่อ แล้วตัด "ในประเทศไทย" ออก ให้เป็น "ส.ส. ไทย" ครับ
--Aristitleism 23:44, 4 กรกฎาคม 2554 (ICT)