พี สะเดิด
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
พี สะเดิด นักร้องเพลงลูกทุ่งเพื่อชีวิตนักดนตรีชายซุปเปอร์สตาร์ชาวไทย อดีตสังกัดค่ายแกรมมี่โกลด์ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ปัจจุบันเป็นนักร้องอิสระ เจ้าของฉายา ตำนานร็อกอีสานของเมืองไทย
พี สะเดิด | |
---|---|
![]() | |
สารนิเทศภูมิหลัง | |
ชื่อเกิด | พีรพัฒน์ สวัสดิ์มูล |
เกิด | 19 ตุลาคม พ.ศ. 2521[1] อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย |
ส่วนสูง | 171 เซนติเมตร |
อาชีพ | นักร้อง นักแสดง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน |
สังกัด | พีจีเอ็ม (พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2545) แกรมมี่โกลด์ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2562) ศิลปินอิสระ (พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน) |
ประวัติ แก้
พีรพัฒน์ สวัสดิ์มูล หรือ พี สะเดิด เกิดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2521 ที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น มีบิดารับราชการครู โดยเป็นบุตรคนสุดท้องจากจำนวนพี่น้องทั้งหมด 3 คน เข้ารับการศึกษาในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านสัมพันธ์ ซึ่งบิดาชื่อ นายบุญเสถียร สวัสดิ์มูล เป็นครูสอนวิชาคณิตศาสตร์อยู่ มารดาชื่อ นางระเบียบ สวัสดิ์มูล
เขาชอบเล่นกีตาร์และร้องเพลงตั้งแต่เด็ก โดยเริ่มหัดเล่นกีต้าร์ด้วยตัวเองตั้งแต่อยู่ชั้น ป.5 ด้วยการใช้กีตาร์ของพี่ชาย เวลามีกิจกรรมมักจะได้เป็นตัวแทนขึ้นไปร้องเพลงและเล่นกีตาร์ให้เพื่อน ๆและอาจารย์ในโรงเรียนฟังเป็นประจำ ศิลปินที่เขาชื่นชอบมากในช่วงนั้นคือ ปู พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ หลังจบชั้นประถมศึกษาได้ศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมที่โรงเรียนจตุรมิตรวิทยาคาร ตอนอยู่ ม.2 เคยขึ้นประกวดดนตรีร้องเพลงอยู่คนเดียวของ พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ และหลังจากนั้นก็ยังได้เดินสายประกวดร้องเพลงและแข่งโฟล์คซองอีกหลายรายการ หลังจบชั้นมัธยมได้เข้าศึกษาต่อในระดับปวช. จากวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี เข้าสู่วงการจากการประกวดดนตรีโฟล์กซอง ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับภาค เมื่อเรียนจบปวช. 3 และได้โควตาไปเรียนที่อุเทนถวาย แต่เมื่อแม่รู้ว่าจะไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวายด้วยความกังวลและห่วงว่าลูกชายจะมีเรื่องเหมือนเด็กอาชีวะในยุคนั้น ทำให้ พี สะเดิด ต้องตามใจแม่โดยไม่ไปเรียนที่นั่น จากนั้นได้ทำงานร้องเพลงตามสวนอาหาร จากนั้นก็มาทำงานสอนคอมพิวเตอร์ ให้เด็กอนุบาลบ้าง ตัดสติกเกอร์ รับจ้างเขียนแบบ ทำโมเดล เขียนป้ายออกแบบและรับจ้างทั่วไป ก่อนที่จะไปเรียนช่างก่อสร้างแล้วไปร้องเพลงตามห้องอาหาร จนถูกแมวมองชักชวนเข้าสู่วงการเพลง ได้เข้ามาเป็นศิลปินในสังกัดพีจีเอ็ม เร็คคอร์ด รับหน้าที่ตำแหน่งนักร้องนำและมือกีต้าร์ในวงร็อคสะเดิด ผลิตผลงานแนวลูกทุ่งร็อคอีสานสนุกๆออกมารวม 5 ชุด อาทิ "ร็อคตลาดแตก" และอื่นๆ ซึ่งเพลงของเขาได้รับความนิยมและโด่งดังจนกลายเป็นหนุ่มร็อคสะเดิดมียอดขายทุกอัลบั้มรวมกันกว่า 5 ล้านชุดและมีเพลงดังมากมาย เช่น สาวซำน้อย, มันมากับความเมา, กรึ๊บ, บั้งไฟแสนและอื่นๆ พร้อมกับออกอัลบั้ม โดยได้รับฉายาว่า "หนุ่มร็อคสะเดิด"
ความสำเร็จเป็นอย่างสูง จนกระทั่งได้รับรางวัลเพลงลูกทุ่งยอดนิยมจากเวทีมาลัยทอง, รางวัลนักร้องลูกทุ่งชายยอดนิยม รางวัลเพลงลูกทุ่งยอดนิยมจากเวที Star Entertainment Awards 2006 และรางวัลนักร้องลูกทุ่งชายยอดนิยมกับรางวัลเพลงลูกทุ่งยอดนิยมจากเวที รางวัลมหานครอวอร์ดส ครั้งที่ 3
ในวันที่ 22 ตุลาคม 2545 ร็อคสะเดิดได้ประกาศว่าได้หมดสัญญากับพีจีเอ็มเป็นที่เรียบร้อย หลังเจ้าตัวตัดสินใจไม่ต่อสัญญา และเดินหน้าเป็นนักร้องค่ายแกรมมี่ โกลด์เต็มตัว โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาที่ร็อคสะเดิดอยู่กับพีจีเอ็ม ร็อคสะเดิดมี 4 อัลบั้ม โดยผลงานแรกหลังออกจากแกรมมี่โกลด์ พี สะเดิดปล่อยอัลบั้มใหม่ในรอบ 4 ปี
ในวันที่ 17 กันยายน 2562 พี สะเดิดได้ประกาศว่าได้หมดสัญญากับแกรมมี่ โกลด์เป็นที่เรียบร้อย หลังเจ้าตัวตัดสินใจไม่ต่อสัญญา และเดินหน้าเป็นนักร้องอิสระเต็มตัว โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาที่อยู่กับแกรมมี่โกลด์ พี สะเดิดมีอัลบั้ม 8 ชุด และชุดพิเศษ 3 ชุด ซิงเกิ้ลเดี่ยวหลายเพลง เพลงสุดท้ายของพีกับทางแกรมมี่โกลด์คือเพลง 'ก่อนสิไป' ที่ปล่อยไปในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 และอัลบั้มที่ไม่ได้ออกวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการก็คือ ชุดที่ 9 เอกลักษณ์ไทย ชุดที่ 10 คนดังลืมหลังควาย และชุดพิเศษ มนต์เพลงสายัณห์สัญญา 1-4 โดยผลงานแรกหลังออกจากแกรมมี่โกลด์ พี สะเดิดปล่อยอัลบั้มใหม่ในรอบ 3 ปี
ผลงานเพลง แก้
สังกัดค่าย พีจีเอ็ม แก้
ร็อคสะเดิด ชุดที่ 1 ร็อคตลาดแตก แก้
- สาวซำน้อย
- ซิ่งสะเดิด
- มันมากับความเมา
- ผู้จัดการห้องน้ำ
- โจ้โล่ดอกข่า 2
- เมียน้อยได้เพชร
- ขาดปั๊ด
- ขอเปิงหัวใจ
- สุ่งส่าง
- หนุ่ม HIV
ร็อคสะเดิด ชุดที่ 2 หนุ่มหนองฮี แก้
- โบว์รักสีดำ (ต้นฉบับ ศิริพร อำไพพงษ์)
- แหถี่...แหห่าง
- หนุ่มหนองฮี
- ตระกูลขี้เมา
- หมอเสี่ยวเหล้า
- บั้งไฟ
- รอจนเธอโต
- แทงหน่อยพี่
- บรรเลง...สะเดิด
ร็อคสะเดิด ชุดที่ 3 กรึ๊บ แก้
- กรึ๊บ
- นาวาสงกรานต์
- เอิ้นขวัญลูกเขย
- 3,000 เทอร์โบ
- ลงทุ่ง
- ลำมั่ว
- วันนี้ต้องเมา
- ว่าวปิ่นทอง
- เขยใหม่ใจเสาะ
- เทวดาช่วยที
ร็อคสะเดิด ชุดที่ 4 บั้งไฟแสน แก้
- บั้งไฟแสน
- มักสาวลำซิ่ง
- สาวแดนเซอร์
- พอกะเทิน
- ผู้ช่วยเมียหลวง
- ต้นกระเดา
- อ้ายเกือบสวอย
- คนชอบเมา
- ม่วนหน้าฮ้าน
- บั้งไฟแสน (บรรเลง)
สังกัดค่าย แกรมมี่โกลด์ แก้
อัลบั้มเดี่ยว แก้
ชุดที่ 1 หนอนเฝ้าไห (29 ตุลาคม 2545 - ปี 2546 - ต้นปี 2547) แก้
- หนอนเฝ้าไห
- หามไปโห่
- นักร้องบ้านนอก (ต้นฉบับ พุ่มพวง ดวงจันทร์)
- คนไม่มีแต้ม
- ตำซั่ว
- อ้ายทองคำ
- พรุ่งนี้ค่อยร้องไห้ (ต้นฉบับ สายัณห์ สัญญา)
- เสื้อลายหมาเห่า
- อย่าปาก
- อย่าเปลี่ยนใจ
- เพลงที่เปิด ทางช่อง แฟนทีวี (ทดลองออกอากาศ)
- หนอนเฝ้าไห
- นักร้องบ้านนอก (ต้นฉบับ พุ่มพวง ดวงจันทร์)
- พรุ่งนี้ค่อยร้องไห้ (ต้นฉบับ สายัณห์ สัญญา)
ชุดที่ 2 คนบ่มียี่ห้อ (28 ตุลาคม 2548 - ปี 2549 - ต้นปี 2550) แก้
- หล่อบ่ถืกทหาร
- แฟนคลับหางเครื่อง
- คนบ่มียี่ห้อ (ไมค์ ภิรมย์พร ได้นำเอาไปร้องใหม่)
- เอาใจช่วยด้วย Message
- เดอะนางเดอ
- คักแท้น้อ (Hardcore Esarn)
- สาวกระโปรงเหี่ยน (ต่อมา ไมค์ ภิรมย์พร, แสน นากา, ส้ม พฤกษา ได้นำเอาไปร้องใหม่)
- เอิ้นขวัญคนเศร้า
- บ้านนาข้าบ่ลืม
- รำพึงข้างโพน
- เพลงที่เปิด ทางช่อง แฟนทีวี (ทดลองออกอากาศ)
- คนบ่มียี่ห้อ
- เอาใจช่วยด้วย Message
- เดอะนางเดอ
- สาวกระโปรงเหี่ยน
- เอิ้นขวัญคนเศร้า
ชุดที่ 3 ตีสองแล้วน้องสาว (26 มกราคม 2550) แก้
- มักสาวซอนแลน
- ตีสองแล้วน้องสาว
- หัวใจหมานตั๋ว
- เมื่อชาติต้องการ
- บ่มีวันเจ็บ
- นิทานกกกระโดน
- เบ็ดกบ
- สำพอ
- ถล่มหัวใจ (ต้นฉบับ วิโรจน์ เพชรเมืองกาญจน์)
- เสร็จเขาอีกแล้ว
- เพลงที่เปิด ทางช่อง แฟนทีวี (ทดลองออกอากาศ)
- มักสาวซอนแลน
- ตีสองแล้วน้องสาว
ชุดที่ 4 จิ๊กโก๋นำเข้า (22 พฤษภาคม 2551) แก้
- จิ๊กโก๋นำเข้า
- รักคนโทรมาจังเลย (ต่อมา ไมค์ ภิรมย์พร, เปาวลี พรพิมล และ แป้งร่ำ ศิวนารี ได้เอาไปร้องใหม่)
- ปั้นแหตาก
- ความต้องการทางแพทย์สูง
- เอาปลาข่อน
- สบตาหน้าฮ้าน
- บั้งไฟล้าน
- เหนื่อยเด้อ...เข้าใจเน๊าะ
- สาวแซต
- แม้เราจะต้องจากกัน
- เพลงที่เปิด ทางช่อง แฟนทีวี (ทดลองออกอากาศ)
- จิ๊กโก๋นำเข้า
- รักคนโทรมาจังเลย (ต่อมา ไมค์ ภิรมย์พร, เปาวลี พรพิมล และ แป้งร่ำ ศิวนารี ได้เอาไปร้องใหม่)
- ความต้องการทางแพทย์สูง
ชุดที่ 5 ปลาร้าขาร็อก (17 มีนาคม 2552) แก้
- ปลาร้าขาร็อก
- พรากผู้เยาว์
- คิดถึง...คิดถึง (ต่อมา ไมค์ ภิรมย์พร และ โกไข่ ได้นำเอาไปร้องใหม่)
- สาวเกาหลี
- เก็บเห็ด
- ช่วยตัวเอง
- ไหมมัดหมี่
- หมายกหาง
- เลหลัง
- เรายังมีกัน
- เพลงที่เปิด ทางช่อง แฟนทีวี (ทดลองออกอากาศ)
- พรากผู้เยาว์
- คิดถึง...คิดถึง
- สาวเกาหลี
- ช่วยตัวเอง
ชุดที่ 6 ยกซด (29 มิถุนายน 2553 - ปี 2554 - ต้นปี 2555) แก้
- กำก่าสกาฬสินธุ์
- สาวสะดิ้ง
- จ่อคิวมิด
- รักจัง
- ฮับถะแม้
- สาปลา
- ฮักสาวตำหมากหุ่ง
- โล...โล
- โทรมาเฮ็ดหยังกะด้อกะเดี้ย
- ยกซด
- เพลงที่เปิด ทางช่อง แฟนทีวี (ทดลองออกอากาศ)
- สาวสะดิ้ง
- รักจัง
- ฮับถะแม้
- โล...โล
- ยกซด
ชุดที่ 7 ขอโทษที่ลืมบ่ได้ (18 ตุลาคม 2555 - ปี 2556 - ต้นปี 2557) แก้
- ศักดิ์ศรีลูกอีสาน
- แฟนเขาที่เราคิดฮอด
- ฉันกำลังเป็นตัวแทนของใครหรือเปล่า (ศิริพร อำไพพงษ์, เล้ง ศรันยกันย์ ได้เอาไปร้องใหม่)
- ขอโทษที่ลืมบ่ได้ (Naked EYE ได้เอาไปร้องใหม่)
- ปั้นข้าวจี่ติดหมีแพนด้า
- กับแก้
- เราควรเป็นแฟนกันได้หรือย้ง
- ไม่เจอเธอ ไม่เจอคำว่าเจ็บ
- อยู่กับใครก็ไม่หายเหงา
- อยากหายใจข้างๆ เธอ
- เพลงที่เปิด ทางช่อง แฟนทีวี (ทดลองออกอากาศ)
- ศักดิ์ศรีลูกอีสาน
- ฉันกำลังเป็นตัวแทนของใครหรือเปล่า
- ขอโทษที่ลืมบ่ได้
- ปั้นข้าวจี่ติดหมีแพนด้า
- กับแก้
- เราควรเป็นแฟนกันได้หรือย้ง
- อยู่กับใครก็ไม่หายเหงา
ชุดที่ 8 รักจนไม่รู้จะรักยังไง (21 สิงหาคม 2557 - ปี 2558) แก้
อัลบั้มสุดท้ายภายใต้สังกัดแกรมมี่โกลด์
- เกลียดความโสด โกรธความเหงา
- รักจนไม่รู้จะรักยังไง (มิ้วส์ อรภัสญาน์ ได้นำเอาไปร้องใหม่)
- ขอใช้คำนี้กับเธอ
- ตายรัง
- จำไม่ได้ว่าต้องลืม
- เหนื่อยไหมครับพี่น้อง
- อย่าทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก
- คนอะไรก็ไม่รู้
- มาให้ผมไหว้ซะดีดี
- ทุกชีวิตมีสิทธิ์ฝัน
- เพลงที่เปิด ทางช่อง แฟนทีวี (ทดลองออกอากาศ)
- เกลียดความโสด โกรธความเหงา
- รักจนไม่รู้จะรักยังไง
- เหนื่อยไหมครับพี่น้อง
- คนอะไรก็ไม่รู้
อัลบั้มพิเศษ แก้
ชุดพิเศษ ดนตรีบ่มีปลั๊ก (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2549) แก้
เป็นการนำบทเพลงที่โด่งดังและสร้างชื่อเสียงให้กับ พี สะเดิด มาทำดนตรีใหม่ ร้องใหม่ แบบสบาย สบาย และถ่ายทำมิวสิกวิดีโอใหม่
- สาวกระโปรงเหี่ยน
- คิดฮอดอยู่เด้อ
- เอิ้นขวัญคนเศร้า
- หนุ่มขอนแจ่น
- ก้อนดินริมทาง (ต้นฉบับ ไมค์ ภิรมย์พร)
- เอาใจช่วยด้วย Message
- นักร้องบ้านนอก (ต้นฉบับ พุ่มพวง ดวงจันทร์)
- เล่นของสวย
- หัวใจมักง่าย (ต้นฉบับ แช่ม แช่มรัมย์)
- กลิ่นแป้งแห่งความหลัง (ต้นฉบับ พรชัย วรรณศรี)
- คนบ่มียี่ห้อ
- อเมริกา (ต้นฉบับ แช่ม แช่มรัมย์)
ชุดพิเศษ สะเดิดสุดเดช (11 กันยายน พ.ศ. 2550) แก้
เป็นการนำบทเพลงจังหวะสนุกที่โด่งดังในอดีต มาขับขานใหม่ในแบบฉบับ พี สะเดิด
- คึดฮอดกอดบ่ได้ (ต้นฉบับ ศิริพร อำไพพงษ์)
- จี่หอย (ต้นฉบับ กิ ดาวเพ็ด ศิลปินจากฝั่ง สปป.ลาว ต่อมา ไมค์ ภิรมย์พร และ ข้าวทิพย์ ธิดาดิน ได้นำเอาไปร้องใหม่)
- คนดีของแม่ (ต้นฉบับ ศรีไพร ลูกราชบุรี)
- สิงห์รายวัน (ต้นฉบับ มงคล อุทก)
- สู่ขวัญบ่าวสาว
- ลานข้าว (ต้นฉบับ วง อินโดจีน)
- ชวนสาวลงท่ง
- ตังเก (ต้นฉบับ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ)
- เด็กปั้ม (ต้นฉบับ สีเผือก คนด่านเกวียน)
- สาวคำเขื่อนแก้ว (ต้นฉบับ เอกพล มนต์ตระการ)
รวมเพลง สะเดิดฮิต (2551) แก้
เป็นการนำบทเพลงที่โด่งดังและฮิตที่สุดของ พี สะเดิด ตั้งแต่อัลบั้มชุดที่ 2 ถึงชุดที่ 4 รวมถึงอัลบั้มพิเศษ มารวมไว้ในอัลบั้มนี้
- รักคนโทรมาจังเลย
- สาวกระโปรงเหี่ยน
- จี่หอย (ต้นฉบับ กิ ดาวเพ็ด ศิลปินจากฝั่ง สปป.ลาว)
- หนุ่มขอนแจ่น
- ความต้องการทางแพทย์สูง
- คิดฮอดอยู่เด้อ
- คึดฮอดกอดบ่ได้ (ต้นฉบับ ศิริพร อำไพพงษ์)
- มักสาวซอนแลน
- คนบ่มียี่ห้อ
- เอาใจช่วยด้วย Message
- ตีสองแล้วน้องสาว
- ลานข้าว (ต้นฉบับ วง อินโดจีน)
- จิ๊กโก๋นำเข้า
- สาวกระโปรงเหี่ยน (ดนตรีบ่มีปลั๊ก)
รวมเพลง สะเดิดฮิต 2 (2557) แก้
เป็นการนำบทเพลงที่โด่งดังและฮิตที่สุดของ พี สะเดิด ตั้งแต่อัลบั้มชุดที่ 2 ถึงชุดที่ 7 รวมถึงอัลบั้มพิเศษ มารวมไว้ในอัลบั้มนี้ และภาพหน้าปกจากอัลบั้มชุดที่ 7 ขอโทษที่ลืมบ่ได้
- ฉันกำลังเป็นตัวแทนของใครหรือเปล่า
- รักคนโทรมาจังเลย
- จี่หอย (ต้นฉบับ กิ ดาวเพ็ด ศิลปินจากฝั่ง สปป.ลาว)
- คิดถึง...คิดถึง
- รักจัง
- ขอโทษที่ลืมบ่ได้
- ปลาร้าขาร็อก
- โล...โล
- สาวเกาหลี
- ความต้องการทางแพทย์สูง
- สาวกระโปรงเหี่ยน
- คนบ่มียี่ห้อ
- เอาปลาข่อน
- ตังเก (ต้นฉบับ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ)
- เด็กปั้ม (ต้นฉบับ สีเผือก คนด่านเกวียน)
ชุดพิเศษ ระเบิดติ่ง (24 มีนาคม พ.ศ. 2559) แก้
เป็นการนำเพลงลูกทุ่งอมตะจังหวะสนุกที่โด่งดังในอดีต มาขับขานใหม่ในรูปแบบเมดเลย์นอนสต็อป ในแบบฉบับ พี สะเดิด
- เห็นแล้วเฉยไว้ (ต้นฉบับ สุชาติ เทียนทอง)
- สบายบรื๋อ (ต้นฉบับ สังข์ทอง สีใส)
- ดีกว่าอยู่เปล่า ๆ (ต้นฉบับ ยอดรัก สลักใจ)
- แว่นวิเศษ (ต้นฉบับ สุชาติ เทียนทอง)
- เพราะคุณคนเดียว (ต้นฉบับ สุชาติ เทียนทอง)
- ปากเอ๋ยปาก (ต้นฉบับ สังข์ทอง สีใส)
- เหล้าจ๋า (ต้นฉบับ สุชาติ เทียนทอง)
- เมาแล้วเละ (ต้นฉบับ ชาย เมืองสิงห์ ศิลปินแห่งชาติ)
- เปิดเบิ่ง (ต้นฉบับ สมัย อ่อนวงศ์)
- บ้องกัญชา (ต้นฉบับ กาเหว่า เสียงทอง)
ชุดพิเศษ มนต์เพลงศรเพชรศรสุพรรณ 1-4 (ยังไม่ได้วางขาย) แก้
- ชุดที่ 1 (ยังไม่ได้วางขาย)
- ชุดที่ 2 (ยังไม่ได้วางขาย)
- ชุดที่ 3 (ยังไม่ได้วางขาย)
- ชุดที่ 4 (ยังไม่ได้วางขาย)
ซิงเกิ้ลเดี่ยว แก้
- ก่อนสิไป (2560) เพลงสุดท้ายภายใต้สังกัดแกรมมี่โกลด์
สังกัดค่าย ศิลปินอิสระ แก้
- จำปา (2562)
- อยากกอดเธอ (2562)
- ไวรัสวายร้าย(โควิด 19) (2563)
- ลอยกระทงคืน Halloween (2563)
- เขาเรียกผมว่าเอเรน (2563)
- ไม่มีอนุสาวรีย์ให้คนที่อ่อนแอ (2564)
- ซิ่งสะเดิด ED ZAP (2565)
เพลงพิเศษ แก้
- เพลง ไทยคิด ไทยใช้ ไทยเจริญ ในอัลบั้ม ทรัพย์สินทางปัญญา (2546)
- เพลง เด๊อน้องเด้อ ร้องคู่กับ จุฑาภัทร เหล่าธรรมทัศน์ (น้องพลับ) (2546)
- เพลง เชิญลงประชามติ ในอัลบั้ม ร่วมพลิกชะตากรรมชาติ อ่าน คิด ลงประชามติ รธน. (2550)
- เพลง รักที่ยิ่งกว่ารัก ร้องร่วมกับ เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์,กัน นภัทร อินทร์ใจเอื้อ,แก้ม วิชญาณี เปียกลิ่น,พั้นช์ วรกาญจน์ โรจนวัชร,เปาวลี พรพิมล,หญิงลี ศรีจุมพล และ ไผ่ พงศธร บทเพลงพิเศษภายใต้โครงการ Bike For Mom ปั่นเพื่อแม่ (2558)
- เพลง ชีวิตสัมพันธ์ ในโครงการ ใครรักป่า ยกมือขึ้น (2561)
ประพันธ์เพลง แก้
- คืนนี้ฝนตก - ไม้เมือง
ศิลปินรับเชิญ แก้
- เป็นนักร้องคอรัสให้กับ ต่าย อรทัย ในเพลง สัญญาหน้าฮ้าน ในอัลบั้ม ดอกหญ้าในป่าปูน (2545)
ผลงานการแสดง แก้
ละคร/ซิทคอม แก้
ปี | เรื่อง | ออกอากาศ | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2549 | ผู้พิทักษ์รักเธอ | ช่อง 5 | พี สะเดิด | รับเชิญ |
2550 | อุบัติเหตุหัวใจ | ช่อง 5 | ||
เฮฮาหน้าหอ | ช่อง ไอทีวี | |||
2556 | ครอบครัวขำ | ช่อง 3 | ||
2558 | หมัดเด็ดเสียงทอง Season 3 | ช่องจีเอ็มเอ็ม 25 | พีท | |
2560 | The Mask Singer | ช่องเวิร์คพอยท์ | หน้ากากแมลง | |
256X | ละครใหม่ (ยังไม่ทราบชื่อเรื่อง) | ช่องวัน 31 | รอยืนยัน |
รายการ แก้
- พีเข้าร่วมในรายการ โจ๊กตัดโจ๊ก ตันฉบัสลับเพลง ในเพลง เท้าไฟ (ตันฉบับจาก ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง) (2566)
- พีเข้าเล่นเกมส์ในรายการ หัวท้ายตายก่อน 3x3 (2566)
คอนเสิร์ต แก้
- คอนเสิร์ต Pattaya Music Festival 2003 (23 มีนาคม พ.ศ. 2546)
- คอนเสิร์ต 2 ทศวรรษ สลา คุณวุฒิ (17 สิงหาคม พ.ศ. 2546)
- คอนเสิร์ต Highlight มหกรรมคอนเสิร์ตทรัพย์สินทางปัญญา (31 สิงหาคม พ.ศ. 2546)
- คอนเสิร์ต Pattaya Music Festival 2006 (19 มีนาคม พ.ศ. 2549)
- คอนเสิร์ต ด้วยรักแด่ครูสลา (11 มีนาคม พ.ศ. 2550)
- คอนเสิร์ต สวัสดีลูกทุ่งทั่วไทย (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551)
- คอนเสิร์ต ตาดำๆ ขอทำโชว์ (14 มิถุนายน พ.ศ. 2551)
- คอนเสิร์ต รอยยิ้มเพื่อพ่อ ครั้งที่ 2 (7 มีนาคม - 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552)
- คอนเสิร์ต Pattaya Music Festival 2011 (20 มีนาคม พ.ศ. 2554)
- คอนเสิร์ต Pattaya Music Festival 2012 (29 มีนาคม พ.ศ. 2555)
- คอนเสิร์ต คาราวานแฟนทีวีสามัคคีสัญจร 1 (25 สิงหาคม พ.ศ. 2555)
- คอนเสิร์ต Grammy Wonderland มันหยดหมดตึก (4-7 ตุลาคม พ.ศ. 2555)
- คอนเสิร์ต Pattaya Music Festival 2013 (24 มีนาคม พ.ศ. 2556)
- คอนเสิร์ต ครูสลามายามบ้าน ครั้งที่ 14 (2 เมษายน พ.ศ. 2556)
- คอนเสิร์ต รำลึก สุดใจ คำภีร์ (18 มิถุนายน พ.ศ. 2556)
- คอนเสิร์ต Pattaya Music Festival 2014 (23 มีนาคม พ.ศ. 2557)
- คอนเสิร์ต ก๊อบปี้โชว์ ไทยแลนด์ (12-21 กันยายน พ.ศ. 2557)
- คอนเสิร์ต สัญญาหน้าฝน 2 (24 มกราคม พ.ศ. 2558)
- คอนเสิร์ต Pattaya Music Festival 2015 (22 มีนาคม พ.ศ. 2558)
- คอนเสิร์ต งานวันไม้เท้าขาวสากล (16 ตุลาคม พ.ศ. 2558)
- คอนเสิร์ต Pattaya Music Festival 2016 (20 มีนาคม พ.ศ. 2559)
- คอนเสิร์ต เพื่อชีวิต แถวหน้า (29 เมษายน พ.ศ. 2559)
- คอนเสิร์ต The Producer คอนเสิร์ตหนึ่งจักรวาลและล้านดวงดาว (17 กันยายน พ.ศ. 2559)
- คอนเสิร์ต เราคนไทยไม่ทิ้งกัน (6 สิงหาคม พ.ศ. 2560)
- คอนเสิร์ต รำลึก พ่อดม ชวนชื่น (28 ธันวาคม พ.ศ. 2561)
- คอนเสิร์ต Pattaya Music Festival 2019 (15 มิถุนายน พ.ศ. 2562)
- คอนเสิร์ต รวมใจไทย..กู้ภัยน้ำท่วม (13 กันยายน พ.ศ. 2562)
- คอนเสิร์ต รำลึก เจตจันทร์ อังกุลดี (8 กันยายน พ.ศ. 2563)
- คอนเสิร์ต Rimpha Music Festival 9 เราและนาย (13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564)
- คอนเสิร์ต Pattaya Music Festival 2021 (4 ธันวาคม พ.ศ. 2564)
รางวัล แก้
- รางวัล มาลัยทอง ประจำปี 2549 สาขา เพลงลูกทุ่งยอดนิยม จากเพลง สาวกระโปรงเหี่ยน ในอัลบั้มชุดที่ 2 บ่มียี่ห้อ
- รางวัล Star Entertainment Awards 2006 สาขา นักร้องลูกทุ่งชายยอดนิยม และสาขา เพลงลูกทุ่งยอดนิยม จากเพลง สาวกระโปรงเหี่ยน ในอัลบั้มชุดที่ 2 บ่มียี่ห้อ
- รางวัล มหานครอวอร์ดส ครั้งที่ 3 ประจำปี 2549 สาขา นักร้องลูกทุ่งชายยอดนิยม และสาขา เพลงลูกทุ่งยอดนิยม จากเพลง สาวกระโปรงเหี่ยน ในอัลบั้มชุดที่ 2 บ่มียี่ห้อ
- รางวัล มหานครอวอร์ดส ครั้งที่ 4 ประจำปี 2550 สาขา นักร้องลูกทุ่งชายยอดนิยม จากอัลบั้มพิเศษ สะเดิดสุดเดช
- รางวัล มหานครอวอร์ดส ครั้งที่ 5 ประจำปี 2551 สาขา เพลงลูกทุ่งยอดนิยม จากเพลง รักคนโทรมาจังเลย ในอัลบั้มชุดที่ 4 จิ๊กโก๋นำเข้า
- รางวัล ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมความกตัญญูกตเวที ลูกกตัญญู แม่ดีเด่น ประจำปี 2553 เนื่องในวันแม่แห่งชาติ เข้ารับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎ ราชกุมาร
- รางวัล ลูกกตัญญู ลูกที่มีความกตัญญูกตเวทีอย่างสูงต่อแม่ ประจำปี 2553 โดยสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ เข้ารับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
- รางวัล เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2554 สาขา สื่อมวลชนเพื่อเด็กและเยาวชนที่ป้องกันปัญหาสังคม โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ เข้ารับพระราชทานโล่เกียรติคุณ และเกียรติบัตร จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
- รางวัล Siamdara Stars Awards 2013 สาขา เพลงเพื่อชีวิตยอดเยี่ยม จากเพลง ฉันกำลังเป็นตัวแทนของใครหรือเปล่า ในอัลบั้มชุดที่ 7 ขอโทษที่ลืมบ่ได้
อ้างอิง แก้
- ↑ "ย้อนเส้นทางสายดนตรี "พี สะเดิด" ผู้เกิดใหม่กลายเป็น "มีม"". mgronline.com. 5 September 2020. สืบค้นเมื่อ 26 April 2023.
แหล่งข้อมูลอื่น แก้
- พี สะเดิด ที่อินสตาแกรม
- พี สะเดิด ที่เฟซบุ๊ก