จีเอ็มเอ็ม 25

สถานีโทรทัศน์ไทย บริหารงานโดย บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด
(เปลี่ยนทางจาก ช่องจีเอ็มเอ็ม 25)

จีเอ็มเอ็ม 25 (อังกฤษ: GMM25)[1] เป็นช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลความละเอียดมาตรฐาน บริหารงานโดย บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด ซึ่งจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เป็นเจ้าของและถือหุ้นในทางอ้อมผ่านบริษัท จีเอ็มเอ็ม โฮลดิ้ง จำกัด โดยมีกิตติศักดิ์ ช่วงอรุณ รองประธานกรรมการบริหารกลุ่มของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของสถานี และมีเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เป็นตัวแทนการตลาด โดยจัดหาลูกค้าเพื่อดำเนินรายการและจำหน่ายเวลาโฆษณาให้กับช่อง ผ่านทางบริษัทย่อยคือบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จำกัด ทำให้จีเอ็มเอ็ม 25 เป็นสถานีโทรทัศน์รองของช่องวัน 31

สถานีโทรทัศน์จีเอ็มเอ็ม 25
ชื่ออื่นGMM25
ประเทศไทย ไทย
พื้นที่แพร่ภาพภายใน ไทย ประเทศไทย
เครือข่ายช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล
ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ

• ช่องโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่
คำขวัญสนุกทุกวัน อยู่ด้วยกันทุกเวลา
สำนักงานใหญ่เลขที่ 50 อาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส ถนนอโศกมนตรี แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
แบบรายการ
ระบบภาพ576i (16:9 คมชัดปกติ)
720p (16:9 ภาพคมชัดสูง/ออนไลน์)
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด (ฝ่ายบริหาร)
บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) (ตัวแทนการตลาด)
บริษัทแม่บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
บุคลากรหลักถกลเกียรติ วีรวรรณ
ช่องรองช่องวัน 31
วันดี (One D)
ประวัติ
เริ่มออกอากาศระบบดาวเทียมและเคเบิลทีวี:
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (10 ปี)
ระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน:
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (10 ปี)
ระบบดาวเทียมเคเบิลทีวีและดิจิทัล:
2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (9 ปี)
ชื่อเดิมช่องบิ๊ก: 25 พฤษภาคม - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 (1 เดือน 23 วัน)
ลิงก์
เว็บไซต์www.gmm25.com
ออกอากาศ
ภาคพื้นดิน
ดิจิทัลช่อง 25 (มักซ์#5 : ททบ.)
เคเบิลทีวี
ช่อง 25
ทีวีดาวเทียม
ช่อง 25
สื่อสตรีมมิง
GMM25ชมรายการสด

ประวัติ

แก้

จีเอ็มเอ็ม 25 มีเนื้อหาที่นำเสนอรายการวาไรตี้ ดนตรี กีฬา ข่าวสาร สาระบันเทิง รวมถึงรายการสำหรับเด็กและครอบครัว โดย โดยมี ฉอด - สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา เป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของช่องคนแรก ซึ่งก่อนหน้าจะเริ่มออกอากาศ มีการโฆษณาด้วยชื่อ จี-ทเวนตีไฟว์ (G-25) แต่มิได้นำมาใช้จริง ต่อมาได้เปิดตัวในชื่อ ช่องบิ๊ก (BiG) เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ร่วมกับช่องวัน แต่เริ่มทดลองออกอากาศตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม เวลา 11:00 น. พร้อมกับอมรินทร์ทีวี นับเป็น 1 ใน 2 ช่องสุดท้ายที่เริ่มการออกอากาศในระบบดิจิทัล จากนั้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ได้มีการเปลี่ยนชื่อครั้งแรกเป็น จีเอ็มเอ็ม แชนแนล ภายใต้อัตลักษณ์ชั่วคราว และได้มีการเปิดตัวสถานีและอัตลักษณ์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กันยายน ปีเดียวกัน ก่อนมีการปรับอัตลักษณ์อีกครั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 โดยแสดงหมายเลขช่อง 25 กำกับไว้ทางขวามือ ก่อนที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จะตัดคำว่า แชนแนล เหลือเพียง จีเอ็มเอ็ม 25 จนถึงปัจจุบัน

การลงนามจองซื้อหุ้นสามัญโดยกลุ่มทีซีซี

แก้

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ส่งหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัท อเดลฟอส จำกัด ในเครือบริษัทกลุ่มทีซีซี โดยปณต และฐาปน สิริวัฒนภักดี ได้ร่วมลงนามในสัญญาจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนในบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ ในสัดส่วน 50% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ทำให้จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง เปลี่ยนสถานะจากบริษัทย่อยเป็นบริษัทร่วมค้า พร้อมทั้งปรับโครงสร้างของจีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง ใหม่ ดังนี้[2]

  1. ขายและโอนสิทธิ์การถือหุ้นของ" บริษัท จีเอ็มเอ็มทีวี จำกัด" จำนวน 100% ให้จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง
  2. ขายและโอนสิทธิ์การถือหุ้นของ "บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน)" จำนวน 99.8% ให้จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง ซึ่งบริษัทดังกล่าวถือหุ้นใน บริษัท เอไทม์ มีเดีย จำกัด จำนวน 100% และเอไทม์ มีเดีย ถือหุ้นบริษัท เอไทม์ ทราเวลเลอร์ จำกัด 20%
  3. เข้าซื้อและรับโอนสิทธิ์การถือหุ้นของบริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด, บริษัท ทีน ทอล์ก จำกัด จำนวนบริษัทละ 100% และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด จำนวน 25% จากจีเอ็มเอ็ม มีเดีย โดยซีเนริโอเป็นผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่งของ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ผู้รับใบอนุญาตของช่องวัน 31 และเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้รับโอนธุรกิจการผลิตรายการโทรทัศน์จากเอ็กแซ็กท์และซีเนริโอมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558

เท่ากับว่า จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จะมีบริษัทย่อยดังนี้[3]

  1. บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด
  2. บริษัท จีเอ็มเอ็มทีวี จำกัด
  3. บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน)
  4. บริษัท เอไทม์ มีเดีย จำกัด
  5. บริษัท เอไทม์ ทราเวลเลอร์ จำกัด

ทั้งนี้ การจองซื้อหุ้นสามัญดังกล่าว มีผลทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ลดลงจากเดิม 100% ของทุนจดทะเบียน เป็น 50% ของทุนจดทะเบียน และสัญญาดังกล่าวกลุ่มทีซีซีจะยังไม่สามารถเข้ามาปรับโครงสร้างภายในจีเอ็มเอ็ม 25 ได้ภายในเวลา 5 ปี นับจากวันที่ทำสัญญา แต่ในระยะยาวกลุ่มทีซีซีต้องการเปลี่ยนฐานผู้ชมจากเดิมที่เน้นกลุ่มคนรุ่นใหม่และกลุ่มวัยรุ่น มาเป็นกลุ่มคนทั่วไปเพื่อขยายฐานผู้ชมให้กว้างขึ้นจากเดิม[4]

โดยจีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง ได้เสร็จสิ้นขั้นตอนการเพิ่มทุนเป็นที่เรียบร้อยในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยอเลฟอสได้จัดตั้ง บริษัท สิริดำรงธรรม จำกัด และ บริษัท ภักดีวัฒนา จำกัด ขึ้นมาถือหุ้นแทน ทั้งนี้ฐาปณถือหุ้นสิริดำรงธรรมทั้งหมด และปณตถือหุ้นภักดีวัฒนาทั้งหมดเช่นกัน[5]

อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ก็มีข่าวลือว่า ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กำลังเจรจาขอซื้อหุ้นคืนทั้งหมด ภายหลังจากที่แผนการบริหารของทั้งสองกลุ่มเกิดความขัดแย้งกัน[6]

ข่าวลือเรื่องการปลดตัวฉอด

แก้

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2561 ต๊ะ - นารากร ติยายน ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า "ได้ยินมาว่า ฟ้าผ่าที่ GMM25" และอีกสองชั่วโมงต่อมาก็ได้โพสต์ข้อความต่อเนื่องว่า "ได้ยินมาว่า ไม่ใช่แค่ GMM25 A-Time ก็โดนด้วย" จึงทำให้เกิดความสงสัยในสังคมออนไลน์ว่ามีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับฉอดหรือไม่ เพราะปกตินักข่าวจะใช้คำว่า "ฟ้าผ่า" ก็ต่อเมื่อมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้บริหารแบบฉับพลัน หรือตำแหน่งระดับสูง[7] ซึ่งต่อมาฉอดได้โพสต์ข้อความอธิบายลงในอินสตาแกรมส่วนตัวว่าข่าวดังกล่าวเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว เพราะตัวเองไม่ได้ออกจากการเป็นบอร์ดบริหารของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, จีเอ็มเอ็ม มีเดีย และจีเอ็มเอ็ม 25 แต่ขยับขึ้นไปดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการของจีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง ซึ่งดูแลภาพรวมของกลุ่มธุรกิจจีเอ็มเอ็ม 25 แทน[8]

การปรับโครงสร้างบริษัทและกลุ่มเป้าหมาย

แก้

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 หลังจากที่มีข่าวลือเรื่องการปลดตัวฉอดในไม่กี่เดือนก่อนหน้า ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเพียงการย้ายไปควบคุมในตำแหน่งที่สูงกว่าในจีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทแม่ที่ดูแลจีเอ็มเอ็ม 25 และบริษัทอื่น ๆ ในเครือแกรมมี่ อีกทั้งฉอดยังได้ก่อตั้งบริษัทใหม่ของตนเองขึ้นคือ "บริษัท เช้นจ์ 2561 จำกัด" เป็นบริษัทย่อยของจีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง เพื่อผลิตละครแนวดราม่า มาตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน[9][10] ซึ่งทั้ง 2 บริษัทมีเป้าหมายเดียวกันคือเพื่อผลิตเนื้อหาสำหรับทุกช่องทีวีดิจิทัล และทุกช่องทางที่ผู้ชมสะดวกต่อการรับชมเนื้อหา และเพื่อให้สามารถบริหารงานได้อย่างคล่องตัว เล็ก - บุษบา ดาวเรือง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จึงเข้ามารักษาการผู้อำนวยการฝ่ายบริหารช่องจีเอ็มเอ็ม 25 แทน[8]

วันรุ่งขึ้น บุษบา ดาวเรือง ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับนโยบาย กลุ่มผู้ชม เป้าหมาย และประเภทของเนื้อหาของช่องจีเอ็มเอ็ม 25 ในอนาคต ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็น "กลุ่ม Premium Mass" โดยหวังเจาะกลุ่มตลาดคนดูทั่วประเทศแต่มุ่งเน้นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง แทนที่กลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานที่เป็นฐานผู้ชมเดิม เนื่องจากต้องการสร้างทั้งเรตติ้งและรายได้ให้กับช่องมากขึ้น โดยเนื้อหาของจีเอ็มเอ็ม 25 ในยุคนี้ยังคงมาจากทั้งละครและรายการวาไรตี้ที่ผลิตโดยตัวช่องเอง, จีเอ็มเอ็มทีวี ที่ผลิตรายการและละครซีรีส์วัยรุ่นให้กับช่องมาโดยตลอด และบริษัทอื่น ๆ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ หรือพันธมิตรทางธุรกิจ[11][12][13]

ในวันที่ 31 กรกฎาคม จีเอ็มเอ็ม 25 ได้ประกาศชื่อผู้บริหารใหม่อย่างไม่เป็นทางการในรายการภาคเช้าของช่องว่า ถา - สถาพร พานิชรักษาพงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของจีเอ็มเอ็มทีวี จะขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของช่องแทนเล็กที่รักษาการ และชนิดา วงศ์ธนาภักดี ผู้จัดการฝ่ายขายของจีเอ็มเอ็มทีวี ก็ขึ้นมาเป็นผู้จัดการฝ่ายขายของจีเอ็มเอ็ม 25 เช่นกัน[14] ทั้งนี้ถายังคงดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจีเอ็มเอ็มทีวีตามปกติ[15]

ในวันที่ 13 กันยายน จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง ได้ก่อตั้งบริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งคือ "บริษัท จีเอ็มเอ็ม สตูดิโอส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด" เพื่อผลิตรายการออกอากาศทางโทรทัศน์และออนไลน์ และจำหน่ายลิขสิทธิ์ไปสู่ผู้ให้บริการสื่อผ่านอินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ[16][17] ก่อนที่จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จะเปลี่ยนชื่อเป็น "บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จำกัด" ในวันรุ่งขึ้น[18]

ภายใต้การดูแลการตลาดโดย เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์

แก้

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ผู้จัดการออนไลน์เผยแพร่บทวิเคราะห์ว่า จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีมติด่วนให้ บอย - ถกลเกียรติ วีรวรรณ ขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของจีเอ็มเอ็ม 25 แทนถาที่ตัดสินใจกลับไปบริหารจีเอ็มเอ็มทีวีอย่างเต็มตัว และให้ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ มีอำนาจในการบริหารช่องร่วมกัน เพื่อเป็นการสร้างชื่อให้จีเอ็มเอ็ม 25 มีเรตติ้งกลับขึ้นมาติด 10 อันดับแรกของทีวีดิจิทัล เนื่องจากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ไว้ใจที่บอยสามารถทำให้ช่องวัน 31 ขึ้นมาติด 5 อันดับแรกได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี[19] ถัดจากนั้นไม่กี่วัน คือวันที่ 25 พฤศจิกายน จีเอ็มเอ็ม 25 มีแถลงการณ์ภายในระบุว่าจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จะเลิกกิจการถาวร เหลือสถานะเพียงถือใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัลช่อง 25 จนกว่าใบอนุญาตหมดอายุ และให้บริษัทในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เช่าเวลาสถานีเพื่อดำเนินรายการแทน[20]

ต่อมาในวันที่ 27 พฤศจิกายน จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้แจ้งเรื่องการปรับโครงสร้างธุรกิจของตนต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ได้เข้าซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และกลุ่มทีซีซี คิดเป็นมูลค่า 2,200,000,000 บาท เพื่อปรับโครงสร้างการลงทุน และส่วนหนึ่งเป็นการเตรียมตัวของเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เพื่อทำการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จะถือหุ้นในจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง รวมถึงถือหุ้นทางอ้อมในบริษัทย่อยทั้งหมด คือ จีเอ็มเอ็มทีวี, เช้นจ์ 2561, จีเอ็มเอ็ม มีเดีย, เอไทม์ มีเดีย และจีเอ็มเอ็ม สตูดิโอส์ อินเตอร์เนชั่นแนล แต่ก่อนการขายหุ้น จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ให้บริษัท จีเอ็มเอ็ม โฮลดิ้ง จำกัด บริษัทย่อยของตน ได้เข้าซื้อหุ้นบริษัทดังต่อไปนี้จากจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกฎหมายของ กสทช. และประเด็นเรื่องการเปลี่ยนเจ้าของบริษัท ได้แก่

  • บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด
  • บริษัท คอนเทนต์ แอนด์ อาร์ตติสท์ เน็ตเวิร์ค จำกัด
  • บริษัท เอไทม์ ทราเวลเลอร์ จำกัด

จากกระบวนการดังกล่าวจึงทำให้ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ถือหุ้นใหญ่ในกลุ่มธุรกิจจีเอ็มเอ็ม 25 ยกเว้นตัวช่องจีเอ็มเอ็ม 25 ที่จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ยังคงถือหุ้นและบริหารในทางอ้อม โดยมีการปรับโครงสร้างของกรรมการของจีเอ็มเอ็ม 25 เหลือเพียงคนเดียวคือ กิตติศักดิ์ ช่วงอรุณ รองประธานกรรมการบริหารกลุ่มของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ทำให้กิตติศักดิ์เป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหารคนใหม่ของช่องจีเอ็มเอ็ม 25 แทนสถาพรไปโดยปริยาย และเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้ทำสัญญาอีก 2 ฉบับ คือสัญญาแต่งตั้งเป็นตัวแทนการตลาดของช่องจีเอ็มเอ็ม 25 และการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ของรายการที่ออกอากาศในช่องจีเอ็มเอ็ม 25 ผ่านทางจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง ทำให้เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้รับสิทธิ์ในการเป็นตัวแทนการตลาด ผ่านการจัดหาลูกค้าเพื่อดำเนินการผลิต รับจ้าง หรือร่วมผลิตรายการ จำหน่ายเวลาโฆษณาทั้งหมด และเข้าไปร่วมผลิตรายการให้กับช่องจีเอ็มเอ็ม 25 ทำให้จีเอ็มเอ็ม 25 กลายเป็นสถานีโทรทัศน์รองของช่องวัน 31 การปรับโครงสร้างทั้งหมดเสร็จสิ้นตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ยกเว้นการเป็นตัวแทนการตลาดและการอนุญาตใช้ชื่อรายการโทรทัศน์ที่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 จนกว่าจะหมดอายุใบอนุญาตของช่องจีเอ็มเอ็ม 25[21]

วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2564 จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง ได้จดทะเบียนลดทุนเพื่อล้างยอดขาดทุนสะสมพร้อมกับบริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ผู้รับใบอนุญาตของช่องวัน 31 ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการของเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัทแม่ของทั้งคู่ เพื่อให้เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ สามารถจ่ายเงินปันผลได้มากขึ้นภายหลังการจดทะเบียนในอนาคต[22]

รายการข่าว

แก้

ในช่วงแรก จีเอ็มเอ็ม 25 ใช้วิธีออกอากาศคู่ขนานรายการข่าวจากช่องวัน 31 เป็นระยะเวลา 5 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ก่อนที่ทางช่องจะก่อตั้งทีมข่าว จีเอ็มเอ็มนิวส์ เพื่อผลิตรายการข่าวออกอากาศเอง บริหารงานโดย อั๋น - ภูวนาท คุนผลิน และเริ่มออกอากาศรายการข่าวของตนตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558[23] จนถึงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2562 จึงยุติการผลิตรายการข่าวเนื่องจากช่องไม่ถนัด[24] โดยได้ให้เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย (ปัจจุบันคือเจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป) เข้ามาเช่าเวลาผลิตรายการข่าวแทน โดยออกอากาศรายการข่าวของซีเอ็นบีซีภาคภาษาไทยเป็นครั้งแรกในนาม เจเคเอ็นซีเอ็นบีซี เน้นการนำเสนอข่าวเศรษฐกิจเป็นหลัก[25] แต่เนื่องจากกลุ่มฐานคนดูรายการข่าวประเภทนี้ไม่เหมาะสมกับฐานคนดูปกติของช่อง ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน เจเคเอ็นจึงปรับรูปแบบข่าวภาคเที่ยงและเย็นมาเป็นการนำเสนอข่าวทั่วไป[26] และตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม จีเอ็มเอ็ม 25 ก็ได้เรียกคืนเวลาข่าวภาคเที่ยงและเย็นจากเจเคเอ็น และกลับมาผลิตข่าวของตนในนาม "ข่าวจีเอ็มเอ็ม 25" ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม คงเหลือเพียงรายการภาคเช้าที่ให้เจเคเอ็นผลิตในประเภทข่าวทั่วไป[27]

หลังจากเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เข้าซื้อจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง มาเป็นบริษัทย่อย และเข้ารับการเป็นตัวแทนการตลาดและร่วมผลิตรายการให้ช่องจีเอ็มเอ็ม 25 แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 พนักงานบางส่วนที่ยังทำงานร่วมกับฝ่ายข่าวจีเอ็มเอ็ม 25 จึงได้ถูกโยกมาเป็นพนักงานของช่องวัน 31 ใช้กองบรรณาธิการร่วมกับฝ่ายข่าวช่องวัน และได้เรียกคืนเวลารายการภาคเช้าจากเจเคเอ็นมาให้ฝ่ายข่าวช่องวันร่วมผลิต (ร่วมกับเอไทม์ มีเดีย ในขณะนั้น) เช่นเดียวกับข่าวภาคเที่ยงและข่าวภาคค่ำที่ยังคงออกอากาศตามปกติ[28] โดยจีเอ็มเอ็ม 25 ได้จัดผังรายการข่าวให้ออกอากาศหลังจากรายการข่าวของช่องวัน 31 ทั้งหมด[29] และในปี พ.ศ. 2565 ฝ่ายข่าวจีเอ็มเอ็ม 25 ได้รวมตัวกับฝ่ายข่าวช่องวันและทีมวันบันเทิง และพัฒนาขึ้นเป็น สำนักข่าววันนิวส์[30]

ผู้ประกาศข่าวในปัจจุบันที่มีชื่อเสียง

แก้

รายการข่าวและผู้ประกาศข่าวในปัจจุบัน

แก้

รายการข่าวประจำวัน

แก้
รายการข่าว ผู้ประกาศข่าว
เคาะข่าวเช้า
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 08:45 – 10:45 น.
อรรินทร์ ยมกกุล
ณัฏฐ์ศรุต ถาม์พรทองสุทธิ
เคาะข่าว เสาร์–อาทิตย์
วันเสาร์ – วันอาทิตย์
เวลา 10:00 – 12:00 น.
อรชุน รินทรวิฑูรย์ (วันเสาร์)
อรรินทร์ ยมกกุล (วันเสาร์)
ญาณิน ญาณัชปวีณ (วันอาทิตย์)
ณัฏฐ์ศรุต ถาม์พรทองสุทธิ (วันอาทิตย์)
เกาะข่าวเที่ยง
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 12:30 – 14:00 น.
ศรัณภัสร์ ตั้งไพศาลธนกุล
ญาณิน ญาณัชปวีณ
เจาะข่าวค่ำ
วันจันทร์ – วันอาทิตย์
เวลา 18:00 – 19:00 น.
ศรัณภัสร์ ตั้งไพศาลธนกุล (วันอาทิตย์ – วันศุกร์)
นวนันท์ บำรุงพฤกษ์ (วันจันทร์ – วันเสาร์)
ชัยนนท์ หาญคีรีรัตน์ (วันเสาร์)
ญาณิน ญาณัชปวีณ (วันอาทิตย์)
ข่าวในพระราชสำนัก
วันจันทร์ – วันอาทิตย์
เวลา 20:15 – 20:30 น.
ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี
ฝ่ายข่าว ททบ.5 เอชดี
ไทยพีบีเอส

รายการข่าวซอฟต์นิวส์ วาไรตี้ ปกิณกะ บันเทิง และทอล์กโชว์เชิงข่าว

แก้
รายการข่าว ทีมผลิต ผู้ประกาศข่าว
ข่าวแหกโค้ง
วันจันทร์ – วันอาทิตย์
เวลา 19:00 – 20:15 น.
วันบันเทิง สมพล ปิยะพงศ์สิริ
ปาจรีย์ ณ นคร
อนุวัต เฟื่องทองแดง
กฤต เจนพานิชการ
เขมรัชต์ สุนทรนนท์
วรินดา ดำรงผล
แฉ
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 21:30 – 23:00 น.
เอไทม์ มีเดีย คชาภา ตันเจริญ
วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์
ชวลิต ศรีมั่นคงธรรม
ธนัชพันธ์ บูรณาชีวาวิไล
เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์
มรกต แสงทวีป

ผู้สื่อข่าว

แก้
  • ทินณภพ พันธะนาม
  • นรพร พจน์จำเนียร
  • ภูมินทร์ สารสมบูรณ์
  • รัชตะ ไทยตระกูลพาณิชย์
  • อนุศักดิ์ ภูมิเทศ
  • กีรติ ภู่ระหงษ์
  • ฆฤณ กมุทโธยิน
  • ณิชา อภิรักขวานนท์

ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในอดีต

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "แบบ 56-1 One Report ประจำปี 2564" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2022-03-29. สืบค้นเมื่อ 2022-06-13.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. ""กลุ่มเจ้าสัวเจริญ" เตรียมทุ่ม 1 พันล. จ่อฮุบหุ้น 50% ใน "จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง"". ประชาชาติธุรกิจ. 24 สิงหาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ตระกูลสิริวัฒนภักดีเข้าถือหุ้นใน GMM Channel Trading". กรุงเทพธุรกิจ. 25 สิงหาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "อนาคต "แกรมมี่" หลังขายหุ้นให้ "ลูกเจ้าสัว"". Positioning Magazine. 28 สิงหาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "ปิดดีล 2 ทายาท สิริวัฒนภักดี ซื้อหุ้น 50% จีเอ็มเอ็ม ชาแนล (GMM25) ตั้ง 2 บริษัทใหม่ถือหุ้นแทน อเดลฟอส". Positioning Magazine. 8 ธันวาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. ลือสะพัด แกรมมี่ขอซื้อคืนหุ้นช่อง GMM25 ทั้งหมดจากกลุ่มช้าง
  7. ""ต๊ะ นารากร" โพสต์ปริศนา ฟ้าผ่าฝั่งอโศก ตอกย้ำข่าวช็อก ปลด "ฉอด สายทิพย์"". ผู้จัดการออนไลน์. 25 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. 8.0 8.1 "พี่ฉอด ควง เอส พูดแล้ว! ความจริงคืออะไร? เรื่องโดนปลดจาก GMM25-เอไทม์". ไทยรัฐ. 26 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. 'พี่ฉอด-เอส'เคลียร์ชัด! เปิดบริษัทใต้หลังคา 'แกรมมี่'
  10. ฟังชัดๆ!! พี่ฉอด-เอส เคลียร์! หลังถูกลือออกจากแกรมมี่
  11. GMM25 ปรับทัพใหม่ เจาะกลุ่ม Premium Mass ดึง “ปุ๊ก-พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์” ผู้กำกับมือดี เข้าคุมละครของช่อง
  12. เปิดใจ “เล็ก บุษบา” ผู้ยิ่งใหญ่ใต้ชายคาแกรมมี่ ปาด “ฉอด” คุม GMM25 มีปัญหากันมั้ย?
  13. 'เล็ก-บุษบา' รู้กุมบังเหียน'GMM25'คือความหวังคนทั้งวงการ
  14. "ไม่พลิกโผ!! "พี่ถา-สถาพร" ผู้บริหาร GMMTV เจ้าของซีรีส์วัยรุ่นชื่อดัง กุมบังเหียนช่อง GMM25 เต็มรูปแบบแทน "พี่ฉอด"". พันทิป. 30 กรกฎาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "'สถาพร' ควบ 'จีเอ็มเอ็มทีวี-จีเอ็มเอ็ม25'". คมชัดลึก. 27 กันยายน 2561. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "รายงานประจำปี 2561" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2019-03-28. สืบค้นเมื่อ 2022-04-02.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "ข้อมูลนิติบุคคล | บริษัท จีเอ็มเอ็ม สตูดิโอส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด". กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. สืบค้นเมื่อ 2022-04-02.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "ประวัติการเปลี่ยนแปลง | ชื่อนิติบุคคล : บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จำกัด". กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. สืบค้นเมื่อ 2022-04-02.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. จับตาละคร “ฉอด” ที่ช่อง GMM25 เมื่อ “บอย-ถกลเกียรติ” นั่งเก้าอี้บริหารควบ One 31
  20. "อำลา!GMM25ขาดทุน-ยุบฝ่ายข่าว หยุดดำเนินกิจการสิ้นปี". เดลินิวส์. 26 พฤศจิกายน 2563. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "แจ้งเรื่องการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) การเข้าทำสัญญาแต่งตั้งตัวแทนการตลาดช่อง GMM25 และการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่บริษัทร่วมค้า" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2020-12-21. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  22. "บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์". สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 2022-04-02.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. "รายการข่าว GMM NEWS ช่อง GMM Channel". พันทิป.คอม. 2014-12-28. สืบค้นเมื่อ 2021-04-17.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  24. "เบื้องลึก GMM25 เขย่าครั้งใหญ่ เลิกผลิตข่าว จ้างออก คุมแทน "สถาพร 27 คน ลือ ดึง "บอย-อภิชาติ์" จากทรูโฟร์ยู"". Positioning Magazine. 2019-05-16. สืบค้นเมื่อ 2021-04-17.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  25. "JKN News ร่วมทุน GMM25 เดินหน้าคอนเทนต์ข่าว CNBC ออกอากาศ 1 ก.ค.นี้". ผู้จัดการออนไลน์. 2019-06-04. สืบค้นเมื่อ 2021-04-17.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  26. "JKN News ปรับโฉมรายการข่าวช่อง GMM25 ดึงอินฟลูเอนเซอร์ชั้นนำของไทยร่วมสร้างสีสันในรายการ หวังขยายฐานกลุ่มผู้ชม". สยามรัฐ. 2019-09-02. สืบค้นเมื่อ 2021-04-17.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  27. "ไปต่อไม่ไหว !! Squawk Box รายการจาก JKN CNBC โบกมือลาช่อง GMM25 แล้ว". เฟซบุ๊ก. 2019-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-04-17.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  28. "นารากร ออกมาเคลื่อนไหว หลังบ้านเก่า ช่อง GMM25 หยุดดำเนินกิจการ". ONBNEWS. 2020-11-27. สืบค้นเมื่อ 2021-04-17.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  29. "'ช่องจีเอ็มเอ็ม 25' 'ละคร-วาไรตี-ข่าว'แซ่บครบรส". ข่าวสด. 2021-01-01. สืบค้นเมื่อ 2021-04-17.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  30. "Super of One News 2021". เฟซบุ๊ก. 2022-02-01. สืบค้นเมื่อ 2022-02-13.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)