เสียดาย 2 (อังกฤษ: Daughter 2) ภาพยนตร์ไทยในปี พ.ศ. 2539 นำแสดงโดย มาริสา แอนนิต้า, สาริน บางยี่ขัน, สรพงษ์ ชาตรี, ญาณี ตราโมท, อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง (นักแสดงรับเชิญ) บทภาพยนตร์และกำกับการแสดงโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล

เสียดาย 2
กำกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
เขียนบทหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
อำนวยการสร้างสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ
นักแสดงนำมาริสา แอนนิต้า
สรพงษ์ ชาตรี
สาริน บางยี่ขัน
ญาณี ตราโมท
อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง
กำกับภาพอานุภาพ บัวจันทร์
ตัดต่อหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
ดนตรีประกอบพิเศษ สังขสุวรรณ
ผู้จัดจำหน่ายสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
พร้อมมิตร โปรดักชั่น
วันฉาย23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
ความยาว114 นาที
ประเทศไทย ไทย
ภาษาไทย
ก่อนหน้านี้เสียดาย
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย

เนื้อเรื่อง แก้

เสียดาย 2 เป็นเรื่องราวของ โรส (มาริสา แอนนิต้า) เด็กสาวลูกครึ่งไทย-ตะวันตก ในครอบครัวมีอันจะกิน โดยมี ระบิล (สรพงษ์ ชาตรี) พ่อชาวไทย และแม่ชาวต่างประเทศ ที่เป็นครูสอนดนตรีทั้งคู่ วันหนึ่งเธอเคราะห์ร้ายติดเชื้อเอชไอวี จากการรับบริจาคเลือด เธอรู้สึกสับสนหาทางออกไม่ได้จนคิดฆ่าตัวตาย เพราะทั้งเพื่อนฝูงและครอบครัวเริ่มไม่ไว้ใจและทำตัวถอยห่าง จึงหลบหนีออกจากบ้าน แต่เคราะห์ยังดีเธอได้อยู่กับเพื่อนรุ่นพี่ที่เป็นผู้ป่วยโรคเอดส์เช่นเดียวกัน โดยมี ภาสิณี ศรีคำรุ้ง (อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง) สื่อมวลชนที่สืบเสาะหาข้อมูลเพื่อทำรายการโทรทัศน์เพื่อให้สังคมได้รับรู้ถึงข้อเท็จจริงและเข้าใจผู้ที่ป่วยเป็นโรคร้ายนี้

เบื้องหลังและคำวิจารณ์ แก้

เสียดาย 2 เป็นภาพยนตร์สะท้อนปัญหาสังคมเป็นภาคต่อจาก เสียดาย ในปี พ.ศ. 2537 ที่เป็นภาพยนตร์ในแนวสารคดีสะท้อนปัญหาสังคมเกี่ยวกับวัยรุ่นและยาเสพติด แต่ เสียดาย 2 นี้เป็นภาพยนตร์แบบดราม่าทั่วไป และเป็นเรื่องของผู้เป็นโรคเอดส์

เป็นผลงานการแสดงครั้งแรกของ มาริสา แอนนิต้า นางแบบสาวลูกครึ่งไทย-เนเธอร์แลนด์ และเป็นการแสดงอีกครั้งของ สรพงษ์ ชาตรี นักแสดงคู่บารมีของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ผู้กำกับและผู้เขียนบท หลังจากแสดงมาแล้วครั้งหนึ่งจาก เสียดาย ในภาคแรก

อีกทั้งยังได้ อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง สื่อมวลชนหญิงที่มีชื่อเสียง เป็นนักแสดงรับเชิญรับบทที่เหมือนกับชีวิตของตนเองจริง ๆ คือ เป็นสื่อมวลชนที่พยายามเสาะหาข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ป่วยเพื่อแพร่ภาพให้สาธารณะได้รับรู้

ภาพยนตร์ได้รับเสียงวิจารณ์ว่าทำได้ดีกว่าภาคแรก ซึ่งบทยังหลวมและไม่สมเหตุสมผลอยู่หลายส่วน และได้รับรางวัลไปหลายรางวัลด้วยกัน โดยเฉพาะรางวัลตุ๊กตาทองสำคัญ ๆ เช่น รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2539 ด้วย

รางวัล แก้

  • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (รางวัลสุพรรณหงส์)
  • ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง)
  • นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-สรพงษ์ ชาตรี)
  • นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-ญาณี ตราโมท)
  • นักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง)
  • ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล)
  • บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล)
  • ตัดต่อและลำดับภาพยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล)
  • กำกับภาพยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-อานุภาพ บัวจันทร์)
  • ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-จันทร์กานต์ เถาวงษ์, วันรัก จันทไพบูลย์ชวลิต )
  • แต่งหน้าและแต่งผมยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-นิติพล คำหวล)
  • บันทึกเสียงยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-สุรพรหม ภิญโญทรัพย์)
  • ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (รางวัลตุ๊กตาทอง-พิเศษ สังขสุวรรณ)

นอกจากนี้แล้วยังได้เป็นตัวแทนของประเทศไทย เข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม ในการประกาศรางวัลครั้งที่ 70 ด้วย แต่มิได้ผ่านเข้าไปถึงรอบสุดท้าย [1]

อ้างอิง แก้

  1. "44 Countries Hoping for Oscar Nominations". Academy of Motion Picture Arts and Sciences. 24 November 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1998-02-13. สืบค้นเมื่อ 13 October 2015.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)