เจ้าหญิงแห่งเวลส์

เจ้าหญิงแห่งเวลส์ (อังกฤษ: Princess of Wales, เวลส์: Tywysoges Cymru) เป็นพระอิสริยยศกิตติมศักดิ์ (courtesy title) สำหรับพระวรชายาของเจ้าชายแห่งเวลส์ อันเป็นพระอิสริยยศของรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร นับตั้งแต่เจ้าชายแห่งเวลส์ชาวอังกฤษพระองค์แรกเมื่อปี ค.ศ. 1302 ด้วยหลักศีลธรรมและข้อเท็จจริงที่ว่า เจ้าชายแห่งเวลส์บางพระองค์ไม่ได้เสกสมรสก่อนการเสวยราชสมบัติ จึงทำให้แท้จริงแล้วมีเจ้าหญิงแห่งเวลส์เพียงแค่ 11 พระองค์

เจ้าหญิงแห่งเวลส์
ตราอาร์มประจำพระองค์เจ้าหญิงแห่งเวลส์
แคเธอริน
เจ้าหญิงแห่งเวลส์พระองค์ปัจจุบัน
สถาปนา10 ตุลาคม 1361
องค์แรกโจนแห่งเคนต์
องค์ปัจจุบันแคเธอริน
คู่สมรสเจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์

รายพระนามเจ้าหญิงแห่งเวลส์ แก้

เจ้าหญิงที่ดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงแห่งเวลส์ จนถึงปัจจุบัน มีทั้งหมด 11 พระองค์ ดังนี้

ลำดับ พระรูป พระนาม
ประสูติ
ดำรงตำแหน่ง
จาก (ปี) ถึง (ปี)
ปีที่เสกสมรส พระสวามี
ชาตะ
หมายเหตุ
1   โจนแห่งเคนต์
1328–1385
1361–1376 1361 เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำ
1330–1376
2   แอนน์ เนวิลล์
1456–1485
1470–1471 1470 เอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์
1453–1471
3   เจ้าหญิงแคเธอรีนแห่งอารากอน
1485–1536
1501–1502 1501 เจ้าชายอาเธอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์
1486–1502
4   เจ้าหญิงแคโรไลน์แห่งอันสบาค
1683–1737
1714–1727 1705 พระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่
1683–1760
5   เจ้าหญิงออกัสตาแห่งซัคเซิน-โกทา
1719–1772
1736–1751 1736 เจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์
1707–1751
6   เจ้าหญิงแคโรไลน์แห่งเบราน์ชไวก์
1768–1821
1795–1820 1795 สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร
1762–1830
7   เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก
1844–1925
1863–1901 1863 สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร
1841–1910
8   เจ้าหญิงวิกตอเรีย แมรีแห่งเท็ก
1867–1953
1901–1910 1893 สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร
1865–1936
9   เลดีไดอานา สเปนเซอร์
1961–1997
1981–1996 1981 สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร
1948–ปัจจุบัน
ทรงหย่ากับสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ในปี ค.ศ. 1996
10   คามิลลา แชนด์
1947–ปัจจุบัน
2005–2022 2005 ทรงใช้พระอิสริยยศหลักเป็น "ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์"[1]
11   แคเธอริน มิดเดิลตัน
1982–ปัจจุบัน
2022–ปัจจุบัน 2011 เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์
1982–ปัจจุบัน

เจ้าหญิงแห่งเวลส์องค์ก่อนหน้านั้นคือ สมเด็จพระราชินีคามิลลาแห่งสหราชอาณาจักร (พระนามเดิม คามิลลา พาร์กเกอร์ โบลส์) ซึ่งทรงเลือกที่จะไม่ใช้พระอิสริยยศเจ้าหญิงแห่งเวลส์[2] แต่ทรงใช้พระอิสริยยศหลักเป็น "ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์" อันเนื่องมาจากผู้คนส่วนใหญ่ยังคงรู้สึกผูกพันกับผู้ที่ครองอิสริยยศนี้มาก่อน ได้แก่ ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์

เจ้าหญิงแห่งเวลส์หลายพระองค์ทรงเถลิงพระอิสริยยศขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินี (Queen Consort) นอกนั้นมีพระอิสริยยศเป็น "เจ้าหญิงม่ายแห่งเวลส์" หรือ Dowager Princess of Wales หลังการสิ้นพระชนม์ของพระสวามี (ภายหลังการสมรสของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และ เจ้าหญิงแคทเธอรีนแห่งอารากอน เป็นโมฆะ เจ้าหญิงทรงเปลี่ยนกลับไปเป็น เจ้าหญิงม่ายแห่งเวลส์ ซึ่งเป็นพระอิสริยยศเดิม ในฐานะที่เป็นพระชายาม่ายของเจ้าชายอาร์เธอร์ เจ้าชายแห่งเวลส์ พระเชษฐาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 เพราะพระองค์ไม่ทรงต้องการยอมรับว่าได้เคยทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย)

ตามรูปแบบของการให้สิทธิพระราชโอรสสืบสันตติวงศ์ก่อนพระราชธิดาที่ใช้ในประเทศสหราชอาณาจักร การดำรงพระอิสริยยศเป็น รัชทายาทโดยนิตินัย (heiress apparent) สำหรับพระราชธิดานั้นเป็นเรื่องที่ผิดปกติวิสัย เนื่องจากว่าในทางทฤษฎีแล้วเป็นไปได้ที่พระมหากษัตริย์ที่ทรงราชย์จะมีพระราชโอรสมาแทนที่พระราชธิดา โดยมากเป็นเพียง รัชทายาทโดยพฤตินัย (heiress presumptive) มีข้อยกเว้นเพียงอย่างเดียวคือ ถ้ารัชทายาทโดยนิติของพระมหากษัตริย์ทรงมีแต่พระธิดา และสิ้นพระชนม์ไปก่อน พระธิดาพระองค์ใหญ่จะทรงเป็นรัชทายาทโดยนิตินัยทันที

ในความเป็นจริงแล้ว มีอยู่หลายครั้งที่เห็นชัดว่ารัชทายาทโดยพฤตินัยที่เป็นผู้หญิงได้สืบราชบัลลังก์ (ที่เด่นชัดที่สุดคือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อยังมีพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงรัชทายาท) แต่ก็ไม่ทรงเคยได้รับการสถาปนาเป็น "เจ้าหญิงแห่งเวลส์"

เจ้าหญิงแห่งเวลส์มิใช่เจ้าหญิงตามสิทธิของตนเอง แก้

 
อเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก ดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ยาวนานที่สุด

ในทางตรงข้ามกับความเชื่อทั่วไป พระอิสริยยศเจ้าหญิงแห่งเวลส์มิใช่เจ้าหญิงตามราชสิทธิของเจ้าหญิงองค์นั้น ในขณะที่เจ้าหญิงบางพระองค์ในอดีต เช่น เจ้าหญิงแคทเธอรีนแห่งอารากอน และ เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก ยังคงทรงใช้ชื่อเรียกว่า เจ้าหญิงแคทเธอรีน และ เจ้าหญิงอเล็กซานดรา เมื่อทรงอภิเษกสมรสและได้ดำรงพระอิสริยยศเจ้าหญิงแห่งเวลส์ เป็นเพราะว่าทั้งสองพระองค์ประสูติเป็นเจ้าหญิงมาแต่เดิม (แห่งสเปนและเดนมาร์ก ตามลำดับ) แม้ว่าประชาชนเรียกขานไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ เป็นเจ้าหญิงไดอานา ภายหลังจากการอภิเษกสมรสกับเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ แต่นั่นถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ดังที่ไดอานาเองเคยกล่าวไว้ เพราะว่าไม่ได้เป็นเจ้าหญิงตามสิทธิของตนเองดังเช่นเดียวกับ คามิลลา ดัชเชสแห่งคอนวอลล์ จะไม่ใช่ เจ้าหญิงคามิลลา

เมื่อมีการเลือกเฟ้นพระอิสริยยศสำหรับอนาคตสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ความเป็นไปได้ในการแต่งตั้งพระองค์เป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์ตามพระราชสิทธิของพระองค์เองได้ถูกหยิบยกเป็นประเด็นขึ้นมา แต่ต่อมาได้ถูกคัดค้าน เพราะว่าเจ้าหญิงแห่งเวลส์เป็นพระอิสริยยศกิตติมศักดิ์ (courtesy titile) ซึงถือครองโดยพระชายาในเจ้าชายแห่งเวลส์ ถ้านำพระอิสริยยศมาใช้กับเจ้าหญิงเอลิซาเบธ จะทำให้ลดพระราชสิทธิในฐานะเจ้าหญิงแห่งสหราชอาณาจักร หากไม่มีพระราชหัตถเลขาแต่งตั้งหรือการออกพระราชบัญญัติให้เป็นในทางตรงกันข้าม

พระอิสริยยศอื่นของเจ้าหญิงแห่งเวลส์ แก้

 
ราชินีแมรี เป็น เจ้าหญิงแห่งเวลส์ พระองค์สุดท้ายที่มีพระชาติกำเนิดเป็นเจ้าหญิง

เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ซึ่งมาจากการอภิเษกสมรสกับเจ้าชายแห่งเวลส์ ยังทรงดำรงพระอิสริยยศรองอื่นทั้งหมดของเจ้าชายแห่งเวลส์อีกด้วย ดังต่อไปนี้

  • ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์
  • ดัชเชสแห่งโรธเซย์ (ซึ่งเป็นพระอิสริยยศที่รู้จักในสก็อตแลนด์)
  • เคาน์เตสแห่งเชสเตอร์
  • เคาน์เตสแห่งคาร์ริค
  • บารอนเนสแห่งเรนฟรูว์
  • เลดี้แห่งไอเอิลส์
  • เจ้าหญิงและจอมทัพหญิงแห่งสก็อตแลนด์

ในบรรดาพระอิสริยยศทั้งหมด เจ้าหญิงแห่งเวลส์เป็นพระอิสริยยศที่ใช้อย่างเป็นทางการ โดยจะมีลำดับขั้นที่สูงกว่าบรรดาศักดิ์ขุนนางต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ดังที่ได้กล่าวไว้ในตัวอย่างของคามิลลา เจ้าหญิงแห่งเวลส์องค์ปัจจุบัน พระอิสริยยศรองอันใดอันหนึ่งสามารถนำมาใช้ได้อย่างง่ายดายและถูกต้องตามกฎหมาย ดังตัวอย่างเช่น เมื่อไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ได้เปิดแผนกใหม่ของสวนสัตว์เชสเตอร์เมื่อปี พ.ศ. 2527 ทรงได้รับการเรียกขานว่า "สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงแห่งเวลส์ เคาน์เตสแห่งเชสเตอร์" (HRH The Princess of Wales, Countess of Chester)

ในบางกรณี รัชทายาทในราชบัลลังก์ยังไม่ได้ทรงรับการสถาปนาให้เป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ ดังนั้นพระชายาจะดำรงพระอิสริยยศเป็นดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์จนกว่าจะมีการประกาศสถาปนา เจ้าหญิงแมรีแห่งเท็คทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น ดัชเชสแห่งยอร์ค หลังจากการอภิเษกสมรสเมื่อปี พ.ศ. 2436 กับ เจ้าชายจอร์จ (ขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นดยุคแห่งยอร์ค และต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5) และทรงเป็น ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์และยอร์ค ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2444 (ในการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และการเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7) จนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2444 (เมื่อเจ้าชายจอร์จทรงได้รับการสถาปนาให้เป็น เจ้าชายแห่งเวลส์)

เจ้าหญิงแห่งเวลส์ทรงเป็นที่รู้จักว่า ดัชเชสแห่งโรธเซย์ ในประเทศสก็อตแลนด์ เช่นเดียวกับที่เจ้าชายแห่งเวลส์ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะดยุคแห่งโรธเซย์ ตำแหน่งดยุคนี้เป็นพระอิสริยยศที่มีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์กับรัชทายาทของราชบัลลังก์สก็อตแลนด์

เจ้าหญิงแห่งเวลส์ชาวเวลส์ แก้

ในบรรดาเจ้าหญิงช่วงสมัยก่อนการยึดครองของชาวนอร์มัน ดังเช่น เจ้าหญิงเกวนเลียนแห่งเวลส์ บางครั้งทรงได้รับการเรียกขานว่าเป็น เจ้าหญิงแห่งเวลส์ แต่มิได้ทรงดำรงพระอิสริยยศนี้ นอกจากนี้ยังคนอื่นอีกมากมายซึ่งอาจอ้างสิทธิ๋ในการดำรงพระอิสริยยศ อันเนื่องมาจากการอภิเษกสมรสกับเจ้าชายชาวพื้นเมือง ซึ่งทรงดำรงหรือปรารถนาพระอิสริยยศ "เจ้าชายแห่งเวลส์" ดังต่อไปนี้

เชิงอรรถ แก้

  1. สิทธิของคามิลลาในพระอิสริยยศ "เจ้าหญิงแห่งเวลส์" ได้เป็นที่ถกเถียงกันก่อนการอภิเษกสมรสกับเจ้าชายแห่งเวลส์ ประธานวุฒิสภาซึ่งได้ทบทวนประเด็นดังกล่าวเห็นว่าคามิลลา พระชายาจะดำรงพระอิสริยยศเจ้าหญิงได้"โดยอัติโนมัติ" หากไม่มีกฎหมายหรือพระบรมราชโองการโดยคำแนะนำขององคมนตรีออกมาให้เป็นอย่างอื่น ไม่มีพระราชบัญญัติหรือพระบรมราชโองการตามคำแนะนำขององคมนตรีใดออกมาเพื่อคัดการการดำรงพระอิสริยยศของคามิลลา อย่างไรก็ดี เธอเลือกที่จะไม่ใช้พระอิสริยยศนี้ และใช้หนึ่งในพระอิสริยยศอื่นของเจ้าหญิงแห่งเวลส์แทน ดังเช่นเดียวกันเมื่อเป็นพระมเหสีของพระมหากษัตริย์ก็จะเป็นสมเด็จพระราชินีโดยอัติโนมัติ แต่เธอตั้งใจที่จะใช้พระอิสริยยศอื่นแทนคือ เจ้าหญิงพระราชชายา (Princess Consort)
  2. "House of Commons – Royal Marriage". parliament.uk. สืบค้นเมื่อ 7 February 2015.

ดูเพิ่ม แก้