อุทยานแห่งชาติคลองพนม

อุทยานแห่งชาติคลองพนม อยู่ในท้องที่ตำบลคลองสก ตำบลพนม และตำบลพลูเถื่อน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 460 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 290,000 ไร่[1] ได้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2543

อุทยานแห่งชาติคลองพนม
ป่าในคลองพนม
แผนที่แสดงที่ตั้งอุทยานแห่งชาติคลองพนม
แผนที่แสดงที่ตั้งอุทยานแห่งชาติคลองพนม
ที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติคลองพนม
แผนที่แสดงที่ตั้งอุทยานแห่งชาติคลองพนม
แผนที่แสดงที่ตั้งอุทยานแห่งชาติคลองพนม
อุทยานแห่งชาติคลองพนม (ประเทศไทย)
ที่ตั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานี
พิกัด8°52′0″N 98°42′0″E / 8.86667°N 98.70000°E / 8.86667; 98.70000
พื้นที่410 ตารางกิโลเมตร (260,000 ไร่)
จัดตั้ง2000
ผู้เยี่ยมชม1,711 (2562)
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ลักษณะภูมิประเทศ แก้

สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชัน ประมาณร้อยละ 80 ของเนื้อที่โดยเฉพาะตอนเหนือของพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน บางแห่งมีหน้าผาสูงชัน และสวยงาม เรียงรายสลับซับซ้อนเชื่อมติดต่อเป็นแนวสันเขา ยาวจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก จุดสูงสุดจากพื้นอยู่บริเวณตอนกลางของพื้นที่ มีความสูงประมาณ 870 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่ราบมีอยู่ประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบระหว่างหุบเขา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 200 เมตร ปรากฏอยู่ทั่วไป

ลักษณะภูมิอากาศ แก้

ลักษณะภูมิอากาศของป่าแห่งนี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับแห่งอื่น ในภาคใต้ของประเทศไทย คือ มีฝนตกชุกตลอดปีประกอบกับได้รับอิทธิพลของทะเล ซึ่งสามารถรับลมมรสุมได้ทั้งลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และอิทธิพลของภูเขาสูงที่เป็นสิ่งกีดขวางลมมรสุม มีป่าไม้ปกคลุมอย่างหนาแน่น จึงทำให้ฝนตกมากกว่าในท้องที่ทั่ว ๆ ไป

ซึ่งสามารถจำแนกได้ชัดเจนเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝนเริ่มจากเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคมฤดูร้อนเริ่มจากเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนโดยมีฝนตกชุกมากที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม และมีอากาศร้อนมากที่สุดในต้นเดือนเมษายน

ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า แก้

สัตว์ป่าที่สำคัญ ได้แก่ ช้าง กวาง สมเสร็จ เสือ หมี เลียงผา หมูป่า ชะนี ลิง ค่าง ไก่ฟ้า กระรอก เก้ง กระจง กบทูด นกนานาชนิด และสัตว์เลื้อยคลานชนิดต่างๆ

สภาพป่าทั่วทั้งพื้นที่มีสภาพเป็นป่าดงดิบ อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้มีค่านานาชนิดขึ้นคละปะปนกันอยู่อย่างหนาแน่น ไม้ขนาดใหญ่ ได้แก่ โดแหลม ตะเคียน ยาง ตาเสือ หงอนไก่ กะบาก กะท้อน จิกเขา ขนุนป่า มะม่วงป่า เสียดค่าง อินทนิล นาคบุตร ลำแพนเขา มังคะ จำปาป่า ยมหอม ฯลฯ ไม้พี้นล่าง ได้แก่ ไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ ระกำ หวายชนิดต่าง ๆ เต่าร้าง กูด เฟิน ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบไม้เถานานาชนิดขึ้นอยู่ทั่วไป มีความชุ่มชื้นเขียวชะอุ่มตลอดปี

อ้างอิง แก้

  1. "ข้อมูลพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ที่ประกาศในราชกิจจานุบกษา 133 แห่ง" [National Park Area Information published in the 133 Government Gazettes]. Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. December 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-03. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022, no 102{{cite web}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)