อักษรมายา (อังกฤษ: Maya script) หรือ รูปอักขระมายา (Maya glyphs) เป็นระบบการเขียนในอดีตของอารยธรรมมายาในมีโซอเมริกาและเป็นระบบการเขียนมีโซอเมริกาอันเดียวที่มีการถอกรหัสแล้ว จารึกแรกสุดที่ถูกบันทึกเป็นอักษรมายาอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราชที่ซันบาร์โตโล ประเทศกัวเตมาลา[1][2] อักษรมายายังคงมีผู้ใช้งานทั่วมีโซอเมริกาจนกระทั่งการพิชิตมายาของสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 17

อักษรมายา
หน้า 6, 7 และ 8 ของเดรสเดินโคเดกซ์ แสดงตัวอักษร ตัวเลข และภาพที่มักมีส่วนกับระบบการเขียนมายา
ชนิดตัวหนังสือคำ
ภาษาพูดตระกูลภาษามายา
ช่วงยุคศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช – คริสต์ศตวรรษที่ 16
ช่วงยูนิโคดไม่มี
(tentative range U+15500–U+159FF)
ISO 15924Maya
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

อักษรมายาใช้ตัวหนังสือคำที่เติมเต็มด้วยชุดรูปอักขระพยางค์ ซึ่งคล้ายกับระบบในอักษรญี่ปุ่นสมัยใหม่ นักสำรวจชาวยุโรปยุคแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึง 19 เคยเรียกอักษรมายาเป็น "ไฮเออโรกลีฟ" เพราะพบว่ามีรูปร่างทั่วไปที่ทำให้นึกถึงไฮเออโรกลีฟอียิปต์ ถึงแม้ว่าทั้งสองระบบการเขียนจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ก็ตาม

ถึงแม้ว่าตระกูลภาษามายาสมัยใหม่เกือบทั้งหมดเขียนด้วยอักษรละตินมากกว่าอักษรมายา[3] ในปัจจุบัน มีการพัฒนาและส่งเสริมให้มีการฟื้นฟูรูปอักขระมายาแบบดั้งเดิม

การค้นพบ แก้

อักษรมายารุ่นแรกที่พบอายุราว พ.ศ. 293 แต่อาจพัฒนามาก่อนหน้านี้ การค้นพบของนักโบราณคดีในปัจจุบันพบว่า อารยธรรมมายาน่าจะเริ่มต้นราว 2,457 ปีก่อนพุทธศักราช ราว พ.ศ. 2109 บิช็อปคนแรกแห่งยูกาตัน ดีโก เด ลันดา เรียบเรียงวิธีเขียนภาษามายาด้วยอักษรละตินแบบสเปน 27 ตัว และรูปอักษรมายาที่มีเสียงเดียวกัน เป็นที่รู้จักในเวลาต่อมาว่าอักษรลันดา และช่วยในการถอดความจารึกภาษามายา

นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าอักษรมายาไม่ใช่ระบบการเขียนที่สมบูรณ์ ต่อมา พ.ศ. 2493 นักชาติพันธุ์วิทยาชาวรัสเซีย ยูริ วาเลนติโนวิช คโนโรซอฟ (Yuri Valentinovich Knorosov) เสนอว่า อักษรมายาใช้เขียนภาษามายายูคาแทซ แนวคิดนี้ไม่ได้รับการยอมรับมากนัก จนช่วง พ.ศ. 2513 – 2532 มีความก้าวหน้าในการถอดความมากขึ้น จนส่วนใหญ่สามารถอ่านได้แล้วในปัจจุบัน

ลักษณะ แก้

 
ข้อความภาษามายาส่วนใหญ่มักเขียนเป็นแนวตั้งกว้างสองรูปอักษร โดยแต่ละคู่แนวตั้งจะอ่านจากซ้ายไปขวา บนลงล่าง

อักษรมายามี 550 ตัว (แทนคำทั้งคำ) และ 150 ตัวแทนพยางค์ 100 ตัวแทนชื่อสถานที่และชื่อเทพเจ้า ราว 300 ตัวใช้โดยทั่วไป ตัวอย่างของอักษรพบตามจารึกหินและเขียนบนเปลือกไม้ เครื่องปั้นดินเผา และเอกสารบางส่วนในกัวเตมาลา เม็กซิโก และภาคเหนือของเบลีซ หลายพยางค์เขียนด้วยรูปอักษรมากกว่า 1 ตัว เขียนในคอลัมน์คู่ อ่านจากซ้ายไปขวา และบนลงล่างในแนวซิกแซ็ก

พยางค์ แก้

พยางค์มักอยู่ในรูปพยัญชนะ + สระ โดยแนวนอนข้างบนประกอบด้วยรูปสระ ส่วนแนวตั้งซ้ายเป็นรูปพยัญชนะที่มีวิธีการออกเสียง รูปอะพอสทรอฟี (') แสดงเป็นเสียงหยุด เส้นเสียง รูปอักขระในช่องตารางเดียวกันมีรูปเขียนแตกต่างกัน ช่องว่างคือส่วนที่ยังไม่ทราบรูปอักขระ[4]

a e i o u
                                 
b’                  
ch
/tš/
                 
ch’      
h
/h/
           
j
/x/
                     
k                    
k’              
l                
m                    
n                          
p          
s                
t                        
t’  
tz
/ts/
         
tz’        
w          
x
/š/
       
y
/j/
               
a e i o u

ตัวอย่าง แก้

จากสุสานของKʼinich Janaabʼ Pakal:

 
maya exx
ทับศัพท์
แถว รูปอักขระ เสียงอ่าน
I J I J
4 ya k’a wa ʔu(?) K’UH hu lu yak’aw ʔuk’uhul
5 PIK 1-WINAAK-ki pik juʔn winaak
6 pi xo ma ʔu SAK hu na la pixoʔm ʔusak hunal
7 ʔu-ha YAX K’AHK’ K’UH? ʔuʔh Yax K’ahk’ K’uh?
8 ʔu tu pa K’UH? ? ʔutuʔp k’uh(ul)? ...l
9 ʔu KOʔHAW wa ?[CHAAK] ...m ʔukoʔhaw Chaahk (‘GI’)
10 SAK BALUʔN - Sak Baluʔn -

ข้อความ: Yak’aw ʔuk’uhul pik juʔn winaak pixoʔm ʔusak hunal ʔuʔh Yax K’ahk’ K’uh(?) ʔutuʔp k’uh(ul)? ...l ʔukoʔhaw Chaahk (‘GI’) Sak Baluʔn.
แปล: «เขาประทานเครื่องแต่งกายแก่เทพเจ้า [ประกอบด้วย] เครื่องสวมศีรษะยี่สิบเก้าอัน, ริบบิ้นสีขาว, สร้อยคอ, ต่างหูของเทพแห่งไฟองค์แรก และหมวกตราทรงสี่เหลี่ยมของเทพเจ้า ให้แก่ Chaahk Sak-Balun»

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. K. Kris Hirst (6 January 2006). "Maya Writing Got Early Start". Science.
  2. "Symbols on the Wall Push Maya Writing Back by Years". The New York Times. 2006-01-10. สืบค้นเมื่อ 2010-05-12.
  3. Breaking the Maya Code 2008.
  4. Pitts, Mark (2008). "Writing in Maya Glyphs: Names, Places, & Simple Sentences : A Non-Technical Introduction to Maya Glyphs" (PDF). FAMSI. pp. s. 16–22.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้