สารวัตรใหญ่ เป็นนวนิยายจากการประพันธ์ของ พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร โดยเป็นนวนิยายลงเป็นตอนในนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2532 และพิมพ์รวมเล่มโดย สำนักพิมพ์มติชน[3] ถูกสร้างเป็นละครทาง ช่อง 7 มาแล้ว 2 ครั้ง

สารวัตรใหญ่
ประเภทแอ๊คชั่น, อาชญากรรม
สร้างโดยบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (2537)
บริษัท ดราเมจิก จำกัด ในเครือบริษัท ป๊าสั่งย่าสอน จำกัด(2562)
กำกับโดยนิรัตติศัย กัลย์จาฤก
(2537)
พลชย เมธา
(2562)
แสดงนำ2537
ลิขิต เอกมงคล
มนฤดี ยมาภัย
ยุทธพิชัย ชาญเลขา
สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์
2562
กันตพงศ์ บำรุงรักษ์
ทัศนียา การสมนุช
วาทิต โสภา
อิงฟ้า เกตุคำ
ดราภดา โสตถิพิทักษ์
สุรศักดิ์ โชติทินวัฒน์
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดพ.ศ. 2537
สารวัตรใหญ่ - ภุชงค์ ณ บางช้าง
พ.ศ. 2562
สยบฟ้า - ตั้ว ปณิธิ ลีลาบัณฑิต
ดนตรีแก่นเรื่องปิดพ.ศ. 2537
สารวัตรใหญ่ - ภุชงค์ ณ บางช้าง
พ.ศ. 2562
เธอจะเป็นคนสุดท้าย - โอ๊ต สุรศักดิ์ โชติทินวัฒน์
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย ไทย
ภาษาต้นฉบับไทย ไทย
จำนวนตอนพ.ศ. 2537 : 17 ตอน
พ.ศ. 2562 : 15 ตอน
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตนิรัตติศัย กัลย์จาฤก(2562)[1]
ผู้อำนวยการสร้างกันตนา (2537)
คหบดี กัลย์จาฤก (2562)[2]
สถานที่ถ่ายทำไทย ไทย
ความยาวตอนพ.ศ. 2537 : 105 นาที
พ.ศ. 2562 : 130 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7 สี (พ.ศ. 2537)
ช่อง 7 เอชดี (พ.ศ. 2562)
ออกอากาศ13 มกราคม พ.ศ. 2562 –
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
เลือดเข้าตา (พ.ศ. 2538)
ยอดตำรวจหญิง (พ.ศ. 2538)
หักลิ้นช้าง (พ.ศ. 2539)
สันติบาล (พ.ศ. 2539)

การสร้างเป็นละครโทรทัศน์ แก้

สารวัตรใหญ่ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2537 ผลิตโดยบริษัท กันตนา จำกัด บทโทรทัศน์โดย วิลาสิณี กำกับการแสดงโดย นิรัตติศัย กัลย์จาฤก นำแสดงโดย ลิขิต เอกมงคล, มนฤดี ยมาภัย, ยุทธพิชัย ชาญเลขา, สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์, สิรคุปต์ เมทะนี, ดามพ์ ดัสกร, มานพ อัศวเทพ, รณ ฤทธิชัย, ศักราช ฤกษ์ธำรงค์, อธิวัฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, เวนย์ ฟอลโคเนอร์ โดยเริ่มออกอากาศตอนแรกวันที่ 11 พฤษภาคม - 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ต่อจากละคร สะพานข้ามดาว แต่ฉบับนี้ออกฉายไม่จบ คมชัดลึก กล่าวว่า เนื่องจากละครถูกแบน[4]

ในปี พ.ศ. 2562 บริษัท ดราเมจิก จำกัด ในเครือบริษัท ป๊าสั่งย่าสอน จำกัดได้นำเอาเรื่อง สารวัตรใหญ่ มาสร้างเป็นละครโทรทัศน์อีกครั้งจากมุมมองใหม่ มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมเนื้อเรื่องและตัวละครให้เข้ากับยุคสมัยแต่ยังยึดเค้าโครงเรื่องเดิมไว้เป็นหลัก สารวัตรใหญ่ เวอร์ชันปี 2562 เขียนบทโทรทัศน์โดย ภูเขา กำกับการแสดงโดย พลชย เมธา นำแสดงโดย กันตพงศ์ บำรุงรักษ์, ทัศนียา การสมนุช, วาทิต โสภา, อิงฟ้า เกตุคำ, ดราภดา โสตถิพิทักษ์, อนุวัฒน์ นิวาตวงศ์, ภุชิสสะ ศุภธนพัฒน์, สุรศักดิ์ โชติทินวัฒน์, นันทศัย พิศลยบุตร, สุเมธ องอาจ, ปราปต์ปฎล สุวรรณบาง, ศุภวัฒน์ อ่ำประสิทธิ์ ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 20.05 น. เสาร์ อาทิตย์ เวลา 20.15 น. เริ่มวันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม 2562 - 17 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 20.15 น. ต่อจากละคร จ้าวสมิง และถูกนำกลับมาออกอากาศซ้ำ ทุกวันศุกร์ 20.20 น. เสาร์ อาทิตย์ เวลา 20.15 น. เริ่มวันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม 2562[5]

เนื้อเรื่อง แก้

พ.ต.ต. ใหญ่ เวโรจน์ เป็นอดีตตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ที่ถูกย้ายไปปฏิบัติหน้าที่สารวัตรใหญ่ ที่ สภ.อ. พระลาน จังหวัดพระกำแพง ในเริ่มแรก ใหญ่ไม่แน่ใจว่าตนจะปฏิบัติหน้าที่นี้ได้หรือไม่ เพราะเคยแต่ทำงานด้านปราบปรามผู้ก่อการร้ายมาตลอด ในวันแรกที่ย้ายไป เขาก็ได้พบกับการทำหน้าที่ของตำรวจที่นั่นแล้ว และพบว่ามันเป็นพื้นที่ ๆ สกปรก เต็มไปด้วยอาชญากรรม การคอรัปชั่น ตำรวจก็ไม่เอาใจใส่ต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยมี ว่าที่ ร.ต.ต. พิทยาธร นายตำรวจหนุ่มจบใหม่เฝ้าดูอยู่และหวังให้ใหญ่เป็นแบบอย่าง

จึงเป็นหน้าที่ของใหญ่ เวโรจน์ นายตำรวจน้ำดีที่มีอุดมคติ ผู้ที่จะมาทำหน้าที่สารวัตรใหญ่ที่นี่จะต้องเอาชนะและเปลี่ยนแปลงพื้นที่นี้ให้เป็นพื้นที่ที่ดีให้ได้

รายชื่อนักแสดง แก้

ปี พ.ศ. 2537 2562
สถานีออกอากาศ ช่อง 7 เอชดี
ผู้สร้าง บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท ดราเมจิก จำกัด ในเครือบริษัท ป๊าสั่งย่าสอน จำกัด
บทประพันธ์ พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร
บทโทรทัศน์ วิลาสิณี ภูเขา
ผู้กำกับการแสดง นิรัตติศัย กัลย์จาฤก พลชย เมธา
ตัวละคร นักแสดงหลัก
พ.ต.ท. ใหญ่ เวโรจน์ (สารวัตรใหญ่) ลิขิต เอกมงคล กันตพงศ์ บำรุงรักษ์
คำแพง เวโรจน์ มนฤดี ยมาภัย ทัศนียา การสมนุช
ว่าที่ ร.ต.ต. พิทยาธร ตั้งจิตจำรูญ (หมวดพิทยาธร) ยุทธพิชัย ชาญเลขา วาทิต โสภา
ตุ๊กติ๊ก (2537)
มัทนี (2562)
พงษ์นภา ดัสกร อิงฟ้า เกตุคำ
ร.ต.อ. กอบเกียรติ กัลปพฤกษ์ (ผู้กองกอบเกียรติ) สุรศักดิ์ โชติทินวัฒน์
อรทัย สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์ ดราภดา โสตถิพิทักษ์
ตัวละคร นักแสดงสมทบ
ดร.อภิมุข กาญจนอัศดรกุล (เสี่ยน้อย) รุจน์ รณภพ อนุวัฒน์ นิวาตวงศ์
พล.ต.ต. เอนก (ผู้การเอนก) ศุภวัฒน์ อ่ำประสิทธิ์
พ.ต.อ. ฟ้าลั่น (ผู้กำกับฯฟ้าลั่น)[6] เฉลิมพร พุ่มพันธ์วงศ์
พ.ต.ท. เอนก (รองผู้กำกับ)[7] ธนา สินประสาธน์
คัคหนานต์ จิระวิโรจน์ (เสี่ยคัค) วิทย์ มาโบโร่ ปราปต์ปฎล สุวรรณบาง
กำนันฉลองโชค อนุชา อึ้งวัฒนา พงศนารถ วินศิริ
เสี่ยจาตุรนต์ กฤช ผ่องสุวรรณ์ สุเมธ องอาจ
พ.ต.อ. ทรัพย์อนันต์ (รองผู้การฯ) พิพัฒน์พล โกมารทัต นันทศัย พิศลยบุตร
ผู้ว่าพิเชษฐ์ ดามพ์ ดัสกร วสุ แสงสิงแก้ว
นวคุณ / เนี๊ยว ทองขาว ภัทรโชคชัย ภุชิสสะ ศุภธนพัฒน์
เจ๊จวบ มัทรี นวรัตน์ ราตรี วิทวัส
จ่าบุญเชิด กฤษณ์ ศุกระมงคล นึกคิด บุญทอง
แอ๋ว วรารัตน์ เทพโสธร
ครูแสงดาว อัญชลี หัสดีวิจิตร
ร.ต.อ. ธรรมรัตน์ ทำนุประชาสันต์ สิรคุปต์ เมทะนี
ร.ต.อ. เสมา ศิลาแลง เวนช์ ฟอลโคเนอร์
ร.ต.อ. อัครเดช สมถะ ธรรมชาติ ฟาร์เน็ตต์
ร.ต.อ. เมธี อ้อนแอ้น ศักราช ฤกษ์ธำรงค์
พล.ต.อ. เอกมิตร สรนันท์ ร.เอกวัฒน์
ผู้ใหญ่สำราญ จิตติน ดิษยนิยม นิเวศน์ กันไทยราษฎร์
หลวงพ่อ สุภักดิ์ ปิติธรรม สรนันท์ ร.เอกวัฒน์
รัชนี (เจ๊นี) ศิริวรรณ ทองสมัคร วิยะดา อุมารินทร์
ลุงบุญค้ำ พีระ สินสมบูรณ์ เทิดพร มโนไพบูลย์
เสี่ยผัน (2537)
พ่อของคำแพง (2562)
มานพ อัศวเทพ ศิวพงศ์ ผะเดิมชิต
บุญศรี มาณวิภา เปมะวิภาค มณฑาทิพย์ แก้วประเสริฐ
ดาบหมู เสือ ทอรัส
จ่าตุ๋ย ตูมตาม เชิญยิ้ม
น้าสมร ชโลมจิต จันทร์เกตุ
ดาบนรินทร์ ลักษณ์ อภิชาติ ณัชฌุกรณ์ ไหมกัน
ดำ เจิดพันธ์ ดิษฐสระ อรรถพล สุวรรณ
จ่าจำเทิด จิณณะ จอมขันเงิน
คุณนายวิว พัชชุดาญ์ พันธุ์พิพัฒน์
จ่าประณต สุธี ศิริเจริญ วรพรต ชะเอม
ดาบสุเมธ รุ่งรดิศ รุ่งอมรวานิช
จ่าเฉ๋ย วิโรจน์ เลิศวิทย์วรวัฒน์
หมู่ปราการ อธิวัฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ขวัญทูน วิทย์ธรรมานนท์
จ่าพจนารถ จอห์น บราโว่ ช.เอ ณ บางช้าง
โจ ชาลี เกิดผล
พ.ต.ต. วาริช โลหเจริญวานิช (สารวัตรวาริช) สุชีพ กล้าวิทย์กิจ นวธันย์ ธวัชวงศ์เดชากุล
ขจร ปกิตกร ม่วงแสง
ผู้กองก้องภพ วิชยุตม์ ศุภพร
ชัย (2537)
ปืน (2562)
ปกาศิต กิ่งศักดิ์ พงศ์ภัทร์ พงษ์ประไพ
เบี้ยว พงศ์ธนัช ลักษณ์ธนรุจน์
จิณ (นักข่าว) ศุภอรัณย์ แย้มศรี
มนัส วรเชษฐ์ นิ่มสุวรรณ แกล้วกล้า ธนาวุฒิวร
ป้านวล มนสิชา บุญสิทธิโสภณ
สวย ปรีชยาพรรณ ศุภเศรษฐ์ศักดิ์
เจ๊พร พรพัชรัศ สุวรรณมงคล
วีระ (นักข่าว) ทวีสันต์ สุนทรารักษ์
คุณนายลักษณา ดวงชีวัน โกมลเสน นิลญา โสภณกรสิริ
ดล สุกฤษฎิ์ อมราภิบาล
ยู่ยี่ ธัญญะ ธีรขจรกิจ
อุ๋งอิ๋ง ชัชนันท์ ศรรัตน์สกุล
น้ำฝน นันธิดา เกตุอยู่
ศิริรัตน์ ปัทมา ปานทอง
แหวน ปัทมาภรณ์ ปิ่นทอง
จิ๊จ๊ะ ปรางใส ณ นคร
ตัวละคร นักแสดงรับเชิญ
ท่านรองเชิงชาย รณ ฤทธิชัย
ผู้กำกับฟ้าลั่น เฉลิมพร พุ่มพันธ์วงศ์
จุ๊ (พนักงานหญิงต้อนรับรถโดยสารประจำทาง) ธัญญารักษ์ สมบูรณ์
โพธ (ท่านรองตำรวจตระเวนชายแดน) วรธนพจน์ ตันติวิริยางกูร
หมวดชาติ ธนายง ว่องตระกูล
จ่า ธนา สินประสาธน์
แดง นิค โอโรโน่
โรจน์ ลิขิต บุญประกอบ
ลอง (โจร) ทอม นาส์ม
หนุ่ย สิทธิโชค อักษรนันทน์
ลุงมานิต กฤษณ์ พุฒรังษี
ป้าสำอาง ภัคจิรา เลิศทวีวิทย์
คุณนายลออวรรณ วันทนีย์ ชนะชัยยั่งยืน
เสี่ยธำรง ภู่ธนวัฒน์ไพศาล สมยศ เปรมอนันต์ ธัญชนก ตวงมุกดา
ปอง (ชาวบ้าน) จ.ส.ต.ขวัญทูน วิทย์ธรรมานนท์
ไก่ (ขบวนการค้ายาเสพติด) อาท ลำนารายณ์
ชาลี (เจ้าหน้าที่ป่าไม้) วีรวุฒิ เข้มแข็ง
สุรินทร์ (แม่ของผู้กองกอบเกียรติ) ยุพา กิ่งจันทร์
มิ้นท์ ด.ญ.ปาริดา กิจนิธิประมวล

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-28. สืบค้นเมื่อ 2020-01-07.
  2. https://mgronline.com/drama/detail/9620000003394
  3. สารวัตรใหญ่
  4. วิริยะพรรณพงศา, เสถียร (10 Jan 2013). "'เหนือเมฆ'ต่อสู้ด้วย'ความเงียบ'". หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก. สืบค้นเมื่อ 12 January 2019.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-13. สืบค้นเมื่อ 2019-12-13.
  6. สารวัตรใหญ่ Ep.11 (นาทีที่ 36:39), สืบค้นเมื่อ 2022-05-09
  7. สารวัตรใหญ่ Ep.11 (นาทีที่ 36:39), สืบค้นเมื่อ 2022-05-09

แหล่งข้อมูลอื่น แก้