ตำบลปรือใหญ่

ตำบลในอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย

ตำบลปรือใหญ่ เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันประกอบด้วย 20 หมู่บ้าน คำว่า "ปรือใหญ่" แปลว่า "ป่าใหญ่" เนื่องจากในสมัยก่อนตำบลปรือใหญ่นั้นมีอาณาเขตกว้างขวางติดชายแดนประเทศกัมพูชา และมีผืนป่าขนาดใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์มาก แต่ในปัจจุบันได้ถูกแยกออกไปเป็นตำบลตะเคียนราม ตำบลโคกตาล และตำบลดงรัก อำเภอภูสิงห์

ตำบลปรือใหญ่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Prue Yai
ประเทศไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
อำเภอขุขันธ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด82 ตร.กม. (32 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2555)
 • ทั้งหมด11,892 คน
 • ความหนาแน่น145.02 คน/ตร.กม. (375.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 33140
รหัสภูมิศาสตร์330506
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

ตำบลปรือใหญ่ เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอขุขันธ์ เดิมขึ้นอยู่กับตำบลห้วยใต้ อำเภอห้วยเหนือ เมืองขุขันธ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 ได้แยกจากตำบลห้วยใต้ และยกฐานะเป็น ตำบลปรือใหญ่ อำเภอห้วยเหนือ จังหวัดขุขันธ์ ระยะแรกมี 11 หมู่บ้าน ต่อมาปี พ.ศ. 2481 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อจังหวัดขุขันธ์ เป็นชื่อจังหวัดศรีสะเกษ และเปลี่ยนชื่ออำเภอห้วยเหนือ เป็นชื่ออำเภอขุขันธ์ จึงทำให้ตำบลปรือใหญ่ อยู่ในอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษตั้งแต่นั้น ปัจจุบันตำบลปรือใหญ่ ประกอบด้วย 19 หมู่บ้าน มีกำนันปกครองตั้งแต่ยกฐานะถึงปัจจุบัน 5 คน และต่อมาได้รับการยกฐานะของสภาตำบลปรือใหญ่เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540

คำว่า "ปรือใหญ่" แปลว่า "ป่าใหญ่" เนื่องจากในสมัยก่อนตำบลปรือใหญ่นั้นมีอาณาเขตกว้างขวางมากและมีผืนป่าขนาดใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ติดชายแดนประเทศกัมพูชา แต่ในปัจจุบันได้ถูกแยกออกไปเป็นตำบลตะเคียนราม ตำบลโคกตาล และตำบลดงรัก อำเภอภูสิงห์ จึงทำให้ปัจจุบันนี้ตำบลปรือใหญ่เหลือพื้นที่ป่าลดน้อยลง

ชุมชนชาวกูยตำบลปรือใหญ่ เป็นชุมชนที่เก่าแก่ และสันนิษฐานว่า มีเรื่องราวความเป็นมาพร้อมกับการเกิดขึ้นของเมืองขุขันธ์ หัวหน้ากลุ่มคนแรก ชื่อว่าตาทอง ได้พาไพร่พลและบริวารชาวบ้านออกมาตั้งบ้านในบริเวณทางทิศตะวันออกของหนองใหญ่ ที่มีลักษณะสัณฐานยาวจากทิศเหนือ-ทิศใต้ ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกเป็นภาษากูยว่า ตระเพียงฮนฺรืง (ត្ភាំងហន្រឺង)​ หรือเรียกเป็นภาษาเขมรว่า ตระเปียงแวง (ត្រពាំងវែង) หรือเรียกเป็นภาษาไทยในปัจจุบันว่า หนองแวง เพราะมีปลาชุกชุมและมีที่ราบสามารถปลูกพืชผลได้ดี โดยเรียกหมู่บ้านนี้ว่า ไปรย์ทม (ปรือทม)[1]

สภาพพื้นที่ แก้

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับที่ดอน ลาดเอียงจากทิศตะวันออกตอนเหนือลงมาทางตอนใต้ ส่วนตอนกลางของตำบลเป็นที่ราบลุ่ม แหล่งน้ำตามธรรมชาติภายในตำบลมีหลายแหล่ง แต่ยังใช้ประโยชน์ได้ไม่ตลอดปี ส่วนใหญ่แห้งแล้งและตื้นเขินในฤดูแล้ง[2]

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

ตำบลปรือใหญ่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[3]

ประชากร แก้

เขตการปกครอง แก้

ประกอบด้วย 20 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านปรือใหญ่

หมู่ที่ 2 บ้านหลัก

หมู่ที่ 3 บ้านตาเบ๊าะ

หมู่ที่ 4 บ้านมะขาม

หมู่ที่ 5 บ้านปรือคันตะวันออก[4]

หมู่ที่ 6 บ้านโนนสมบูรณ์

หมู่ที่ 7 บ้านปรือคันตะวันตก

หมู่ที่ 8 บ้านโพธิ์สว่าง

หมู่ที่ 9 บ้านคลองลำเจียก

หมู่ที่ 10 บ้านเกษนาค้อ

หมู่ที่ 11 บ้านเนินแสง

หมู่ที่ 12 บ้านแสนสุข

หมู่ที่ 13 บ้านนาจะเรีย

หมู่ที่ 14 บ้านปรือคันใต้

หมู่ที่ 15 บ้านบางกระวาน

หมู่ที่ 16 บ้านหนองอาเสร

หมู่ที่ 17 บ้านทุ่งชัย,

หมู่ที่ 18 บ้านเนินเสรี,

หมู่ที่ 19 บ้านหนองสิม

หมู่ที่ 20 บ้านนาค้อ

สาธารณูปโภค แก้

มีประปาหมู่บ้านในหมู่ที่ 5, 9, 11, 12, 14, 15 และ 19

การประกอบอาชีพ แก้

ประชากรมีอาชีพหลักคือ ทำนา ทำไร่ และอาชีพเสริมเป็นการทำสวนผลไม้

การเดินทาง แก้

ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2157 จากอำเภอขุขันธ์ มุ่งหน้าสู่ตำบลปรือใหญ่มีระยะทาง 11 กิโลเมตร[5]

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

ตำบลปรือใหญ่เป็นตำบลเดียวของอำเภอขุขันธ์ที่มีอาณาเขตพื้นที่ติดกับภูเขา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งขวาห้วยศาลา

  • หมู่บ้านทับทิมสยาม 06[6]
  • สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์
  • ผาประสพชัย
  • สถานีเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ทับทิมสยาม 06
  • อ่างเก็บน้ำทับทิมสยาม 06
  • วัดถ้ำสระพงษ์

อ้างอิง แก้

  1. "ประวัติตำบล". องค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. 8 สิงหาคม 2020.
  2. "4. ภูมิประเทศ". โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทับทิมสยาม 06. 15 มีนาคม 2016.
  3. "สภาพทั่วไป". องค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. 8 สิงหาคม 2020.
  4. "บริบทหมู่บ้าน". บ้านปรือคันตะวันออก. 2015.
  5. "การเดินทาง – โอทอป สินค้าชุมชน". องค์การบริหารส่วนตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. 8 สิงหาคม 2020.
  6. "โครงการ ทับทิมสยาม 06 (ทดลองปลูกสร้างป่าเศรษฐกิจ)". สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.).