การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis หรือ UA) คือ วิธีการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ R&M (Routine and Microscopy) เป็นหนึ่งในวิธีการตรวจพื้นฐานสำหรับการวินิจฉัยทางการแพทย์[1]

การตรวจปัสสาวะ
หัตถการและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
MeSHD016482

การตรวจปัสสาวะสามารถหาค่าของสารหรือเซลล์ต่าง ๆ รวมทั้ง คุณสมบัติของปัสสาวะ เช่น ความถ่วงจำเพาะ ได้ โดยสามารถตรวจได้จากแถบตรวจปัสสาวะ (Urine test strip) ซึ่งจะอ่านผลจากการเปลี่ยนแปลงของสีและการตรวจปัสสาวะโดยใช้กล้องจุลทรรศน์

ตัวแปรเป้าหมาย แก้

ไออน และ trace metals แก้

เป้าหมาย ค่าต่ำ ค่าสูง หน่วยวัด ความเห็น
Nitrite ไม่มีข้อมูล 0 / ให้ผลลบ[2] การตรวจพบไนไตรทในปัสสาวะสามารถบ่งบอกได้ว่ามีแบคทีเรีย coliform ซึ่งเป็นสัญญาณว่ามีการติดเชื้อ นอกจากนี้ การตรวจวิเคราะห์อย่างอื่น เช่น leukocyte esterase, จำนวนเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ รวมทั้ง อาการต่างๆ เช่น ปัสสาวะแสบขัด (dysuria) ปัสสาวะต้องรีบ (urgency) มีไข้และหนาวสั่น ก็เป็นอาการที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อได้เช่นกัน
Sodium (Na) - ต่อวัน 150[3] 300[3] mmol / 24 ชั่วโมง การตรวจวิเคราะห์ระดับโซเดียมเป็นสิ่งที่จำเป็นระหว่างการวินิจฉัยโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งการขับถ่ายโซเดียมในรูปแบบ FeNa เป็นตัวบ่งชี้สำคัญในการแยกภาวะก่อนไตวายและหลังไตวาย
Potassium (K) - ต่อวัน 40[3] 90[3] mmol / 24 ชั่วโมง การตรวจวิเคราะห์ระดับโพแทสเซียมในปัสสาวะอาจจำเป็นสำหรับการวินิจฉัยภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (hypokalemia) ในกรณีของการสูญเสียโพแทสเซียมในระบบทางเดินอาหารจะทำให้ระดับโพแทสเซียมในปัสสาวะต่ำ ส่วนในกรณีการสูญเสียโพแทสเซียมจากไตนั้น ระดับโพแทสเซียมในปัสสาวะจะสูง การลดลงของระดับโพแทสเซียมในปัสสาวะสามารถพบได้ใน hypoaldosteronism และ adrenal insufficiency
Urinary calcium (Ca) - ต่อวัน 15[4] 20[4] mmol / 24 ชั่วโมง ระดับแคลเซียมที่สูงอย่างผิดปกติ เรียกว่า ภาวะแคลเซียมในปัสสาวะสูง (hypercalciuria) ส่วนระดับแคลเซียมที่ต่ำอย่างผิดปกติ เรียกว่า ภาวะแคลเซียมในปัสสาวะต่ำ (hypocalciuria)
100[4] 250[4] mg / 24 ชั่วโมง
Phosphate (P) - ต่อวัน ไม่มีข้อมูล[3] 38[3] mmol / 24 ชั่วโมง ภาวะ Phosphaturia คือ การขับถ่ายฟอสเฟตในระดับสูงผ่านปัสสาวะสามารถแบ่งออกเป็นชนิดหลัก (primary) และชนิดรอง (secondary) โดยภาวะ Primary hypophosphatemia คือ การขับถ่ายฟอสเฟตโดยตรงจากไตซึ่งเกิดจากความผิดปกติที่ไตเป็นหลัก รวมทั้ง อาจเป็นผลที่เกิดจากยาขับปัสสาวะหลายชนิดที่มีผลต่อไตด้วย นอกจากนี้ สาเหตุของชนิดรอง รวมทั้ง ภาวะ hyperparathyroidism เกิดจากการขับถ่ายฟอสเฟตระดับสูงในปัสสาวะ

สำหรับค่า fractional sodium excretion ที่เป็นค่าร้อยละของการกรองโซเดียมโดยไตซึ่งถูกจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้สำหรับภาวะไตวายเฉียบพลันและภาวะปัสสาวะออกน้อย (Oliguria) โดยถ้าค่าที่ได้ต่ำกว่า 1% บ่งบอกว่าเกิด prerenal disease และถ้าค่าสูงกว่า 3%[5] บ่งบอกถึงภาวะ acute tubular necrosis และการเกิดความเสียหายที่ไต

โปรตีนและเอนไซม์ แก้

เป้าหมาย ค่าต่ำ ค่าสูง หน่วยวัด ความเห็น
Protein 0 ปริมาณน้อยมาก[2]
/ 20
mg/dL โปรตีนอาจวัดได้ด้วยวิธี Albustix Test เนื่องจากโปรตีนเป็นโมเลกุลที่ใหญ่มาก ดังนั้น ในภาวะปกติ เราจึงไม่สามารถตรวบพบโปรตีนได้ในปัสสาวะ การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ (proteinuria) จึงบอกได้ถึงความผิดปกติของการกรองโดย glomerulus โดยอาจเกิดจากสาเหตุของการติดเชื้อที่ไตหรือเป็นผลที่เกิดจากโรคอื่นแต่ส่งผลกระทบมาที่ไตได้ เช่น เบาหวาน ดีซ่าน หรือ ภาวะ hyperthyroidism
hCG
ในผู้ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์
- 50[6] U/L ฮอร์โมนนี้สามารถพบได้ในสตรีตั้งครรภ์ สามารถตรวจโดยใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์โดยทั่วไป

เซลล์เม็ดเลือด แก้

เป้าหมาย ค่าต่ำ ค่าสูง หน่วยวัด ความเห็น
เม็ดเลือดแดง 0[2][7] 2[2] - 3[7] ต่อ
High Power Field
(HPF)
RBC casts ไม่มีข้อมูล 0 / ผลลบ[2]
เม็ดเลือดขาว 0[2] 2[2] / ผลลบ[2]
- 10 ต่อ µl หรือ
mm3
ภาวะปัสสาวะมีหนอง (pyuria) สามารถตรวจพบเม็ดเลือดขาว 10 เซลล์หรือมากกว่า ต่อ ไมโครลิตร (µl) หรือ cubic millimeter (mm3)
เลือด ไม่มีข้อมูล 0 / ให้ผลลบ[2] เลือดเพียงปริมาณเล็กน้อยก็สามารถทำให้ปัสสาวะเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือชมพูได้ ดังนั้น มันจึงเป็นการยากที่จะตัดสินว่ามีการเลือดอกโดยการตรวจอย่างหยาบ ๆ (gross examination) สีของปัสสาวะที่เปลี่ยนเป็นสีแดงอาจเกิดจากการหลั่งของเม็ดสี เช่น myoglobin และฮีโมโกลบิน สามารถพบในกรณีที่ตรวจโดยการใช้แถบตรวจปัสสาวะแล้วให้ผลว่ามีเลือดแต่เมื่อนำปัสสาวะไปส่องใต้กล้องจุลทรรศน์กลับไม่พบว่ามีเม็ดเลือดแดง เมื่อพบว่ามีเม็ดเลือดในปัสสาวะควรจะตรวจค่า INR/PT/PTT รวมทั้งให้ส่งปัสสาวะที่เก็บมาใหม่ๆ สำหรับการส่งตรวจ

โมเลกุลอื่นๆ แก้

เป้าหมาย ค่าต่ำ ค่าสูง หน่วยวัด ความเห็น
กลูโคส ไม่มีข้อมูล 0 / ให้ผลลบ[2] กลูโคสสามารถวัดได้ด้วยวิธี Benedict's Test โดยปกติแล้วกลูโคสจะไม่สามารถตรวจพบได้ในปัสสาวะเนื่องจากกลูโคสจะถูกดูดซึมจากท่อไตกลับไปยังเลือด การพบกลูโคสในปัสสาวะ เรียกว่า glucosuria
Ketone bodies ไม่มีข้อมูล 0 / ให้ผลลบ[2] เมื่อร่างกายเกิดการขาดคาร์โบไฮเดรตหรือรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ร่างกายก็จะเผาพลาญไขมันเพื่อให้ได้พลังงาน กระบวนการเผาผลาญไขมันแบ่งเป็นขั้นตอน ดังนี้ (1) ไตรกลีเซอไรด์เปลี่ยนเป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล (2) กรดไขมันเปลี่ยนเป็นสารประกอบที่มีขนาดเล็ก (acetoacetic acid, betahydroxybutyric acid, และ acetone) (3) สารประกอบที่มีขนาดเล็กถูกใช้ในกระบวนการ aerobic cellular respiration เมื่อการสร้างสารประกอบในกระบวนการเผาผลาญกรดไขมัน (เรียกว่า ketone bodies) มากเกินความสามารถที่ร่างกายจะเผาผลาญได้ มันก็จะถูกสะสมไว้ใยเลือดและปัสสาวะ (ketonuria)
บิลิรูบิน ไม่มีข้อมูล 0 / ให้ผลลบ[2] phagocytic cell ของม้ามและไขกระดูมีหน้าที่ในการทำลายเม็ดเลือดเก่าและเปลี่ยน heme ของฮีโมโกลบินไปเป็นบิลิรูบินและจะถูกขับออกไปยังเลือดและถูกนำไปที่ตับเพื่อทำการจับกับ glucuronic acid จนกระทั่ง อยู่ในรูปของ conjugated form ซึ่ง conjugated form ของบิลิรูบินจะถูกขับไปยังเลือดและขับออกไปทางท่อน้ำดีผ่านไปยังลำไส้เล็ก โดยปกติแล้วเลือดจะมีปริมาณของบิลิรูบินเพียงเล็กน้อย ดังนั้น หากระดับบิลิรูบินในเลือดสูงผิดปกติอาจเกิดจากการทำลายเม็ดเลือดแดงที่มากขึ้น, เกิดความเสียหายที่ตับ เช่น ไวรัสตับอักเสบ ตับแข็ง และอาจเกิดจากนิ่วอุดต้นที่ท่อน้ำดี การที่ร่างกายมีระดับบิลิรูบินในเลือดสูงนั้นจะทำให้เกิดภาวะดีซ่าน
Urobilinogen 0.2[2] 1.0 [2] Ehrlich units
or mg/dL
Creatinine - per day 4.8[3] 19[3] mmol / 24 ช.ม.
Free catecholamines,
dopamine - per day
90 [8] 420 [8] μg / 24 ช.ม.
Free cortisol 28[9] or 30[10] 280[9] หรือ 490[10] nmol/24 ช.ม. ค่าที่ต่ำกว่าปกติอาจจะเป็น Addison's disease ในขณะที่ค่าสูงกว่าปกติอาจเป็น Cushing's syndrome ค่าที่ต่ำกว่า 200 nmol/24 ช.ม. (72 µg/24 ช.ม.[11]) บ่งบอกว่าไม่เป็น Cushing's syndrome[10]
10[12] or 11[11] 100[12] or 176[11] µg/24 ช.ม.
Phenylalanine 30.0 mg/L[13] ในการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดนั้น ถ้าพบค่าที่สูงกว่าปกติจะบ่งชี้ว่าเกิดภาวะ phenylketonuria[13]

วิธีตรวจ แก้

แถบตรวจปัสสาวะ แก้

แถบตรวจปัสสาวะ สามารถใช้ตรวจ

การตรวจใต้กล้องจุลทรรศน์ แก้

 
การตรวจปัสสาวะใต้กล้องจุลทรรศน์

จำนวนและชนิดของเซลล์ รวมทั้ง สารประกอบอื่น ๆ เช่น urinary casts สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลและรายละเอียดสำหรับการวินิจฉัยได้

วิธีอื่น แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Simerville JA, Maxted WC, Pahira JJ (March 2005). "Urinalysis: a comprehensive review". American Family Physician. 71 (6): 1153–62. PMID 15791892. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-06-02.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 Normal Reference Range Table เก็บถาวร 2011-12-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from The University of Texas Southwestern Medical Center at Dallas. Used in Interactive Case Study Companion to Pathologic basis of disease.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 Reference range list from Uppsala University Hospital ("Laborationslista"). Artnr 40284 Sj74a. Issued on April 22, 2008
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 medscape.com > Urine Calcium: Laboratory Measurement and Clinical Utility By Kevin F. Foley, PhD, DABCC; Lorenzo Boccuzzi, DO. Posted: 12/26/2010; Laboratory Medicine. 2010;41 (11) :683-686. © 2010 American Society for Clinical Pathology. In turn citing:
    • Wu HBA. Tietz Guide to Clinical Laboratory Tests. 4th ed. St. Louis, MO: Saunders, Elsevier; 2006.
  5. "MedlinePlus Medical Encyclopedia: Fractional excretion of sodium". สืบค้นเมื่อ 2009-05-02.
  6. PMID 15653445 (PMID 15653445)
    Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand
  7. 7.0 7.1 "medical.history.interview: Lab Values". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-12. สืบค้นเมื่อ 2008-10-21.
  8. 8.0 8.1 "University of Colorado Laboratory Reference Ranges". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-07. สืบค้นเมื่อ 2008-10-21.
  9. 9.0 9.1 Converted from µg/24 ช.ม., using molar mass of 362.460 g/mol
  10. 10.0 10.1 10.2 PMID 10342356 (PMID 10342356)
    Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand
  11. 11.0 11.1 11.2 Converted from nmol/24h, using molar mass of 362.460 g/mol
  12. 12.0 12.1 MedlinePlus > Cortisol - urine. Update Date: 11/23/2009. Updated by: Ari S. Eckman. Also reviewed by David Zieve.
  13. 13.0 13.1 PMID 20494631 (PMID 20494631)
    Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand

แหล่งข้อมุลอื่น แก้