พารานอยด์แอนดรอยด์

พารานอยด์แอนดรอยด์ (อังกฤษ: Paranoid Android) เป็นระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์ซสำหรับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ที่สืบมาจากแอนดรอยด์ โดยมีรุ่นล่าสุดคือ Topaz ซึ่งสืบมาจากแอนดรอยด์ 13 โดยแจกจ่ายเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2022

พารานอยด์แอนดรอยด์
(Paranoid Android)
ผู้พัฒนาทีมพารานอยด์แอนดรอยด์
ตระกูลคล้ายยูนิกซ์ (Linux/Android)
สถานะยังดำเนินการอยู่
รูปแบบ
รหัสต้นฉบับ
โอเพนซอร์ซบวกกับซอฟต์แวร์สงวนลิขสิทธิ์
รุ่นเสถียรTopaz / 15 ตุลาคม 2022; 2 ปีก่อน (2022-10-15)
วิธีการอัปเดตOver-the-air (OTA), ROM flashing
ตัวจัดการ
แพกเกจ
APK-based
แพลตฟอร์ม
ที่รองรับ
arm, arm64
ส่วนติดต่อผู้ใช้ปริยายParanoid Launcher
สัญญาอนุญาตApache 2
เว็บไซต์paranoidandroid.co

ในเดือนกันยายน 2015 เว็บไซต์ PC Advisor ระบุว่า พารานอยด์แอนดรอยด์เป็น ROM ที่มีชื่อมากที่สุดร่วมกับ CyanogenMod[1] และหนังสือพิมพ์อินเดีย The Economic Times ก็ได้จัดว่าเป็น custom ROM ของแอนดรอยด์ที่มีคนใช้มากที่สุดคือเกิน 200,000 คน[2]

ประวัติ

แก้

Paul Henschel เป็นผู้เริ่มพัฒนาพารานอยด์แอนดรอยด์[2] และตามการสัมภาษณ์กลุ่มผ่านเรดดิต ระบบปฏิบัติการได้ตั้งชื่อขึ้นตามเพลงที่มีชื่อเดียวกันของวงเรดิโอเฮด[3]

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 บริษัทวันพลัสได้ว่าจ้างสมาชิกของพารานอยด์แอนดรอยด์ไปสร้างระบบปฏิบัติการใหม่ของบริษัทคือ OxygenOS[4] ซึ่งทำให้การแจกจ่ายรุ่น 5.1 ล่าช้าไป[5]

ในเดือนตุลาคม 2015 สมาชิก คือ Matt Flaming ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ Android Authority ว่าโปรเจ็กต์จะหยุดทำการชั่วคราว[6] ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2016 โปรเจ็กต์จึงได้ประกาศว่า จะดำเนินการต่อไปอีกพร้อมกับสมาชิกที่ได้มาใหม่[7] นี้ประกาศพร้อมกับการแจกจ่ายรุ่นใหม่ ซึ่งสืบทอดมาจากแอนดรอยด์ 6.0.1 Marshmallow[7] ในต้นเดือนมิถุนายน 2016 ระบบสามารถรับรองโทรศัพท์ Nexus 6P, Nexus 5X, Nexus 6, Nexus 5, Nexus 4, Nexus 7 2013, Nexus 9, OnePlus One, OnePlus 2 และ OnePlus X[8]

ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2018 บัญชีกูเกิล+ ของพารานอยด์แอนดรอยด์ได้อัปเดตสถานะของโปรเจ็กต์ว่า ผู้พัฒนาหมดเงินทุน ทำให้เว็บไซต์ของโปรเจ็กต์และระบบช่วยพัฒนาซอฟต์แวร์ Gerrit ถูกปิด ทำให้การดำเนินงานเกี่ยวกับแอนดรอยด์รุ่นโอริโอ้ หยุดชะงักทั้งหมด ผู้พัฒนาระบุว่า แม้เกือบจะแจกจ่ายแอนดรอยด์รุ่นนี้ได้แล้ว แต่ก็ไม่สามารถทำได้เพราะหมดเงิน และกำลังหาความช่วยเหลือจากบุคคลที่สนใจ[9]

ต่อมาวันที่ 27 สิงหาคม 2018 หน้าเว็บกูเกิล+ นั้นก็ได้ลงโพสต์มีชื่อว่า "จะทำให้โปร่งใสยิ่งกว่าเดิม"[10] แล้วขอโทษว่าขาดการสื่อสาร และแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมที่โปรเจ็กต์กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน แล้วแจกจ่ายระบบปฏิบัติการสำหรับโทรศัพท์ OnePlus 3, 3T, 5 และ 5T และสำหรับ Sony Xperia X, X Compact, XZ Premium, XZ1 และ XZ2.

ในต้นปี 2020 โปรเจ็กต์ก็ได้เริ่มต้นใหม่อีกโดยได้แจกจ่ายรุ่นที่เรียกว่า "Quartz"[11] (สืบทอดมาจากแอนดรอยด์ 10) สำหรับอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งอุปกรณ์ใหม่ๆ เช่น Xiaomi Mi 9[12]

ลูกเล่น

แก้

ตามหนังสือพิมพ์ The Economic Times ลูกเล่นที่น่าสนใจที่สุดของพารานอยด์แอนดรอยด์ ก็คือ Halo และ Pie[2] Halo (ซึ่งไม่มีหลังจากรุ่น 5.0) เป็นบับเบิลลอยที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเห็นการแจ้งข้อความโดยไม่ต้องออกจากจอปัจจุบัน ส่วน Pie เป็นตัวทดแทนปุ่มกดหน้าจอปกติ โดยจะอยู่นอกจอแต่ให้ผู้ใช้ปัดเข้ามาในจอเพื่อจะเห็นปุ่ม[ต้องการอ้างอิง]

รายการอุปกรณ์ที่รองรับ

แก้

ในเดือนพฤศจิกายน 2023 พารานอยด์แอนดรอยด์รองรับรวมอุปกรณ์รุ่นต่างๆ ของบริษัทดังต่อไปนี้ได้ (วันที่ในวงเล็บระบุวันที่ผู้ผลิตได้เริ่มแจกจำหน่ายโทรศัพท์) คือ [13]

  • เอซุส - Zenfone 9
  • กูเกิล
  • โมโตโรลา
  • นอททิง (Nothing)
  • วันพลัส
  • โพโค
  • เรียวมี - X50 Pro 5G (ก.พ. 2020), GT2 (ก.ย. 2022) และ GT Neo2 5G (ต.ค. 2021)
  • เรดมี่ - Note 9S (เม.ย. 2020), Note 9 Pro Max (เม.ย. 2020), Note 9 Pro IN (เม.ย. 2020), Note 9 Pro Global (เม.ย. 2020), Note 12 Turbo (มี.ค. 2022), Note 11 / Note 11 NFC (ต.ค. 2021), Note 10 Lite (ต.ค. 2020), Note 10 (มี.ค. 2020), K40S (มี.ค. 2020), Mi 11X (เม.ย. 2021), K30 Pro (มี.ค. 2020), K30 (ธ.ค. 2019), 9T (ม.ค. 2021), 7A (ก.ค. 2019)
  • เสียวหมี่ - Mi Mix 3 (ต.ค. 2018), Mi Mix 2S (เม.ย. 2018), Mi 8 Pro (ก.ย. 2018), Mi 8 Explorer Edition (พ.ค. 2018), Mi 8 (พ.ค. 2018), Mi 11X (เม.ย. 2021), Mi 11 Lite NE (ก.ย. 2021), Mi 10T / Mi 10T Pro (ต.ค. 2020), Mi 10 (พ.ย. 2019), 13 (มี.ค. 2022)

ดูเพิ่ม

แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง

แก้
  1. Casserly, Martyn (2015-09-28). "How to root Android: The beginner's guide to rooting, risks and benefits. How to install the latest version of Android, and how to install custom ROMs including CyanogenMod". PC Advisor. International Data Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-14. สืบค้นเมื่อ 2015-10-10.
  2. 2.0 2.1 2.2 Shankar, Shashwati (2015-09-24). "Meet Delhi teen Arz Bhatia, lead designer of OnePlus' operating system OxygenOS". The Economic Times. The Times Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-10-10.
  3. "Paranoid Android (Android ROM) AMA!". 2013-12-16. สืบค้นเมื่อ 2023-05-10.
  4. Petrovan, Bogdan (2015-02-12). "OnePlus hired the key people behind Paranoid Android". Android Authority. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-22. สืบค้นเมื่อ 2015-10-11.
  5. Cervantes, Edgar (2015-07-07). "Paranoid Android finally releases Android 5.1 builds for Nexus devices". Android Authority. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-23. สืบค้นเมื่อ 2015-10-11.
  6. Westenberg, Jimmy (2015-10-11). "Paranoid Android is pretty much over". Android Authority. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-11. สืบค้นเมื่อ 2015-10-11.
  7. 7.0 7.1 Petrovan, Bogdan (2016-06-09). "Paranoid Android is back with a big new release". Android Authority. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-09. สืบค้นเมื่อ 2016-06-09.
  8. Crider, Michael (2016-06-08). "Paranoid Android Custom ROM Returns With New Features And Fresh Marshmallow Builds For Nexus And OnePlus Devices". Android Police (Blog). Illogical Robot LLC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-10. สืบค้นเมื่อ 2016-06-11.
  9. "Post on Google+". Paranoid Android. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-11. สืบค้นเมื่อ 2019-03-11.
  10. "Being more transparent". Paranoid Android. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-11. สืบค้นเมื่อ 2019-03-11.
  11. "Paranoid Android Quartz 1". Paranoid Android Blog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-02. สืบค้นเมื่อ 2020-04-27.
  12. Deakin, Daniel R (2020-08-03). "Xiaomi Mi 9 added to the Paranoid Android Quartz 4 custom ROM list with support for the Mi A3 and Mi Mix 3 in the works". Notebookcheck. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-22. สืบค้นเมื่อ 2023-11-13.
  13. "Paranoid Android Project". Paranoid Android Project. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-07. สืบค้นเมื่อ 2023-11-14.

เชิงอรรถและอ้างอิง

แก้
a. ^ The commits to the Gerrit could previously be found at https://gerrit.aospa.co/#/q/project:AOSPA/android_device_qcom_common+branch:pie+until:2018-08-27, but have since been removed.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้