โมโตโรลา อิงค์ (อังกฤษ: Motorola, Inc.) เป็นบริษัทด้านการสื่อสารข้ามชาติ เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ผลิตวิทยุสื่อสาร เซมิคอนดักเตอร์ โทรศัพท์มือถือ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เมืองชามเบิร์ก รัฐอิลลินอย สหรัฐอเมริกา

หน่วยธุรกิจ

แก้

ประวัติ

แก้

โมโตโรลาเริ่มกิจการเมื่อ ค.ศ. 1928 ในชื่อ Galvin Manufacturing Corporation และเปลี่ยนชื่อมาเป็นโมโตโรลาในปี ค.ศ. 1947 ผู้ก่อตั้งคือนาย Paul Galvin ได้คิดชื่อโมโตโรลาเมื่อบริษัทของเขาเริ่มทำธุรกิจวิทยุติดรถยนต์ ช่วงแรกนั้นบริษัททำธุรกิจด้านวิทยุ, อุปกรณ์ทางเสียง โดยมีชื่อผลิตภัณฑ์ลงท้ายด้วยคำว่า "-ola" เช่น Victrola, Moviola เป็นต้น ชื่อ Motorola นั้นมาจากคำว่า "Motor" ซึ่งหมายถึงการที่บริษัททำธุรกิจอุปกรณ์ของรถยนต์นั่นเอง

ผลิตภัณฑ์ส่วนมากของโมโตโรลาเกี่ยวข้องกับวิทยุ เช่น วิทยุสื่อสารแบบ Walkie-Talkie, อุปกรณ์สื่อสารทางการทหาร, โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์เครือข่ายของโทรศัพท์มือถือ โมโตโรลายังเข้มแข็งในธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ เช่น แผงวงจรรวม (Integrated Circuit) และเป็นผู้ผลิตไมโครโพรเซสเซอร์รายใหญ่สำหรับคอมพิวเตอร์ในตระกูล Commodore Amiga และแมคอินทอชตั้งแต่รุ่นแรก - รุ่นที่ขายในปี 1994 นอกจากนี้ยังมีธุรกิจโมเด็ม, อุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม และเคเบิลทีวี

โมโตโรลาได้ประกาศแยกธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ออกเป็นบริษัทลูกในชื่อ Freescale Semiconductor เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2003

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 เป็นต้นมา บริษัทประสบภาวะขาดทุนสะสมต่อเนื่องถึง 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จึงได้แยกหน่วยธุรกิจเป็นสองบริษัท มีผลตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2011[1] คือ หน่วยงานโทรศัพท์เคลื่อนที่ แยกเป็นบริษัทโมโตโรลาโมบิลิตี และหน่วยงานที่เหลือแยกเป็นบริษัทโมโตโรลาโซลูชัน จากนั้นโมโตโรลาโมบิลิตีได้เข้าเจรจากับกูเกิล เกี่ยวกับสิทธิบัตรหลายรายการของโมโตโรลา ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ของกูเกิล กูเกิลประกาศเข้าซื้อกิจการโทรศัพท์มือถือโมโตโรลาโมบิลิตีเป็นผลสำเร็จเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012[2]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2014 เลอโนโวประกาศเข้าซื้อกิจการโมโตโรลาโมบิลิตีจากกูเกิล การซื้อขายสำเร็จลงในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 ด้วยมูลค่า 2.91 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]

อ้างอิง

แก้
  1. Ante, Spencer E. (January 5, 2011). "Motorola Is Split Into Two". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ January 4, 2011.
  2. "Google Official Blog: "We've acquired Motorola Mobility"". Google. สืบค้นเมื่อ May 22, 2012. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. Lenovo completes $2.91bn acquisition of Motorola from Google

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้