พระแม่เทวเสนา
เทวเสนา (สันสกฤต: देवसेना, อักษรโรมัน: Devasenā, แปลตรงตัว 'กองทัพแห่งเทวดา', ทมิฬ: தேவசேனா, อักษรโรมัน: Tēvacēṉā) เป็นหนึ่งในเทวีในศาสนาฮินดูและเป็นเทพีแห่งความปารถนา นางเป็นชายาของพระขันธกุมาร (ในประเพณีอินเดียใต้มักออกนามว่า พระมุรุกัน) [1]
เทวเสนา | |
---|---|
เทวีแห่งความปารถนา | |
พระขันธกุมารและเจ้าแม่เทวเสนา บนเทพพาหนะนกยูง จิตรกรรมแบบประเพณีอินเดียโดย ราชา รวิ วรรมา | |
ชื่ออื่น | เทวยาไนย์, อมฤตวัลลี, ษัษฐี |
ชื่อในอักษรเทวนาครี | देवसेना |
ส่วนเกี่ยวข้อง | เทวี, เกามารี, ษัษฐี |
พาหนะ | ช้าง แมว (ในภาคษัษฐี) |
คู่ครอง | พระขันธกุมาร |
บิดา-มารดา | พระอินทร์ และ พระอินทราณี หรือ พระทักษะ (ในคัมภีร์ มหาภารตะ) หรือ พระวิษณุ (ในคัมภีร์แบบประเพณีฉบับอินเดียภาคใต้) |
ในเทพปกรณัมพราหมณ์ - ฮินดู อาทิ คัมภีร์มหากาพย์มหาภารตะ กล่าวว่านางคือบุตรีของ พระประชาบดีทักษะ แต่ส่วนใหญ่ในพระคัมภีร์ภาษาสันสกฤตอันเป็นยอมรับในวงกว้างกล่าวว่านางคือราชธิดาแห่งพระอินทร์ ประมุขแห่งเทวดาและชายาพระองค์คือ พระราณีศจีเทพี ส่วนในพระคัมภีร์สกันทปุราณะในภาคภาษาทมิฬ ในภาคใต้ของอินเดีย นางคือธิดาที่ประสูติแด่พระวิษณุ และเป็นบุตรีบุญธรรมของพระอินทร์[2][3] โดยต่อมานางได้เสกเสมรสกับพระขันทกุมาร ในฐานะประมุขแม่ทัพของเหล่าเทวดา ในทมิฬ โดยเทพปกรณัมทั่วไปในหมู่ชาวทมิฬแล้วคุณลักษณะพระนางจะถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับนางวัลลี ขนิษฐาของนาง โดยทั้งสองนางนั้นร่วมกันทำให้คุณสมบัติพระสกันทกุมาร ภัสดาของนางทั้งคู่นั้นสมบูรณ์ โดยทั่วไปแล้วพระนางเทวเสนาจะปรากฎร่วมกับพระขันธกุมารและพระนางวัลลีอยู่เสมอ
ในทมิฬนาฑู โดยทั่วไปบทบาทพระนางเทวเสนามักไม่ได้รับการสักการะบูชาแยกออกเป็นเอกเทศ โดยมักบูชาร่วมกับพระขันธกุมารสามีของนาง ในฐานะชายาของพระองค์ โดยโบสถ์พราหมณ์ ณ ติรุปปะรังกุณฑรัม ซึ่งมีความสำคัญและมีบทบาทเกี่ยวกับพระนางมากที่สุดในฐานะที่เสกสมรสของนางตามเทพปกรณัมของอินเดียภาคใต้ แต่ในอินเดียภาคตะวันออกพระนางได้รับความนิยมสักการะบูชาเป็นเอกเทศอย่างมาก ในภาคพระนาม ษัษฐี เทพีผู้มีแมวเป็นเทพพาหนะและบริวาร
อ้างอิง
แก้- ↑ James G. Lochtefeld (2002). The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: A-M. The Rosen Publishing Group. pp. 185–6. ISBN 978-0-8239-3179-8.
- ↑ Rao, Mekala S. Sadhana: Living with God (ภาษาอังกฤษ). MEKALA S RAO. p. 197.
- ↑ Pattanaik, Devdutt (September 2000). The Goddess in India: The Five Faces of the Eternal Feminine (ภาษาอังกฤษ). Inner Traditions / Bear & Co. p. 29. ISBN 978-0-89281-807-5.