พระยาวรวงษามหาธรรมิกราชา
พระยาวรวงษามหาธรรมิกราชา[1] หรือ สมเด็จบรมบพิตรบรมนาถ พระโพธิวรวงศากษัตราธิราช[1] มีพระนามเดิมว่า พระวงษา[1] เป็นพระมหากษัตริย์แห่งพระราชอาณาจักรล้านช้าง พ.ศ. 2118-2123 เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าโพธิสาลราชและเป็นพระราชอนุชาร่วมมารดาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช[2][3]
พระยาวรวงษามหาธรรมิกราชา | |
---|---|
พระเจ้าล้านช้าง | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2118–2123 |
ก่อนหน้า | พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย |
ถัดไป | พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย |
สวรรคต | พ.ศ. 2123 |
พระราชบุตร | พระยามหาพรหมเทโวโพธิสัตว์[1] |
ราชวงศ์ | ล้านช้าง |
พระราชบิดา | พระเจ้าโพธิสาลราช |
พระราชมารดา | พระนางยอดคำทิพย์ |
พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์สุดท้ายของพระเจ้าโพธิสาลราช ซึ่งประสูติแต่พระนางยอดคำทิพย์[2][3]เมื่อครั้งประสูติทรงพระนามว่า พระวงษา
พ.ศ. 2092 พระเจ้าโพธิสาลราชสวรรคต เป็นเหตุให้ล้านช้างว่างกษัตริย์ลง และระหว่างนั้น เจ้าไชยเชษฐาราชกุมาร เจ้าอุปราช เสด็จไปครองอาณาจักรล้านนา จึงเกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างเจ้าศรีวรวงษาราชกุมาร และเจ้ากิจธนวราช (เจ้าท่าเฮือ) กลายเป็นสงครามกลางเมือง เจ้าศรีวรวงษาราชกุมารพ้ายแพ้จำต้องยกกำลังไปตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรี (เวียงจันทร์) เมื่อเจ้าไชยเชษฐาราชกุมารทรงทราบจึงทรงยกกำลังจากล้านนากลับมายังล้านช้างเพื่อหวังจะหยุดสงครามกลางเมืองและปลงพระบรมศพพระราชบิดา เมื่อทัพเจ้าไชยเชษฐาราชกุมารมาถึงล้านช้าง เจ้าศรีวรวงษาราชกุมารจึงนำกำลังเข้าล้อมนครเชียงทองขนาบกันกับกำลังของเจ้าไชยเชษฐาราชกุมารผู้เป็นพระเชษฐา เป็นเหตุให้เจ้ากิจธนวราชปราชัย
เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพพระราชบิดาเสร็จสิ้น เจ้าไชยเชษฐาราชกุมารทรงไม่ปรารถนาที่จะกลับไปครองล้านนาดังเดิม เจ้าศรีวรวงษาราชกุมารและเหล่าขุนนางจึงอัญเชิญเสด็จขึ้นเป็นกษัตริย์ครองล้านช้าง ทรงพระนามว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ส่วนเจ้าศรีวรวงษาราชกุมาร ทรงมีราชโองการให้เป็น เจ้ามหาอุปราชแห่งล้านช้าง
ต่อมา พ.ศ. 2103 มีการย้ายเมืองหลวงจากนครศรีสัตนาคนหุตอุตมรัตนชวาละวดีมหานคร (นครเชียงดงเชียงทอง) มายังนครจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตอุตมราชธานี (นครเวียงจันทบุรี)
พ.ศ. 2107 กองทัพพระเจ้าหงษาวดีบุเรงนองได้ยกกำลังเข้าตีล้านช้าง พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงให้อพยพผู้คนออกจากนครจันทบุรีทิ้งให้เป็นเมืองร้างแล้วให้แต่งกำลังออกซุ่มโจมตีทัพหงสาวดีแบบกองโจร เจ้ามหาอุปราชศรีวรวงษานำกำลังออกซุ่มโจมตีทัพหงสาวดีแต่ทรงถูกจับได้ หงสาวดีจึงจับตัวพระองค์ไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดีด้วย
พ.ศ. 2115 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช สวรรคต มีพระราชโอรสพระนามว่า พระหน่อเมือง ซึ่งพึ่งประสูติจากบาทบริจาริกาผู้เป็นน้องสาวของพระยาแสนสุรินทรลือไชยขว้างฟ้า เมืองแสนอัครมหาเสนาบดีผู้กำกับดูแลฝ่ายทหาร จึงเกิดการแย่งอำนาจการเป็นผู้สำเร็จราชการ ระหว่างพระยาแสนสุรินทรลือไชยขว้างฟ้าและพระยาจันทรสีหราช เมืองจันทร์อัครมหาเสนาบดีผู้กำกับดูแลฝ่ายพลเรือน พระยาแสนสุรินทร์ลือชัยชนะและได้เป็นผู้สำเร็จราชการ แต่กระทำตัวเสมือนเป็นกษัตริย์
พ.ศ. 2117 พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ยกทัพเข้าตีล้านช้าง พระยาแสนสุรินทร์ลือชัยจึงใช้แผนทิ้งเมืองหนีเข้าซ่อนตัวในป่า พระเจ้าหงสาวดีจึงให้ประกาศไปว่าการที่พระองค์ยกทัพมาครั้งนี้เพื่อกำจัดพระยาแสนสุรินทรลือชัย เอาราชสมบัติถวายแก่เจ้ามหาอุปราชศรีวรวงษาผู้สมควรได้ราชสมบัติของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เหล่าขุนนางและราษฎรจำนวนมากที่ไม่ศรัทธาในตัวพระยาแสนสุรินทรฯ จึงเข้าร่วมกับเจ้ามหาอุปราชเป็นจำนวนมาก
พ.ศ. 2118 เจ้ามหาอุปราชศรีวรวงษา จึงขึ้นเสวยราชสมบัติล้านช้าง ทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีวรวงษาธิราช ส่วนพระยาแสนสุรินทรฯและพระหน่อเมืองถูกพระเจ้าบุเรงนองนำตัวกลับไปยังหงสาวดี ในปี พ.ศ. 2119 ในช่วงแผ่นดินพระเจ้าศรีวรวงษา เนื่องจากพระองค์เป็นกษัตริย์ภายใต้การปกครองของหงสาวดี พระองค์จึงไม่มีพระราชอำนาจที่เด็ดขาดในการปกครอง การบริหารบ้านเมืองถูกแทรกแซงโดยหงสาวดี ล้านช้างจึงตกอยู่ในสภาพข้าวยากหมากแพงไม่สามารถบังคับให้เป็นปกติได้
พ.ศ. 2123 จึงเกิดกบฏขึ้นอย่างรุนแรงในพระนครจันทบุรี พระเจ้าศรีวรวงษาธิราชทรงไม่มีกำลังพอที่จะต้านกองกำลังของกบฏได้ เหล่าขุนนางจึงทูลเสด็จพระองค์ออกจากพระนครโดยทางเรือ แต่ทรงประสพอุบัติเหตุเสด็จสวรรคตระหว่างทางพร้อมด้วยพระมเหสีและพระราชธิดา
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระยาวรวงษามหาธรรมิกราชา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ลำดับกษัตริย์ลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545, หน้า 144
- ↑ 2.0 2.1 สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ลำดับกษัตริย์ลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545, หน้า 79
- ↑ 3.0 3.1 ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕, (๒๔๖๐). "พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง ตามฉบับที่มีอยู่ในศาลาลูกขุน", วิกิซอร์ซ [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.m.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87_%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99 [๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓].
ก่อนหน้า | พระยาวรวงษามหาธรรมิกราชา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย (ครั้งที่ 1) |
พระมหากษัตริย์ลาว แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง (พ.ศ. 2118 - พ.ศ. 2123) |
พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย (ครั้งที่ 2) |