รายพระนามพระมหากษัตริย์ลาว

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย
(เปลี่ยนทางจาก ลำดับกษัตริย์ลาว)

ลำดับกษัตริย์ลาว อ้างอิงตาม พงศาวดารหลวงพระบาง ชินกาลมาลีปกรณ์ และตำนานพระแก้วมรกต กรณีศักราชไม่ตรงกัน จะยึดตามตำนานพระแก้วมรกตเป็นหลัก

พระมหากษัตริย์
แห่งลาว
ราชาธิปไตยในอดีต
Royal Seal of the Kingdom of Laos.svg
ตราแผ่นดินราชอาณาจักรลาว
สมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา
เจ้ามหาชีวิตแห่งลาวพระองค์สุดท้าย

ปฐมกษัตริย์ ขุนลอ (ตามตำนาน)
พระเจ้าฟ้างุ้ม (ตามสากลนิยม)
องค์สุดท้าย สมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา
สถานพำนัก Flag of Laos (1952–1975).svg หลวงพระบาง ราชอาณาจักรลาว
เริ่มระบอบ ราวพุทธศตวรรษที่ 13 (นครเชียงทอง)
พ.ศ. 1896 (ค.ศ.​ 1353) (ล้านช้าง)
สิ้นสุดระบอบ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975)
(622 ปี)
ผู้อ้างสิทธิ์ เจ้าสุริวงศ์ สว่าง

ขุนบรมราชาธิราช (พ.ศ. 1240 – 1293) ได้ย้ายจากหนองแส (เมืองหลวงของอาณาจักรน่านเจ้า) มาอยู่ที่ใหม่เรียกว่า นาน้อยอ้อยหนู (เมืองแถนหรือเมืองกาหลง) ปัจจุบันเรียกว่าเชียงรุ่งเขตสิบสองพันนา พร้อมทั้งขยายอาณาเขตออกไปโดยส่งโอรส 7 องค์ไปครองเมืองต่าง ๆ คือ

  1. ขุนลอ - ปกครองเมืองชวา(หลวงพระบาง)
  2. ท้าวผาล้าน - ปกครองเมืองหอแต(ต้าหอ)
  3. ท้าวจุลง - ปกครองเมืองโกดแท้แผนปม
  4. ท้าวคำผง - ปกครองเมืองเชียงใหม่
  5. ท้าวงั่วอิน - ปกครองเมืองศรีอยุธยา (ละโว้)
  6. ท้าวกม - ปกครองเมืองมอน (อินทรปัต)
  7. ท้าวเจือง - ปกครองเมืองพวน (เชียงขวาง)

นครเชียงทองแก้ไข

ขุนลอ องค์ปฐมกษัตริย์ลาว ผู้ตั้งเมืองชวาเป็นราชธานีครั้งแรกเมื่อ (พ.ศ. 1300) และได้เปลี่ยนนามใหม่ว่า เมืองเชียงทอง มีกษัตริย์สืบต่อมา 16 ขุน 6 ท้าว จนมาถึงองค์ที่ 23 คือ พระยาลังธิราช

นครเชียงทอง
ลำดับ รายพระนาม ครองราชย์ (พ.ศ.)
1 ขุนลอ ราวพุทธศตวรรษที่ 13 - พ.ศ. 1323
2 ขุนชวา พ.ศ. 1323 จนสิ้นรัชกาล
3 ขุนชวาเลา ไม่ปรากฏ
4 ขุนสูง ไม่ปรากฏ
5 ขุนเค็ด ไม่ปรากฏ
6 ขุนคุม ไม่ปรากฏ
7 ขุนคีบ ไม่ปรากฏ
8 ขุนคบ ไม่ปรากฏ
9 ขุนเคา ไม่ปรากฏ
10 ขุนคาน ไม่ปรากฏ
11 ขุนแพง ไม่ปรากฏ
12 ขุนเพ็ง ไม่ปรากฏ
13 ขุนเพิง ไม่ปรากฏ
14 ขุนพี ไม่ปรากฏ
15 ขุนคำ ไม่ปรากฏ
16 ขุนฮุ่ง 1406 จนสิ้นรัชกาล
17 ท้าวแท่นโม ไม่ปรากฏ
18 ท้าวยุง ไม่ปรากฏ
19 ท้าวเยิก ไม่ปรากฏ
20 ท้าวพิน ไม่ปรากฏ
21 ท้าวพาด ไม่ปรากฏ
22 ท้าวหว่าง จนถึง 1814
23 พระยาลังธิราช 1814 - 1859
24 พระยาสุวรรณคำผง 1859 - 1887
25 เจ้าฟ้าเงี้ยว 1887 - 1894
26 เจ้าฟ้าคำเฮียว 1894 - 1896

อาณาจักรล้านช้างแก้ไข

พระเจ้าฟ้างุ้มเป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง [1] กษัตริย์พระองค์สุดท้ายในราชวงศ์คือพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2

อาณาจักรล้านช้าง
ลำดับ รายพระนาม ครองราชย์ (พ.ศ.)
1 สมเด็จพระเจ้าฟ้างุ้มมหาราช 1896 - 1915
2 สมเด็จพระเจ้าสามแสนไทไตรภูวนาท 1916 - 1959
3 พระยาล้านคำแดง (กษัตริย์หุ่น) 1959 - 1971
4 เจ้าพรหมทัต (กษัตริย์หุ่น) 1971 - 1972
5 เจ้าคำเต็มซ้า (กษัตริย์หุ่น) 1973
6 พระยาหมื่นบ้าน (กษัตริย์หุ่น) 1973
7 เจ้าไค้บัวบาน (กษัตริย์หุ่น) 1974 - 1977
8 เจ้าก้อนคำ (กษัตริย์หุ่น) 1978
9 เจ้ายุคล (กษัตริย์หุ่น) 1979
10 เจ้าคำเกิด (กษัตริย์หุ่น) 1979 - 1981
11 นางแก้วพิมพา หรือ พระมหาเทวีอามพัน 1981
12 พระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว 1981 - 2023
13 พระเจ้าสุวรรณบัลลังก์ 1981 - 2029
14 พระยาหล้าแสนไทไตรภูวนาถ 2029 - 2039
15 เจ้าชมพู 2039 - 2044
16 พระเจ้าวิชุลละราช 2044 - 2063
17 พระเจ้าโพธิศาละราช 2063 - 2090
18 เจ้ากิจธนวราธิราชหรือเจ้าท่าเรือ 2090 - 2091
19 สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช 2091 - 2114
20 พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย 2114 - 2118
21 พระเจ้าศรีวรวงษาธิราช หรือ พระมหาอุปราชศรีวรวงษา 2118 - 2123
22 พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย (ครั้งที่ 2) 2123 - 2125
23 พระยานครน้อย 2125 - 2126
24 พระหน่อเมือง (ประกาศอิสรภาพจากพม่า) 2134 - 2139
25 พระวรปิตา 2139 - 2140
26 พระเจ้าวรวงศาธรรมิกราช 2140 - 2165
27 พระอุปยุวราช 2165 - 2166
28 พระบัณฑิตโพธิศาละราช 2166 - 2170
29 พระหม่อมแก้ว 2170 - 2176
30 เจ้าวิชัย 2176 - 2179
31 เจ้าต่อนคำ 2179 - 2181
32 พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช 2181 - 2238
33 พระยาจันทสีหราช เมืองแสน 2238
34 เจ้าองค์หล่อ 2239 - 2242
35 เจ้านันทราช 2242 - 2245
36 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (พระไชยองค์เว้) 2241 - 2250

ยุคแตกแยกของอาณาจักรล้านช้างแก้ไข

ราชอาณาจักรล้านช้าง ได้แตกออกเป็นอาณาจักรต่างๆ ได้แก่ อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ เป็นต้น

อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์แก้ไข

อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์
ลำดับ รายพระนาม ครองราชย์ สิ้นสุด หมายเหตุ
1 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2
(พระไชยองค์เว้)
พ.ศ. 2250 พ.ศ. 2273 พระราชนัดดาในพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช
2 เจ้าองค์ลอง พ.ศ. 2273 พ.ศ. 2283 พระราชโอรสในพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2
3 เจ้าอุปราช (ท้าวนอง) พ.ศ. 2283 พ.ศ. 2294 พระราชอนุชาในพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2
4 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3
(พระเจ้าศิริบุญสาร)
พ.ศ. 2294 พ.ศ. 2322 พระราชโอรสในเจ้าองค์ลอง, เสียเอกราชแก่สยามในปี พ.ศ. 2322
5 พระเจ้านันทเสน พ.ศ. 2325 พ.ศ. 2337 พระราชโอรสในพระเจ้าศิริบุญสาร, ปีครองราชย์ตามพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา
6 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 4
(พระเจ้าอินทวงศ์)
พ.ศ. 2337 พ.ศ. 2348 พระราชอนุชาในพระเจ้านันทเสน, พระอัยกาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
7 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 5
(เจ้าอนุวงศ์)
พ.ศ. 2348 พ.ศ. 2371 พระราชอนุชาในพระเจ้านันทเสนและพระเจ้าอินทวงศ์, สิ้นวงศ์กษัตริย์เวียงจันทน์ หลังพระองค์พยายามแยกตัวเป็นอิสระจากสยามกรุงเทพฯ​ แต่ไม่สำเร็จ

อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์แก้ไข

อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์
ลำดับ รายพระนาม ครองราชย์ สิ้นสุด หมายเหตุ
1 พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร พ.ศ. 2256 พ.ศ. 2280 พระราชนัดดาของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช
2 พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร พ.ศ. 2280 พ.ศ. 2334 พระราชโอรสในพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร เสียเอกราชแก่สยามในปี พ.ศ. 2322
3 พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช
(ท้าวหน้า)
พ.ศ. 2334 พ.ศ. 2354 บุตรพระตาเมืองหนองบัวลำภู เชื้อสายเจ้าอุปราชนองเมืองนครหลวงเวียงจันทน์ ได้เป็นพระประเทศราชปกครองเมืองจำปาศักดิ์ในฐานะขุนนางสยามมิได้เป็นกษัตริย์ประเทศราชแต่อย่างใด โดยได้ความชอบในการปราบปรามกบฏอ้ายเชียงแก้ว น้องชายของพระปทุมววรราชสุริยวงษ (ท้าวคำผง) แห่งเมืองอุบลราชธานีศรีวะนาไลประเทษราช
4 เจ้านู พ.ศ. 2354 พระราชโอรสในพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร ถึงแก่พิราลัยหลังรับสุพรรณบัตรเจ้าเมืองได้ 3 วัน
5 เจ้าหมาน้อย พ.ศ. 2356 พ.ศ. 2360 พระราชนัดดาในพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร
6 เจ้าราชบุตร (โย้) พ.ศ. 2362 พ.ศ. 2370 พระราชโอรสในเจ้าอนุวงศ์ ร่วมกับเจ้าอนุวงศ์ประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากไทยในปี พ.ศ. 2369 - 2370
7 เจ้าฮุย พ.ศ. 2371 พ.ศ. 2383 พระราชนัดดาในพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร
8 เจ้านาค พ.ศ. 2384 พ.ศ. 2393 พระเชษฐาของเจ้าฮุย
9 เจ้าบัว พ.ศ. 2396 พ.ศ. 2398 หนังสือ ลำดับกษัตริย์ลาว ระบุว่า ยุคนี้ว่างเจ้าผู้ครองนคร 5 ปี (2394-98)
10 เจ้ายุติธรรมสุนทร (คำใหญ่) พ.ศ. 2399 พ.ศ. 2401 พระราชโอรสในเจ้าฮุย หลังถึงแก่พิราลัย เจ้าอุปราช (จู) รักษาราชการแทน
11 เจ้ายุติธรรมธร (คำสุก ณ จำปาศักดิ์) พ.ศ. 2405 พ.ศ. 2443 พระราชโอรสในเจ้าฮุย พระราชอนุชาในเจ้ายุติธรรมสุนทร (คำใหญ่)
12 เจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์) พ.ศ. 2443 พ.ศ. 2489 พระราชโอรสในเจ้ายุติธรรมธร (คำสุก ณ จำปาศักดิ์) หลัง พ.ศ. 2446 ฝรั่งเศสลดฐานะเป็นผู้ว่าราชการนครจำปาศักดิ์ ต่อมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ ภายใต้การปกครองของไทย พ.ศ. 2484 - 2489

อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางแก้ไข

อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง
ลำดับ รายพระนาม ครองราชย์ สิ้นสุด หมายเหตุ
1 เจ้ากิ่งกิสราช พ.ศ. 2246 พ.ศ. 2265 พระราชนัดดาในพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช
2 เจ้าองค์คำ พ.ศ. 2265 พ.ศ. 2266 พระราชโอรสในเจ้าอินทรกุมาร เชื้อสายกษัตริย์เมืองเชียงรุ้ง
3 เจ้าอินทโฉม พ.ศ. 2266 พ.ศ. 2292 พระราชอนุชาในเจ้ากิ่งกิสราช
4 เจ้าอินทพรหม พ.ศ. 2292 พ.ศ. 2293 พระราชโอรสในเจ้าอินทโฉม ครองราชย์ 8 เดือน จึงถวายราชสมบัติให้เจ้าโชติกะ
5 เจ้าโชติกะ พ.ศ. 2293 พ.ศ. 2314 พระเชษฐาองค์โตในเจ้าอินทพรหม
6 เจ้าสุริยวงศ์ พ.ศ. 2314 พ.ศ. 2334 พระราชอนุชาในเจ้าโชติกะ เสียเอกราชแก่สยามเมื่อปี พ.ศ. 2322
7 เจ้าอนุรุทธ พ.ศ. 2334 พ.ศ. 2359 พระราชโอรสองค์ที่ 2 ในเจ้าอินทโฉม พระเชษฐาในเจ้าสุริยวงศ์
8 เจ้ามันธาตุราช พ.ศ. 2359 พ.ศ. 2378 พระราชโอรสในเจ้าอนุรุทธ
9 เจ้าสุกเสริม พ.ศ. 2381 พ.ศ. 2393 พระราชโอรสในเจ้ามันธาตุราช
10 พระเจ้าจันทรเทพประภาคุณ
(เจ้าจันทราช)
พ.ศ. 2395 พ.ศ. 2414 พระราชอนุชาในเจ้าสุกเสริม
11 พระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร
(เจ้าอุ่นคำ)
พ.ศ. 2415 พ.ศ. 2431 พระราชอนุชาในพระเจ้าจันทรเทพประภาคุณ พระราชโอรสในเจ้ามันธาตุราช, เกิดเหตุโจรจีนฮ่อยกทัพปล้นสะดมตามหัวเมืองลาวต่างๆ เป็นเวลาหลายปี เมืองหลวงพระบางถูกเผาจากเหตุการณ์ครั้งนี้, รัชกาลที่ 5 ทรงให้ออกจากตำแหน่งเจ้านครหลวงพระบาง ฐานหย่อนสมรรถภาพ, ถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. 2438
12 พระเจ้าสักรินทรฤทธิ์
(เจ้าคำสุก)
พ.ศ. 2432 พ.ศ. 2448 พระราชโอรสในพระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร สมัยนี้ดินแดนลาวตกเป็นของฝรั่งเศส
13 พระเจ้าศรีสว่างวงศ์ พ.ศ. 2447 พ.ศ. 2488 พระราชโอรสในพระเจ้าสักรินทรฤทธิ์ หลัง พ.ศ. 2488 ทรงเปลี่ยนพระราชฐานะเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรลาว

พระราชอาณาจักรลาวแก้ไข

พระราชอาณาจักรลาว
(ພຣະຣາຊອານາຈັກລາວ)
ลำดับ รูป รายพระนาม ครองราชย์ สิ้นสุด หมายเหตุ
1 Sisavang Vong roi de Luang Prahang.jpg พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ พ.ศ. 2488 พ.ศ. 2502 ก่อนหน้านี้มีพระอิสริยยศเป็น พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง
2 Savang Vatthana 1959.jpg พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา
(ลาว: ພຣະບາດສົມເດັດພຣະເຈົ້າມະຫາຊີວິດສີສະວ່າງວັດທະນາ)
พ.ศ. 2502 พ.ศ. 2518 สละราชสมบัติ หลังพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเข้ากุมอำนาจรัฐสำเร็จ ต่อมาถูกส่งตัวไปค่ายสัมมนาที่เมืองเวียงชัย และเสด็จสวรรคตที่นั่น

ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ลาวแก้ไข

ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ลาว
ลำดับ รายพระนาม ครองราชย์ สิ้นสุด หมายเหตุ
1 พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2521?2527 อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ลาว หลังถูกถอดออกจากราชสมบัติ
2 เจ้าฟ้าชายมกุฎราชกุมารวงศ์สว่าง พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2524
3 เจ้าสุริวงศ์ สว่าง พ.ศ. 2524 ปัจจุบัน พระโอรสในเจ้าฟ้าชายมกุฎราชกุมารวงศ์สว่าง

= ราชสกุลลาวแก้ไข

  • ศรีสว่าง ณ ล้านช้าง
  • ศิริบุตร (พระราชทาน)
  • ศรีสว่าง
  • สว่าง
  • สูรยะวงศ์สว่าง
  • แก้วมงคล
  • ธนสีลังกูร (พระราชทาน)
  • จันทรสาขา
  • จันทราช
  • ณ ร้อยเอ็จ (พระราชทาน)
  • ขัติยวงศ์
  • ณ หนองคาย (พระราชทาน)
  • ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม (พระราชทาน)
  • สุวรรณเลิศ
  • สุวรรณวิเศษ
  • เรืองสุวรรณ
  • เจริญศิริ
  • อัตถากร
  • รักษิกกะจันทน์ หรือ รักษิกจันทร์ (พระราชทาน)
  • รัตนะวงศะวัต (พระราชทาน)
  • รัตนวงศา
  • ประจันตเสน (พระราชทาน)
  • เสนอพระ
  • นครศรีบริรักษ์
  • อุปฮาด
  • สุนทรพิทักษ์
  • สุนทรพิพิธ
  • สุวรรณธาดา (พระราชทาน)
  • สิงหศิริ (พระราชทาน)
  • สิงคศิริ
  • สิมะสิงห์
  • สิริสิงห์
  • สิระสิงห์
  • สังขศิลา
  • พิสัยพันธ์
  • โพธิเสน
  • โพธิเสน ณ หนองคาย
  • พงษ์สุวรรณ
  • พรหมเทพ (พระราชทาน)
  • อัคควงศ์
  • อรรควงษ์
  • พะเวียงคำ
  • ไชยสุกา
  • ไชย​มูล​วงศ์​
  • เรืองสนาม
  • อินทร์เอี่ยม ณ จำปาสัก
  • ณ จำปาสัก
  • วัฒนศักดิ์
  • วลัยศรี
  • แสงสุระ
  • รักษาเมือง
  • พิทักษ์เขื่อนขันธุ์
  • วรฉัตร
  • วงศ์ ณ รัตน์
  • วงศ์รัตน์
  • พระวงศ์รัตน์
  • จันทนากร
  • ชาลีจันทร์
  • มณีวงศ์
  • จันทรศร (พระราชทาน)
  • อินตะนัย
  • รัตนเวฬุ
  • อัคฮาด
  • อรรคฮาด
  • วงศ์วรบุตร
  • วรบุตร

ดูเพิ่มแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  • เติม วิภาคย์พจนกิจ. ประวัติศาสตร์อีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2546.
  • คำหมั้น วงกตรัตนะ,เจ้า.พงศาวดารชาติลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2 .เวียงจันทน์:หอสมุดแห่งชาติ.1971.
  • สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ลำดับกษัตริย์ลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร. 2545.