พระเจ้าภรตจักรพรรดิ
ภรตจักรวรรติน หรือ ภรตะ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิของอวสรรปิณี (ครึ่งวัฏจักรเวลาปัจจุบันตามจักรวาลวิทยาเชน)[1] พระองค์เป็นบุตรคนโตของพระอาทินาถ ตีรถังกรองค์แรกของศาสนาเชน ตามที่ระบุไว้ในปุราณะของเชนและฮินดูบอกว่า ชื่อเก่าแก่ของดินแดนอินเดียทั้ง “ภารตวรศะ”, “ภารตะ” หรือ “ภารตภูมิ” ตั้งตามชื่อของพระภรตะ พระองค์มีบุตรสองคนกับพระนางสุนันทาคืออรกากีรติ และ มาริจี พระองค์ปกครองโลกทั้งหกส่วนและต่อสู้กับพระพาหุพลี น้องชายของพระองค์เองเพื่อปกครองเมืองที่เหลือเมืองสุดท้าย
ภรตะ | |
---|---|
พระเจ้าจักรพรรดิ (จักรพรรดิของจักรวาล) | |
รูปปั้นภรตะที่เขาจันทรคีรี ศรวัณเพลโคละ | |
สืบทอดตำแหน่งโดย | พระเจ้าสาคร |
สีกาย | ทอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | |
เสียชีวิต | |
คู่ครอง | พระนางสุภัตรา |
บุตร - ธิดา | มาริจี, อรกากีรติ |
บิดา-มารดา |
|
งานเขียนของเชนระบุว่าพระเจ้าภรตจักรพรรดิเป็นผู้ริเริ่มตั้งวรรณะพราหมณ์[1][2] ในคัมภีร์ของนิกายทิคัมพรระบุว่าท้ายที่สุด พระภรตะได้ละทิ้งชีวิตทางโลก และออกบวชจนเข้าถึงเกวลญาณ (สัพพัญญู) แต่ในคัมภีร์ของเศวตามพรระบุว่าไม่ได้สละชีวิตทางโลก แต่เข้าถึงเกวลญาณหลังบิดาของพระองค์เสียชีวิต[1]
การออกผนวช
แก้คัมภีร์ของเชนระบุว่า วันหนึ่งภรตะพบผมหงอกของตนและเชื่อว่าเป็นสัญญาณถึงอายุที่มากขึ้นและความไม่เที่ยง ทันใดนั้นภรตะก็ตัดสินใจออกบวชเป็นสงฆ์ในศาสนาเชน ด้วยการค่อย ๆ ตัดกิเลสและละทิ้งทางโลก ในที่สุดพระภรตะก็สามารถกำจัดกรรมอันไม่เป็นมิตรของตนได้ภายใน “อันตรมุหูรตะ” (antaramuhūrta - น้อยกว่า 48 นาที) และเข้าถึงเกวลญาณ[3]
ศาสนสถาน
แก้เชนสถานบางแห่งมีรูปเคารพของพระภรตจักรพรรดิในลักษณะบองนักบวชเชน เช่นที่ศรวัณเพลโคละ กูทัลมานิกยัมไชนมนเทียร (Koodalmanikyam Temple) ในรัฐเกรละนั้นดั้งเดิมเป็นเชนสถานที่มีพระภรตจักรพรรดิเป็นเทพเจ้าหลัก เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017 รูปปั้นของพระภรตะที่สูงที่สุดได้สร้างขึ้นในมงคลคีรี (ศรีเกษตรภรตะ) ในเมืองสาคร รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย มีความสูง 45 ฟุต (รวมฐานซึ่งสูง 12 ฟุต) น้ำหนักกว่า 59 ตัน ถึงแม้ว่าแรกเริ่มเดิมทีตั้งใจจะสร้างรูปปั้นที่สูงถึง 57 ฟุต รวมฐานซึ่งสูง 12 ฟุต น้ำหนักกว่า 100 ตัน แต่ชิ้นส่วนของรูปปั้ปนนั้นเสียหายก่อนจึงสร้างรูปปั้นที่ขนาดเล็กกว่าแทน[4]
งานเขียน
แก้- อาทิปุราณะ (ศตวรรษที่ 10) เป็นคัมภีร์เชนที่ระบุถึงชีวิต 10 ชาติของตีรถังกรองค์แรก พระฤษภนาถ และบุตรทั้งสองคือพระภรตะและพระพาหุพลี[5][6]
- ภรเตศไวภวะ หรือ ภรเตศวร จาริเต เล่าเรื่องราวชีวิตของพระภรตะ เขีนขึ้นในศตวรรษที่ 16 โดยรัตนกรวรรณี
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Kristi L. Wiley (2004). Historical Dictionary of Jainism. Scarecrow Press. p. 54. ISBN 978-0-8108-6558-7.
- ↑ Helmuth von Glasenapp (1999). Jainism: An Indian Religion of Salvation. Motilal Banarsidass. pp. 352–353. ISBN 978-81-208-1376-2.
- ↑ Vijay K. Jain 2013, p. xii.
- ↑ Mahamastakabhishek being done daily in Lord Mangalgiri, Lord Bharat, Dainik Bhaskar, May 11, 2017
- ↑ "History of Kannada literature", kamat.com
- ↑ Students' Britannica India, vol. 1–5, Popular Prakashan, 2000, ISBN 0-85229-760-2
บรรณานุกรม
แก้- Jain, Vijay K. (2013), Ācārya Nemichandra's Dravyasaṃgraha, Vikalp Printers, ISBN 9788190363952,
บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- Sangave, Vilas Adinath (2001), Facets of Jainology: Selected Research Papers on Jain Society, Religion, and Culture, Mumbai: Popular Prakashan, ISBN 978-81-7154-839-2
- Jaini, Padmanabh S. (2000), Collected Papers on Jaina Studies, Motilal Banarsidass, ISBN 81-208-1691-9
- Glasenapp, Helmuth Von (1999), Jainism: An Indian Religion of Salvation [Der Jainismus: Eine Indische Erlosungsreligion], Delhi: Motilal Banarsidass, ISBN 81-208-1376-6
- Jaini, Padmanabh S. (1998) [1979], The Jaina Path of Purification, Delhi: Motilal Banarsidass, ISBN 81-208-1578-5
- Titze, Kurt (1998), Jainism: A Pictorial Guide to the Religion of Non-Violence (2 ed.), Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1534-6
- Shah, Umakant P. (1987), Jaina-rūpa-maṇḍana: Jaina iconography, Abhinav Publications, ISBN 81-7017-208-X
- Jain, Champat Rai (1929), Risabha Deva - The Founder of Jainism, Allahabad: The Indian Press Limited,
บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- Nagraj, Muni, Āgama and Tripiṭaka: A Comparative Study : a Critical Study of the Jaina and the Buddhist Canonical Literature, vol. 1, Today & Tomorrow's Printers and Publishers, ISBN 978-81-7022-730-4