พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสงี่ยม

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสงี่ยม (17 มีนาคม พ.ศ. 2358 – 22 มกราคม พ.ศ. 2432) เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 17 ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจัน[1] หรือออกนามว่าจันเขมร[2] เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2358 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2359)

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสงี่ยม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 3
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ17 มีนาคม พ.ศ. 2359
สิ้นพระชนม์22 มกราคม พ.ศ. 2433 (73 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาจัน ในรัชกาลที่ 3

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสงี่ยม เป็นหนึ่งในเจ้านายฝ่ายในที่ได้รับเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2425

หลังจากทรงประชวรเรื้อรังมาช้านาน ล่วงมาในเดือนกรกฎาคมพระองค์มีเม็ดขึ้นที่พระชิวหา แม้จะมีแพทย์หลวงเข้ามาถวายการรักษาแต่พระอาการก็ไม่ดีขึ้น[3] ที่สุดพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2432 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2433) สิริพระชันษา 73 ปี และมีพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดสระเกศ เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2435 พร้อมกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจามรี[4][5] พระขนิษฐาต่างพระมารดา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
พระองค์เจ้าเสงี่ยม
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2554, หน้า 276
  2. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 41.
  3. "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 6 (43): 373. 26 มกราคม พ.ศ. 2432. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. "ข่าวพระราชทานเพลิงพระบุพโพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 9 (44): 395. 29 มกราคม พ.ศ. 2435. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. "การพระเมรุวัดสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 9 (44): 395. 29 มกราคม พ.ศ. 2435. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)