พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี[1] (26 ตุลาคม พ.ศ. 2363 - 26 มกราคม พ.ศ. 2409) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพึ่ง ประสูติเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2363

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นอุดมรัตนราษี
ประสูติ26 ตุลาคม พ.ศ. 2363
สิ้นพระชนม์26 มกราคม พ.ศ. 2409
พระบุตร6 พระองค์
ราชสกุลอรรณพ
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาพึ่ง ในรัชกาลที่ 3
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี มีพระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าอรรณพ (บางแห่งสะกดว่าอรนพ) เป็นพระราชโอรสที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะให้สืบต่อราชสมบัติ ซึ่งครั้งหนึ่งมีพระราชประสงค์จะมอบสัญลักษณ์แห่งการสืบราชบัลลังก์ คือพระประคำทองคำของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่ก็เกิดการหยิบผิดหรือสับเปลี่ยน นำพระประคำองค์ปลอมไปถวาย ว่ากันว่าเป็นลางให้พระองค์เจ้าอรรณพต้องพลาดจากราชบัลลังก์ไป ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้มีบันทึกไว้ดังนี้[2]

"ในวันอังคาร เดือน 11 ขึ้น 6 ค่ำนั้น มีรับสั่งให้ภูษามาลาเชิญหีบพระเครื่องมาถวาย แล้วทรงเลือกพระประคำทองสาย 1 อันเป็นของพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระประคำทองสายนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคต จะพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอรรณพ ซึ่งได้เป็นกรมหมื่นอุดมรัตนราศีในรัชกาลที่ 4 แต่บังเอิญเจ้าพนักงานหยิบผิดสาย กรมหมื่นอุดมไม่ได้ไป จึงถือว่าเป็นของสิริมงคลสำหรับแต่ผู้มีบุญญาภินิหาร) กับพระธำมรงค์เพ็ชร์องค์ 1 ให้พระราชโกษา (ชื่อ จัน ในรัชกาลที่ 5 เป็นพระยา เป็นบิดาพระยาอุทัยธรรม (หรุ่น วัชโรทัย)) เชิญตามเสด็จพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดี ไปพระราชทานสมเด็จเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า ฯ กรมขุนพินิตประชานาถ พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีเสด็จออกมาทูลกรมหลวงวงศาธิราชสนิท และบอกให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ ซึ่งพร้อมกันอยู่ที่ท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้ทราบตามกระแสรับสั่ง กรมหลวงวงศาธิราชสนิทและเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ ก็ไปยังพระตำหนักสวนกุหลาบ ด้วยเวลานั้นปิดความไม่ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ฯทรงทราบว่าสมเด็จพระบรมชนกนาถประชวรพระอาการมาก เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ จึงแนะพระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีให้ทูลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ฯ ว่าของทั้ง 2 สิ่งนั้นพระราชทานเป็นของขวัญ โดยทรงยินดีที่ได้ทรงทราบว่าพระอาการ ที่ประชวรค่อยคลายขึ้นเมื่อพระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีไปทูล สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ดำรัสถามว่า ของขวัญเหตุใดจึงพระราชทานพระประคำ พระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกด้วย แต่ก็ไม่มีผู้ใดทูลตอบว่ากระไร เมื่อถวายสิ่งของแล้วต่างก็กลับมา"

ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น กรมหมื่นอุดมรัตนราศี[3] และในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ใช้คำนำพระนามว่าพระเจ้าบรมวงษ์เธอ[4]

พระองค์ได้ทรงสร้างวัดแห่งหนึ่งขึ้น แต่พระองค์สิ้นพระชนม์ก่อนที่วัดจะแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้มีพระราชดำริให้สร้างต่อ พร้อมทั้งพระราชทานเงินช่วยถึง 1,000 ชั่ง เมื่อวัดแล้วเสร็จพระองค์จึงพระราชทานชื่อวัดว่า "วัดมหรรณพารามวรวิหาร"

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคเป็นง่อย เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2409

พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุลอรรณพ[5] ทรงมีพระโอรสพระธิดาดังนี้

  1. หม่อมเจ้าใหญ่ อรรณพ (พระราชทานเพลิง ณ วัดราชสิทธาราม พ.ศ. 2406)
  2. หม่อมเจ้าเกียรติคุณ อรรณพ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438)
  3. หม่อมเจ้าพรประสิทธิ์ อรรณพ (ประสูติ พ.ศ. 2430 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2443 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2444)
  4. หม่อมเจ้าอมรอำนวยวงศ์ อรรณพ (ประสูติ พ.ศ. 2410 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 พระราชทานเพลิง พ.ศ. 2455) ทรงเสกสมรสกับหม่อมศิลา อรรณพ ณ อยุธยา มีธิดา คือ หม่อมราชวงศ์หญิงเลื่อน อรรณพ
  5. หม่อมเจ้าหญิงจริตอัปสร อรรณพ หรือ หม่อมเจ้าหญิงอัปศร บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าหญิงอักษร
  6. หม่อมเจ้าเจตกูล อรรณพ (พระราชทานเพลิง ณ วัดตรีทศเทพ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2445)

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. ราชสกุลวงศ์, หน้า 44
  2. ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๕๒ จดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต. [พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียบเรียงทูลเกล้า ฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์พระราชทานในงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร ครบสัปตมวาร ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒]
  3. พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔: ๑๒. ตั้งกรมเจ้านาย
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงษานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (ก): 154–155. 30 กรกฎาคม ร.ศ. 130. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. "ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๔๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 (0 ง): 167. 23 เมษายน 2459. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
บรรณานุกรม
  • ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (พ.ศ. 2477). "พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help) [ที่ระลึก ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงธรรมสารเนติ (อบ บุนนาค)]
  • บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. ราชสกุลพระบรมราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : องค์การค้าของคุรุสภา, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2539. ISBN 974-005-650-8 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
  • ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า 71, 141. ISBN 974-221-818-8
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 44-45. ISBN 978-974-417-594-6