พระราชเขมากร (ประยุทธ ภูริทตฺโต)

รองศาสตราจารย์ ดร. "พระราชเขมากร" ฉายา ภูริทตฺโต นามเดิม ณัฐพงศ์ วงศ์ยศ ผู้จัดการโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา เจ้าคณะจังหวัดแพร่ และเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร

พระราชเขมากร

(ณัฐพงศ์ ภูริทตฺโต)
ชื่ออื่นท่านเจ้าคุณ พระมหาประยุทธ ป.ธ.9
ส่วนบุคคล
เกิด4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 (58 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นเอก
เปรียญธรรม 9 ประโยค
พธ.บ. เกียรตินิยม
M.A.(Psy.)
Ph.d (Psy.)
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร จังหวัดแพร่
อุปสมบทพ.ศ. 2529
พรรษา37
ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดแพร่
เจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร

ประวัติ

แก้

พระราชเขมากร มีนามเดิมว่า ประยุทธ วงศ์ยศ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 ณ บ้านเลขที่ 23 หมู่ 3 ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ โยมมารดาชื่อนางคำ วงศ์ยศ บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ณ พัทธสีมาวัดนาหลวง ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ มีพระครูอดุลยธรรมรังสี (หลวงปู่สี) เจ้าอาวาสวัดนาหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ จำพรรษาอยู่ที่วัดนาแก และศึกษาพระปริยัติธรรมที่แผนกธรรมสำนักศาสนศึกษาวัดพระธาตุศรีดอนคำ และสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท

ปีพ.ศ. 2523 นางคำ วงศ์ยศ มารดาได้เสียชีวิต จิตใจเริ่มสับสนวุ่นวาย หลังเทศกาลสงกรานต์ จึงขอลาสิกขากับครูบาสมจิต จิตตฺคุตโต แต่ครูบาท่านไม่อนุญาต ท่านให้ข้อคิดว่า สึกไปก็ช่วยอะไรใครไม่ได้ จงช่วยตัวเองเสียก่อน จากนั้นจึงตัดสินใจไม่ลาสิกขา ก่อนย้ายมาเรียนภาษาบาลี ที่สำนักวัดหนองม่วงไข่ โดยมีพระราชรัตนมุนี (รส คันธรโส) เจ้าคณะจังหวัดแพร่ และเจ้าสำนักศาสนศึกษา หลังจากสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค จึงลากลับไปเยี่ยมบ้านที่อำเภอลอง และเข้าไปกราบพระครูวิจิตรนวการโกศล (ครูบาสมจิต จิตตคุตโต) วัดสะแล่ง และอุปสมบทที่วัดสะแล่ง ได้รับฉายานามว่า ภูริทตฺโต ต่อมาได้ไปศึกษาต่อที่วัดคลองโพธิ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ หลังจากนั้นท่านได้รับคำแนะนำจากพระเทพปริยัติเมธี (รุ่น) ให้ไปสอบเปรียญธรรมประโยค 9 ท่านจึงตัดสินใจเดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร แต่การจะหาวัดอยู่จำพรรษาในสมัยนั้นหายากยิ่ง สุดท้ายได้พำนักที่วัดใหม่พิเรนทร์ ด้วยความเมตตาจากเจ้าอาวาส โดยมีข้อแม้ว่า ภายใน 3 ปี หากสอบไม่ได้ต้องออกจากวัด พร้อมกันนี้ พระมหาประยุทธ ยังสมัครสอบเรียนที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่วัดมหาธาตุ ใช้เวลา 4 ปี ได้ปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ. เกียรตินิยม) พร้อมกับสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค เมื่อปี พ.ศ. 2538 และได้ศึกษาต่อปริญญาโท M.A.(Psy.) และ Ph.d(Psy.)[1]

วิทยาฐานะ

แก้

และได้ศึกษาต่อจนจบปริญญาโท M.A. (Psy.) และปริญญาเอก Ph.d (Psy.)

การปกครองสงฆ์

แก้
  • พ.ศ. 2541 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้รับตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร
  • ดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดแพร่
  • ดำรงตำแหน่งเป็นเรองเจ้าคณะจังหวัดแพร่
  • ดำรงตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์วิสามัญ
  • เป็นรักษาการเจ้าอาวาส วัดหนองม่วงไข่
  • พ.ศ. 2554 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดแพร่

งานด้านการศึกษา

แก้

หลังจากสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ได้รับสนองงานของคณะสงฆ์ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ตามความประสงค์ของ พระธรรมรัตนากร รองเจ้าคณะภาค 6

  • พ.ศ. 2553 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมสำนักวัดคลองโพธิ์
  • เป็นอาจารย์ใหญ่สำนักศาสนศึกษา วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร
  • เป็นพระปริยัติ นิเทศก์จังหวัดแพร่
  • เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดหนองม่วงไข่
  • เป็นประธานพระปริยัตินิเทศก์หนเหนือ
  • เป็นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนแพร่ปัญญานุกุล
  • เป็นกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา
  • เป็นคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 1
  • เป็นเจ้าสำนักเรียนจังหวัดแพร่

เกียรติยศและเกียรติคุณ

แก้

สมณศักดิ์

แก้
  • 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระเมธีธรรมาลังการ[2]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเขมากร ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]

สมณศักดิ์ต่างประเทศ

แก้
  • 19 มกราคม พ.ศ. 2561 ได้รับการแต่งตั้งสมศักดิ์เป็นพระครูบา ที่ พระครูบาพระราชเขมากร ประยุทธ ภูริทตฺโต จากสมเด็จอาชญาธรรมพระเจ้า เขมจารมหาเถระ สมเด็จพระสังฆราชนครเชียงตุง ประเทศเมียนมาร์

เกียรติคุณที่ได้รับ

แก้
  • พ.ศ. 2550 ได้รับรางวัลเสาเสมาธรรมจักรทองคำ ผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา ประเภทส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สาขาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ
  • พ.ศ. 2550 ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ผู้สนองงานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการสนับสนุน โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา
  • พ.ศ. 2552 ได้รับรางวัลพัดยศสมณาคุณสภากาชาดชั้นที่ 3 โล่คนดีศรีพุทธศาสน์ รางวัล และเงินรางวัล 33,000 บาท จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

อ้างอิง

แก้
  1. อริยะโลกที่ 6 .สมฤทธิ์ ชัยพลังฤทธิ์ .สืบค้นวันที่ 29 มกราคา พ.ศ. 2560
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (15 ข ฉบับทะเบียนฐานันดร): 11. 15 กันยายน พ.ศ. 2547. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-30. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม พ.ศ. 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 131 (20 ข): 3. 26 กันยายน พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม พ.ศ. 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)