พระฝาง (พระพุทธรูป)

(เปลี่ยนทางจาก พระพุทธรูปพระฝาง)

พระฝาง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช ศิลปะสมัยอยุธยาวัสดุสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 1 ศอก 1 คืบเศษ (31 นิ้ว) พระพุทธรูปองค์นี้สันนิษฐานว่าสร้างโดยเจ้าพระฝาง ในสมัยที่เป็นสังฆราชาเมืองฝาง และเคยเป็นพระประธานในอุโบสถวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ จนในปี พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดให้อัญเชิญองค์พระฝางมาประดิษฐานที่มุขเด็จ พระวิหารสมเด็จ ส.ผ. วัดเบญจมบพิตรกรุงเทพมหานคร จนถึงปัจจุบัน

พระฝาง
ชื่อเต็มพระฝาง
ชื่อสามัญพระฝาง
ประเภทพระพุทธรูป
ศิลปะศิลปะอยุธยา ปางมารวิชัย
ความกว้าง1 ศอก
วัสดุสัมฤทธิ์
สถานที่ประดิษฐานบุษบกหน้าพระวิหารสมเด็จ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

ประวัติ

แก้
 
ฐานพระเปล่า ในอุโบสถวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ จังหวัดอุตรดิตถ์สถานที่ ๆ เคยประดิษฐานพระฝางในอดีต

พระฝาง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ประมาณ พ.ศ. 2280 มีพุทธลักษณะที่งดงาม เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญของแผ่นดินไทยอีกองค์หนึ่ง สันนิษฐานว่าผู้สร้างคือพระพากุลเถระ พระสังฆราชแห่งเมืองฝาง (เจ้าพระฝาง) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระฝางในขณะนั้น เดิมพระฝางเป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถวัดพระฝางหรือวัดสว่างคบุรีมุนีนาถ

พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยกทัพหลวงมาตีชุมนุมพระฝางได้ และโปรดเกล้าฯ ให้รับละครขึ้นมาสมโภช ที่วัดพระฝางถึง 7 วัน เท่ากันกับการสมโภชพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ซึ่งนับว่าเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองไทยองค์หนึ่งในรัชสมัยของ สมเด็จพระปิยมหาราช (รัชกาลที่5) ได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระฝางไปประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามจนถึงปัจจุบัน

อัญเชิญพระฝางไปยังวัดเบญจมบพิตร

แก้

ในปี พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดให้อัญเชิญองค์พระประธาน ที่เรียกกันว่า “พระฝาง” ลงมายังวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ โดยทิ้งฐานพระไว้ที่เดิม

พ.ศ. 2451 ปรากฏพระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า “ให้จำลองรูปพระฝาง ได้สั่งให้ช่างรีบปั้นหุ่นถ่ายรูปไว้แล้ว ให้กระทรวงมหาดไทยคิดจัดพระฝางกลับคืนไปไว้ที่เมืองฝางตามเดิมให้ทันฤดูน้ำ นี้”

แต่ในปัจจุบันนี้ เกินเวลาหนึ่งร้อยปีแล้ว องค์พระฝางก็ยังประดิษฐานอยู่วัดเบญจมบพิตร มิได้กลับคืนไปอุตรดิตถ์ ตามพระราชดำริแต่ประการใด[1]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. สูจิบัตรการแสดง แสง เสียง เรื่อง "สวางคบุรีแก้วเกล้าขวัญแผ่นดิน" วันที่ ๑-๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ.แผ่นพับประชาสัมพันธ์: จังหวัดอุตรดิตถ์ , 2551.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้