พระพรหมวชิรมงคล (ลือชัย คุณวุฑฺโฒ)
พระพรหมวชิรมงคล นามเดิม ลือชัย ไสยวรรณโณ ฉายา คุณวุฑฺโฒ เป็นเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร[1]
พระพรหมวชิรมงคล (ลือชัย คุณวุฑฺโฒ) | |
---|---|
![]() | |
คำนำหน้าชื่อ | พระเดชพระคุณ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | วันจันทร์ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 (94 ปี) |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
การศึกษา | น.ธ.เอก, ป.ธ.7 |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 |
พรรษา | 74 |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร |
ประวัติ
แก้พระพรหมวชิรมงคล นามเดิม ลือชัย นามสกุล ไสยวรรณโณ ฉายา คุณวุฑฺโฒ เป็นบุตรของนายหวาน กับนางยก ไสยวรรณโณ เกิดเมื่อวันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พุทธศักราช 2473 ที่อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา บรรพชาอุปสมบทเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พุทธศักราช 2493 วัดห้วยพุด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยมีพระครูโสภณศีลาจารย์ (แดง โสภณเถร) วัดภูตบรรพต อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูจันทวิมล (คิ่น จนฺทคุตฺโต) วัดห้วยพุด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นพระกรรมวาจาจารย์
การศึกษา/วิทยฐานะ
แก้- พ.ศ. 2493 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี
- พ.ศ. 2494 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นโท
- พ.ศ. 2495 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก
- พ.ศ. 2497 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 3 ประโยค
- พ.ศ. 2498 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 4 ประโยค
- พ.ศ. 2499 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 5 ประโยค
- พ.ศ. 2500 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 6 ประโยค
- พ.ศ. 2502 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 7 ประโยค
การปกครองคณะสงฆ์
แก้- พ.ศ. 2512 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร
- พ.ศ. 2539 เป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. 2540 เป็นเจ้าคณะแขวงวชิรพยาบาล
- พ.ศ. 2542 เป็นเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร
สมณศักดิ์
แก้- พ.ศ. 2515 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระวิสุทธิคณาภรณ์[2]
- พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชธรรมานุวัตร ภัทรธรรมคุณาภรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
- พ.ศ. 2537 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพปัญญามุนี ศรีปริยัตินายก ตรีปิฎกวราลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
- พ.ศ. 2543 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมกวี ศรีธรรมประยุต วิสุทธิญาณนายก ตรีปิฎกวราลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
- 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 โปรดเกล้าสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระพรหมวชิรมงคล โสภณปริยัติวิธาน วิสุทธิญาณวิสิฐ ไพศาลศาสนกิจดิลก ตรีปิฎกวราลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติพระธรรมกวี (ลือชัย คุณวุฑฺโฒ) เว็บไซต์วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรืองพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, ตอน 202, เล่ม 89, วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2515, หน้า 6
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรืองพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, ตอน 253, เล่ม 104, วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530, หน้า 7
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรืองพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, ตอนพิเศษ 57 ง, เล่ม 111, วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2537, หน้า 4
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรืองพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, ตอน 28 ข, เล่ม 117, วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2543, หน้า 23
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 138, ตอน 34 ข, วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2564, หน้า 1