พรรคศิลปิน เป็นพรรคการเมืองของไทยที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 โดยนายวสันต์ สิทธิเขตต์ และกลุ่มศิลปินไทยส่วนหนึ่ง จำนวน 17 คน

พรรคศิลปิน
หัวหน้าวสันต์ สิทธิเขตต์
เลขาธิการไชยพร เกิดมงคล (รักษาการ)
โฆษกจรัสศรี รูปขำดี
คำขวัญหัวใจคือ ไม่ปกครอง
ก่อตั้ง3 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ถูกยุบ3 มีนาคม พ.ศ. 2552
ที่ทำการ53/375 หมู่ 5 หมู่บ้านกฤษดานคร ซอยชมพูพันธ์ทิพย์ 6 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
เว็บไซต์
เว็บไซต์ พรรคศิลปิน

พรรคศิลปินมีหัวหน้าพรรคคือ นายวสันต์ สิทธิ์เขตต์ มีนายจุมพล อภิสุข จากวงคนด่านเกวียน เป็นเลขาธิการพรรค และนางนิตยา บุญประสิทธิ จากวงกรรมาชน เป็นโฆษกพรรค มีกรรมการพรรค และสมาชิกประกอบด้วยศิลปินในแขนงต่าง ๆ เช่น เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ทวี รัชนีกร ศิลปินแห่งชาติ, สุรชัย จันทิมาธร มงคล อุทก พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ นักดนตรีเพลงเพื่อชีวิต, ไชยันต์ ไชยพร กนกศักดิ์ แก้วเทพ อาจารย์มหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม นายวสันต์ สิทธิเขตต์ กล่าวว่าการมีโครงสร้างหัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรค เพียงเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายพรรคการเมือง[1]

พรรคศิลปิน สิ้นสุดสภาพความเป็นพรรคการเมือง ในปี พ.ศ. 2552 เนื่องจากไม่สามารถจัดตั้งสาขาพรรค และหาสมาชิกพรรคได้ตามที่กฎหมายกำหนด[2]

กรรมการบริหารพรรค แก้

คณะกรรมการบริหารพรรคศิลปิน จำนวน 9 คน ได้แก่[3]

  1. วสันต์ สิทธิเขตต์ หัวหน้าพรรค
  2. มานิต ศรีวานิชภูมิ รองหัวหน้าพรรค (ลาออก 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550)
  3. วิลิต เตชะไพบูลย์ เลขาธิการพรรค (ลาออก 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550)
  4. ไชยพร เกิดมงคล รองเลขาธิการพรรค
  5. จุมพล อภิสุข เหรัญญิกพรรค (ลาออก 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550)
  6. จรัสศรี รูปขำดี โฆษกพรรค
  7. นิตยา บุญประเสริฐ กรรมการบริหารพรรค (ลาออก 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550)
  8. วัลลภ พลเสน กรรมการบริหารพรรค (ลาออก 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550)
  9. ณมนต์ ภคมณฑ์ กรรมการบริหารพรรค (ลาออก 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550)

สัญลักษณ์ แก้

พรรคศิลปินมีสัญลักษณ์เป็นรูปนกพิราบสีขาว ดัดแปลงมาจากรูปที่ออกแบบโดยปาโบล ปีกัสโซ ศิลปินชาวสเปน ซึ่งมีความหมายสากลถึงเสรีภาพ มีคำขวัญว่า หัวใจคือไม่ปกครอง ไม่ปรารถนาผู้นำและผู้ตาม ทุกคนตื่นรู้ตน มีสติปัญญา มีนโยบายที่จะส่งเสริมให้ทุกคนดูแลตนเอง ชุมชน และสังคม เคารพซึ่งกันและกัน ส่งเสริมการแบ่งปัน เพื่อประโยชน์สุขร่วมกันของสังคม และจะไม่ร่วมมือกับนักการเมืองหน้าเก่า แต่จะร่วมมือกับพรรคการเมืองที่เป็นทางเลือก และยังมีนโยบายเพื่อสิทธิ์ของบุคคลเพศที่สาม พรรคศิลปินไม่ได้มุ่งหวังที่จะเข้าร่วมรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศ

แนวคิด แก้

แนวคิดพรรคศิลปิน มีที่มาเริ่มแรกจากการนำเสนอศิลปะสื่อผสม (conceptual art) [4] ของวสันต์ สิทธิเขตต์ ในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2548 มีการทำโปสเตอร์วิพากษ์วิจารณ์ นโยบายหาเสียงแนวประชานิยมของนักการเมืองพรรคไทยรักไทย[5] และได้รับการสนับสนุนจากศิลปินบางส่วน เช่น ถวัลย์ ดัชนี เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ประเทือง เอมเจริญ ช่วง มูลพินิจ อังคาร กัลยาณพงศ์[6]

อ้างอิง แก้

  1. "ความฝันและภาพสุดท้ายของ 'พรรคศิลปิน' (2) "ถ้าเราไม่ฝัน ไม่เชื่อ ไม่ทำ ก็ปล่อยให้เขาเหยียบต่อไป"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-05. สืบค้นเมื่อ 2007-10-23.
  2. "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคศิลปินสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-31. สืบค้นเมื่อ 2012-07-23.
  3. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคศิลปิน เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนพิเศษ 202ง วันที่ 25 ธันวาคม 2550
  4. "ภาวะสุดทนของ 'พรรคศิลปิน' (1) "เราขอบอกว่าพอกันทีกับการเมืองไทย"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-05. สืบค้นเมื่อ 2007-10-23.
  5. "...บ้า ....ห่าม ...หลุดโลก วสันต์ สิทธิเขตต์ หัวเรือพรรคศิลปิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-12. สืบค้นเมื่อ 2007-10-23.
  6. "พรรคศิลปินขออาสา ..เตือนสติก่อนเลือกตั้ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2007-10-23.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้