พรรคคอมมิวนิสต์ (พม่า)
พรรคคอมมิวนิสต์ (อังกฤษ: Communist Party; พม่า: အလံနီကွန်မြူနစ်ပါတီ) เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ในพม่าที่ตั้งขึ้นหลังจากกลุ่มหัวรุนแรงได้แยกออกจากพรรคคอมมิวนิสต์พม่าใน พ.ศ. 2489 ในปีเดียวกัน มีการต่อสู้ด้วยอาวุธเพื่อต่อต้านการปกครองของอังกฤษ ผู้นำพรรคคือตะคีนโซ่ อิทธิพลของพรรคลดลงหลังถูกปราบปรามใน พ.ศ. 2513
การแยกตัว
แก้พรรคนี้แยกตัวออกมาจากพรรคคอมมิวนิสต์พม่าในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489[1] ตะคีนโซ่ประกาศเป็นผู้นำพรรค โดยประกาศว่าตะคีนต้านทู่นและตะคีนเต้นเพเป็นพวกจักรวรรดินิยมและเป็นฝ่ายต่อต้าน ความแตกแยกภายในพรรคคอมมิวนิสต์เกิดขึ้นหลังจากสุนทรพจน์ของบา เป ผู้นำสันนิบาตเสรีชนต่อต้านฟาสซิสต์ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 ซึ่งได้ประณามระบบการเมืองในสหภาพโซเวียต หลังสุนทรพจน์นี้ ตะคีนโซ่ได้ประกาศว่าบา เปเป็นเครื่องมือของจักรวรรดินิยม ทำให้สันนิบาตเสรีชนฯ ต่างต่อต้านตะคีนโซ่[2] ตะคีนโซ่ต้องการครอบงำคณะกรรมการของพรรคคอมมิวนิสต์พม่าแต่ถูกปฏิเสธแต่ตะคีนต้านทู่นและตะคีนเต้นเพปฏิเสธและขับตะคีนโซ่ออกจากคณะกรรมการของพรรค ตะคีนโซ่จึงประกาศจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้น[3][2] ตะคีนเมียะและกลุ่มของเขาเข้าร่วมกับตะคีนโซ่[4]
ธงแดงและธงขาว
แก้พรรคนี้ถูกเรียกว่าพรรคคอมมิวนิสต์ธงแดงเพื่อให้ต่างจากพรรคเดิมที่เรียกว่าพรรคคอมมิวนิสต์ธงขาว เนื่องจากทั้งสองพรรคมีตราทางทหารที่ต่างกัน พรรคนี้ประกาศเป็นพรรคนิยมลัทธิทรอตสกี[5] ในขณะที่พรรคธงขาวเน้นความร่วมมือกับสันนิบาตเสรีชนฯ พรรคธงแดงประกาศให้มีการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษโดยตรง[3][6]อย่างไรก็ตาม พรรคธงแดงมีความสำคัญทางการเมืองน้อยกว่าพรรคธงขาว
กิจกรรม
แก้พรรคธงแดงได้จัดตั้งขบวนการเพื่อเคลื่อนไหวทั่วทั้งพม่าต่อต้านการจ่ายค่าเช่าและภาษี[7] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2489 ทอร์ เฮนรี ไนต์ ผู้นำรัฐบาลพม่าได้ประกาศให้พรรคธงแดงเป็นพรรคผิดกฎหมาย เมื่อ 10 กรกฎาคม[2] และคว่ำบาตรสหภาพแรงงานที่เป็นสาขาของพรรค[8] พรรคธงขาวได้ออกมาประท้วงการตัดสินใจของรัฐบาลในครั้งนี้
พรรคธงแดงได้เริ่มต่อสู้ทางทหารเพื่อต่อต้านอังกฤษและฝ่ายขวาในสันนิบาตเสรีชนฯ[9] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2489 อองซานได้ประกาศต่อต้านพรรคธงแดง การต่อต้านพรรคธงแดงถูกยกเลิกชั่วคราวในเดือนคุลาคม พ.ศ. 2489[2][10] ก่อนจะถูกคว่ำบาตรอีกครั้งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2490 ทำให้พรรคลงไปสู้ใต้ดิน พรรคธงขาวได้ประท้วงการคว่ำบาตรพรรคธงแดงอีกครั้งในเดือนเมษายน พ.ศ. 2490 พรรคธงแดงนั้นได้ออกมาเรียกร้องให้คว่ำบาตรการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ต่อมา ใน พ.ศ. 2491 การต่อสู้ด้วยอาวุธของพรรครุนแรงขึ้นในที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี[11] และกลุ่มของอู เซนดาได้ก่อการต่อสู้ในยะไข่ด้วย ใน พ.ศ. 2492.[2][12] กลุ่มของตะคีนเมียะได้แยกตัวออกจากพรรคและกลับไปเข้าร่วมกับพรรคธงขาว[13]
การเสื่อมถอย
แก้หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2499 การปราบปรามจากฝ่ายรัฐบาลรุนแรงขึ้นหลังอู้นุประกาศนโยบายกองทัพเพื่อประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2501 นักรบของพรรคจำนวนมากได้มอบตัวต่อทางการ คาดว่าใน พ.ศ. 2504 พรรคเหลือทหารประมาณ 500 คน ตะคีนโซ่ได้เข้าร่วมในการเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลใน พ.ศ. 2506 ด้วย[14]
การแยกตัวในยะไข่
แก้ใน พ.ศ. 2505 กลุ่มของพรรคในยะไข่ได้แยกตัวออกไปและประกาศจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ยะไข่ซึ่งเน้นที่การเรียกร้องเอกราชของยะไข่[15][16]
การจับกุมตะคีนโซ่
แก้การต่อสู้เพื่อต่อต้านรัฐบาลของพรรคดำเนินต่อไปจนกระทั่งตะคีนโซ่ถูกกองทัพพม่าจับกุมได้ใน พ.ศ. 2513[17] โดยในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2513 กองทัพได้โจมตีกลุ่มของตะคีนโซ่ที่ทางเหนือของทิวเขายะไข่ และถูกจับกุมตัวได้ หลังจากนั้นพรรคได้หมดบทบาทไป[18]
พรรคในยะไข่
แก้ใน พ.ศ. 2521 กองกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์ธงแดงในยะไข่และพรรคคอมมิวนิสต์ยะไข่ถูกกองทัพพม่าโจมตีอย่างหนักในเขตชนบทและถูกผลักดันไปยังแนวชายแดนบังกลาเทศ
อ้างอิง
แก้- ↑ Khrushchev, Nikita Sergeevich, and Sergeĭ Khrushchev. Memoirs of Nikita Khrushchev. Volume 3, Statesman,1953-1964. University Park, Pa: Pennsylvania State University, 2007. p. 752
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Thompson, Virginia. Burma's Communists, published in Far Eastern Survey May 5, 1948
- ↑ 3.0 3.1 Seabury Thomson, John. Marxism in Burma, in Trager, Frank N (ed.). Marxism in Southeast Asia; A Study of Four Countries. Stanford, Calif: Stanford University Press, 1959. p. 33
- ↑ Lintner, Bertil. The Rise and Fall of the Communist Party of Burma (CPB). Southeast Asia Program series, no. 6. Ithaca, N.Y.: Southeast Asia Program, Cornell University, 1990. p. 10
- ↑ Khrushchev, Nikita Sergeevich, and Sergeĭ Khrushchev. Memoirs of Nikita Khrushchev. Volume 3, Statesman,1953-1964. University Park, Pa: Pennsylvania State University, 2007. p. 762
- ↑ Jukes, Geoffrey. The Soviet Union in Asia. Berkeley, Calif: Univ. of California Press, 1973. p. 137
- ↑ Andrus, J. Russell. Burmese Economic Life. 1956. p. 88
- ↑ Hensengerth, Oliver. Burmese CP in relations between China and Burma
- ↑ Butwell, Richard. U Nu of Burma. Stanford, Calif: Stanford University Press, 1969. p. 95
- ↑ Kratoska, Paul H. South East Asia, Colonial History. London: Routledge, 2001. p. 21
- ↑ Low, Francis. Struggle for Asia. Essay index reprint series. Freeport, N.Y.: Books for Libraries Press, 1972. p. 73
- ↑ Chan, Aye. The Development of a Muslim Enclave in Arakan (Rakhine) State, Burma (Myanmar), published in SOAS Bulletin of Burma Research, Vol 3, No. 2, Autumn 2005
- ↑ Lintner, Bertil. The Rise and Fall of the Communist Party of Burma (CPB). Southeast Asia Program series, no. 6. Ithaca, N.Y.: Southeast Asia Program, Cornell University, 1990. p. 67
- ↑ Lintner, Bertil. The Rise and Fall of the Communist Party of Burma (CPB). Southeast Asia Program series, no. 6. Ithaca, N.Y.: Southeast Asia Program, Cornell University, 1990. p. 27
- ↑ Two Arakanese communists released after 20-years in prison เก็บถาวร 2011-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Win, Khaing Aung. Arakanese Nationalism and the Struggle for National self-determination (An overview of Arakanese political history up to 1988) เก็บถาวร 2010-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Alagappa, Muthiah. Political Legitimacy in Southeast Asia: The Quest for Moral Authority. Contemporary issues in Asia and the Pacific. Stanford, Calif: Stanford University Press, 1995. p. 369
- ↑ Lintner, Bertil. The Rise and Fall of the Communist Party of Burma (CPB). Southeast Asia Program series, no. 6. Ithaca, N.Y.: Southeast Asia Program, Cornell University, 1990. p. 28