สารบัญกระบะทราย: หลัก, ว่าง, ดาวเคราะห์, ว่าง, นิยามดาวเคราะห์, ค้างคาว

ภาพถ่ายของเสี้ยวหนึ่งของดาวเนปจูน (บน) และดาวบริวารไทรทัน (กลาง) ถ่ายโดยยานวอยเอจเจอร์ 2 ระหว่างการบินผ่านในปี 2532

ดาวเคราะห์ได้รับคำนิยามที่รวมไปถึงเทห์ฟ้าหลากหลายประเภทนับตั้งแต่ชาวกรีกโบราณสร้างคำนิยามขึ้นมา นักดาราศาสตร์ชาวกรีกใช้ศัพท์ asteres planetai (ἀστέρες πλανῆται) "ดาวฤกษ์พเนจร" สำหรับวัตถุคล้ายดาวฤกษ์ที่ปรากฏให้เห็นว่าเคลื่อนที่ข้ามท้องฟ้า นานนับสหัสวรรษที่ศัพท์นี้รวมถึงวัตถุที่แตกต่างกันจำนวนมาก ครอบคลุมตั้งแต่ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ไปจนถึงดาวบริวารและดาวเคราะห์น้อย

จนกระทั่งสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำว่า ดาวเคราะห์ แม้จะยังไม่ได้รับการนิยาม ก็กลายเป็นศัพท์ที่ใช้หมายถึงกลุ่มเล็ก ๆ ของวัตถุในระบบสุริยะ หลังปี 2535 นักดาราศาสตร์เริ่มค้นพบวัตถุพ้นวงโคจรดาวเนปจูนจำนวนมากเพิ่มเติมและวัตถุนับร้อยที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่น การค้นพบเหล่านี้ไม่เพียงแต่เพิ่มจำนวนวัตถุที่อาจเป็นดาวเคราะห์ แต่ยังเพิ่มความหลากหลายและลักษณะเฉพาะของดาวเคราะห์เหล่านั้นอีกด้วย วัตถุที่ค้นพบใหม่บางชิ้นมีขนาดใหญ่เกือบพอที่จะเป็นดาวฤกษ์ ขณะที่วัตถุบางชิ้นมีขนาดเล็กกว่าดวงจันทร์ การค้นพบเหล่านี้แย้งแนวคิดที่เป็นไปได้ของดาวเคราะห์ที่มีมาอย่างยาวนาน

ประเด็นของนิยามของดาวเคราะห์ที่ชัดเจนกลับมาเป็นเรื่องสำคัญอีกในปี 2548 เมื่อมีการค้นพบดาวเอริส วัตถุพ้นดาวเนปจูนที่มีมวลมากกว่าดาวพลูโตที่ขณะนั้นได้รับการยอมรับให้เป็นดาวเคราะห์ การตอบกลับในเดือนสิงหาคม 2549 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (ไอเอยู) ตัดสินใจเกี่ยวกับประเด็นนี้ระหว่างการประชุมที่กรุงปราก ซึ่งนักดาราศาสตร์ให้การยอมรับไอเอยูในฐานะเป็นองค์กรระดับโลกที่จะแก้ปัญหาศัพท์เฉพาะนี้ นิยามที่ประกาศออกมานี้นำมาใช้เฉพาะวัตถุในระบบสุริยะเท่านั้น มีใจความว่าดาวเคราะห์เป็นวัตถุโคจรรอบดวงอาทิตย์ มีมวลมากพอที่จะรักษาความเป็นทรงกลม และปราศจากเทห์ฟ้าขนาดเล็กอื่นโดยรอบวงโคจร ภายใต้นิยามใหม่นี้ ดาวพลูโตและวัตถุพ้นดาวเนปจูนอื่นสิ้นสภาพจากการเป็นดาวเคราะห์ทันที แต่คำตัดสินของไอเอยูยังไม่สามารถแก้ข้อถกเถียงทั้งหมดได้ และขณะที่มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากยอมรับนิยาม บางส่วนในวงการวิทยาศาสตร์ยังคงปฏิเสธอย่างตรงไปตรงมา โดยนักวิทยาศาสตร์บางคนต้องการนิยามด้านภูมิสาสตร์กายภาพที่เฉพาะเจาะจง[1]

ประวัติ แก้

ดาวเคราะห์ในยุคโบราณ แก้

ขณะที่ความรู้เกี่ยวกับดาวเคราะห์มีมานานตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์และมีทั่วไปในอารยธรรมส่วนมาก คำว่า ดาวเคราะห์ เองมีขึ้นในช่วงกรีซโบราณ ชาวกรีกส่วนมากเชื่อว่าโลกนิ่งอยู่กับที่ ณ ศูนย์กลางของเอกภพตามระบบโลกเป็นศูนย์กลาง และเห็นว่าวัตถุบนท้องฟ้า รวมทั้งท้องฟ้าเอง ก็โคจรรอบโลกเช่นกัน (ยกเว้นแอริสตาเคิสแห่งซามอสที่เสนอแนวคิดแรกเริ่มของระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง) นักดาราศาสตร์ชาวกรีกใช้ศัพท์ว่า asteres planetai (ἀστέρες πλανῆται) "ดาวฤกษ์พเนจร"[2][3] สำหรับอธิบายแสงคล้ายดาวฤกษ์บนท้องฟ้าที่ปรากฏให้เห็นว่าเคลื่อนที่อยู่ตลอดทั้งปี ตรงกันข้ามกับ asteres aplaneis (ἀστέρες ἀπλανεῖς) "ดาวฤกษ์ประจำที่" ที่อยู่นิ่งไร้การเคลื่อนไหวเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ดวงอื่นด้วย วัตถุดาวเคราะห์ในปัจจุบัน 5 ชิ้นที่ชาวกรีกรู้จักนั้นสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ได้แก่ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์

จักรวาลวิทยากรีก-โรมันโดยปกติพิจารณาว่ามีดาวเคราะห์ 7 ดวงรวมดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ด้วย (ดังเช่นในโหราศาสตร์สมัยใหม่) ถึงกระนั้นก็มีความกำกวมบางอย่างในจุดนั้นตรงที่นักดาราศาสตร์ยุคโบราณจำนวนมากแยกดาวเคราะห์คล้ายดาวฤกษ์ 5 ดวงออกจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ดังที่อเล็คซันเดอร์ ฟ็อน ฮุมบ็อลท์ นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ระบุไว้ในผลงาน Cosmos ของเขา

Of the seven cosmical bodies which, by their continually varying relative positions and distances apart, have ever since the remotest antiquity been distinguished from the "unwandering orbs" of the heaven of the "fixed stars", which to all sensible appearance preserve their relative positions and distances unchanged, five only—Mercury, Venus, Mars, Jupiter and Saturn—wear the appearance of stars—"cinque stellas errantes"—while the Sun and Moon, from the size of their disks, their importance to man, and the place assigned to them in mythological systems, were classed apart.[4]

 
ดาวเคราะห์ตามที่เข้าใจกันก่อนระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจะเป็นที่ยอมรับ

ใน Timaeus ของเพลโตที่เขียนขึ้นประมาณ 360 ปีก่อนคริสต์ศักราชมีการกล่าวถึง "ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์และดาวฤกษ์อื่นอีกห้าดวง อันซึ่งเรียกกันว่าดาวเคราะห์"[5] แอริสตอเติล ลูกศิษย์ของเพลโต ก็สร้างความแตกต่างคล้าย ๆ กันนี้ใน On the Heavens: "การเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์นั้นมีน้อยกว่าของดาวเคราะห์บางดวง"[6] ใน Phaenomena ของกวีแอราตุส ซึ่งแต่งขึ้นเป็นกวีนิพนธ์จากบทความดาราศาสตร์ของยูเดิกเซิส ประมาณ 350 ปีก่อนคริสต์ศักราช[7] มีการบรรยายถึง "วัตถุกลมอื่นทั้งห้าที่รวมเข้ากัน[กับกลุ่มดาว] และเร่ร่อนเป็นวงล้อทุกด้านของจักรราศีทั้งสิบสอง"[8]

ดาวเคราะห์ในยุคกลาง แก้

โลก แก้

ดาวเคราะห์ยุคปัจจุบัน แก้

ดาวบริวาร แก้

ดาวเคราะห์แคระ แก้

ดาวพลูโต แก้

นิยามไอเอยู แก้

การยอมรับนิยามไอเอยู แก้

ข้อถกเถียงที่ยังคงดำเนินอยู่ แก้

ปราศจากเทห์ฟ้าโดยรอบ แก้

สภาพสมดุลอุทกสถิต แก้

ดาวเคราะห์คู่และดาวบริวาร แก้

ดาวเคราะห์นอกระบบและดาวแคระน้ำตาล แก้

วัตถุคล้ายดาวฤกษ์ขนาดเท่าดาวเคราะห์ แก้

เชิงอรรถศาสตร์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Runyon, Kirby D.; Thursday, S. Alan Stern | Published; May 17; 2018. "An organically grown planet definition". Astronomy.com. สืบค้นเมื่อ 2019-02-26.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  2. "Definition of planet". Merriam-Webster OnLine. สืบค้นเมื่อ 2007-07-23.
  3. "Words For Our Modern Age: Especially words derived from Latin and Greek sources". Wordsources.info. สืบค้นเมื่อ 2007-07-23.
  4. Alexander von Humboldt (1849). Cosmos: A Sketch of a Physical Description of the Universe. digitised 2006. H.G. Bohn. p. 297. ISBN 978-0-8018-5503-0. สืบค้นเมื่อ 2007-07-23.
  5. "Timaeus by Plato". The Internet Classics. สืบค้นเมื่อ 2007-02-22.
  6. "On the Heavens by Aristotle, Translated by J. L. Stocks, volume II". University of Adelaide Library. 2004. สืบค้นเมื่อ 2007-02-24.
  7. "Phaenomena Book I — ARATUS of SOLI". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 1, 2005. สืบค้นเมื่อ 2007-06-16.
  8. A. W. & G. R. Mair (translators). "ARATUS, PHAENOMENA". theoi.com. สืบค้นเมื่อ 2007-06-16. {{cite web}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)