ผู้ใช้:Bebewjk/กระบะทราย

แรงงานข้ามชาติ

แรงงานข้ามชาติคือ แก้

คนต่างด้าว หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย หรือ แรงงานข้ามชาติ หมายถึง บุคคลที่ย้ายถิ่นจาก ประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งเพื่อที่จะไปทำงาน มากกว่าที่จะไปใช้จ่ายเงินของตนเอง และรวมถึงบุคคลที่ปกติแล้วได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ย้ายถิ่นฐานเพื่อมาทำงาน แต่ไม่รวมถึงคนที่ทำงานตามบริเวณชายแดน จิตรกร หรือสมาชิกของกลุ่มผู้ชำนาญการที่เข้ามาเมืองระยะสั้น ชาวเรือ และลูกเรือเดินทะเล ต่างชาติ และในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 143 ยังไม่รวมถึงบุคคลที่เข้ามาเพื่อ การศึกษาหรือการ ฝึกอบรมและบุคคลที่เข้ามาทำ งานชั่วคราวเฉพาะด้านอันเนื่องมาจากการร้องขอของ นายจ้างในประเทศไทย และต้องออกไปเมื่อเสร็จสิ้นการทำงานนั้นแล้ว [1]

ประเภทของแรงงานข้ามชาติคือ แก้

  1. ประเภททั่วไป คือ คนที่ไปทำงานในประเทศอื่นที่ตนไม่ได้มีสัญชาติของประเทศนั้นที่มีทักษะในการทำงานและมีตำแหน่งงานค่อนข้างที่จะอยู่ในระดับสูงเข้าไปทำงานในเวลาชั่วคราว โดยใช้ทักษะหรือเทคโนโลยี ความสมารถเฉพาะหรือความชำนาญตามลักษณะงานนั้นๆ
  2. ประเภทเข้ามาทำงานที่จำเป็นและเร่งด่วน คือ คนต่างถิ่นที่เข้ามาทำงานที่ต้องทำงานโดยทันที หากไม่เร่งการทำงานอาจเกิดความเสียหายแก่บริษัทหรือกิจการนั้นๆรวมถึงลูกค้าและสิ่งแวดล้อมที่อาจจะกรทบและจะต้องเข้ามาทำงานในระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน
  3. ประเภทตลอดชีพ คือ คนต่างถิ่นซึ่งได้รับใบอนุญาตทำงานหรือใบอนุญาตที่ออกให้แก่คนต่างด้าวมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรนั้นตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
  4. ประเภทข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน คือ แรงงานที่หลบหนีเข้าเมืองจากสัญชาติ พม่า ลาว และ กัมพูชา เป็นต้น[2]

แรงงานข้ามชาติในประเทศไทย แก้

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยที่พัฒนาขยายตัวอย่างรวดเร็วมากนั้น ทำให้มองข้ามความสำคัญของคนงานข้ามชาติ เพราะเข้าใจไปเองว่า เขาลี้ภัยการเมืองเข้ามาเองไม่ใช่เพราะเราต้องการแรงงานของพวกเขา ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว เรา ต้องการแรงงานสูงมาก เห็นได้ชัดเจนจากอาชีพการก่อสร้าง ซึ่งต้องการแรงงานที่ไร้ฝีมือเป็น อย่างมากแต่เรากับมุ่งเตรียมแรงงานของเราให้เป็นแรงงานที่มีฝีมือ อีกทั้งประเทศไทยยังถูกจัด อยู่ในประเทศที่มีรายได้ในระดับปานกลาง และมีการก่อสร้างมาก พร้อมๆกับมีการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรในประเทศด้วย เมื่อประเทศไทยเกิดช่องว่างในการขาด แคลนแรงงานที่ไร้ฝีมือจึงทำให้คนงานข้ามชาติหลั่งไหลเข้ามาทำงานในประเทศเราเป็นจำนวนมาก การเข้ามาทำงานของคนงานข้ามชาติ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างพม่า ตามที่เรานั้นมักเข้าใจกัน จริงๆแล้วนั้นประเทศไทยของเรามีความต้องการมีความต้องการของแรงงาน ที่ไร้ฝีมืออยู่มาก เราจึงดึงดูดแรงงานเหล่านั้นเข้ามาด้วยการให้ค่าตอบแทนในการทำงานสูงกว่า ประเทศของพวกเขา ตลาดแรงงานก็เสมือนน้ำ ที่มักจะต้องไหลไปที่ต่ำ เปรียบเหมือนความ ต้องการและการให้ค่าตอบแทนในการทำงานสูงแรงงานก็จะหลั่งไหลไปในที่แห่งนั้นแม้แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่จะถูกดึงดูดเข้ามาตามความต้องการของแรงงานทดแทนในประเทศไทยก็ตาม แต่ความแสวงหาความต้องการที่จะแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจก็เป็นแรงผลักดันสำคัญที่จะเร่งให้เกิดแรงงานข้ามชาติ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการปรับตัวทางเศรษฐกิจของแรงงานข้ามชาติตามมา

การขยายตัวของแรงงานข้ามชาติ แก้

ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่มีแรงงานจากต่างด้าวเดินจากประเทศใกล้เคียงเพื่อที่จะเข้ามาทำงานนั้นสูงขึ้น เพราะประเทศไทยยังขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตรกรรม รวมไปถึงแรงงานในส่วนของการผลิตระดับล่างเป็นอย่างมากและนี้เป็นสาเหตุที่แรงงานข้ามชาติเข้ามาในไทยอย่างถูกกฎหมายราว 1ล้าน 3 แสน คน ในจำนวนนี้มีแรงงานพม่า ร้อยละ 82 (กรมการจัดหางาน สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว 2553)และยังพบว่ามีแรงงานที่ข้ามชาติมาโดยผิดกฎหมายและหลบซ่อนทำงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ที่ยังไม่สามารถระบุจำนวนได้ซึ่งส่วนมากจะเข้ามาทำงานในส่วนที่คนไทยไม่นิยมทำงานกันนั้นคือ กรรมกรก่อสร้าง ยาม แม่บ้าน เป็นต้น   ซึ่งแรงงานที่เข้ามาบางประเทศมีความด้อยการพัฒนาทางเศรษฐกิจ อย่างเช่า พม่า กัมพูชา ลาว เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดการย้ายถิ่นฐานและอพยพข้ามชาติของแรงงานจากประเทศของตนที่ยากจนกว่าไปสู่ประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ดีกว่า แรงงานข้ามชาติที่เข้ามานั้นมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโต เพราะเข้ามาทดแทนภาคส่วนที่ขาดหายไป ทั้งในภาคเกษตรและการผลิตระดับล่าง โดยเฉพาะด้านกิจการทางการประมงและการรับเหมาก่อสร้าง รวมถึงแรงงานของประเทศไทยเราก็มีที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศและได้นำเงินเข้าสู่ประเทศอยู่จำนวนไม่มากและถือเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศอีกอย่างก็ว่าได้

ผลกระทบของแรงงานข้ามชาติ แก้

การเข้ามาและการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่องของแรงงานข้ามชาตินั้นมักจะถูกมองว่าเป็นผลกระทบที่ส่งผลลบต่อประเทศไทยในด้านต่างๆทั้งด้าน อาชญากรรม สาธารณสุข การศึกษา และอีกมากมาย โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข เนื่องจากแรงงานที่เข้ามาส่วนใหญ่ไม่สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้เนื่องจากไม่มีเงินและส่งผลไปถึงการเกิดอาชญากรรม การฆ่า ปล้น จี้ ชิงทรัพย์ต่างๆปัญหาต่างๆ แต่ในอีกด้านหนึ่งของแรงงานนั้นก็ยังเป็นที่ต้องการการผลิตด้านต่างๆ แต่ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นนั้นอาจจะยิ่งเป็นแรงผลักดันให้แรงงานข้ามชาตินั้นเปราะบางและถูกเอารัดเอาเปรียบทั้งในด้านค่าจ้างแรงงานต่ำหรือน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เงื่อนไขการทำงานที่ดูจะเลวร้าย ถูกขูดรีดแรงงาน เอาเปรียบจากนายจ้าง เพราะไร้มาตรการป้องกันและคุ้มครองสิทธิในฐานะความเป็นพลเมือง ทั้งนี้เท่ากับว่าแรงงานข้ามชาตินั้นต้องแบกรับผลกระทบต่างๆจนต้องกลายเป็นเพียงแรงงานนอกระบบ

สิทธิของแรงงานข้ามชาติ แก้

ในประเทศไทยของเรารวมไปถึงทุกประเทศที่มีแรงงานย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงาน และแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ควรที่จะได้รับสิทธิและสวัสดิการในการทำงานในด้านต่างๆอย่างครบถ้วนเช่นเดียวกับแรงงานไทย รวมทั้งเวลาในการทำงาน วันหยุด ตลอดจนความปลอดภัยในการทำงาน แต่ในปัจจุบันนี้นั้นแรงงานข้ามชาติต้องทนทำงานโดยไร้ค่าจ้างตอบแทนจากการทำงานและทำงานเกินเวลางานเป็นเช่นนี้จึงมีสิทธิมนุษยชนออกมาคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติที่เป็นหลักสากลที่ไม่ว่าจะเชื้อชาติศาสนา หรือเพศใดก็ต้องย่อมได้รับความคุ้มครอง [3]

การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว แก้

แม้ว่าแรงงานจะได้รับการคุ้มครองจากสิทธิทางด้านกฎหมายแต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีปัญหาเลยแรงงานข้ามชาติก็ยังต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆมากมายที่ยังถูกละเมิดสิทธิอยู่ในปัจจุบันและยังต้องปรับปรุงและแก้ไขถึงผลกระทบของการว่าจ้างแรงงานที่อาจจะกระทบต่อความมั่นคงในการทำงานและการรวมกลุ่มของคนงานดังนี้

  1. ภาครัฐควรจะต้องมีการจัดทำกลไกลการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติตามกฎหมายที่แรงงานสามารถเข้าถึงได้จริงๆ เช่น ต้องมีบทลงโทษที่ชัดเจนในกรณีที่นายจ้างละเมิดสิทธิลูกจ้างของตน
  2. ควรให้แรงงานข้ามชาตินั้นมีสิทธิที่จะเปลี่ยนและเลือกนายจ้างได้ตามเหตุผลที่เหมาะสมและหากมีการเลิกจ้างงานแล้วแต่ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างควรจะให้เวลาในการหานายจ้างใหม่อย่างน้อยหนึ่งเดือนตามสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน
  3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการจัดหางาน ควรเป็นตัวกลางและที่พึ่งที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ในการจัดหางานและการว่าจ้างงาน
  4. ควรปรับโครงสร้างการจ้างงานไปสู่ภาคการผลิต เร่งยกระดับฝีมือแรงงานไทย ให้เท่ากับประเทศคู่ค้าทางเศรษฐกิจของเรา
  5. สร้างการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนในการที่จะช่วยกันผลักดันและสร้างสรรค์ให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีและได้รับสวัสดิการต่างๆที่เขาควรได้ไม่ว่าจะเป็นแรงงานในประเทศอื่นที่เข้ามาประเทศเราหรือแรงงานไทยที่ไปทำงานที่ประเทศอื่นด้วย
  6. ควรมีการตรวจสอบค่าแรงขั้นต่ำและเวลาในการทำงานของแรงงานข้ามชาติอย่างเข้มงวด และเป็นทำต่อทุกฝ่าย

[4]

อ้างอิง แก้

บรรณานุกรม แก้

  • กาญจนา ตั้งชลทิพย์. คุณภาพชีวิต การงานทำงานและความสุข. บริษัทธรรมดาเพลส จำกัด .(2555).หน้า 11-33
  • จรัมพร โห้ลำยอง. คู่มือสำหรับการอบรมแรงงานต่างด้าว.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.(2553).หน้า 55-87
  • เฉลิมพล แจ่มจันทร์. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์.บรรณาธิการวิทยากร.(2558).หน้า 34-37
  • ยุทธเดช ขนาดกำจาย. แรงงานบนเส้นทางรัฐสวัสดิการ. บรรณาธิการโชติกิจภิวาทย์. (2556).หน้า 7-36
  • อานันท์ กาญจนพันธุ์. แรงงานข้ามชาติอัตลักษณ์และสิทธิความเป็นพลเมือง. สำนักพิมพ์ แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี.(2557).หน้า 27-39