ผู้ใช้:ธนันท์ชัย แสนพิลา/กระบะทราย

การเมืองประเทศพม่า

ประวัติศาสตร์การเมืองพม่าแบ่งออกเป็น 3 สมัย แก้

ได้แก่ สมัยโบราณ สมัยอาณานิคมอังกฤษ สมัยเอกราช ( โดยยึดประวัติศาสตร์การเมืองเป็นหลัก )

สมัยโบราณ แก้

                 การเมืองพม่าในสมัยก่อนเริ่มจากสมัยราชวงศ์พุกาม หรือ Bagan Dynasty จนถึงช่วงที่มีสงครามกับประเทศอังกฤษในปี ค.ศ. 1044 – 1886 นั้นเป็นช่วงที่ประเทศพม่าเกิดการชิงอำนาจอย่างน้อย 4 กลุ่มซึ่งอาศัยอยู่ในพม่าในสมัยปัจจุบัน ซึ่งในกลุ่มที่โดดเด่นนั้น คือ 

กลุ่มเชื้อสายพม่า หรือ Burman ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบลุ่มน้ำอิระวดี กลุ่มมอญหรือตะแลง ( Talaings ) ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนใต้ กลุ่มไทใหญ่หรือฉาน ( Shan ) ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือกลางและทางตะวันออกทางเทือกเขาที่ล้อมรอบแม่น้ำอิระวดี กลุ่มชาวอาระกันหรือยะไข่ ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างโดดเดี่ยวทางตะวันตก และในช่วงเวลาในประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศพม่านี้มีเพียง 3 ช่วงเวลาที่พม่ายังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก่อนที่ประเทศอังกฤษจะเข้ามายึดครอง ช่วงที่หนึ่ง คือช่วงที่กษัตริย์ของพม่าได้ทำการปกครองดินแดนของประเทศพม่าและประเทศเพื่อนบ้านได้มีการสถาปนาราชอานาจักรปะกันหรือราชอาณาจักรพุกาม และราชวงศ์นี้ได้มีการปกครองประเทศพม่านานถึงสองศตวรรษ จนกระทั่งกุบไลข่านได้ยึดครองประเทศพม่า และหลังจากนั้นกษัตริย์ไทใหญ่ก็ครองอำนาจโดยมีศูนย์กลางที่อังวะ ช่วงที่สองของความสงบสุขนั้น คือ สมัยราชวงศ์ตองอูที่มีกษัตริย์พม่ากลับมาครองอำนาจอีกครั้งในช่วง ค.ศ. 1486 – 1752 ซึ่งเป็นช่วงที่พม่าสามารถมีชัยชนะเหนือกลุ่มไทใหญ่ ช่วงที่สาม คือ สมัยราชวงศ์คอนบวงซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่มัณฑะเลย์ซึ่งอยู่ที่ทางตอนเหนือของพม่าในระหว่าง ค.ศ. 1752 - 1886 และเป็นราชวงศ์สุดท้ายของพม่า ก่อนที่จะอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ [1]

สมัยอาณานิคม แก้

ในช่วงแรกของการล่าอาณานิคม ประเทศ “ฝรั่งปักษ์ใต้” นั้นคือประเทศสเปนและประเทศโปรตุเกส เป็นประเทศที่เริ่มการล่าอาณานิคมก่อน เนื่องจากค้นพบวิธีการเดินทางมาทวีปเอเชียโดยการเดินเรือข้าวทวีปแอฟริกาและมีเป้าหมายคือเพื่อการค้าขายเครื่องเทศและเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิคซึ่งในช่วงดังกล่าวตรงกับสมัยอยุธยาช่วงก่อนเสียกรุงครั้งแรก ในช่วงแรกนั้นทางฝรั่งจะให้ความสำคัญกับทางหมู่เกาะมากกว่าพื้นดินเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถเป็นพื้นที่ผลิตเครื่องเทศ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นเหตุให้โดนบุกยึดครองก่อนที่อื่นๆ และต่อมาในช่วงที่พม่าใกล้จะเสียกรุงครั้งที่สอง เครื่องเทศเริ่มลดความสำคัญลงไป หลังจากนั้นให้ความสำคัญกับการค้าข้าว ยางพารา ฝรั่งเหล่านี้จึงเริ่มมองหาดินแดนเพิ่มเติม และในช่วงหลังเสียกรุงครั้งที่ 1 อังกฤษ ฮอลันดา ฝรั่งเศส เริ่มมีอิทธิพลมากยิ่งขึ้น และอังกฤษกับฮอลันดาเริ่มแย่งผลประโยชน์ทางการค้ากับโปรตุเกส เหตุเพราะทางอังกฤษกับฮอลันดานับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนส่วนโปรตุเกสนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิค จึงทำให้มีปัญหากัน และอังกฤษกับฮอลันดาสามารถยึดหมู่เกาะต่างๆจากโปรตุเกสได้ซึ่งเป็นช่วงที่ฮอลันดามีอำนาจมากกว่าอังกฤษทางทะเล จึงเป็นเหตุให้อังกฤษผลันไปเล่นงานอินเดียแทน และสามารถบุกยึดดินแดนรูปสามเหลี่ยม คือ มัทราส บอมเบย์ และกัลกัตตาได้ จึงส่งผลให้อังกฤษสามารถควบคุมยุทธศาสตร์ที่สำคัญและแผ่อิทธิพลคุมทั้งอินเดีย และแผ่มาจนถึงพม่าที่กำลังยิ่งใหญ่ การทำสงครามระหว่างอังกฤษกับพม่า สงครามอังกฤษและพม่าครั้งที่ 1 และครั้งทื่ 2 การทำสงครามครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อพม่าตียะไข่ทางตะวันตก ยะไข่เลยได้หนีไปทางอินเดียพม่าจึงตามไปตี อังกฤษเลยถือโอกาสนี้ไปตีพม่าเหตุเพราะเพ่งเล็งมานานแล้ว โดยที่อังกฤษใช้กองทัพประมาณ 40,000 คน จึงตีพม่าแตก และได้เมืองพม่าฝั่งทางตะวันตกไป เหลือแค่บริเวณย่างกุ้งและเมาะตะมะ และสงครามครั้งที่สองนั้นเกิดขึ้นจากพ่อค้าชาวอังกฤษไม่พอใจระบบผูกขาดทางการค้าของกษัตริย์พม่าที่ใช้ในบริเวณแม่น้ำอิระวดี ซึ่งมีความคล้ายกับระบบผูกขาดของไทย อังกฤษจึงได้ยึดพม่าตอนล่าง หลังจากนั้นพม่าเหลือแค่ศูนย์กลางอาณาจักรบริเวณตอนบนเท่านั้น สงครามอังกฤษและพม่าครั้งที่ 3 ยุคที่อังกฤษบุกนั้นพม่ามีปัญหาใหญ่คือกษัตริย์ของพม่าไม่ค่อยปรีชาสามารถ แต่ก็มีกษัตริย์ที่เก่งในช่วงนั้นคือ พระเจ้ามินดง ซึ่งขึ้นครองราชย์ด้วยการรัฐประหารซึ่งตรงกับช่วงสมัย ร.4-ร.5 พระเจ้ามินดงเน้นนโยบายสายพิราบ คัดค้านการทำสงครามกับอังกฤษ ในตอนนั้นอังกฤษขออะไรพม่าก็ยอมไปบ้าง ยุคนี้เป็นยุคแห่งการปฏิรูปประเทศให้ทันตะวันตกและพม่าพยายามมองหาอำนาจอื่นๆมาถ่วงดุล การล่าอาณานิคมก้าวไปอีกขั้นหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการเปิดใช้คลองสุเอซ ซึ่งทำให้การเดินทางมาเอเชียนั้นง่ายมากยิ่งขึ้น การปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ทำให้ความต้องการตลาดวัตถุดิบและแรงงานราคาถูกมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นฝรั่งเศสยึดเวียดนามได้และแผ่อิทธิพลมาทางลาวมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ อังกฤษรู้สึกกลัวว่าฝรั่งเศสจะมายึดพม่าผ่านทางสามเหลี่ยมทองคำเลยได้ยึดเองสะก่อน และยิ่งขณะนั้นพม่าได้มีนโยบายพยายามหาฝรั่งเศสมาถ่วงดุลอังกฤษเลยต้องรีบยึด สุดท้ายพม่าก็ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ พระเจ้าธีบอและพระนางศุภยลัตถูกเนรเทศออกนอกประเทศไปอยู่มุมไบจนเสียชีวิต ยุคหลังจากพม่าตกเป็นอาณานิคมอังกฤษ หลังจากที่พม่าตกเป็นอาณานิคมอังกฤษ อังกฤษได้ยึดครองพม่าและปรับปรุงระบบของพม่าหลายๆด้าน เช่น ระบบการปกครอง ระบบศาล ระบบเศรษฐกิจ โดยอังกฤษนำพม่าผนวกกับอินเดียขึ้นกับกระทรวงอินดียหรือ Indian Office ซึ่งทำให้อังกฤษไม่ค่อยใส่ใจปัญหาในพม่าหลายๆด้าน ทำให้ชาวบ้านบางส่วนรู้สึกไม่พอใจ อังกฤษใช้พม่าเป็นฉางข้าวในการหล่อเลี้ยงอาณานิคมของตน และพัฒนาระบบเกษตร เช่น ขุดคลองต่างๆ จนพม่ากลายเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลกในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และอังกฤษได้มีนโยบายดึงแรงงานจากอังกฤษ อินเดีย และจีนเข้ามาทำงานพม่า แต่ส่วนใหญ่ชาวต่างชาติจะอยู่ในตัวเมือง ในขณะที่ชาวพม่าอยู่นอกเมือง ระบบเศรษฐกิจแบบที่อังกฤษนำมาใช้นั้นทำให้เกิดปัญหาหนี้สินมากมายต่อชาวพม่ากว่า 50 เปอร์เซ็น ซึ่งส่วนมากเป็นคนที่ไม่ได้ทำการเพาะปลูก ชาวไร้ ชาวนาไร้ที่ดินทำกิน และต่อมาเกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ทำให้ชาวพม่าเกลียดชังชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวอินเดีย [2]

การเมืองพม่าสมัยเอกราช แก้

ในช่วงสุดท้ายหลังอาณานิคมอังกฤษ เกิดปัญหาชาตินิยมอันเนื่องมาจากการปกครองของอังกฤษที่นำปัญหามาสู่พม่า จึงก่อให้เกิดขบวนการชาตินิยม ซึ่งขบวนการสำคัญคือ “สมาคมเราชาวพม่า” คนในสมาคมนั้นจะเรียกแทนกันเองว่า “ทะขิ่น” แปลว่า เจ้านาย นั้นเป็นการใช้สรรพนามให้ตนเองทัดเทียมกับชาวอังกฤษ ช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นประกาศสงครามมหาเอเชียบูรพา ผู้นำพม่าและชาติอื่นๆ เช่น ประเทศไทยสมัยจอมพล ป. ถือโอกาสเข้าร่วมกับญี่ปุ่นทันที ต่อมาญี่ปุ่นทำท่าจะแพ้ กลุ่ม 30 วีรชนก็วางแผนอยากเปลี่ยนข้าง ตั้งเป็นองค์กรลับชื่อ Anti Fascist People’s Freedom League (AFPFL) กลุ่มนี้คือเสรีไทยของฝั่งพม่านั่นเอง และกลุ่มนี้ก็ได้เข้าโจมตีกองทัพญี่ปุ่น ภายหลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม พม่าตกเป็นอาณานิคมอังกฤษอีก อองซานรับหน้าที่ในการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษและบรรดาชนกลุ่มน้อยต่างๆ จนประสบความสำเร็จในการเจรจากับทุกฝ่าย ช่วงที่อองซานไปเจรจากับทุกฝ่ายนี้ ทำให้งานกลาโหมตกอยู่กับเนวิน และเนวินกลายเป็นผู้นำกองทัพ ภายหลังการเสียชีวิตของอองซาน อูนุ (หรือทะขิ่นอูนุ หนึ่งใน 30 วีรชน) ขึ้นเป็นผู้นำ AFPFL แทน หลังขึ้นครองตำแหน่งอูนุเจอปัญหาเอกภาพของพรรคและปัญหาชนกลุ่มน้อยอย่างหนัก บรรดาสมาชิกกลุ่มต่างๆของ AFPFL แยกตัวเป็นอิสระ และชนกลุ่มน้อยทั้งหลายไม่พอใจระบบการปกครองแบบสหภาพที่พม่านำมาใช้ เนวินซึ่งเป็นผู้นำกองทัพในสมัยนั้น เป็นกำลังสำคัญในการปราบปรามขบถต่างๆ ทำให้ได้ใจประชาชนค่อนข้างมาก อูนุล้มเหลวหนักถึงขนาดต้องขอให้เนวินมาเป็นผู้นำรัฐบาลรักษาการอยู่ถึง 2 ปีระหว่างช่วงรอให้มีการเลือกตั้ง(หลังได้เอกราช) ภายหลังการเลือกตั้ง อูนุชนะการเลือกตั้ง แต่ชีวิตชาวพม่าก็ไม่ได้มีอะไรดีขึ้น นายพลเนวินจึงทำการรัฐประหารในปี 2505 อย่างง่ายดาย โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างท้วมท้น และถึงแม้ช่วงหลังๆจะพาประเทศไปสู่จุดที่ไม่ค่อยดีนัก แต่เนวินก็สามารถครองตำแหน่งต่อเนื่องยาวนานรวมทั้งหมดถึง 26 ปี พม่าเปลี่ยนการปกครองจากระบบรัฐสภา ไปเป็นระบบพรรคการเมืองพรรคเดียวภายใต้การนำของพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (Burma Socialist Program Party หรือ BSPP) ต่อมารัฐบาลทหารพม่าใช้นโยบายปิดประเทศ ไม่ค่อยติดต่อกับต่างประเทศ ให้อำนาจกับทหารมากขึ้น จนกองทัพพม่าเติบโตมีขนาด 3 เท่าจากเดิม งบประมาณมหาศาลทุ่มให้กับกองทหาร และอัตราคอรัปชั่นพุ่งสูงทะลุเป้า ทหารและข้าราชการร่ำรวย ในขณะที่ประชาชนยากจน ปัญหาชนกลุ่มน้อยก็ไม่ได้ลดลง พม่าแปรสภาพจากประเทศที่ส่งออกข้าวมากที่สุดในโลก กลายเป็นพอมีกินในประเทศ และกลายเป็นประเทศยากจนที่สุด 1 ใน 10 ของโลก [3]

การเมืองพม่าสมัยปัจจุบัน แก้

สำหรับรัฐบาลพม่าในปัจจุบันนั้น ในปี 251 รัฐบาลพม่าได้มีแกนนำจากนายทหารที่ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองและยังมีการปกครองที่จำกัดสิทธิเสรีภาพทางการเมืองอย่างเข้มงวดและยังไม่มีรัฐธรรมนูญรองรับแม้คณะทหารยังยืนยันว่าว่าจะอยู่ในอำนาจเป็นการชั่วคราวเท่านั้น แต่กลับกลายเป็นว่าอยู่มายาวนานถึง 17 ปี ซึ่งในปัจจุบันนั้นแกนนำของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ National League for Democracy – NLD ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2533 แต่กลับถูกควบคุมตัวอยู่ โดยเฉพาะนางออง ซาน ซู จี เลขาธิการพรรค จนวันที่ 13 พฤศจิกายน 2553 เป็นการปล่อยตัวครั้งล่าสุดของ นางอองซานซูจีและในปี 2558 พรรค NLD ชนะการเลือกตั้งของพม่าซึ่งเป็นพรรคของนางออง ซาน ซู จี ซึ่งได้คะแนนเสียงไปทั้งหมด 86 เปอร์เซ็น หรือ 255 ที่นั้งในสภาผู้แทนราษฎรและ 135 ที่นั้งในสภาเชื้อชาติ แต่นางออง ซาน ซู จี ไม่สามารถดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ เนื่องจากมีข้อห้ามกฎหมายบางอย่างในรัฐธรรมนูญ [4]

ระบอบการปกครองพม่า แก้

ในก่อนปี 2554 พม่าได้ยึดการปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและพัฒนาแห่งรัฐ หรือ State Peace and Development Council- SPDC ตอนนั้นประเทศพม่ามักจะถูกสมาคมโลกติในเรื่องระบอบการปกครอง ซึ่งคือระบบการปกครอง คือ ระบอบเผด็จการทหาร ปัจจุบันพม่าได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็น “การปกครองแบบสาธารณรัฐ” ซึ่งประกอบด้วย สภาประชาชน สภาชาติพันธ์และสภาท้องถิ่น โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้ารัฐบาล [5]

นโยบายต่างประเทศพม่า แก้

นโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและโลกทัศน์ของรัฐบาลพม่าชุดปัจจุบันนั้น ได้ดำเนินไปภายใต้ปัจจัยหลากหลายมิติที่มีความสลับซับซ้อนมากมาย ในประเด็นนี้ดุลยภาค ปรีชารัชช ได้อรรถาธิบายถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัยหลักที่จะกล่าวถึงบทความนี้ ได้แก่ 1.ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ 2.ปัจจัยทางการเมืองและการทหาร 3.ปัจจัยทางเศรษฐกิจ

บุคคลสำคัญทางการเมืองพม่า แก้

นายพลอองซาน หรือ อู ออง ซาน ออง ซาน ซู จี

  1. http://www.baanjomyut.com/library_2/asean_community/myanmar/02.html
  2. https://rathpanyowat.wordpress.com/2012/02/03/burma-history02/
  3. https://rathpanyowat.wordpress.com/2012/02/06/burma-history03
  4. http://aseansummit.police7.go.th/index.php?option=com_content&task=view&id=32&Itemid=52
  5. http://www.asean-info.com/asean_members/myanmar_politics.html