Bamboo grass
ต้นก๋ง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Liliopsida
อันดับ: Cyperales
ไม่ได้จัดลำดับ: Eupolypods I
วงศ์: Poaceae
สกุล: Thysanolaena

ก๋ง แก้

ก๋งมีชื่อว่าชื่อสามัญ:Bamboo grass, ชื่อวิทยาศาสตร์ Thysanoleana maxima Kuntzeและชื่อวงศ์ Gramineae )ส่วน ชื่ออื่นเช่น ตองกงภาคเหนือ, เค้ยหลา(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน),เลาแล้ง(สุโขทัย),หญ้ากาบไผ่ใหญ่(เลย),หญ้าไม้กวาด ,หญ้ายูง(ยะลา) [1] ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับ อ้อ หญ้าขน เดือย ตะไคร้ ข้าว อ้อย ข้าวฟ่าง ข้าวโพด เป็นต้น

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ แก้

เป็นหญ้าล้มลุก มีเหง้า เป็นพืชอายุหลายปี หลายฤดู ลำต้นตั้ง เจริญเติบโตแบบอยู่เป็นกอ ที่แข็งแรงมาก ลำต้นคล้ายต้นไผ่ สูงราว 3-4 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นประมาณ 7.6-17.6 มิลลิเมตร

ใบ(Blade) แก้

ใบเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบรูปหอกเรียวยาวมีขนาดใหญ่ ใบยาวประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 4 เซนติเมตร หน้าใบและหลังใบไม่มีขน ขอบใบเรียบ ก้านใบสั้น มีเยื่อกันน้ำฝนค่อนข้างหนาระหว่างแผ่นใบกับก้านใบ กาบใบเรียบ เรียบ สีเขียวอมขาวนวล ยาว 7.5-20.9 เซนติเมตร แต่ละใบเรียงตัวห่างตลอดลำต้น ปลายใบแหลม โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยง กาบใบเกลี้ยงสั้นกว่าปล้อง ยาว 13-20 เซนติเมตร ส่วนลิ้นใบเป็นแผ่นเยื่อบางๆ สีน้ำตาลอ่อน

ดอก(Flower) แก้

ออกดอกตลอดทั้งปี ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ แบบ panicle ยาวประมาณ 50 ซม.แผ่แบบไม้กวาด แตกแขนงเล็กๆ จำนวนมาก ช่อดอกยาว 72.6-112.3 เซนติเมตร ส่วนของหัวยาว 50-70 เซนติเมตร ช่อดอกมีขนนุ่มละเอียด กลุ่มดอกย่อย มีขนาดเล็กมีดอกย่อย 2 ดอก ดอกล่างลดรูปเป็นเยื่อบางๆเป็นดอกหมัน ดอกบนเป็นดอกสมบูรณ์เพศ แหลม มีรยางค์ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีเส้นบนกาบ 1 เส้น เกสรเพศผู้ 3 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 0.3มิลลิเมตร อับเรณูยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร สีเหลือง มีรังไข่อยู่ ออกดอกระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนสิงหาคม

ผล(Results) แก้

ผลขนาดเล็กมีเมล็ดเดียว รูปขอบขนานหรือรูปไข่ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ผลมีสีแดง

เมล็ด(Seed) แก้

เมล็ดมีขนาดที่เล็กแบบผลธัญพืช รูปร่างยาวรี เป็นชนิด caryopsis ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดและส่วนลำต้นหรือเหง้าใต้ดิน

แหล่งที่พบ แก้

มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบทั่วไปในอินเดีย พม่า จีนและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทย มักพบตามที่โล่งแจ้งในพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ พบขึ้นทั่วไปในพื้นที่ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 45-1058 เมตร ตามริมธารน้ำ เนินเขา บนแนวเทือกเขาเช่น อำเภอละงู จังหวัดสตูล อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ บ้านสานตม ตำบลสานตม อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และพบที่ป่าชุมชน บ้านสบลืน ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

คุณค่าทางอาหาร แก้

ในส่วนของใบและยอดอ่อนนั้น มีคุณค่าทางโปรตีนประมาณ 10.9เปอร์เซ็นต์ มีเส้นใยประมาณ 15.9 เปอร์เซ็นต์ มีไขมันประมาณ 2.7 เปอร์เซ็นต์ เถ้าประมาณ 5.6 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียมประมาณ 0.10 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสประมาณ 0.38เปอร์เซ็นต์ และมีแทนนินประมาณ 1.01 เปอร์เซ็นต์

การใช้ประโยชน์ แก้

เป็นสมุนไพร เครื่องจักรสานและเครื่องใช้สอย ในส่วนของ ใบใช้ห่อข้าวเหนียว ซึ่งมักจะทำในพิธีต่างๆ เช่นพิธีผูกข้อมือ ช่อดอกตากแห้งแล้วถักยึดกับด้ามไม้ใช้เป็นไม้กวาด ก้านช่อดอกตากแห้งแล้วนำไปมัดกับด้ามไม้ไผ่ใช้ทำไม้กวาด รากนำไปต้ม ใช้อมกลั้วคอเมื่อมีไข้ ดอก ช่อดอกใช้ทำไม้กวาด และยอดอ่อนเป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติสำหรับแทะเล็มของโค กระบือ ช้าง สัตว์ป่า [2]

การทำไม้กวาด แก้

อุปกรณ์

  1. เข็มเย็บกระสอบ
  2. เชือกฟาง
  3. ไม้ไผ่ ความยาวประมาณ 80 ซม.
  4. ดอกหญ้า
  5. ตะปูขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 ตัว

ขั้นตอนการทำไม้กวาด แก้

  1. นำดอกหญ้ามาทำความสะอาดและตากแดดให้แห้งคัดเลือกเฉพาะดอกหญ้าที่มีคุณภาพ ดี
  2. นำดอกหญ้าปริมาณ 1 กำมือ มัดให้เป็นวงกลม
  3. นำเข็มเย็บกระสอบ ซึ่งร้อยเชือกฟางไว้แล้ว แทงเข้าตรงกลางมัดดอกหญ้า แล้วถักขึ้นลงแบบหางปลา ให้ได้ 3 ชั้น พร้อมจัดดอกหญ้าให้มีลักษณะแบน
  4. ตัดโคนดอกหญ้าให้เสมอกัน
  5. นำด้ามไม้ไผ่เจาะรูที่หัวไว้สำหรับห้อยเชือกและเจาะรูตรงปลายนำมาขัดด้วยก้อนจากนั้นเสียบเข้าตรงกลางมัดดอกหญ้า
  6. นำเชือกฟางมัดดอกหญ้าไว้ด้วยกัน โดยนำเชือกฟางมาสอดตรงรูที่เจาะ เพื่อป้องกันไม่ให้ดอกหญ้าออกจากกัน
  7. ตอกตะปูที่เตรียมไว้ เพื่อให้ดอกหญ้าติดกับด้ามไม้ไผ่ และมีความแข็งแรงขึ้น
  • เคล็ดลับทำให้ไม้กวาดแข็งแรง ควรนำดอกหญ้าตากแดดให้แห้งสนิทก่อนมัด จะได้ไม้กวาดที่มีความแข็งแรง ไม่หลุดง่าย เมื่อถึงเวลาใช้งาน
  1. [1]
  2. [2]