ปวิณ ชำนิประศาสน์
ปวิณ ชำนิประศาสน์ (24 สิงหาคม พ.ศ.2503) อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย[1]ประธานในพิธีพลีกรรมตักน้ำสรงมุรษาภิเษก เพื่ออัญเชิญสู่[2] พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ คนที่ 37[3] เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง มาก่อน และเป็นอดีตประธานกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)[4]
ประวัติการศึกษา
แก้ปวิณ เกิดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2503 จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากสาขาวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ 2)[5] และระดับปริญญาโท จากสาขาวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การทำงาน
แก้ปวิณ เริ่มรับราชการในสังกัดกรมการปกครอง ในตำแหน่งเจ้าพนักงานปกครอง ระดับ 3 (ปลัดอำเภอ)[5] เมื่อปี พ.ศ. 2527 ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้โอนมาดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป กองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าฝ่ายบรรจุและแต่งตั้ง หัวหน้าฝ่ายแผนอัตรากำลัง กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาระบบราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ในปี พ.ศ. 2547 โอนย้ายไปรับตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 โอนกลับมารับราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และเป็นผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ในปีถัดมา กระทั่งในปี พ.ศ. 2552 ได้รังแต่งตั้งเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ ในปี พ.ศ. 2555 รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ
ในปี พ.ศ. 2556 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ในวันที่ 1 ตุลาคม จากนั้นในวันที่ 2 ตุลาคม ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง กระทั่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2558 ในปี พ.ศ. 2561 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย โดยสลับตำแหน่งกับนายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ
ยศกองอาสารักษาดินแดน
แก้- พ.ศ. 2554 รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก ปวิณ ชำนิประศาสน์[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2553 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[9]
- พ.ศ. 2552 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (จำนวน ๑๑ ราย ๑.นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ฯลฯ)
- ↑ "หมายกำหนดการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-07. สืบค้นเมื่อ 2019-05-07.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ รายนามผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
- ↑ "คณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-05. สืบค้นเมื่อ 2018-01-05.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ 5.0 5.1 ประวัติผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/B/002/24.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๓, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๕๕, ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๗๐, ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓