ปลาซิวหัวตะกั่ว

ปลาซิวหัวตะกั่ว
ปลาซิวหัวตะกั่วอินเดีย (L. laubuca) 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
วงศ์ย่อย: Danioninae
สกุล: Laubuka
Bleeker, 1860
ชนิด
9 ชนิด (ดูในเนื้อหา)
ชื่อพ้อง
  • Laubuca Bleeker, 1863

สำหรับปลาในวงศ์อื่น ดูที่: ปลาหัวตะกั่ว

ปลาซิวหัวตะกั่ว หรือ ปลาท้องพลุ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกปลาท้องพลุหรือปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Laubuka (/ลอ-บู-คา/)

จัดเป็นปลาซิวขนาดกลาง มีลักษณะทั่วไปคือ ลำตัวแบนข้าง สีลำตัวทั่วไปเป็นสีเงินขาว มีลักษณะเด่น คือ มีส่วนท้องที่ลึกและกว้างเหมือนอ้วนหรือท้องป่อง เมื่อจับขึ้นมาแล้ว ส่วนท้องจะแตกได้ง่าย อีกทั้งมีจุดสีเงินเข้มที่ส่วนหัว แลดูคล้ายปลาหัวตะกั่ว จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีเส้นข้างลำตัวที่สมบูรณ์ มีก้านครีบท้องยื่นยาวลงมาเป็นเส้นเดี่ยว

เดิมทีปลาในสกุลนี้ถูกจัดให้อยู่ในสกุล Chela มีพฤติกรรมรวมฝูงเป็นฝูงเล็ก ๆ กินแมลงที่ตกลงน้ำเป็นอาหารหลัก โดยมีปากที่เชิดขึ้นด้านบน นอกจากนี้แล้วเมื่อตกใจจะสามารถกระโดดขึ้นขนานไปกับผิวน้ำได้เหมือนปลาขวานบิน ซึ่งเป็นปลาในกลุ่มปลาคาราซิน

พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียอาคเนย์จนถึงแหลมมลายูและหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซียซึ่งพบได้ในทวีปอเมริกาใต้ในประเทศไทยจะพบได้ 2 ชนิด[1]

การจำแนก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Genus: Laubuca (ไทย)
  2. Kulabtong, S., Suksri, S. & Nonpayom, C. (2012): A new species of genus Laubuca Bleeker, 1860 cyprinid fish from Bangladesh (Cypriniformes, Cyprinidae). Biodiversity Journal, 3 (1): 93-95.
  3. 3.0 3.1 Knight, J.D.M. (2015): Description of two new species of Laubuka (Teleostei: Cyprinidae) from River Cauvery, southern India. Zootaxa, 4000 (5): 518–530.