ปลากัดช้าง
ปลากัดช้าง | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Anabantiformes |
วงศ์: | Osphronemidae |
วงศ์ย่อย: | Macropodusinae |
สกุล: | Betta |
สปีชีส์: | B. pi |
ชื่อทวินาม | |
Betta pi Tan, 1998 |
ปลากัดช้าง หรือ ปลากัดน้ำแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Betta pi) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae)
มีรูปร่างป้อมสั้น ครีบหลังยาว ครีบท้องเป็นเส้นยาว ครีบก้นยาว ปลายครีบเรียวยาว ครีบหางค่อนข้างใหญ่ หัวโต ปากกว้าง เกล็ดใหญ่ ส่วนหัวละลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลแดง มีลายใต้คางซึ่งมีลักษณะเหมือนสัญลักษณ์พาย (π) อันเป็นที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ ใต้ขอบตาเป็นสีส้มเข้มในตัวผู้ ครีบสีจางมีเหลือบสีเขียวอ่อน ปากสีคล้ำ มีรอยสีคล้ำเป็นรูปโค้งและมีแถบ 2 แถบติดกันที่ใต้คางและริมฝีปากล่าง
นับเป็นหนึ่งในปลากัดอมไข่ ที่พบได้ในประเทศไทย จัดเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด โดยสามารถโตเต็มที่ได้ถึง 12 เซนติเมตร แต่เฉลี่ยทั่วไป 9 เซนติเมตร ซึ่งนับว่าใหญ่ที่สุดด้วยในบรรดาปลากัดทั้งหมดที่พบในประเทศไทย พบในป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ของประเทศไทย โดยอาศัยในน้ำที่มีสีชาหรือสีแดง อันเกิดจากการทับถมของซากพืชเป็นเวลานาน และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างค่อนข้างต่ำ (ประมาณ pH 5-6) เป็นปลาที่ไม่ดุร้าย ก้าวร้าว เหมือนพวกปลากัดประเภทก่อหวอด จึงสามารถเลี้ยงรวมกันได้หลาย ๆ ตัว
สถานภาพเป็นปลาที่ถูกคุกคามทางด้านถิ่นที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ จัดเป็นปลาเฉพาะถิ่น ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในสถานที่เลี้ยง[1][2]
ปลากัดที่พบในประเทศไทย
แก้กลุ่ม B. picta:
แก้- ปลากัดอมไข่กระบี่ Betta simplex Kottelat, 1994
กลุ่ม B. pugnax:
แก้- ปลากัดปีนัง Betta pugnax Cantor, 1849
- ปลากัดหัวโม่งจันทบุรี Betta prima Kottelat, 1994
- ปลากัดอมไข่สงขลา Betta ferox I. Schindler & J. Schmidt, 2006
กลุ่ม B. splendens:
แก้- ปลากัดภาคกลาง (Siamese fighting fish) Betta splendens Regan, 1910
- ปลากัดอีสาน Betta smaragdina Ladiges, 1972
- ปลากัดภาคใต้ Betta imbellis Ladiges, 1975
- ปลากัดตะวันออก Betta siamorientalis Kowasupat, Panijpan, Ruenwongsa & Jeenthong, 2012
- ปลากัดมหาชัย Betta mahachaiensis Kowasupat, Panijpan, Ruenwongsa & Sriwattanarothai, 2012
กลุ่ม B. waseri:
แก้- ปลากัดช้าง Betta pi H. H. Tan, 1998
อ้างอิง
แก้- ↑ คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจจัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๒. สัตว์ถิ่นเดียวของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2542. 109 หน้า. หน้า 27. ISBN 974-7772-39-6
- ↑ Betta pi (อังกฤษ)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Betta pi ที่วิกิสปีชีส์