ปลากระเบนทอง

360px-Rowertharนายอนุกูล(แม็ก)เลิศศักดิ์ศรีสกุล 29/09/1996 เพศชาย สัญชาติไทย ประเทศไทย
ปลากระเบนทอง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับ: Myliobatiformes
วงศ์: Dasyatidae
สกุล: Taeniura
สปีชีส์: T.  lymma
ชื่อทวินาม
Taeniura lymma
(Forsskål, 1775)
World map with blue coloring all around the periphery of the Indian Ocean from South Africa to northern Australia, and through Southeast Asia including the Philippines and New Guinea
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของปลากระเบนทอง
ชื่อพ้อง
  • Raja lymma Forsskål, 1775
  • Trygon ornatus Gray, 1830

ระวังสับสนกับ: ปลากระเบนจุดฟ้า

ปลากระเบนทอง หรือ ปลากระเบนหิน[1] (อังกฤษ: Blue-spotted fantail ray, Bluespotted ribbontail ray) เป็นปลากระเบนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Taeniura lymma อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae)

มีลำตัวแบนค่อนข้างกลม ตาโปนโต มีช่องจมูกทางด้านข้างของตาขนาดใหญ่ ด้านล่างมีปากเว้าโค้ง ลำตัวกว้างประมาณ 25 เซนติเมตร หรือ 1 ฟุต มีหางยาวเท่า ๆ กับความยาวลำตัว มีเงี่ยงที่โคนหาง 2 อัน ลักษณะแหลมยาว ปลายหางมีแผ่นหนังบาง ๆ คล้ายปลากระเบนชายธง และมีแถบสีฟ้าเป็นคู่ขนานกันตั้งแต่โคนจรดปลายหาง ตามลำตัวเป็นเมือกลื่นสีเหลืองทอง และมีจุดสีฟ้าแต้มอยู่ทั่วทางด้านบน พื้นลำตัวมีหลากหลายสี ทั้ง สีเขียว, สีน้ำตาล หรือสีเทา ส่วนใต้ท้องมีสีขาว

อาศัยอยู่ตามพื้นทรายในบริเวณแนวปะการังเขตร้อนทั่วไป พบได้ตั้งแต่ความลึกไม่เกิน 30 เมตร จนถึงชายฝั่ง กินอาหารจำพวก สัตว์น้ำขนาดเล็ก ตลอดจนสัตว์มีกระดองชนิดต่าง ๆ [2]

พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออกไปจนถึง ทะเลแดง, อ่าวเปอร์เซีย, อ่าวเบงกอล, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, ทะเลจีนใต้, ทะเลฟิลิปปิน ไปจนถึงออสเตรเลียทางตอนเหนือ

จัดเป็นปลากระเบนอีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดไม่ใหญ่นักและมีความสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้