ปรัชญาวัฒนธรรม เป็นปรัชญาสาขาหนึ่งที่ตรวจสอบสาระสำคัญและความหมายของวัฒนธรรม

วาทกรรมสมัยใหม่ตอนต้น แก้

จินตนิยมแบบเยอรมัน แก้

 
โยฮัน แฮร์เดอร์ ให้ความสนใจกับวัฒนธรรมประจำชาติ

อิมมานูเอล คานท์ ( Immanuel Kant ) นักปรัชญาชาวเยอรมัน (1724–1804) ได้กำหนดนิยามแบบปัจเจกนิยมของ "การสว่างวาบทางปัญญา" ซึ่งคล้ายกับแนวคิดของ bildung : "การสว่างวาบทางปัญญาคือการอุบัติความไม่สมบูรณ์ขึ้นในตัวมนุษย์เอง" [1] เขาโต้แย้งว่าความไม่สมบูรณ์นี้ไม่ได้มาจากการขาดความเข้าใจ แต่มาจากการขาดความกล้าที่จะคิดอย่างเสรี เพื่อต่อต้านความขี้ขลาดทางปัญญา ค้านท์กระตุ้นโดยกล่าวว่า : Sapere aude "กล้าที่จะฉลาด!" ปฏิกิริยาที่มีต่อค้านท์ อย่างนักวิชาการชาวเยอรมัน อย่างเช่น โยฮัน ก็อทฟริท แฮร์เดอร์ (Johann Gottfried Herder) (1744–1803) แย้งว่าความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ซึ่งจำเป็นต้องใช้รูปแบบที่คาดเดาไม่ได้และมีรูปแบบที่หลากหลายกว่ามีความสำคัญพอ ๆ กับความมีเหตุผลของมนุษย์ ยิ่งไปกว่านั้นแฮร์เดอร์ได้เสนอรูปแบบสะสมจาก bildung : "สำหรับแฮร์เดอร์แล้ว Bildung คือประสบการณ์ทั้งหมดที่มอบอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกันและความรู้สึกถึงการมีโชคชะตาร่วมกันให้กับผู้คน"

 
อดอล์ฟ บาสเตียน พัฒนารูปแบบวัฒนธรรมสากล

ในปี ค.ศ. 1795 วิลเฮล์ม ฟอน ฮุมโบลด์ นักภาษาศาสตร์และนักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ (1767 - 1835) เรียกร้องให้มีมานุษยวิทยาที่จะสังเคราะห์ความสนใจของคานท์และเฮอร์เดอร์เข้าไว้ด้วยกัน ในช่วงยุคโรแมนติก นักวิชาการในเยอรมนี โดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการชาตินิยม - เช่นการต่อสู้ของชาตินิยมเพื่อสร้าง "เยอรมนี" เกิดขึ้นจากความแตกต่างหลากหลายและการต่อสู้ของกลุ่มชาตินิยมโดยชนกลุ่มน้อยที่ต่อต้านจักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการี พัฒนาให้ครอบคลุมมากขึ้นความคิดของวัฒนธรรมในฐานะ " โลกทัศน์ " ( Weltanschauung ) ตามความคิดแนวนี้ กลุ่มชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มมีโลกทัศน์ที่แตกต่างกันซึ่งไม่สามารถเทียบได้กับโลกทัศน์ของกลุ่มอื่น ๆ แม้ว่าจะมีมุมมองที่ครอบคลุมมากกว่ามุมมองก่อนหน้านี้ แต่แนวทางวัฒนธรรมนี้ยังคงทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม "อารยะ" และวัฒนธรรม "ดั้งเดิม" หรือ วัฒนธรม "ชนเผ่า"

ในปีพ. ศ. 2403 อดอล์ฟ บาสเตียน (1826–1905) ได้โต้แย้งเรื่อง "ความเป็นหนึ่งเดียวทางจิตวิทยาของมนุษยชาติ" เขาได้เสนอว่าการเปรียบเทียบทางวิทยาศาสตร์ของสังคมมนุษย์ทั้งหมดจะแสดงให้เห็นว่าโลกทัศน์ที่แตกต่างกันนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐานที่เหมือนกัน ตามแนวคิดของบาสเตียนนั้น สังคมมนุษย์ทั้งหมดร่วมกันแบ่งปันชุด "ความคิดพื้นฐาน" ( Elementargedanken ); วัฒนธรรมที่แตกต่างกันหรือ "ความคิดพื้นเมือง" ที่แตกต่างกัน ( Völkergedanken ) เป็นการปรับเปลี่ยนความคิดพื้นฐานในท้องถิ่น [2] มุมมองนี้ปูทางไปสู่ความเข้าใจวัฒนธรรมสมัยใหม่ Franz Boas (1858-1942) ได้รับการปลูกฝังในประเพณีนี้ และเขาได้นำออกมาใช้ด้วยเมื่อเขาออกจากเยอรมนีไปยังสหรัฐอเมริกา

จินตนิยมแบบอังกฤษ แก้

 
แมทธิว อาร์โนลด์ กวีและนักวิจารณ์ชาวอังกฤษมองว่า "วัฒนธรรม" เป็นการปลูกฝังแนวคิดอุดมคติแบบมนุษยนิยม

ในศตวรรษที่ 19 Matthew Arnold (1822–1888) เป็นเป็นนักปรัชญามนุษยนิยม นักเขียนเรียงความและกวีชาวอังกฤษ เขาใช้คำศัพท์ "วัฒนธรรม" เพื่ออ้างถึงอุดมคติของการขัดเกลาของมนุษย์แต่ละคน [3] แนวคิดของวัฒนธรรมนี้ก็เปรียบได้กับแนวคิด Bildung ของเยอรมัน เขากล่าวว่า " ... วัฒนธรรมเป็นการแสวงหาความสมบูรณ์แบบของสรรพสิ่งโดยให้ความหมายในการรับรู้ในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรามากที่สุด และเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ได้เกิดจากความคิดและคำพูดที่อยู่ในโลกของเรา"

ในทางปฏิบัติ วัฒนธรรม อ้างถึงอุดมคติแบบ élite ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ศิลปะ ดนตรีคลาสสิก และ อาหารชั้นสูง [4] เนื่องจากรูปแบบเหล่านี้เกี่ยวข้องกับชีวิตในเมือง คำว่า "วัฒนธรรม" จึงถูกสร้างขึ้นจาก "อารยธรรม" (มีที่มาจากคำว่า lat. civitas, city) อีกแง่หนึ่งของขบวนการลัทธิจินตนิยม คือ ความสนใจในคติชนวิทยา ซึ่งนำไปสู่การนิยามคำศัพท์ "วัฒนธรรม" ในกลุ่มชนที่ไม่ใช่ชนชั้นสูง มีลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างวัฒนธรรมชั้นสูง กล่าวคือ กลุ่มสังคมของชนชั้นปกครอง และ วัฒนธรรมชั้นต่ำ กล่าวอีกนัยหนึ่ง แนวคิดเรื่อง "วัฒนธรรม" ที่พัฒนาขึ้นในยุโรปในระหว่างยุคศตวรรษที่ 18 และยุคศตวรรษที่ 19 ตอนต้นสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันภายในสังคมยุโรป [5]

 
Edward Tylor นักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษ เป็นหนึ่งในนักวิชาการที่พูดภาษาอังกฤษคนแรกที่ใช้คำศัพท์ "วัฒนธรรม" ในความหมายที่ครอบคลุมและเป็นสากล

แมทธิว อาร์โนลด์ เห็นแย้งกับ "วัฒนธรรม" ด้วยแนวคิดอนาธิปไตย ; ชาวยุโรปคนอื่น ๆ รวมถึงนักปรัชญาอย่าง โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) และ ช็อง-ชาค รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau) ก็เห็นแย้งกับ "วัฒนธรรม" จาก "สภาพตามธรรมชาติ" ตามแนวคิดของฮอบส์และรุสโซ ชาวอเมริกันพื้นเมืองที่ถูกยึดครองโดยชาวยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 อาศัยอยู่ในสภาพตามธรรมชาติ ความขัดแย้งนี้แสดงออกผ่านความแตกต่างระหว่าง "ความมีอารยะ" และ "ความไร้อารยะ" ตาแนวคิดนี้เราสามารถจำแนกลำดับชั้นของประเทศและชาติที่มีอารยธรรมมากกว่าประเทศอื่น อีกทั้งประชาชนบางกลุ่มก็มีวัฒนธรรมสูงกว่าประชาชนกลุ่มอื่น ความแตกต่างทางวัฒนธรรมนี้นำไปสู่การสร้างทฤษฏีดาร์วินทางสังคมของ Herbert Spencer และทฤษฎีวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของ Lewis Henry Morgan เช่นเดียวกับที่นักวิจารณ์บางคนโต้แย้งว่าความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมชั้นสูงและระดับต่ำเป็นการแสดงออกของความขัดแย้งระหว่างชนชั้นสูงชาวยุโรปและชนชั้นล่างในยุโรป นักวิจารณ์บางคนแย้งว่าความแตกต่างระหว่างประชาชนที่มีอารยะและประชาชนไร้อารยะนั้นเป็นการแสดงออกถึงความขัดแย้งระหว่างอำนาจของลัทธิอาณานิคมของชาวยุโรปและการล่าอาณานิคมของพวกเขา

นักวิจารณ์ในศตวรรษที่ 19 คนอื่นที่ได้รับอิทธิพลจาก รุสโซ (Rousseau) ยอมรับความแตกต่างนี้ระหว่างวัฒนธรรมชั้นสูงและวัฒนธรรมระดับต่ำ แต่ได้เห็นความละเอียดอ่อนและความซับซ้อนของวัฒนธรรมชั้นสูงว่าเป็นพัฒนาการที่เสียหายและผิดธรรมชาติซึ่งบดบังและบิดเบือนธรรมชาติที่สำคัญของประชาชน นักวิจารณ์เหล่านี้มองว่าดนตรีพื้นเมือง (สร้างสรรค์โดย "ชาวบ้าน" คือ ชาวชนบท ชาวนา ผู้ที่ไม่รู้หนังสือ) เพื่อแสดงวิถีชีวิตตามธรรมชาติอย่างตรงไปตรงมา ในขณะที่ดนตรีคลาสสิกดูผิวเผินและเสื่อมโทรม มุมมองนี้มักแสดงให้เห็นถึงชนพื้นเมืองในฐานะ "คนเถื่อนที่มีคุณธรรม" ซึ่งใช้ชีวิตตามอัตภาพและไม่มีความด่างพร่อย ไม่ซับซ้อนและไม่ถูกทำลายโดยระบบทุนนิยมของตะวันตกแบ่งชั้นของ

ในปี 1870 Edward Tylor (1832-1917) นักมานุษยวิทยา ได้ใช้แนวคิดของวัฒนธรรมชั้นสูงกับวัฒนธรรมชั้นต่ำเพื่อเสนอทฤษฎีวิวัฒนาการของศาสนา ตามทฤษฎีนี้ศาสนามีวิวัฒนาการจากรูปแบบที่หลากหลายจนนำไปสู่รูปแบบเดียวมากขึ้น [6] ในกระบวนการนี้ เขาได้นิยามวัฒนธรรมใหม่ว่าเป็นชุดกิจกรรมที่หลากหลายของสังคมมนุษย์ทั้งหมด มุมมองนี้ปูทางไปสู่ความเข้าใจวัฒนธรรมสมัยใหม่

ดูเพิ่มเติม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Immanuel Kant 1784 "Answering the Question: What is Enlightenment?" (German: "Beantwortung der Frage: Was ist Aufklärung?") Berlinische Monatsschrift, December (Berlin Monthly)
  2. "Adolf Bastian", Today in Science History; "Adolf Bastian", Encyclopædia Britannica
  3. Arnold, Matthew. 1869. Culture and Anarchy. เก็บถาวร 2017-01-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. Williams (1983), p.90. Cited in Shuker, Roy (1994). Understanding Popular Music, p.5. ISBN 0-415-10723-7. argues that contemporary definitions of culture fall into three possibilities or mixture of the following three:
  5. Bakhtin 1981, p.4
  6. McClenon, pp.528-529

แหล่งที่มา แก้