โยฮัน ก็อทฟรีท แฮร์เดอร์
โยฮัน ก็อทฟรีท แฮร์เดอร์ (เยอรมัน: Johann Gottfried Herder) เป็นนักปรัชญา นักเทววิทยา กวี และนักวิจารณ์วรรณกรรมชาวเยอรมัน เขามีความเกี่ยวข้องกับสำนักเรืองปัญญา, ชตวร์มอุนท์ดรัง และสำนักคลาสสิกไวมาร์
โยฮัน ก็อทฟรีท แฮร์เดอร์ Johann Gottfried Herder | |
---|---|
เกิด | 25 สิงหาคม ค.ศ. 1744 โมรุงเงิน ราชอาณาจักรปรัสเซีย |
เสียชีวิต | 18 ธันวาคม ค.ศ. 1803 ไวมาร์ ซัคเซิน-ไวมาร์ | (59 ปี)
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเคอนิชส์แบร์ค |
ยุค | ยุคเรืองปัญญา |
แนวทาง | ปรัชญาตะวันตก |
ความสนใจหลัก | ปรัชญา, ปรัชญาภาษา, มานุษยวิทยาวัฒนธรรม, ปรัชญาจิต, สุนทรียศาสตร์, ปรัชญาประวัติศาสตร์, ปรัชญาการเมือง, ปรัชญาศาสนา |
แนวคิดเด่น | ภาษามีอิทธิพลต่อความคิด[1] แนวคิดอันตนิยมประวัติศาสตร์[2][3] ภาวะวัฒนธรรมสัมพัทธ์[4] ฟ็อลคส์ไกสท์ การสำรวจภาษาและวัฒนธรรมโดยวิธีเชิงประจักษ์[5] |
เป็นอิทธิพลต่อ
|
แนวคิดด้านปรัชญาภาษา แฮร์เดอร์เป็นคนแรก ๆ ที่ออกมาเสนอว่า ภาษาที่แตกต่างมีอิทธิพลต่อรูปแบบและกรอบความคิดของสังคมมนุษย์แต่ละกลุ่ม สำหรับแฮร์เดอร์แล้ว ภาษาเป็นดั่ง "รากฐานทางความคิด" แนวคิดนี้ได้รับการอธิบายและเสริมโดยนักปรัญชาวิลเฮ็ล์ม ฟ็อน ฮุมบ็อลท์ ว่า ภาษาเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้เพื่อในการออกและแลกเปลี่ยนความคิด เวลามนุษย์คิดในใจก็คิดเป็นภาษา
แนวคิดด้านปรัชญาประวัติศาสตร์ ในขณะที่นักปรัชญาคนอื่นเสนอว่า "มนุษย์สร้างประวัติศาสตร์" แต่แฮร์เดอร์กลับคิดว่า "ประวัติศาสตร์สร้างมนุษย์" เขาให้ความสำคัญกับปัจเจกภาพและความหลากหลายของมนุษย์ เขาเชื่อว่าความแตกต่างของวิถีชีวิตมนุษย์เป็นผลผลิตของประวัติศาสตร์ในแต่ละช่วงสมัย ประวัติศาสตร์ของแต่ละยุคหรือแต่ละสังคมมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน ทำให้มนุษย์ในแต่ละยุคแต่ละถิ่นกระทำการในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เขานำวัฒนธรรมชนชาติในดินแดนในยุคสมัยต่าง ๆ มาเปรียบเทียบกัน และสรุปว่าทุกสังคมต่างมีบรรทัดฐานเป็นของตัวเอง ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละสถานที่
อ้างอิง
แก้- ↑ Forster 2010, pp. 16 and 50 n. 6: "This thesis is already prominent in On Diligence in Several Learned Languages (1764)".
- ↑ This thesis is prominent in This Too a Philosophy of History for the Formation of Humanity (1774) and Ideas on the Philosophy of the History of Mankind (1784–91).
- ↑ Forster 2010, p. 36.
- ↑ Forster 2010, p. 41.
- ↑ Forster 2010, p. 25.
- ↑ Fernando Vidal, The Sciences of the Soul: The Early Modern Origins of Psychology, University of Chicago Press, 2011, p. 193 n. 31.
- ↑ H. B. Nisbet, German Aesthetic and Literary Criticism: Winckelmann, Lessing, Hamann, Herder, Schiller and Goethe, CUP Archive, 1985, p. 15.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 8.7 Forster 2010, p. 9.
- ↑ Eugenio Coșeriu, "Zu Hegels Semantik," Kwartalnik neofilologiczny, 24 (1977), p. 185 n. 8.
- ↑ Jürgen Georg Backhaus (ed.), The University According to Humboldt: History, Policy, and Future Possibilities, Springer, 2015, p. 58.
- ↑ Douglas A. Kibbee (ed.), History of Linguistics 2005: Selected papers from the Tenth International Conference on the History of the Language Sciences (ICHOLS X), 15 September 2005, Urbana-Champaign, Illinois, John Benjamins Publishing, 2007, p. 290.
- ↑ Michael Forster (27 September 2007). "Stanford Encyclopedia of Philosophy: Johann Gottfried von Herder". สืบค้นเมื่อ 20 May 2016.
- ↑ McNab, John (1972). Towards a Theology of Social Concern: A Comparative Study of the Elements for Social Concern in the Writings of Frederick D. Maurice and Walter Rauschenbusch (วิทยานิพนธ์ PhD). Montreal: McGill University. p. 201. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.