ปฏิทินจันทรคติไทย

เดือนจันทรคติ

ปฏิทินจันทรคติไทย (อังกฤษ: Thai lunar calendar) คือ ปฏิทินที่นับตามคติการโคจรของดวงจันทร์ โดยหมายดูจากปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม สำหรับปฏิทินจันทรคติ ของไทย จะมีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้

  • ปฏิทินจันทรคติราชการ หรือปฏิทินหลวง เป็นแบบที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม อาศัยการกำหนดรูปแบบปีทางจันทรคติ อย่างไรก็ตาม หลักการคำนวณหารูปแบบปีจันทรคติ ยังไม่มีการสรุปเป็นสูตรที่ตายตัวแน่ชัด ใช้เป็นปฏิทินจันทรคติราชการทั่วไป ตลอดจน พระสงฆ์ไทยคณะมหานิกาย
  • ปฏิทินจันทรคติปักขคณนา เป็นแบบที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ มีสูตรคำนวณที่แน่ชัด และมีความแม่นยำตามธรรมชาติกว่าแบบราชการอยู่มาก และให้ทรงนำมาใช้ในพระสงฆ์ไทย คณะธรรมยุติกนิกาย

การนับช่วงเวลา

แก้

การนับช่วงเวลาในปฏิทินจันทรคติไทย เป็นการนับโดยถือเอาการเปลี่ยนแปลงของดวงจันทร์เป็นหลัก ดังนี้

  • คืนเดือนดับ จะสังเกตไม่เห็นดวงจันทร์
  • คืนข้างขึ้น จะสังเกตเห็นดวงจันทร์เป็นรูปเสี้ยว นิดเดียวแล้วค่อยๆ โตขึ้นในแต่ละวันจนเต็มดวง
  • คืนเดือนเพ็ญ จะสังเกตเห็นดวงจันทร์สว่างเต็มดวงมากที่สุดในรอบเดือนจันทรคติ
  • คืนข้างแรม จะสังเกตเห็นดวงจันทร์ค่อยๆ แหว่งเป็นรูปเสี้ยวเล็กลงๆ จนในที่สุดดวงจันทร์ก็มืดทั้งดวง

การอ่านวันตามแบบจันทรคติจะอ่านเป็นตัวเลขโดยเริ่มที่วันอาทิตย์เป็นหนึ่ง และนับต่อไปตามลำดับจนถึงวันเสาร์นับเป็นเจ็ด และมีการกำหนดดิถีดวงจันทร์และตัวเลขเดือนกำกับอย่างย่อ โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวเลข ดังตัวอย่าง อ่านว่า วันศุกร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3

การนับวันทางจันทรคติตามหลักของปฏิทินราชการ (ซึ่งแตกต่างจากหลักของปฏิทินจันทรคติปักขคณนา) ได้กำหนดให้ เริ่มนับวันขึ้น 1 ค่ำ จนถึงขึ้น 15 ค่ำ แล้วจึงขึ้นวันแรม 1 ค่ำ ถึงวันแรม 14 ค่ำ ในเดือนคี่ และวันแรม 15 ค่ำ ในเดือนคู่ จึงทำให้เดือนคี่มี 29 วัน เดือนคู่มี 30 วัน การนับเดือนทางจันทรคติ เริ่มต้นนับเดือนธันวาคมเป็นเดือน 1 เรียกว่าเดือนอ้าย มกราคมเป็นเดือนที่ 2 เรียกว่า เดือนยี่ และนับเดือน 3 เดือน 4 ไปจนถึงเดือน 12 ยกเว้นเขตภาคเหนือตอนบน หรือดินแดนล้านนาเดิม ที่มีการนับเดือนเร็วกว่า 2 เดือน กล่าวคือ ในวันลอยกระทง ตรงกับเดือน 12 ใต้ และตรงกับเดือน 2 เหนือ (12, 1, 2) ส่วนวันมาฆบูชา ตรงกับเดือน 3 ใต้ และ เดือน 5 เหนือ

การนับปีทางจันทรคติ นับตามเวลาการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก 1 รอบ ใช้เวลา 29 วันครึ่งในเวลา 1 เดือน ถ้านับ 29 วัน เวลาจะขาดไป 12 ชั่วโมง แต่ถ้านับ 30 วัน เวลาจะเกินไป 12 ชั่วโมง จึงต้องนับ 59 วัน เป็น 2 เดือน โดยให้นับเดือนคี่มี 29 วัน และเดือนคู่มี 30 วัน โดยเดือนคี่เป็นเดือนต้น เดือนคู่เป็นเดือนรองถัดไป สลับจนครบ 12 เดือน แล้วเริ่มต้นใหม่ ถ้านับวันปีทางจันทรคติจะมีเพียง 354 วัน ซึ่งมีวันน้อยกว่าปีทางสุริยคติถึง 11 วันต่อปี เมื่อรวม 3 ปี จะได้ 33 วัน ดังนั้นในทุกๆ 3 ปีทางจันทรคติ จะมีเดือน 8 สองหน คือจะมี 13 เดือน เรียกปีนั้นว่า ปีอธิกมาส

ปีปฏิทินไทย

แก้

แบ่งเป็น ๓ แบบ คือ

  1. ปีปกติ มี ๑๒ เดือน
  2. ปีอธิกมาส มี ๑๓ เดือน มีเดือนพิเศษแทรกระหว่างเดือน ๗ กับเดือน ๘ เรียกว่า"เดือน ๘ หนแรก"
  3. ปีอธิกวาร มี ๑๒ เดือน มีวัน"แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๗"

วัตถุประสงค์ของการแทรกเดือนและวัน

แก้
  • ปีอธิกมาส เพื่อให้โดยเฉลี่ย ๑ ปีมี ๓๖๕.๒๕๖๓๖๓ วัน ตามรอบปีดาวฤกษ์
  • ปีอธิกวาร เพื่อให้โดยเฉลี่ย ๑ เดือนมี ๒๙.๕๓๐๕๘๘ วัน ตามเดือนจันทร์ดับ

วิธีหาปีอธิกมาส

แก้

๑ ปีมี ๓๖๕.๒๕๖๓๖๓/๒๙.๕๓๐๕๘๘ = ๑๒.๓๖๘๗๔๖๗๐ เดือน

จึงต้องแทรก ๑ เดือนทุกๆ ๑/๐.๓๖๘๗๔๖๗๐ = ๒.๗๑๑๘๘๘ ปี

๑๙ ปี แทรก ๗ ครั้ง

๑๖๐ ปี แทรก ๕๙ ครั้ง

๑๖๑๙ ปี แทรก ๕๙๗ ครั้ง

ลอย ชุนพงษ์ทอง ได้คิดค้นสูตรหาอธิกมาส โดยปีมหาศักราชนั้น จะเป็นปีอธิกมาสก็ต่อเมื่อ

 

และ  

โดย   คือ ม.ศ.

  เป็นเศษเหลือจากการหาร a ด้วย b

๐.๔๕๒๒๒ เป็นค่าคงที่ซึ่งสอดคล้องกับปฏิทินไทยในประวัติศาสตร์ช่วง ๕๐๐ ปีที่ผ่านมา

ตัวอย่างเช่น ม.ศ.๑๗๙๓(พ.ศ. ๒๔๑๕,ค.ศ.๑๘๗๒)

 

  จึงไม่เป็นปีอธิกมาส

วิธีหาเดือนอธิกมาส

แก้

ลอย ชุนพงษ์ทอง คิดสูตรคำนวณเดือนอธิกมาส แบบพระราชประสงค์ของ ร.๔ ดังนี้

 

เช่น ม.ศ. ๑๗๙๔, F=0.9894 เป็นปีอธิกมาส

 

แทรกเดือน ๐.๕ เรียกว่า เดือน ๑ หนแรก (เดือน ๑ หนที่สอง คือเดือน ๑ จริง)


อีกวิธีหนึ่งคือหาช่วงที่พระอาทิตย์อยู่ราศีใดราศีหนึ่งมีจันทร์ดับสองครั้ง เดือนนั้นเป็นอธิกมาส

ความแตกต่างระหว่างการบอกเฟสของดวงจันทร์ในปฏิทินจันทรคติไทยกับการสังเกตดวงจันทร์จริง

แก้

เฟสของดวงจันทร์ที่ใช้เพื่อใช้จัดทำปฏิทินจันทรคติไทย ใช้เวลาเที่ยงคืน ในการคำนวณหาเฟสของดวงจันทร์เสมือน ที่ถือว่าโคจรรอบโลกด้วยอัตราเร็วคงที่ ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับการสังเกตเห็นเฟสดวงจันทร์ในท้องฟ้าจริง (อาจคลาดเคลื่อนไปจากดวงจันทร์ได้ถึง 0.65 วัน)

  • จันทร์ดับ หรือวันเดือนดับ ในทางปฏิทินจันทรคติไทย หมายถึง คืนที่ดวงจันทร์เป็นเสี้ยวเล็กที่สุด ในรอบเดือนนั้น เนื่องจากความคลาดเคลื่อนของปฏิทินจันทรคติจึงทำให้พบวันจันทร์ดับนี้ได้ในคืนข้างแรม 14- 15 ค่ำ หรืออาจเป็นขึ้น 1-2 ค่ำ แต่ในทางดาราศาสตร์ จันทร์ดับ หรือ New Moon จะต้องเป็นวันที่ดวงจันทร์ขึ้นและตกพร้อมกับดวงอาทิตย์ หรือ ดวงจันทร์มีมุมห่าง 0 องศากับดวงอาทิตย์ จึงไม่สามารถสังเกตเห็นเสี้ยวของดวงจันทร์ได้
  • จันทร์เพ็ญ หรือวันเดือนเพ็ญ หรือวันเดือนเต็มดวง ปฏิทินจันทรคติไทย หมายถึง คืนที่ดวงจันทร์มีความสว่างเต็มดวงมากที่สุด ในรอบเดือนนั้น โดยหลักการแล้วจะไม่ใช่ทั้ง ข้างขึ้น หรือข้างแรม เพราะเป็นช่วงเวลาที่ดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง ระหว่างข้างขึ้นและข้างแรม ในปฏิทินจันทรคติไทย เนื่องจากความคลาดเคลื่อนของปฏิทินจันทรคติจึงทำให้พบวันเพ็ญในช่วงวันขึ้น 14-15 ค่ำ หรือช่วงวันแรม 1-2 ค่ำ ก็ได้ ส่วนในทางดาราศาสตร์นั้น จันทร์เพ็ญ หรือ Full Moon จะเป็นวันที่ดวงจันทร์อยู่ที่มุมห่าง 180 องศากับดวงอาทิตย์ จะสังเกตเห็นดวงจันทร์มีความสว่างเต็มดวง มีรูปร่างเป็นวงกลม ช่วงเวลาที่พบจันทร์เพ็ญนั้นมีโอกาศเกิดขึ้นในเวลากลางวันดังนั้นจึงอาจจะไม่สังเกตเห็นจันทร์เพ็ญนี้
  • จันทร์กึ่งดวง ไม่จำเป็นต้องเป็นวันขึ้น 8 ค่ำ หรือแรม 8 ค่ำ ซึ่งเป็นวันพระ อาจเป็นวันขึ้น 7 ค่ำ หรือแรม 7 ค่ำ ก็ได้

ปฏิทินจันทรคติไทยพบว่ามีความคลาดเคลื่อนจากการสังเกตดวงจันทร์ในท้องฟ้าจริง ซึ่งอาจจะเกิดจากความคลาดเคลื่อนในการคำนวณเฟสของดวงจันทร์ในปฏิทินจันทรคติไทย 2 ส่วน คือ ส่วนการทดวัน (ทางปฏิทิน) ซึ่งมีค่าได้ถึง 0.5วัน โดยเฉพาะในเดือน 6 ของปีอธิกวารเป็นช่วงที่รอทดวัน กับส่วนความเป็นวงรีของ วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก (ทางดาราศาสตร์) ซึ่งมีค่าได้ถึง 0.65 วัน อีกส่วนหนึ่ง

การสังเกตดวงจันทร์อย่างง่าย

แก้

วันจันทร์เพ็ญ

วันจันทร์เพ็ญควรเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเท่านั้น แต่เนื่องจากความคลาดเคลื่อนของปฏิทินจันทรคติจึงอาจเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ หรือแรม 1 ค่ำก็ได้ ผู้ที่เคยสังเกตดวงจันทร์เป็นประจำจะสามารถจำแนกดวงจันทร์วันเพ็ญกับดวงจันทร์ในวันขึ้น 14 ค่ำ หรือวันแรม 1 ค่ำได้

การดูจันทร์เพ็ญอย่างง่าย (วิธีหนึ่ง) ในเขตร้อน เช่นประเทศไทย ให้ดูเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกดังนี้

1.ถ้าคืนนั้นเป็นจันทร์เพ็ญ จะเห็นดวงจันทร์กำลังขึ้นพอดี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์

2.ถ้าดวงจันทร์อยู่สูงเกิน 7 องศา แสดงว่ายังไม่ถึงวันจันทร์เพ็ญ ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าดวงจันทร์ด้านล่างยังแหว่งอยู่ เป็นข้างขึ้น เช่น ขึ้น 14 ค่ำ (หรืออาจเป็นขึ้น 15 ค่ำก็ได้ในบางเดือน)

3.ถ้าดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้วราว 1/2 ชั่วโมง แต่ดวงจันทร์ยังไม่ขึ้นเลย และเมื่อดวงจันทร์ขึ้นแล้วให้สังเกตว่า ดวงจันทร์ด้านบนจะแหว่งไปเล็กน้อย กรณีนี้เป็นแรม 1 - 2 ค่ำ

วันจันทร์ดับอย่างง่าย

วันจันทร์ดับควรเป็นวันแรม 14-15 ค่ำเท่านั้น แต่เนื่องจากความคลาดเคลื่อนของปฏิทินจันทรคติวันจันทร์ดับอาจเป็นวันขึ้น 1 ค่ำได้ (มีโอกาส ราว 50%) การดูจันทร์ดับอย่างง่ายในเขตร้อน เช่นประเทศไทย ให้ดูเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกดังนี้

1.ถ้าคืนนั้นดวงจันทร์ยังไม่ดับ จะไม่เห็นดวงจันทร์เลย เพราะดวงจันทร์ตกขอบฟ้าไปก่อนดวงอาทิตย์ เช่น วันแรม 13-14-15 ค่ำ

2.ถ้าคืนนั้นเป็นคืนจันทร์ดับพอดี อาจไม่เห็นดวงจันทร์ก็ได้ เพราะดวงจันทร์จะตกไล่เลี่ยกับดวงอาทิตย์ คือตกก่อนหรือหลังดวงอาทิตย์ไม่เกิน ครึ่งชั่วโมง เช่น แรม 14-15 ค่ำ ขึ้น 1 ค่ำ

3.ถ้าคืนนั้นเป็นคืนอมาวสี(จันทร์ดับ) คือ คืนถัดจากคืนจันทร์ดับ จะเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยวบางๆ หงายท้อง และตกตามหลังดวงอาทิตย์ไป ราว 1/2 ชั่วโมง เช่น ขึ้น 2 ค่ำ อาจเป็นขึ้น 1 ค่ำก็ได้ ในบางเดือน)

วันจันทร์กึ่งดวง

รูปร่างดวงจันทร์ครึ่งดวงสังเกตได้ไม่ยาก อย่างไรก็ตามหากต้องดูให้ละเอียดขึ้น ให้สังเกตดังนี้ 1.การสังเกตดวงจันทร์ครึ่งดวงข้างขึ้น ให้ดูตอนที่ดวงอาทิตย์ตก ดวงจันทร์จะอยู่กลางฟ้า (ทางทิศใต้) พอดี ส่วนมากเป็นวันขึ้น 8 ค่ำ แต่อาจเป็นขึ้น 7 ค่ำก็ได้

2.การสังเกตดวงจันทร์ครึ่งดวงข้างแรม ให้ดูในตอนที่ดวงอาทิตย์ขึ้น ดวงจันทร์จะอยู่กลางฟ้า (ทางทิศใต้) พอดี ส่วนมากตรงกับวันแรม 8 ค่ำ แต่อาจเป็นแรม 7 ค่ำก็ได้

การดูจันทร์ดับ/เพ็ญจากอุปราคา จันทรุปราคา จะเกิดในคืนจันทร์เพ็ญเท่านั้น มักเป็นวันขึ้น 15 ค่ำและมีโอกาสเกิดในวันขึ้น 14 ค่ำได้ด้วย แต่มีโอกาสน้อยมาก แต่บางครั้งอาจเป็นแรม 1 ค่ำก็ได้ โดยเฉพาะถ้าขึ้นจันทรุปราคาในช่วงหัวค่ำ ส่วนสุริยุปราคา มักจะเกิดในวันจันทร์ดับ แต่ในบางครั้งเกิดในวันถัดไปก็ได้ โดยเฉพาะหากเกิดช่วงเช้า วันเกิดสุริยุปราคามักตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ หรือวันแรมสุดท้ายของเดือน

ดูเพิ่ม

แก้
ดิถีของดวงจันทร์ในวันนี้
วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2567
 
ข้างแรม ตอนต้น

คิดเป็นร้อยละ 85 ของดวงจันทร์ทั้งดวง

อ้างอิง

แก้
  • ชุนพงษ์ทอง, ลอย (2007). "ปฏิทินจันทรคติไทย อัฉริยภาพของบรรพชนไทย" (pdf). The Journal of the Royal Institute of Thailand. 32 (2). สืบค้นเมื่อ 2019-09-09.