โบโรบูดูร์

(เปลี่ยนทางจาก บุโรพุทโธ)

โบโรบูดูร์ (อินโดนีเซีย: Borobudur) หรือ บาราบูดูร์ (อินโดนีเซีย: Barabudur) มีชื่อเต็มว่า จันดีโบโรบูดูร์ (อินโดนีเซีย: Candi Borobudur, ชวา: ꦕꦤ꧀ꦝꦶꦧꦫꦧꦸꦝꦸꦂ, อักษรโรมัน: Candhi Barabudhur) คนไทยรู้จักในชื่อ บรมพุทโธ[1] (Param Buddho) หรือ บุโรพุทโธ[2] เป็นวัดนิกายมหายานในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในอำเภอมาเกอลัง ตั้งอยู่ไม่ห่างจากเมืองมุนตีลันในจังหวัดชวากลาง ประเทศอินโดนีเซีย เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่โลก[3][4][5] ซึ่งแบ่งออกเป็น 9 ชั้น โดยเป็นสี่เหลี่ยม 6 ชั้น และวงกลม 3 ชั้น บนยอดมีโดมตรงกลาง ตกแต่งด้วยภาพพิมพ์แนวนูน 2,672 ภาพ และพระพุทธรูป 504 องค์ โดมตรงกลางล้อมรอบด้วยพระพุทธรูป 72 องค์ แต่ละองค์ประดิษฐานข้างในสถูปที่ถูกเจาะรู[6]

โบโรบูดูร์
ชื่อในภาษาท้องถิ่น
ชวา: ꦧꦫꦧꦸꦝꦸꦂ
โบโรบูดูร์ แหล่งมรดกโลกของยูเนสโก
ที่ตั้งมาเกอลัง จังหวัดชวากลาง
สร้างเมื่อเดิมสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในสมัยราชวงศ์ไศเลนทร์
บูรณะ1911
บูรณะโดยTheodoor van Erp
สถาปนิกGunadharma
โบโรบูดูร์ตั้งอยู่ในเกาะชวา
โบโรบูดูร์
ที่ตั้งในเกาะชวา
โบโรบูดูร์ตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
โบโรบูดูร์
โบโรบูดูร์ (ประเทศอินโดนีเซีย)
กลุ่มวัดโบโรบูดูร์ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
โบโรบูดูร์
พิกัด7°36′28.6″S 110°12′14.6″E / 7.607944°S 110.204056°E / -7.607944; 110.204056พิกัดภูมิศาสตร์: 7°36′28.6″S 110°12′14.6″E / 7.607944°S 110.204056°E / -7.607944; 110.204056
ประเทศ อินโดนีเซีย
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i), (ii), (vi)
อ้างอิง592
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2534 (คณะกรรมการสมัยที่ 15)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

วัดนี้สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในสมัยราชวงศ์ไศเลนทร์ โดยสร้างขึ้นตามสถาปัตยกรรมชวาที่ผสมกับประเพณีพื้นบ้านในการสักการะบรรพบุรุษของอินโดนีเซีย และแนวคิดนิพพานของศาสนาพุทธ[5] วัดนี้มีอิทธิพลศิลปะคุปตะ ซึ่งสะท้อนถึงอิทธิพลของอินเดียในภูมิภาคนี้[7] แต่ยังคงมีฉากและองค์ประกอบมากพอที่ยังทำให้โบโรบูดูร์มีความเป็นเอกลักษณ์แบบอินโดนีเซีย[8][9] อนุสรณ์นี้เป็นเจดียสถานแก่พระโคตมพุทธเจ้าและเป็นสถานที่แสวงบุญของชาวพุทธ ผู้แสวงบุญจะเริ่มต้นที่ฐานอนุสรณ์และเดินตามเส้นทางรอบ ๆ อนุสรณ์ แล้วขึ้นไปข้างบนผ่านจักรวาลวิทยาแบบพุทธ 3 ชั้น: กามธาตุ (โลกแห่งความต้องการ), รูปธาตุ (โลกของรูปร่าง) และ อรูปธาตุ (โลกที่ไร้รูปร่าง)

มีหลักฐานชี้แนะว่าโบโรบูดูร์ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และถูกทอดทิ้งไปหลังอาณาจักรฮินดูในชวาเสื่อมถอยลงและชาวชวาหันไปเข้ารับอิสลามหลังคริสต์ศตวรรษที่ 14[10] การมีตัวตนของสถานที่เริ่มเป็นที่รู้จักทั่วโลกใน ค.ศ. 1814 โดยเซอร์ ทอมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ตอนยังเป็นผู้ปกครองชวาของอังกฤษ โดยนำข้อมูลวัดมาจากชาวอินโดนีเซียท้องถิ่น[11] โบโรบูดูร์ได้รับการบูรณะหลายครั้ง โดยครั้งใหญ่ที่สุดเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1975 ถึง 1982 โดยรัฐบาลอินโดนีเซียและยูเนสโก ตามมาด้วยการจัดให้เป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก[5]

โบโรบูดูร์เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในโบราณสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกับพุกามในประเทศพม่า และนครวัดในประเทศกัมพูชา โบโรบูดูร์ยังคงเป็นจุดแสวงบุญยอดนิยม โดยชาวพุทธในอินโดนีเซียฉลองวันวิสาขบูชาที่อนุสรณ์นี้ โบโรบูดูร์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดของประเทศ[12][13][14]

ประวัติ แก้

 
รูปสลักหินของราชินีมายาในแกลเลอรี 1 ของวัดบุโรพุทโธ.
 
ทางเดินแคบๆ ที่มีภาพนูนต่ำนูนสูงบนผนัง

โบโรบูดูร์สร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร์ เป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือ พุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่บนที่ราบเกฑุ ทางฝั่งขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก สร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 121 เมตร สูง 123 เมตร เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั้นลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้นบนเป็นลานวงกลม สามวงกลมยอดโดมกลางและบนลานกลมชั้งสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป มหาสถูปมีการตกแต่งด้วยภาพสลัก 2672 ชิ้น และ รูปปั้นพระพุทธรูป 504 องค์ โดมกลางล้อมรอบด้วย 72 รูปปั้นพระพุทธรูปแต่ละนั่งองค์อยู่ภายในสถูปเจาะรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ที่รอบล้อมสถูปเจดีย์ประธานด้านบนสุด. มีภาพสลักหินเล่าถึง 1460 เรื่องที่แสดงถึงชีวิตของพระพุทธเจ้าและข้อความทางพุทธศาสนาที่จารึกไว้ตามแกลเลอรี 1, 2, 3 และ 4 ของวัด.[15]

ในชั้นบนสุดของโบโรบูดูร์ ที่ถือว่าเป็นส่วนยอดสุดของวิหาร มีลักษณะเป็นฐานวงกลมใหญ่ของเจดีย์องค์ประธาน เวลาที่มองมาจากที่ไกล จะเห็นเป็นเหมือนดอกบัวขนาดใหญ่ ตั้งตระหง่านอยู่กลางหุบเขา ไม่พบภาพสลักใด ๆ ปรากฏอยู่เหมือนพ้นจากความต้องการทุกสิ่งทุกอย่าง มีผู้อุปมาภาพที่ปรากฏนี้ว่า แสดงถึงการหลุดพ้นจากทุกสรรพสิ่งในโลกหรือที่เรียกว่านิพพาน อันเป็นจุดหมายสูงสุดของศาสนาพุทธ

มรดกโลก แก้

 
วันวิสาขบูชา พิธีที่บุโรพุทโธ

โบโรบูดูร์ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก สมัยสามัญครั้งที่ 15 ภายใต้ชื่อ "กลุ่มวัดโบโรบูดูร์" เมื่อ พ.ศ. 2534 ที่คาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

  • (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

อ้างอิง แก้

  1. บรมพุทโธ มหัศจรรย์เจดีย์ แห่งชวา https://travel.mthai.com/world-travel/64845.html
  2. "มหัศจรรย์ "บุโรพุทโธ" พุทธสถานในแดนอิเหนา". ผู้จัดการออนไลน์. 31 พ.ค. 2558. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "Largest Buddhist temple". Guinness World Records. Guinness World Records. สืบค้นเมื่อ 27 January 2014.
  4. Purnomo Siswoprasetjo (4 July 2012). "Guinness names Borobudur world's largest Buddha temple". The Jakarta Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2014. สืบค้นเมื่อ 27 January 2014.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Borobudur Temple Compounds". UNESCO World Heritage Centre. UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 December 2008.
  6. Soekmono (1976), page 35–36.
  7. Rajarajan, R. K. K. "Rajarajan 2020 Borobudur et alii A Note on Place Names in Java". In Pedarapu Chenna Reddy, Ed., Heritage of Indian History, Culture, and Archaeology (Festschrift to Dr. M.D. Sampath), Vol. II, Art and Architecture. Delhi: B.R. Publishing Corporation (ภาษาอังกฤษ).
  8. "Borobudur : A Wonder of Indonesia History". Indonesia Travel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2012. สืบค้นเมื่อ 5 April 2012.
  9. Le Huu Phuoc (April 2010). Buddhist Architecture. Grafikol. ISBN 9780984404308. สืบค้นเมื่อ 5 April 2012.
  10. Soekmono (1976), page 4.
  11. Hary Gunarto, Preserving Borobudur's Narrative Walls of UNESCO Heritage, Ritsumeikan RCAPS Occasional Paper, [1] October 2007
  12. Mark Elliott; และคณะ (November 2003). Indonesia. Melbourne: Lonely Planet Publications Pty Ltd. pp. 211–215. ISBN 1-74059-154-2.
  13. Mark P. Hampton (2005). "Heritage, Local Communities and Economic Development". Annals of Tourism Research. 32 (3): 735–759. doi:10.1016/j.annals.2004.10.010.
  14. E. Sedyawati (1997). "Potential and Challenges of Tourism: Managing the National Cultural Heritage of Indonesia". ใน W. Nuryanti (บ.ก.). Tourism and Heritage Management. Yogyakarta: Gajah Mada University Press. pp. 25–35.
  15. การอนุรักษ์มรดกโลกและสมบัติทางวัฒนธรรมของบุโรพุทโธแบบดิจิทัลวารสารการศึกษาภาษาและวัฒนธรรมริตูเมคัง, หริ ขนารโตะ (Hary Gunarto), Digital Preservation of Borobudur World Heritage and Cultural Treasures, Journal of Ritsumeikan Studies in Language and Culture, VOL 19, No 2, Kyoto, Nov. 2007, pp. 263-278. เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2020.

บรรณานุกรม แก้

  • Peter Cirtek (2016). Borobudur: Appearance of a Universe. Hamburg: Monsun Verlag. ISBN 978-3-940429-06-3.
  • Parmono Atmadi (1988). Some Architectural Design Principles of Temples in Java: A study through the buildings projection on the reliefs of Borobudur temple. Yogyakarta: Gajah Mada University Press. ISBN 979-420-085-9.
  • Jacques Dumarçay (1991). Borobudur. trans. and ed. by Michael Smithies (2nd ed.). Singapore: Oxford University Press. ISBN 0-19-588550-3.
  • Luis O. Gómez & Hiram W. Woodward, Jr. (1981). Barabudur: History and Significance of a Buddhist Monument. Berkeley: Univ. of California. ISBN 0-89581-151-0.
  • John Miksic (1990). Borobudur: Golden Tales of the Buddhas. Boston: Shambhala Publications. ISBN 0-87773-906-4.
  • Soekmono (1976). Chandi Borobudur: A Monument of Mankind (PDF). Paris: Unesco Press. ISBN 92-3-101292-4. สืบค้นเมื่อ 17 August 2008.
  • R. Soekmono; J.G. de Casparis; J. Dumarçay; P. Amranand; P. Schoppert (1990). Borobudur: A Prayer in Stone. Singapore: Archipelago Press. ISBN 2-87868-004-9.

อ่านเพิ่ม แก้

  • Luis O. Gomez & Hiram W. Woodward (1981). Barabudur, history and significance of a Buddhist monument. presented at the Int. Conf. on Borobudur, Univ. of Michigan, 16–17 May 1974. Berkeley: Asian Humanities Press. ISBN 0-89581-151-0.
  • August J.B. Kempers (1976). Ageless Borobudur: Buddhist mystery in stone, decay and restoration, Mendut and Pawon, folklife in ancient Java. Wassenaar: Servire. ISBN 90-6077-553-8.
  • John Miksic (1999). The Mysteries of Borobudur. Hongkong: Periplus. ISBN 962-593-198-8.
  • Morton III, W. Brown (January 1983). "Indonesia Rescues Ancient Borobudur". National Geographic. 163 (1): 126–142. ISSN 0027-9358. OCLC 643483454.
  • Adrian Snodgrass (1985). The symbolism of the stupa. Southeast Asia Program. Ithaca, N.Y.: Cornell University. ISBN 0-87727-700-1.
  • Levin, Cecelia. "Enshrouded in Dharma and Artha: The Narrative Sequence of Borobudur's First Gallery Wall." In Materializing Southeast Asia's Past: Selected Papers from the 12th International Conference of the European Association of Southeast Asian Archaeologists, edited by Klokke Marijke J. and Degroot Véronique, 27-40. SINGAPORE: NUS Press, 2013. Accessed June 17, 2020. www.jstor.org/stable/j.ctv1qv3kf.7.
  • Jaini, Padmanabh S. "The Story of Sudhana and Manoharā: An Analysis of the Texts and the Borobudur Reliefs." Bulletin of the School of Oriental and African Studies, University of London 29, no. 3 (1966): 533-58. Accessed June 17, 2020. www.jstor.org/stable/611473.
  • Shastri, Bahadur Chand. “THE IDENTIFICATION OF THE FIRST SIXTEEN RELIEFS ON THE SECOND MAIN-WALL OF BARABUDUR.” Bijdragen Tot De Taal-, Land- En Volkenkunde Van Nederlandsch-Indië, vol. 89, no. 1, 1932, pp. 173–181. JSTOR, www.jstor.org/stable/20770599. Accessed 24 Apr. 2020.
  • SUNDBERG, JEFFREY ROGER. "Considerations on the Dating of the Barabuḍur Stūpa." Bijdragen Tot De Taal-, Land- En Volkenkunde 162, no. 1 (2006): 95-132. Accessed June 17, 2020. www.jstor.org/stable/27868287.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้